ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคใต้

    ลำดับตอนที่ #5 : จังหวัดสุราษฎร์ธานี

    • อัปเดตล่าสุด 7 ม.ค. 50


    เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ ชักพระประเพณี

    สุราษฎร์ธานี เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ชนพื้นเมือง ได้แก่ พวกเซมัง และมลายูดั้งเดิมซึ่งอาศัยอยู่ในเขตลุ่มน้ำหลวง (แม่น้ำตาปี) และบริเวณอ่าวบ้านดอนก่อนที่ชาวอินเดียจะอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งและเผยแพร่วัฒนธรรม ดังปรากฏหลักฐานในชุมชนโบราณที่ อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา เป็นต้น

    ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 13 มีหลักฐานปรากฏว่าเมืองนี้ได้รวมกับอาณาจักรศรีวิชัย เมื่ออาณาจักรนี้เสื่อมลง จึงแยกออกเป็น 3 เมือง คือ เมืองไชยา เมืองท่าทอง และเมืองคีรีรัฐ ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ย้ายเมืองท่าทองมาตั้งที่บ้านดอน และยกฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ พระราชทานนามว่าเมือง “กาญจนดิษฐ์” ครั้นเมื่อมีการปกครองแบบมณฑล ได้รวมเมืองทั้งสามเป็นเมืองเดียวกันเรียกว่า เมืองไชยา ต่อมา พ.ศ. 2458 รัชกาลที่ 6 โปรดฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองไชยา มาเป็นเมืองสุราษฎร์ธานี แปลว่า เมืองแห่งคนดี

    สุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดของภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพฯ 685 กิโลเมตร มีพื้นที่ 12,891 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าดิบชื้นที่อุดมด้วยความหลากหลายของพืชพรรณและสัตว์ป่า และยังมีหมู่เกาะที่มีชื่อเสียง น้ำทะเลใส หาดทรายขาว อาทิ เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และเกาะนางยวน ซึ่งแต่ละเกาะมีความหลากหลายของธรรมชาติแตกต่างกันไป

    สุราษฎร์ธานีแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอคือ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอพุนพิน อำเภอคีรีรัฐนิยม อำเภอพนม อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอเกาะสมุย อำเภอดอนสัก อำเภอไชยา อำเภอท่าชนะ อำเภอท่าฉาง อำเภอบ้านนาสาร อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านตาขุน อำเภอเกาะพะงัน อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอชัยบุรี และกิ่งอำเภอวิภาวดี


    อาณาเขต :

    ทิศเหนือ ติดต่อกับ
    จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง ทิศใต้ ติดต่อกับ
    จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดกระบี่ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ
    อ่าวไทย และจังหวัดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันตก ติดต่อกับ
    จังหวัดพังงา และจังหวัดระนอง


    ที่มา www.tourthai.com

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×