ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปยุโรป

    ลำดับตอนที่ #43 : สาธารณรัฐสโลวัก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.89K
      0
      2 ก.พ. 50



     
    สาธารณรัฐสโลวัก
    Slovak Republic or Slovakia


     
    ข้อมูลทั่วไป
    ที่ตั้ง อยู่ตอนกลางของทวีปยุโรป ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล มีพรมแดนด้านเหนือติดกับโปแลนด์ ด้านใต้ติดกับฮังการี ทิศตะวันออกติดกับยูเครนและทิศตะวันตกติดกับสาธารณรัฐเช็ก

    พื้นที่ 49,035 ตารางกิโลเมตร

    เมืองหลวง บราติสลาวา (Bratislava)

    วันประกาศเอกราช 1 กันยายน

    ประชากร 5.4 ล้านคน (2549) ชาวสโลวัก (85.7%) ชาวฮังกาเรียน (10.6%) ชาวโรมาเนีย (1.6%) ชาวเช็ก ชาวเยอรมัน ชาวโปล และอื่นๆ

    ภาษา ภาษาสโลวัก เป็นภาษาราชการ

    ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาธอลิก 9 68.9% คริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ 810.8% กรีกออธอดอกซ์ 4.1% ไม่มีศาสนา 13% อื่นๆ และไม่ระบุ 3.2%

    ภูมิอากาศ มี 4 ฤดู ในฤดูหนาว อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ -2 องศาเซลเซียส โดยจะหนาวที่สุดในช่วงเดือนมกราคม อุณหภูมิประมาณ -10 ถึง -15 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 21 องศาเซลเซียส เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนกรกฏาคม อุณหภูมิประมาณ 32 องศาเซลเซียส

    สมาชิกภาพในองค์การระหว่างประเทศ BIS, BSEC (observer), CCC, CE, CEI, CERN, EAPC, EBRD, ECE, EU (applicant), FAO, IAEA, IBRD, ICAO, ICFTU, ICRM, IDA, IFC, IFCRS, ILO, IMF, IMO, Inmarsat, Intelsat, Intelsat (nonsignatory user), IOC, IOM, ISO, ITU, NAM (guest), NSG, OSCE, PCA,PFP, UN, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, UPU, WEU (associate partner), WFTU, WHO, WIPO, WMO, WToO, WTrO, ZC

    การเมืองการปกครอง
    ประธานาธิบดี นาย Ivan Gasparovic (เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมิถุนายน 2547)
    นายกรัฐมนตรี นาย Rober Fico (เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือน 6 กรกฎาคม 2549)
    รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Jan Kubis (เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือน 6 กรกฎาคม 2549)
    ระบบการเมือง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นระบบสภาเดียว (Unicameral National Council of the Slovak Republic) มี 150 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งระบบผู้แทนแบบสัดส่วน (proportional representation) มีวาระ 4 ปี เลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2549 มีรัฐธรรมนูญซึ่งผ่านการให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2535 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2536

    ประธานาธิบดี เป็นประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงโดย popular vote มีวาระ 5 ปี เลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน 2547 เลือกตั้งครังต่อไปเดือนเมษายน 2552

    นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจในการบริหารสูงสุด มาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี คณะรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดีโดยการเสนอชื่อจากนายกรัฐมนตรี


    ประวัติศาสตร์สโลวาเกียโดยสังเขป

    (1) สมัยประวัติศาสตร์

    ชาวสโลวัก เป็นชนชาติหนึ่งในกลุ่มชนเชื้อสายสลาฟ (Slavic tribes) ที่ได้อพยพมาตั้งร
    กรากในแถบแม่น้ำดานูบ ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 5-6 ต่อมาในปี พ.ศ.1166 พ่อค้าชาวฝรั่งเศสชื่อ Samo ได้เริ่มรวบรวมเผ่าสลาฟในบริเวณนี้และก่อตั้งเป็นอาณาจักรขึ้น ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 9 หัวหน้าชาวสลาฟชื่อ Mojmr ที่ 1 ได้รวมรัฐ Morava และ Nitra เข้าด้วยกันและก่อตั้งเป็นอาณาจักรโมราเวีย (Empire of Moravia) หลังจากนั้น ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 10 ชาวเผ่าแมกยาร์ หรือชาวฮังกาเรียนในปัจจุบัน ได้เข้ารุกรานและปกครองอาณาจักรทั้งหมดในแถบนี้ ซึ่งรวมถึงชาวสโลวักด้วย โดยชาวสโลวักได้อยู่ภายใต้การปกครองของชาวฮังกาเรียนเกือบ 1,000 ปี

