ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปยุโรป

    ลำดับตอนที่ #32 : สาธารณรัฐมอลโดวา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.5K
      1
      2 ก.พ. 50



     
    สาธารณรัฐมอลโดวา
    Republic of Moldova


     
    ข้อมูลทั่วไป
    ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
    ในบรรดากลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช มอลโดวาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็กเป็นอันดับที่สอง รองจากอาร์เมเนีย ในประวัติศาสตร์ มอลโดวาเป็นรัฐเล็กๆ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ Prut กับ แม่น้ำ Dniestr ซึ่งรู้จักกันในครั้งนั้นว่า เบสซาเรเบีย (Bessarabia) เคยอยู่ภายใต้การปกครองของโรมาเนีย ต่อมาถูกรุกรานและมีการเปลี่ยนแปลงเขตแดนบ่อยครั้ง จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง รัฐนี้จึงได้ถูกผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสหภาพโซเวียต
    ในสมัยยุคกลาง ดินแดนส่วนใหญ่ของมอลโดวาที่ขณะนี้ถูกผนวกรวมกับโรมาเนียและยูเครน เคยอยู่ภายใต้การปกครองของฮังการีและลิทัวเนีย ในคริสตศวรรษที่ 16 ถูกตุรกีเข้ามาปกครอง และถูกผนวกรวมกับสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1812 อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากพ่ายแพ้ในสงครามไครเมีย
    สหภาพโซเวียตต้องเสียดินแดนส่วนหนึ่งของมอลโดวา (ทางใต้ของ Bessarabia) ให้
    โรมาเนีย แต่ก็ได้กลับคืนมาอีกครั้ง ในระหว่างการประชุม Congress of Berlin ในปีค.ศ. 1878 ต่อมาสหภาพโซเวียตต้องเสียดินแดน Bessarabia ให้โรมาเนียอีกครั้งในปี ค.ศ. 1918 และในปี ค.ศ. 1924 สหภาพโซเวียตได้จัดตั้งดินแดนอิสระมอลดาเวียแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตขึ้น (The Moldavian Autonomous Soviet Socialist Republic : ASSR) ทางภาคตะวันออกของแม่น้ำ Dniestr (ประชากรส่วนใหญ่เป็นมีเชื้อชาติยูเครน) และไม่ยอมรับการอ้างสิทธิ์ของโรมาเนียเหนือดินแดน Bessarabia
    ภายหลังจากการลงนามสนธิสัญญานาซี - โซเวียต (the Nazi - Soviet pact) ในปี ค.ศ. 1939 สหภาพโซเวียตได้ดินแดน Bessarabia กลับคืนมาและผนวกรวมกับ Moldavian ASSR ในปี ค.ศ. 1940 และเสียดินแดนส่วนใหญ่ของมอลโดวาให้โรมาเนียอีกครั้งเมื่อเยอรมันบุกสหภาพโซเวียตในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 ยกเว้นทางด้านตะวันออกของแม่น้ำ Dniestr ส่วนบริเวณ Tranistria ซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำ Dniestr กับแม่น้ำ Bug ก็ถูกครอบครองโดยกองกำลังทหารของโรมาเนียที่เข้าไปสร้างความโหดร้ายให้แก่ชาวพื้นเมืองเป็นอย่างมาก ในขณะที่ชาวยิวและชาวยิบซีได้รับการยกเว้น อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง มอลโดวาก็กลับมาอยู่ภายใต้การครอบครองของสหภาพโซเวียตอีกครั้งในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944
    เขตแดนในปัจจุบันของมอลโดวาถูกกำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 1947 เมื่อได้มีการจัดตั้งดินแดนอิสระมอลดาเวีย ASSR อีกครั้ง และโรมาเนียยอมยกมอลโดวาให้สหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ ดังนั้น จึงมีการรื้อฟื้นการปกครองแบบโซเวียต และสาธารณรัฐมอลโดวาก็เข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนให้เป็นรัสเซีย อย่างเข้มงวด (Rigorous Russiafication) ทำให้ในระหว่างนั้น มอลโดวาถูกแยกออกจากการปกครองของโรมาเนียอย่างเด็ดขาด อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้ผู้อพยพชาวยูเครนกับชาวรัสเซียเข้าไปตั้งถิ่นฐานในมอลโดวา โดยเฉพาะบริเวณเขตอุตสาหกรรม Trandniestr
    นโยบาย Russiafication ในมอลโดวาดำเนินไปอย่างเข้มข้นตลอดระยะเวลาหลังสงครามโลก ครั้งที่สองและเริ่มเบาบางลงเมื่อสหภาพโซเวียตมีนโยบายเปิดกว้าง (Glasnost) ในปลายปี ค.ศ. 1986 และต่อมาในปี ค.ศ. 1989 กระบวนการแยกตัวเป็นเอกราชและการปฏิรูปประเทศของมอลโดวาก็เริ่มชัดเจนขึ้น โดยผลที่เป็นรูปธรรมที่สุด คือ การที่รัฐบาลสหภาพโซเวียตต้องยอมให้ภาษามอลโดวาภาษาราชการแทนการใช้ภาษารัสเซีย
    ภายหลังจากนาย Mircea Druc นักเศรษฐศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 นาย Druc ได้ริเริ่มแผนปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการเมือง จนกระทั่งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1990 รัฐสภามอลโดวาได้ออกเสียงที่จะให้มีการประกาศเอกราชและการร่างรัฐธรรมนูญ จนในที่สุดมอลโดวาก็ได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1991 พร้อมทั้งได้เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังทหารออกจากมอลโดวาและจัดตั้งกองกำลังแห่งชาติมอลโดวาขึ้นแทน
    ที่ตั้ง อยู่ระหว่างโรมาเนียกับยูเครน
    ทิศเหนือ ใต้ และตะวันออก ติดยูเครน
    ส่วนทิศตะวันตก ติดโรมาเนีย

