ลำดับตอนที่ #4
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : สาธารณรัฐชิลี
|
|
Republic of Chile |
ข้อมูลทั่วไป |
ภูมิอากาศ ภูมิอากาศไม่หนาวจัด แบ่งเป็น 4 ฤดู
- ฤดูร้อนระหว่างปลายธันวาคม มีนาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 13-29 องศาเซลเซียส
- ฤดูใบไม้ร่วงระหว่างปลายมีนาคม มิถุนายน อุณหภูมิเฉลี่ย 8-23 องศาเซลเซียส
- ฤดูหนาวระหว่างปลายมิถุนายน กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ย 4-16 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาวจะมีหมอกและฝนตก ความชื้นโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 50
- ฤดูใบไม้ผลิระหว่างปลายกันยายน ธันวาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 8-22 องศาเซลเซียส
พื้นที่ 756,950 ตารางกิโลเมตร โดยเฉลี่ยแล้วมีความกว้าง 174 กิโลเมตรจุดกว้างที่สุดประมาณ 362 กิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงซันติอาโก (Santiago) ตั้งขึ้นโดยกัปตันเรือชาวสเปนชื่อเปโดร เด วาลดีเวีย (Pedro de Valdivia)
ประชากร 16,134,219 คน (2549)
เมืองสำคัญ Santiago, Antofagasta, Valparaiso
ภาษา สเปน
ศาสนา นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 76.7 นิกายอีแวนเจอลิสต์ร้อยละ 12.4
เชื้อชาติ ร้อยละ 95 เป็นเชื้อชาติยูโรเปียน อาทิ สเปน เยอรมัน อังกฤษ อิตาเลียน นอกจากนั้นส่วนใหญ่เป็นอาหรับและยูโกสลาเวีย
อัตราการศึกษา อัตราผู้รู้หนังสือ ร้อยละ 96.2 (2548)
อาชีพ บริการร้อยละ 38.3 อุตสาหกรรมและการค้า ร้อยละ 33.8
เกษตรกรรม ป่าไม้ และประมง ร้อยละ 19.2 เหมืองแร่ ร้อยละ 2.3
หน่วยเงินตรา สกุล Chilean Peso
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ระหว่างประมาณ 585.19 เปโซ (2549)
เวลาต่างจากไทย ช้ากว่าไทย 11 ชั่วโมง
วันชาติ 18 กันยายน (ได้รับเอกราชจากสเปนปี พ.ศ. 2353)
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ UN, GATT, IBRD, ICAO, IMF, ITU, NAM, OAS, UNCTAD, UPU, WHO, WTO, APEC, CAIRNS GROUP, MERCOSUR (สมาชิกสมทบ)
การเมืองการปกครอง |
รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ปฏิรูปรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2548 โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ อาทิ ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 จากเดิม 6 ปี และยังคงข้อห้ามการดำรงตำแหน่งต่อเนื่องสองสมัย
ประมุขของประเทศ ประธานาธิบดี: นาง Michelle Bachelet Jeria
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Alejandro Foxley
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ วุฒิสภา (Senate) และสภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputies)
ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ทั้งนี้ ผู้พิพากษาศาลฎีกาได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และอยู่ในตำแหน่งจนเกษียณอายุ (75 ปี) และมีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 16 แห่งในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ โดยผู้พิพากษาเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือก หลังจากนั้น นำเสนอคณะกรรมการศาลฎีการเพื่อแต่งตั้งต่อไป ยกเว้นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองในรัฐสภามาเป็นเวลา 2 ปี
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด ธันวาคม 2548 และเลือกตั้งรอบสอง (runoff) มกราคม 2549
พรรคร่วมรัฐบาล รัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลผสม (รวมเรียกว่า Concertacion) ประกอบด้วยพรรคการเมืองต่างๆ 4 พรรคได้แก่
- Christian Democrat Party PDC
- Radical Social Democrat PRSD (ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน สังกัดพรรคนี้)
- Socialist Party PS และ
- Party for Democracy PPD
พรรคฝ่ายค้าน รวมเรียกชื่อว่า Union for Progress of Chile (UPC) ประกอบด้วย
- พรรค National Renovation RN
- พรรค Union Democratic Independence UDI
- Party for the South PDS
สถานการณ์การเมืองที่สำคัญ
- เปลี่ยนแปลงประธานาธิบดีจากนาย Ricardo Lagos Escobar เป็นนาง Michelle Bachelet พร้อมคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2549
เศรษฐกิจการค้า |
ชิลีมีระบบการปกครองเป็นสาธารณรัฐและแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 ภูมิภาค แต่ละภูมิภาคประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ รวมทั้งสิ้น 51 จังหวัด 355 อำเภอ
ฝ่ายบริหาร ชิลีมีประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยมาจากการเลือกตั้ง และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้แก่ นาง Michelle Bachelet ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 11 มีนาคม 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของชิลี คือ นาย Alejandro Foxley
รัฐบาลปัจจุบันของชิลีเป็นรัฐบาลผสม (รวมเรียกว่า Concertacion) ประกอบด้วย