    (2) ภายใต้การปกครองของฮังการี และจักรวรรดิ์ออสโตร-ฮังกาเรียน

    ภายใต้การปกครองของฮังการี แม้ว่าสโลวาเกียได้กลายเป็นศูนย์กลางการเมืองและ
    วัฒนธรรมของจักรวรรดิ์ฮังการี โดยกรุงบราติสลาวา (ขณะนั้นเรียกว่า Pozsony/Pressburg) เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรฮับสบวร์ก-ฮังการี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2084-2327 แต่ชาวฮังกาเรียนได้ใช้แนวทาง “Magarization” กับชาวสโลวักและชนชาติอื่นๆ ภายใต้การปกครอง โดยชาวสโลวักได้ถูกบังคับให้เลิกใช้ภาษาของตน และใช้ภาษาฮังกาเรียนแทน รวมทั้งมีสถานะทางสังคมต่ำกว่าชาวฮังกาเรียน ตลอดจน
    มีการสังหารชาวสโลวักจำนวนมากในช่วงนี้ ส่งผลให้ชาวสโลวักบางส่วนต้องอพยพออกจากประเทศไปยังดินแดนใหม่ โดยเฉพาะในอเมริกา อย่างไรก็ดี ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 18 ชาวสโลวักได้จัดตั้ง Slovak National movement ภายใต้การนำของผู้นำทางศาสนาชาวสโลวักขึ้นเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมและเอกราชจากฮังการี ขบวนการดังกล่าวได้แข็งแกร่งขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 20 โดยได้มีการประมวลและปฏิรูปด้านภาษาและวรรณคดีของชาวสโลวักขึ้นใหม่

    (3) ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2457-2461)

    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวเช็ก สโลวัก และกลุ่มชนชาติอื่นๆ ภายใต้การปกครอง
    ของจักรวรรดิ์ออสโตร-ฮังกาเรียน รวมทั้งชาวเช็กและสโลวักในต่างประเทศได้ร่วมกันเรียกร้องเอกราชเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ในเดือนตุลาคม 2461 สโลวาเกียได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิ์ออสโตรฮังกาเรียนและร่วมกับชาวเช็กจัดตั้งสาธารณรัฐเชโกสโลวาเกียขึ้น โดยมีกรุงปรากเป็นเมืองหลวง ซึ่งรวมดินแดนต่างๆ ได้แก่ Bohemia และ Moravia ของเช็ก ส่วนหนึ่งของ Silesia และสโลวาเกีย ซึ่งมีชาวฮังกาเรียนอาศัยอยู่ในดินแดนบางส่วนของสาธารณรัฐใหม่นี้ด้วย

    (4) ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

    ชาวสโลวักในเชกโกสโลวาเกียตระหนักถึงความไม่เท่าเทียมที่ได้รับจากชาวเช็ก ดังนั้น
    เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2482 สโลวาเกียภายใต้การนำของประธานาธิบดี Jozef Tiso ได้ประกาศเอกราช จัดตั้งประเทศ Slovak Republic อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นเพียง 1 วัน สโลวาเกียก็ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมนี ในช่วงดังกล่าว ชาวยิวในสโลวาเกียกว่า 68,000 คนถูกกวาดต้อนไปยังค่ายกักกันของเยอรมนี และเยอรมนีได้ส่งผู้แทนมาประจำในสโลวาเกียด้วย อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของสโลวาเกียได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้การปกครองของเยอรมนี เนื่องจากเยอรมนีได้เข้ามาลงทุนและใช้สโลวาเกียเป็นศูนย์ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์