    พื้นที่ 33,843 ตารางกิโลเมตร ไม่มีทางออกทะเล

    ประชากร
    4,466,706 (July 2006 est.) แบ่งเป็น ชาวมอลโดวาร้อยละ 64.5 ชาวยูเครนร้อยละ 14 ชาวรัสเซียร้อยละ 13
    ศาสนา คริสต์ นิกาย Eastern Orthodox ร้อยละ 98.5 ยิว ร้อยละ 1.5

    เมืองหลวง กรุงคิชิเนฟ (Chisinau: 0.8 ล้านคน)

    ภูมิอากาศ แบบภาคพื้นทวีป

    ภาษาราชการ ภาษามอลโดวา (Moldovan language : ภาษาเดียวกับภาษาโรมาเนีย ในตระกูลโรมานซ์ Italic) ภาษารัสเซีย และ gagauz (ภาษาถิ่นตุรกี)

    สกุลเงิน เล (Leu) ใช้เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2536
    อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ - 12.6 (2005), 12.33 (2004), 13.945 (2003), 13.571 (2002), 12.865 (2001)
    วันชาติ 27 สิงหาคม (วันเดียวกับวันประกาศเอกราช 27 สิงหาคม 2534)

    เวลา เร็วกว่ามาตรฐาน GMT +2 ชั่วโมง (ช้ากว่าไทยประมาณ 4 ชั่วโมง)

    ทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุต่างๆ เช่น ลิกไนต์ ฟอสฟอไรต์ ยิปซัม

    สมาชิกภาพองค์การระหว่างประเทศ ACCT, BSEC, CE, CEI, CIS, EAPC, EBRD, FAO, GUAM, IAEA, IBRD, ICAO, ICCt (signatory), ICFTU, IDA, IFAD, IFC, IFRCS, ILO, IMF, IMO, Interpol, IOC, IOM, IPU, ISO (correspondent), ITU, MIGA, OIF, OPCW, OSCE, PFP, SECI, UN, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, UNMIL, UNMIS, UNOCI, UPU, WCO, WHO, WIPO, WMO, WToO, WTO



    การเมืองการปกครอง
    ระบบการเมือง สาธารณรัฐประชาธิปไตยโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