พรรคการเมือง 4 พรรคได้แก่ 1. Christian Democrat Party (PDC) 2. Radical Social Democrat (PRSD) ซึ่งประธานาธิบดีคนปัจจุบัน สังกัดพรรคนี้ 3. Socialist Party (PS) และ 4. Party for Democracy (PPD) ซึ่งพรรคการเมืองทั้ง 4 ได้ร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของชิลีในยุคเผด็จการของนายพล Augusto Pinochet (ค.ศ. 1973 1990) และได้จัดตั้งรัฐบาลมาในทุกการเลือกตั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ.1990
ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ วุฒิสภา (Senate)
ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ทั้งนี้ ผู้พิพากษาศาลฎีกาได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และอยู่ในตำแหน่งจนเกษียณอายุ (75 ปี) และมีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 16 แห่งในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ
2. เศรษฐกิจ
ปัจจุบันชิลีเป็นประเทศที่มีพลวัตรและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองสูงที่สุดในลาตินอเมริกา ชิลีมีอัตราการเจริญทางเศรษฐกิจเป็นลำดับ 4 ของโลกในช่วงทศวรรษที่ 1990 และยังคงมีอัตราการเจริญเติบโตที่มั่นคงในปี ค.ศ. 2005 (5.9%)
และ ค.ศ. 2002 (3.5%) แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกจะอยู่ระหว่างการชะลอตัว นอกจากนี้ ชิลีมีระบบเศรษฐกิจเปิดและมีความตกลงด้านการค้าและความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ อาทิ
แคนาดา (1997) เม็กซิโก(1999) อเมริกากลาง (2001) เกาหลีใต้และสหภาพยุโรป (2002) European Free Trade Association (EFTA) รวมทั้งสหรัฐอเมริกา (2003) นอกจากนี้ ชิลีอยู่ระหว่างเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับสิงคโปร์ และศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำ FTA กับญี่ปุ่นและอินเดีย ทั้งนี้ ไทยและชิลีมีความสนใจที่จะจัดทำความตกลงดังกล่าวเช่นกันโดยได้ขณะนี้กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำร่วมกัน ประเทศคู่ค้าหลักของชิลีได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น บราซิล อาร์เจนตินา ในปี 2545 การส่งออกมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าส่งออกหลักได้แก่ ทองแดง ปลา (โดยเฉพาะแซลมอน) ผลไม้ เยื่อไม้และ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าอุปโภค-บริโภค ผลิตภัณฑ์เคมี ยานพาหนะ เชื้อเพลิง เครื่องจักร
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐชิลี |
ไทยและชิลีสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2505
โดยชิลีเปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2524 และไทยได้จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซันติอาโก เมื่อปี 2534 และเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก เมื่อเดือนเมษายน 2537 ต่อมาได้เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ที่เมือง Concepcion ในเดือนธันวาคม 2545 เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงซันติอาโกคนปัจจุบันคือ นางสาววิมล คิดชอบ ส่วนเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐชิลีประจำประเทศไทยคนปัจจุบันคือนาย Joaquin Montes
ไทยและชิลีมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามระดับความสัมพันธ์
และความร่วมมือระหว่างกันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า สังคม และวิชาการยังจำกัด ซึ่งรัฐบาล
กำลังหาแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อขยายความสัมพันธ์กับชิลีทั้งในระดับรัฐบาล เอกชน และประชาชนทั่วไปนอกจากนั้นในกรอบพหุภาคี ไทยและชิลียังมีความร่วมมือกับไทยในเวทีระหว่าง
ประเทศ โดยเฉพาะสหประชาชาติ เอเปค และเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (FEALAC)
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
มูลค่าการค้าระหว่างไทย-ชิลียังมีปริมาณไม่มากนัก ประมาณ 120 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยมูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2543 - 2548 และไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าจนกระทั่งปี 2546 ไทยมีโอกาสขยายตลาดในภูมิภาคลาตินอเมริกาได้อีกมาก โดยใช้ประโยชน์จากเขตการค้าเสรีต่างๆ ของชิลี ซึ่งสามารถใช้เป็นช่องทางส่งสินค้าของไทยผ่านไปยังประเทศเปรู โบลิเวีย ปารากวัย อาร์เจนตินาและบราซิลได้อีกด้วย นอกจากนี้ในส่วนของมาตรการกีดกันทางการค้า ชิลีเป็นประเทศที่มีนโยบายการค้าเสรี ค่อนข้างจะไม่มีข้อห้ามในการนำเข้าสินค้าและบริการ ปัญหาเรื่องการถูก
ร้องเรียนเกี่ยวกับการกีดกันทางการค้านับได้ว่ามีน้อย
สินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากชิลี ได้แก่ เยื่อกระดาษ (Cellulose) ทองแดง ปลาป่น
วุ้นสาหร่ายทะเล ปลาสดและแช่แข็ง เช่นปลาเทราท์ ปลาแซลมอน ผลไม้สด เช่น แอปเปิล องุ่น เหล็กและเหล็กกล้า หนังดิบและหนังฟอก เหล้าไวน์ สัตว์น้ำทะเลจำพวกหอยบรรจุกระป๋องและแช่แข็ง อนินทรีย์เคมี และไขสัตว์รวมทั้งน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์
สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปชิลี ได้แก่ รถยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ ปูนซีเมนต์ คอมพิวเตอร์ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ข้าว ยางและผลิตภัณฑ์ยาง พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก วิทยุแลโทรทัศน์ สับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด ปลากระป๋อง(ทูน่าและซาร์ดีน) รองเท้าและส่วนประกอบ ตู้เย็น เตาอบไมโครเวฟ เครื่องประดับอัญมณี เครื่องแก้ว วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์
ความตกลงด้านต่างๆ
- ความตกลงทางการค้า ลงนามเมื่อปี 2524
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ ลงนามเมื่อปี 2539
- ความตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อสนเทศเกี่ยวกับพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ลงนามเมื่อปี 2531
-ความตกลงเพื่อการยกเว้นการตรวจลงตราแก่ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ ลงนามเมื่อปี 2532
- ความตกลงความร่วมมือ Agreement of Cooperation between Socieded de Fomento Fabril (SOFOFA) and the Board of Trade of Thailand ลงนามเมื่อปี 2534
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับหอการค้ากรุงซันติอาโก ลงนามเมื่อปี 2538
- ข้อตกลงว่าด้วยการปรึกษาหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของไทยและชิลี ปี 2542
- ความตกลงเพื่อความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ลงนามเมื่อปี 2546
- บันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา ลงนามเมื่อ 2547
- ความตกลงทางวัฒนธรรม ลงนามเมื่อ 2549
- อนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อน ลงนามเมื่อเดือนกันยายน 2549
ความตกลงที่อยู่ระหว่างการพิจารณา คือ
- ร่างความตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน
- ร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
- ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร
- ร่างความตกลงว่าด้วยการตรวจลงตราท่องเที่ยวและทำงาน
- ร่างความตกลงการบิน
การเยือนระดับสูง
การเยือนชิลีของฝ่ายไทย
ระดับพระราชวงศ์
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนชิลีอย่างเป็นทางการ
ในเดือนตุลาคม 2539
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เสด็จเยือน
ชิลีเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีเสด็จเยือนชิลีอย่างเป็น
ทางการ เมื่อเดือนมีนาคม 2543
ระดับหัวหน้ารัฐบาลและรัฐมนตรี
- นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เยือนชิลีอย่างเป็นทางการ มิถุนายน 2542
ระดับรัฐมนตรี
- ม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนชิลี
อย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2539
- นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 เยือนชิลี เมื่อเดือน
พฤษภาคม 2540
- นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และคณะ เยือนชิลี เพื่อดูงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อเดือนพฤษภาคม 2540
- ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนชิลีในฐานะ
ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541
- นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 1 ของเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา (Forum for East Asia Latin America Cooperation : FEALAC) ที่กรุงซันติอาโก เมื่อเดือนมีนาคม 2544
- ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล ผู้แทนการค้าไทย พร้อมผู้แทนภาครัฐและเอกชน เยือนเปรู บราซิล อาร์เจนตินา และชิลี เมื่อเดือนกรกฎาคม 2545
- ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนชิลี ในช่วงการประชุม APEC 2547
- ดร. ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม The Third Ministerial Conference of the Community of Democracies เมื่อเดือนเมษายน 2548
- ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนชิลีเพื่อเข้าร่วมพิธีรับตำแหน่งของประธานาธิบดีชิลีคนใหม่ (นาง Michelle Bachelet) เมื่อเดือนมีนาคม 2549
การเยือนไทยของฝ่ายชิลี
- นาย Sergio Diez ประธานรัฐสภา เยือนไทย เมื่อเดือนธันวาคม 2539
- นาย Demetrio Infante อธิบดีกรมเอเชียและแปซิฟิก เยือนไทย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2541
- นาย Carlos Mladinic Alonso รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เยือนไทยเมื่อเดือนเมษายน 2542
- นาย Mario Fernandez รัฐมนตรีช่วยว่าการ/ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเยือนไทย
เมื่อเดือนตุลาคม 2542
- นาย Ricardo Lagos Escobar ประธานาธิบดีชิลีและนาง Maria Soledad Alvear รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม APEC เมื่อเดือนตุลาคม 2546
- นาย Ignacio Walker Prieto รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนไทย เมื่อเดือนมกราคม 2549
ปรับปรุงล่าสุด 13 ตุลาคม 2549
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น