    ต่อมา ได้มีการจัดตั้งขบวนการใต้ดิน Zeta ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในกรุงบราติสลาวา
    พร้อมกันนั้น ในเวลาใกล้เคียงกัน พรรคคอมมิวนิสต์ในสโลวาเกียได้ถูกตั้งขึ้น รวมทั้งในปี พ.ศ. 2487 ชาวสโลวักได้เดินขบวนประท้วงที่เรียกว่า “Slovak National Uprising” โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อปลดปล่อยสโลวาเกียจากเยอรมนี และได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะรวมประเทศกับเช็กในสถานะที่เท่าเทียมกัน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2488 กองทัพโซเวียตได้ปลดปล่อยดินแดนของเชโกสโลวาเกียจากการปกครองของนาซี
    ทำให้สหภาพโซเวียตมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการทางการเมืองของทั้งสองประเทศนี้ในเวลาต่อมา

    (5) ภายใต้ลัทธิคอมมิวนิสต์

    ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง กลุ่มคอมมิวนิสต์ในสโลวักได้ก่อการรัฐประหาร
    และได้เข้าบริหารเชโกสโลวาเกียอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2491 ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ก็ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งกำหนดให้สโลวาเกียมีการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ และสโลวาเกียได้ลงนามร่วมกับสาธารณรัฐเช็กจัดตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวาเกียขึ้น (Czechoslovak Socialist Republic) ในปี พ.ศ. 2512 อย่างไรก็ดี ภายใต้ระบอบดังกล่าว ชาวสโลวักก็ยังคงมีสถานภาพด้อยกว่าชาวเช็ก
    ภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นแกนหลัก สโลวาเกียถูกกำหนดให้เป็น
    ศูนย์กลางการผลิตเครื่องจักรกล และอาวุธยุทธปัจจัย อย่างไรก็ตาม มาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสโลวักได้ตกต่ำลง จนกระทั่งก่อให้เกิดการประท้วงเพื่อเรียกร้องอิสระภาพจากโซเวียต (Prague Spring) ภายใต้การนำของนาย Alexander Dubcek ในปี พ.ศ. 2511 แต่ถูกกองทัพโซเวียตปราบปราม อย่างไรก็ดี ระบอบคอมมิวนิสต์ในเชโกสโลวาเกียได้เริ่มสลายลงในปี พ.ศ. 2532

    (6) หลังการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์

    ภายหลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง เชโกสโลวาเกียได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
    การปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกา “Velvet Revolution” และต่อมา สโลวาเกียได้ประกาศแยกตัวออกจากเชโกสโลวาเกียในปี พ.ศ. 2536 โดยทั้งสองได้ตกลงที่จะเป็นผู้สืบสิทธิร่วมกันของสหพันธ์สาธาณรัฐเช็กและสโลวัก

    ภายหลังจากแยกเป็นประเทศเอกราช สโลวาเกียได้เริ่มนโยบายต่างประเทศที่หันไปทำ
    การค้ากับตะวันตกมากขึ้น และเริ่มปฏิรูปประเทศไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจแบบเสรี โดยแนวทางปฏิรูปดังกล่าวได้ปรากฏเห็นเด่นชัดหลังปี พ.ศ. 2541 ที่นายกรัฐมนตรี Mikulas Dzurinda ได้เข้ามาบริหารประเทศ อันส่งผลให้สโลวาเกียได้รับการยอมรับจากนานาประเทศมากขึ้น โดยได้เข้าเป็นสมาชิก OECD ในปี พ.ศ. 2544 และเข้าเป็นสมาชิกของ EU และ NATO ในปี พ.ศ. 2547


    สถานการณ์ทางการเมืองในสโลวาเกีย

    1. พัฒนาการทางการเมืองภายหลังการแยกตัวจากเชโกสโลวาเกียในปี พ.ศ. 2536

    พัฒนาการทางการเมืองในสโลวาเกียภายหลังการแยกตัวจากเชโกสโลวาเกียโดยสันติ
    (Velvet divorce) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2536 แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้

     รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Vladimir Meciar ช่วงปี พ.ศ.2536 - 2541

    นายกรัฐมนตรี Meciar ถูกนานาประเทศวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการคอรัปชั่น การบริหารประเทศแบบเผด็จการ ซึ่งไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบเสรี รวมทั้งการไม่เคารพสิทธิของชนกลุ่มน้อย (โดยเฉพาะชาวฮังกาเรียน) และต่อต้านการเข้าร่วมสหภาพยุโรปของสโลวาเกีย ซึ่งเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้สโลวักไม่ได้รับการสนับสนุนจากนานาประเทศเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น เช็ก โปแลนด์ และฮังการี รวมทั้งมีปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ฮังการี และออสเตรียด้วย