    สถานการณ์การเมืองภายในประเทศ
    มอลโดวาได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 ซึ่งภาษาที่ใช้ในรัฐธรรมนูญยังคงเป็นภาษาโรมาเนีย อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้แสดงถึงความเป็นเอกราชและยืนยันความเป็นกลางของมอลโดวา โดยประกาศว่า
    มอลโดวาเป็นรัฐอิสระที่เป็นกลางไม่ผูกพันตนเองกับประเทศใด (ทั้งโรมาเนียและ
    รัสเซีย) รวมทั้งให้สิทธิเท่าเทียมกันแก่ชนกลุ่มน้อย โดยมีภาษาประจำชาติชื่อว่าภาษามอลโดวา (Moldovan) และรัฐสภามีอำนาจมากกว่าประธานาธิบดี เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเผด็จการและการผูกขาดอำนาจ ซึ่งจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้แสดงให้เห็นว่าประชาชน
    มอลโดวาได้ลดความต้องการที่จะรวมมอลโดวาเข้ากับโรมาเนีย และความพยายามสร้างความเป็นรัฐมอลโดวาที่เอกลักษณ์ของตนเอง ทำให้แนวความคิดที่จะแบ่งแยกดินแดนของชนกลุ่มน้อยต่างๆ ได้ผ่อนคลายลง เนื่องจากในช่วงแรกของการประกาศเอกราช ประชาชนส่วนใหญ่ของมอลโดวาซึ่งเป็นกลุ่มเชื้อชาติเดียวกับโรมาเนียพยายามที่จะรวมมอลโดวาเข้ากับโรมาเนีย มีการใช้กฏหมายเป็นภาษาโรมาเนีย และมีการใช้เพลงชาติ
    โรมาเนีย จึงทำให้ประชาชนเชื้อสายรัสเซียและชาวยูเครนในดินแดน Transdniestr ทางฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำ Dniestr ไม่พอใจ และต้องการแยกดินแดนหรือให้มอลโดวาเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นสมาพันธรัฐ (Confederation) คือรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ของรัฐต่าง ๆ และยังมีชนกลุ่มน้อยเชื้อสายเติร์กนับถือศาสนาคริสต์ ในดินแดน Gagauz (ดินแดนเล็กๆ บริเวณเมือง Komrat) ทางตอนใต้ของประเทศ ที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนอีกด้วย เนื่องจาก ชนกลุ่มน้อยทั้งสองกลุ่มนี้มีความกังวลถึงสถานภาพของเชื้อชาติตนภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐมอลโดวาแห่งใหม่นี้
    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวโน้มความขัดแย้งในดินแดน Transdniestr จะลดลง แต่รัสเซียก็ยังคงรักษากองกำลังทหาร (กองพลที่ 14) ไว้ในดินแดนดังกล่าว รัฐบาลมอลโดวาได้ขอให้รัฐบาลรัสเซียถอนทหารออกภายในสิ้นปี ค.ศ. 1995 แต่รัสเซียขอยืดเวลาออกไปอีก 4 ปี ทั้งนี้ ไม่ใช่เนื่องจากความเกรงกลัวความไม่สงบที่อาจปะทุขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะรัฐบาลรัสเซียเกรงกลัวการลุกฮือของกลุ่มชาตินิยมหัวรุนแรงในประเทศที่อาจตำหนิรัฐบาลรัสเซียว่าทอดทิ้งประชาชนเชื้อสายรัสเซียซึ่งถูกปิดล้อมในดินแดนของรัฐอื่น ตามหลักแล้วกองกำลังนี้ต้องรักษาความเป็นกลางแต่กลับให้การสนับสนุนกองกำลังต่อต้านรัฐบาลกลาง
    ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 เป็นต้นมา ลักษณะการเมืองของมอลโดวาเปลี่ยนจุดเน้นจากพรรคมาเป็นการเน้นที่ตัวบุคคลที่เป็นผู้นำแทน ดังจะเห็นได้จากการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1996 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี ค.ศ. 2001
    การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2005 และจะมีการจัดการเลือกตั้งอีกทีปี 2009 ผลการเลือกตั้ง- PCRM 46.1%, Democratic Moldova Bloc 28.4%, PPCD 9.1%, other parties 16.4%; -
    มีการจัดการเลือกตั้งผู้นําประเทศล่าสุดเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2005 และจะมีการจัดการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี 2009
    โดยผลการเลือกตั้งล่าสุด นาย Vladimir VORONIN หัวหน้าพรรค Communist ได้รับเลือกเป็น ปธน. อีกสมัย
    นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันจึงมีแนวโน้มที่จะใกล้ชิดกับรัสเซีย และเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ลดอัตราคนว่างงาน ควบคุมราคาสินค้าในตลาด สนับสนุนการผนวกมอลโดวารวมเข้ากับสหภาพร่วมรัสเซีย-เบลารุส ให้ความสำคัญในอันดับแรกกับการแสวงหาแนวทางเพื่อยุติความขัดแย้งกับกลุ่มสลาฟแบ่งแยกดินแดนทางตอนเหนือของประเทศ ปฏิบัติตามแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ World Bank และ IMF เสนอแนะ และเป็นเพื่อนบ้านที่ดีกับโรมาเนียและยูเครน

    ปัญหาความขัดแย้งเหนือดินแดน Transdniestr กับ Gaugaz
    การมุ่งมั่นอย่างเร่งด่วนของรัฐบาลมอลโดวาที่จะประกาศเอกราชถูกชนชาติรัสเซียและยูเครนที่อาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันออกของ Transdniestr มองว่าเป็นก้าวแรกในการรวมชาติมอลโดวาเข้ากับโรมาเนีย เนื่องจากประชากรเหล่านี้เคยมีประสบการณ์อันเลวร้ายจากการตกอยู่ภายใต้การปกครองของทหารโรมาเนียในปี ค.ศ.1941 จึงมีการลงประชามติขอแยกตัวออกจากมอลโดวาในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1990 ซึ่งถูกยกเลิกโดยทันทีโดยรัฐบาลมอลโดวา และจากเหตุการณ์นี้ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับรัฐบาลมอลโดวาและมีการใช้กำลังกันขึ้น ซึ่งในหลักการแล้วกองกำลังที่ 14 ของรัสเซียต้องมีการวางตัวที่เป็นกลาง แต่ในทางปฏิบัติกองกำลังดังกล่าวกลับให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลมอลโดวาในขณะเดียวกัน ฝ่ายมอลโดวาก็ได้รับการสนับสนุนจากโรมาเนีย อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ประชากรบริเวณฝั่งตะวันออกของ Transdniestr ประสงค์จะมีนโยบายและมีการใช้เงินเป็นของตนเองภายใต้การนำของนาย Igor Smirnov รัฐบาลรัสเซียก็ไม่ได้ให้การรับรองทั้งในส่วนของการประกาศเอกราชและความประสงค์ของดินแดนนี้ที่ต้องการจะรวมตัวกับรัสเซีย
    สำหรับชาว Gaugazi ซึ่งเป็นชาวตุรกี นับถือศาสนาคริสต์ ที่อยู่รอบๆ เมือง Komrat ทางตอนใต้ของมอลโดวา ประชากรในแคว้นนี้รู้สึกกังวลต่อการเพิ่มอำนาจของกลุ่มนิยมโรมาเนียของรัฐบาลมอลโดวา และได้เรียกร้องขอเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองในปี ค.ศ. 1989 และในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1990 ชาว Gagauzi ประกาศตัวเป็นแคว้นปกครองตนเอง “Gagauz SSR” ซึ่งถูกรัฐบาลมอลโดวาสั่งยกเลิกคำประกาศนี้โดยทันที ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994 หลังจากมีการเลือกตั้งครั้งแรกของมอลโดวาภายหลังการประกาศเอกราช ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างรับบาลมอลโดวากับชาว Gagauzi เนื่องจากกลุ่มชาตินิยมโรมาเนีย (pan Romanian) เริ่มเสื่อมถอยอำนาจ และพรรค Democratic Agarian Party (ADP) ก็มีอำนาจเหนือกลุ่มเชื้อชาติอื่นๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภายใต้หลักกฎหมายที่ได้ประกาศใช้ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1995 นั้น รัฐบาลมอลโดวาให้สัตยาบันรับรอง “สถานภาพพิเศษ” ของแคว้น Gagauz โดยแคว้น Gagauz ยังคงเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของของสาธารณรัฐมอลโดวา แต่ยินยอมให้มีการใช้ภาษา Gagauz เป็นภาษาราชการควบคู่กับภาษา Moldavan และภาษารัสเซีย พร้อมๆ กับการได้รับอำนาจในการบริหารส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการเลือกตั้งสภา งบประมาณ การศึกษา สุขภาพ ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับว่าการเรียกร้องขอมีสิทธิปกครองตนเองมากขึ้นของ Gagauz มีความราบรื่นกว่าการเรียกร้องดินแดน Transdniestr