     รัฐบาลของนาย Mikulas Dzurinda ช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2545

    แม้ว่าในการเลือกตั้งที่จัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2541 พรรค Movement for a
    Democratic Slovakia (HZDS) ของนาย Meciar จะได้รับเสียงข้างมากเป็นอันดับหนึ่ง แต่กลุ่ม Slovak Democratic Coalition (SDK) ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรของพรรคการเมืองฝ่ายขวาสามารถรวบรวมเสียงข้างมากได้ ทำให้นาย Mikulas Dzurinda หัวหน้ากลุ่ม SDK ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นาย Dzurinda ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายบริหารประเทศ โดยเน้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน และให้ความสำคัญกับการเข้าเป็นสมาชิก NATO และ EU จึงทำให้สโลวาเกียภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรี Dzurinda ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศมากขึ้น

    อย่างไรก็ดี ภายหลังการปฏิรูปกฎหมายเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2541 นาย Dzurinda
    แยกตัวออกไปตั้งพรรค Slovak Democratic and Christian Union (SDKU) โดยมีพรรคการเมืองจากกลุ่ม SDK เข้าร่วมด้วยหลายพรรค

    2. รัฐบาลของนาย Mikulas Dzurinda ช่วงปี พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน

    รัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2545 เป็นรัฐบาลผสมจาก 4 พรรคการเมือง ซึ่งนิยมแนวกลาง-ขวา นำโดยพรรค SDKU ของนาย Mikulas Dzurinda นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 78 ที่นั่งจาก 150 ที่นั่ง ต่อมา ในเดือนธันวาคม 2546 สมาชิกสภาฯ จากพรรคร่วมรัฐบาล 10 คนได้ขอลาออก โดยบางกลุ่มได้แยกตัวไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ ทำให้รัฐบาลมีเสียงข้างน้อยด้วยที่นั่งในสภาฯ 68 ที่นั่ง อย่างไรก็ดี นาย Dzurinda ยังคงมุ่งมั่นปฏิรูปเศรษฐกิจและนำสโลวาเกียเข้าเป็นสมาชิก EU ได้สำเร็จในเดือนพฤษภาคม 2547 ในการสำรวจความนิยม
    รัฐบาลครั้งล่าสุด รัฐบาลได้รับความนิยมลดลง แต่เป็นที่คาดว่าน่าจะอยู่จนครบวาระในปี พ.ศ. 2549

    3. การเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี พ.ศ. 2547

    ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสโลวาเกียเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2547 ปรากฏว่า นาย Ivan Gasparovic อดีตประธานรัฐสภา จากพรรค Movement of Democracy (HZD) และเป็นผู้สมัครที่ได้รับการสนับสนุนจากนาย Robert Fico หัวหน้าพรรคการเมือง Smer ได้รับชัยชนะเหนือนาย Vladimir Meciar อดีตนายกรัฐมนตรีและผู้สมัครจากพรรค Movement for a Democratic Slovakia (HZDS)* ซึ่งพลิกความคาดหมาย เนื่องจากในการลงคะแนนเสียงรอบแรก นาย Meciar ได้รับเสียงสนับสนุนเกิน 1 ใน 3
    แต่กลับต้องพ่ายแพ้แก่นาย Gasparovic ในรอบที่ 2 ทั้งนี้ เนื่องจากนาย Meciar เป็นนักการเมืองฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง มีภูมิหลังเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่เป็นที่ยอมรับของประชาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ EU ในสมัยที่นาย Meciar ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสโลวาเกีย และทำให้สโลวาเกียถูกกีดกันจากการเข้าเป็นสมาชิก EU และ NATO จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและนาย Mikulas Dzurinda ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

    เศรษฐกิจการค้า
    ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 46.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการ พ.ศ. 2549)

    ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว (GDP per capita-pppX 17,700 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการ พ.ศ. 2549)

    GDP Growth Rate ร้อยละ 6.4 (ประมาณการ พ.ศ. 2549)

    แรงงาน 2.629 ล้านคน (ประมาณการ พ.ศ. 2549) อยู่ในภาคบริการร้อยละ 29.3 ภาคก่อสร้าง ร้อยละ 9 ภาคเกษตรกรรมร้อยละ 5.8 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 5.8 (พ.ศ. 2546)

    อัตราการว่างงาน ร้อยละ 10.2 (ประมาณการ พ.ศ. 2549)

    อุตสาหกรรม โลหะ ผลิตภัณฑ์โลหะ อาหาร ไฟฟ้า แก๊ส น้ำมัน เคมี เครื่องจักร กระดาษ เซรามิค

    ทรัพยากรธรรมชาติ ถ่านหิน ลิกไนต์ แร่เหล็ก แร่ทองแดง แมงกานีส เกลือ

    สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง อาหารแปรรูป น้ำมัน เคมีภัณฑ์ สินค้าแปรรูป (2546)

    ตลาดนำเข้าที่สำคัญ เยอรมนี เช็ก รัสเซีย ออสเตรีย โปแลนด์ ฮังการี อิตาลี (2548)

    สินค้าส่งออกที่สำคัญ ยานยนต์ เครื่องจักรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โลหะ เคมีภัณฑ์ พลาสติก (2547)

    ตลาดส่งออกที่สำคัญ เยอรมนี เช็ก อิตาลี ออสเตรีย อิตาลี โปแลนด์ ฮังการี (2548)

    สกุลเงิน สโลวักโครูน่า (Slovak Koruna-SKK)

    อัตราแลกเปลี่ยน 1US$ = 26.26 SKK (9 มกราคม 2549)

    เงินทุนสำรองระหว่างประเทศและทองคำ 15.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการ พ.ศ. 2549)

    สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในสโลวาเกีย

    1. ก่อนการแยกตัวจากเชโกสโลวาเกีย

    ในสมัยที่ยังรวมตัวอยู่ภายใต้เช็กโกสโลวาเกีย โครงสร้างทางเศรษฐกิจของสโลวักมีพื้นฐานอยู่บนภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก อันเป็นผลมาจากแผนเศรษฐกิจที่กำหนดโดยรัฐบาลกลาง ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งกำหนดให้สโลวาเกียเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมปฐมภูมิ เพื่อส่งสินค้าวัตถุดิบดังกล่าวไปยังอุตสาหกรรมการผลิตในดินแดนเช็ก ตลอดจนอุตสาหกรรมการทหาร เป็นต้น ต่อมา เมื่อแยกตัวเป็นเอกราช สโลวาเกียสูญเสียตลาดดั้งเดิมของตน เนื่องจากการเปิดการค้าเสรีที่มีการแข่งขันสูง
    ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมซึ่งเคยมีส่วนแบ่งรายได้ประชาชาติถึงร้อยละ 49 ในปี พ.ศ. 2533 กลับหดตัวลงเหลือเพียงร้อยละ 28.6 ในปี พ.ศ. 2537

    2. รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Vladimir Meciar พ.ศ. 2536 - 2541

    การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจระหว่างปี พ.ศ. 2537-2541 ในสมัยรัฐบาลของนาย Merciar แม้ว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจของสโลวาเกียมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงแรก โดยในปี พ.ศ. 2538 การเจริญเติบโตของรายได้ประชาชาติมีอัตราสูงถึงร้อยละ 6.5 แต่ก็เป็นผลมาจากการใช้จ่ายของภาครัฐบาลและการกู้ยืมมากกว่าการขยายตัวในภาคการผลิต ส่งผลให้สโลวาเกียขาดดุลการค้าและหนี้ภาครัฐและภาคเอกชนเพิ่มขึ้นสูง ทำให้การเจริญเติบโตของรายได้ประชาชาติลดลงเหลือเพียงร้อยละ 1.3 ในปี พ.ศ.2542

    3. รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Mikulas Dzurinda ปี พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน

    รัฐบาลของนาย Dzurinda ซึ่งเข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ได้ดำเนินนโยบายในการปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ไปสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาด โดยการสร้างเสถียรภาพและปฏิรูปโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจมหภาค ตลอดจนดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและระบบธนาคาร โดยล่าสุด รัฐบาลได้ประกาศขายกิจการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ZSSK Cargo ซึ่งจะเริ่มการประมูลในเดือนกรกฎาคม 2548 ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของสโลวาเกียและทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 4.2 ในปี พ.ศ. 2546 เป็นร้อยละ 5.3 ในปี พ.ศ. 2547

    ด้านการลงทุน สโลวาเกียประสบความสำเร็จในการดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ มูลค่าการลงทุนในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2546 มีมูลค่ารวม 7.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2541: 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ, ปี พ.ศ. 2542: 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ, ปี พ.ศ. 2543: 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ, ปี พ.ศ. 2544: 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ, และปี พ.ศ. 2545: 6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) กลุ่มนักลงทุนหลัก ได้แก่ เยอรมนี (ร้อยละ 38.8) ฮังการี (ร้อยละ 29.8) สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 10.2) และเนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 10)

    ด้านอุตสาหกรรม สโลวาเกียมีแรงงานฝีมือและได้รับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย
    จำนวนมาก มีความเชี่ยวชาญในการผลิตด้านอุตสาหกรรมซึ่งเป็นความชำนาญต่อเนื่องมาจากสมัยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ และมีค่าแรงไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศยุโรปอื่นๆ (ต่ำกว่าฮังการีร้อยละ 30 ต่ำกว่าโปแลนด์ร้อยละ 20 ต่ำกว่าเช็กร้อยละ 10) มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค ปุ๋ย พลาสติก การผลิตอาหาร โลหะ กระดาษ เสื้อผ้า ถ่านหินสีน้ำตาล และวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง

    ด้านการค้า สโลวาเกียมีความสัมพันธ์ที่ดีและใกล้ชิดกับประเทศในยุโรปตะวันออก
    ที่เคยปกครองด้วยระบบสังคมนิยมมาก่อน และอยู่ในทำเลตอนกลางของทวีปยุโรป สโลวาเกียจึงถือว่ามีทำเลที่เหมาะสมที่เกื้อหนุนต่อความสัมพันธ์ทางการค้าที่สืบทอดมาอย่างต่อเนื่องกับประเทศเหล่านี้ รวมทั้งประเทศอดีตสหภาพโซเวียต เช่น รัสเซีย และยูเครน นอกจากนี้ สโลวาเกียยังเป็นฐานการผลิตสินค้าราคาถูกสำหรับประเทศใน EU ด้วย

    ปัจจัยบวกด้านเศรษฐกิจ

    1. ได้รับการยอมรับในเรื่องการปฏิรูปเศรษฐกิจแบบเสรี โดยปัจจุบันเป็นสมาชิกลำดับที่ 30 ของ OECD และเป็นสมาชิกใหม่ของ EU
    2. มีความสามารถในการผลิตภาคอุตสาหกรรมสูง และมีข้อได้เปรียบเรื่องแรงงาน
    ราคาถูกและมีการศึกษา จึงเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศใน EU
    3. มีความสามารถในการแข่งขันลำดับที่ 37 จากทั้งหมด 49 ประเทศ ซึ่งสูงกว่า
    สโลวีเนีย แต่ต่ำกว่าเช็กและฮังการี ( International Institute for Management Development’s World Competitiveness Yearbook 2001)

    ปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจ

    รัฐบาลสโลวาเกียยังคงประสบปัญหาการขาดดุลงบประมาณ โดยในปี 2545 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ –7.4 ของ GDP อย่างไรก็ดี ภาวะการขาดดุลงบประมาณได้ลดลงเหลือเพียงร้อยละ –4 ของ GDP ในปี 2547 และคาดว่าจะลดลงเป็นลำดับ นอกจากนี้ สโลวาเกียยังประสบปัญหาอัตราการว่างงานสูง โดยในปี พ.ศ. 2546 เท่ากับร้อยละ 15.2 และในปี พ.ศ. 2547 เท่ากับร้อยละ 14.3 ภาคแรงงานฝีมือส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตและลงทุน ทำให้ภาคตะวันออกประสบภาวะว่างงานสูง

    นโยบายต่างประเทศสโลวาเกีย

    สโลวาเกียจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างประเทศไว้ ดังนี้
    1. การบูรณาการของสโลวาเกียกับสหภาพยุโรปและนาโต้

    2. ความร่วมมือในภูมิภาคยุโรปกลาง โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มความร่วมมือในยุโรปกลาง เช่น Visegrad ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือของยุโรปกลาง 4 ประเทศ ได้แก่ ฮังการี โปแลนด์ เช็ก และสโลวาเกีย และ CEFTA (Central European Free Trade Agreement) หรือเขตการค้าเสรียุโรปกลาง ประกอบด้วย 7 ประเทศสมาชิก
    ได้แก่ ฮังการี โปแลนด์ เช็ก สโลวาเกีย สโลวีเนีย บัลแกเรีย และโรมาเนีย

    3. ความร่วมมือทวิภาคีกับประเทศต่างๆ โดยได้กำหนดให้กลุ่มประเทศใน
    Euro-Atlantic Region มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ได้แก่
    3.1 กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกัน ได้แก่ เช็ก ฮังการี โปแลนด์
    ออสเตรีย และ ยูเครน
    3.2 สโลวีเนีย และกลุ่มประเทศที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกนาโต้อื่นๆ เช่น โรมาเนีย
    บัลแกเรีย โครเอเชีย ลิทัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนีย
    3.3 สหรัฐฯ
    3.4 เยอรมนี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น
    3.5 รัสเซียและ CIS ทั้งนี้ ความสัมพันธ์กับรัสเซียมีรากฐานมาจากสมัยสังคมนิยม
    โดยปัจจุบันบริษัทต่างๆ ของรัสเซีย อาทิ Gazprom และ YUKOS ได้เข้าไปลงทุนในสโลวาเกียแล้ว และสโลวาเกียให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลในความสัมพันธ์กับนาโตและรัสเซียอย่างมาก
    3.6 ประเทศในภูมิภาคอื่นๆ

    4. การเข้าร่วมแก้ไขประเด็นปัญหาระดับโลกในเวทีระหว่างประเทศ เช่น UN และ OSCE

    5. บทบาทของสโลวาเกียในมิติเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาทิ ใน OSCE, WTO เป็นต้น

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสโลวัก
    ความสัมพันธ์ทางการทูต


    1. การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต

    ไทยและสโลวาเกียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันอย่างเป็นทางการเมื่อวั
    นที่ 1 มกราคม 2536 และได้จัดตั้งสถานเอกอัครราชทูตขึ้นในไทยเมื่อปี พ.ศ. 2538 มีเขตอาณาครอบคลุมพม่า ลาว และกัมพูชา เอกอัครราชทูตสโลวาเกียประจำประเทศไทยคนปัจจุบันคือนายมาเรียน โทมาสิก (Marian Tomasik) สำหรับไทย ได้มอบให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนาดูแลสโลวาเกีย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเวียนนาคนปัจจุบัน คือ นายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ นอกจากนี้ ไทยได้ตั้งสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงบราติสลาวาขึ้นในปี พ.ศ. 2538 กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์คนปัจจุบันคือนาย Alexander Rozin

    การแลกเปลี่ยนการเยือน

    นับตั้งแต่ไทยให้การรับรองสาธารณรัฐสโลวัก ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างไทยและสโลวักในระดับสูง ดังนี้

    การเยือนของฝ่ายสโลวาเกีย

    - นาย Jozef Moravcik รัฐมนตรีต่างประเทศสโลวัก เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกกระทรวงการต่างประเทศระหว่างวันที่ 7-10 สิงหาคม 2536

    - นาย Vladimir Meciar นายกรัฐมนตรีของสโลวาเกีย เยือนไทยเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2537 ซึ่งเป็นการเยือนไทยครั้งแรกของหัวหน้ารัฐบาลสโลวัก

    - นาย Jozef Sestak ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสโลวาเกียเดินทางเยือนไทย
    อย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2540

    - นาย Jaroslav Chlebo รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสโลวาเกียเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 2-3 พฤษภาคม 2543 และได้มีการลงนามในพิธีสารว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและสโลวาเกียในโอกาสดังกล่าวด้วย

    - นาย Michal Kovac อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐสโลวักและภริยาเยือนไทยเป็นการส่วนตัว ระหว่างวันที่ 15-19 มีนาคม 2544 และได้รับพระราชทานพระราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาคารชัยพัฒนา พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน นอกจากนี้ ได้พบหารือข้อราชการกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในโอกาสดังกล่าวด้วย

    - นาย Milan Tancar รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการประเทศสโลวาเกียเดินทางเยือนไทยระหว่างวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2544

    - นาย Juraj Migas อธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศสโลวาเกียเดินทาง
    เยือนไทย ระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2546 เพื่อร่วมประชุมหารือภายใต้กรอบพิธีสารความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย-สโลวาเกีย

    - นาย Eduard Kukan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสโลวาเกียเดินทาง
    เยือนไทย ในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 3-5 พฤษภาคม 2548


    การเยือนของฝ่ายไทย
    - สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นผู้แทนพระองค์ในการเสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐสโลวัก ระหว่างวันที่ 20-22 กุมภาพันธ์ 2539 ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของ นาย Michal Kovac ประธานาธิบดีสโลวัก

    - ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ (ดร.ประชา คุณะเกษม) เยือนสโลวาเกียระหว่างวันที่ 5-6 ธันวาคม 2544 โดยได้เข้าพบนาย Eduard Kukan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสโลวาเกีย

    - ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นำคณะเยือนสโลวาเกีย ออสเตรีย และสโลวีเนียอย่างเป็นทางการ โดยเยือนสโลวาเกียระหว่างวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2546 และได้พบหารือกับประธานาธิบดี รองประธานรัฐสภา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสโลวาเกีย

    - นางสาวทัศนัย เมี้ยนเจริญ รองอธิบดีกรมยุโรป เดินทางเยือนสโลวาเกีย ระหว่างวันที่
    27-28 พฤศจิกายน 2546 เพื่อเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

    - ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล ผู้แทนการค้าไทย เดินทางเยือนสโลวาเกียระหว่างวันที่ 29 กุมภาพันธ์ – 4 มีนาคม 2547

    - ดร สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนสโลวาเกีย ระหว่างวันที่ 2- 4 มีนาคม 2549
    การค้าระหว่างไทย-สโลวัก

    สโลวาเกียเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของไทย ในยุโรปกลาง โดยในปี พ.ศ. 2547 มีมูลค่า
    การค้ารวม 16.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 7.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้า 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยขาดดุลการค้า –1.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

    สินค้าที่ไทยส่งออก เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ รองเท้าและ
    ชิ้นส่วน วงจรพิมพ์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์-ไดโอด หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ

    สินค้าที่ไทยนำเข้า เครื่องจักรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
    ผลิตภัณฑ์เวชกรรม แผงวงจรไฟฟ้า ไดโอด ทรานซิสเตอร์ สินแร่โลหะ เครื่องประดับอัญมณี เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์


    ด้านการท่องเที่ยว

    นักท่องเที่ยวสโลวักมาไทย ในปี พ.ศ. 2545 : 2,649 คน พ.ศ. 2546 : 2,037 คน
    พ.ศ. 2547 (ช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม) : 1,932 คน

    ความตกลงระหว่างไทย-สาธารณรัฐสโลวัก

    1. ความตกลงที่ได้ลงนามแล้ว : โดยการสืบสิทธิ/และมีการยืนยันการสืบสิทธิระหว่างกันโดยการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูต

    เนื่องจากสาธารณรัฐสโลวักได้สืบสิทธิมาจากสหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก (เชโกสโลวาเกียเดิม) ซึ่งเป็นประเทศที่ไทยมีความสัมพันธ์มาตั้งแต่ปี 2517 สาธารณรัฐสโลวักจึงสืบสิทธิความตกลงต่าง ๆ ที่มีอยู่ระหว่างกันมาแต่เดิม ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีของไทยได้มีมติเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2535 รับรองให้ทั้งสาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐสโลวักเป็นผู้สืบสิทธิความตกลงที่ไทยมีอยู่ด้วยแล้ว ความตกลงฯ ที่ไทยและสโลวาเกียมีโดยการสืบสิทธิ ได้แก่

    1.1 ความตกลงทางการค้า (2521)
    1.2 พิธีสารแก้ไขความตกลงทางการค้า (2530)
    1.3 ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ (2531)
    1.4 ความตกลงเพื่อยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ (2534)

    2. ความตกลงที่ได้ลงนามแล้วโดยการจัดทำขึ้นใหม่ ได้แก่

    2.1 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมสโลวัก (2541)
    2.2 พิธีสารว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและสโลวัก (Protocol on Cooperation between the Ministry of Foreign Affairs of Thailand and the Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Slovak) (2543)
    2.3 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (2548)


    มกราคม 2550

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×