    เขตการปกครอง แบ่งเป็น 10 เขตการปกครอง (juletule) 1 เทศบาลเมือง (Chisinau) และ 1 เขตปกครองตนเองอิสระ (gagauzia)

    ประธานาธิบดี นาย Vladimir VORONIN
    (หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2544)

    นายกรัฐมนตรี นาย Vasile TARLEV (เข้ารับตำแหน่ง 15 เมษายน 2544)

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนาย Andrei Stratan (เข้ารับ
    ตําแหน่งเมื่อเดือน ก.พ. ค.ศ. 2004 และรองนรม. มอลโดวา เดือนธ.ค. ค.ศ.2004)

    สถาบันทางการเมือง - ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบสภาเดียว (Unicameral Parliament or Parliamentul) ประกอบด้วยสมาชิก 101 คน เลือกตั้งโดยประชาชน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
    การเลือกตั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2005 และจะมีการจัดการเลือกตั้งอีกทีปี 2009 ผลการเลือกตั้ง
    - PCRM 46.1%, Democratic Moldova Bloc 28.4%, PPCD 9.1%, other parties 16.4%; -
    จำนวนที่นั่งของแต่ละพรรคในสภา
    PCRM 56, Democratic Moldova Bloc 34, PPCD 11
    - ฝ่ายบริหาร
    หัวหน้าของรัฐได้แก่ ปธน. Vladimir VORONIN ตั้งแต่ 4 เมษายน 2001
    หัวหน้ารัฐบาลได้แก่ นายกรัฐมนตรี Vasile TARLEV ตั้งแต่ 15 เมษายน 2001
    เลือกตั้งประธานาธิบดี 4 ปีต่อครั้ง ซึ่งมีการจัดการเลือกตั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2005 และจะมีการจัดการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี 2009
    โดยผลการเลือกตั้งล่าสุด นาย Vladimir VORONIN ได้รับเลือกเป็น ปธน. อีกสมัย
    - ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาลฎีกา (Supreme Court) และศาลรัฐธรรมนูญ
    พรรคการเมือง Braghis Faction [Dumitru BRAGHIS]; Christian Democratic People's Party or PPCD [Iurie ROSCA]; Communist Party of the Republic of Moldova or PCRM [Vladimir VORONIN, first chairman]; Democratic Moldova Bloc (comprised of the AMN, Democratic Party, and PSL); Democratic Party [Dumitru DIACOV]; Our Moldova Alliance or AMN [Serafim URECHEANU]; Social Liberal Party or PSL [Oleg SEREBRIAN]

    เศรษฐกิจการค้า
    สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ
    มอลโดวาเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในยุโรป มีหนี้ต่างประเทศจำนวนมากและอัตราการว่างงานสูง ประชาชนส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรมและมีฐานะยากจน โดยเศรษฐกิจพึ่งพาภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก และต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด แม้รัฐบาลจะปฏิรูปเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีมากขึ้น โดยได้รับความช่วยเหลือจาก World Bank และ IMF แต่ปัญหาการขาดพลังงานสำรอง ผลิตผลทางเกษตรกรรมที่ต่ำเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจมอลโดวายังคงล้าหลัง
    นอกจากนี้ รัสเซียได้ยุติการให้สิทธิพิเศษในการขายน้ำมันและก๊าซในราคามิตรภาพให้แก่มอลโดวา ซึ่งมอลโดวาไม่ยอมรับราคาที่สูงขึ้นส่งผลให้ Gazprom ระงับการส่งออกก๊าซไปยังมอลโดวาชั่วคราว แต่ได้ส่งต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้
    ปัจจุบัน ภาวะเศรษฐกิจของมอลโดวามีแนวโน้มที่ดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของมอลโดวาคิดเป็นประมาณร้อยละ 7.1 ในปี 2005เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2001 (ร้อยละ 1.9)และปี ค.ศ. 2000 (ร้อยละ -3.3 ) อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิรูปเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 2001 ภายใต้การปฏิรูปเศรษฐกิจดังกล่าวได้มีการแปรรูปวิสาหกิจหลายแห่ง อาทิ อุตสาหกรรมยาสูบ โรงงานกลั่นไวน์ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศและโครงสร้างทางเศรษฐกิจแล้ว กล่าวได้ว่า มอลโดวาเป็นประเทศที่มีศักยภาพในด้านการเกษตร โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร เนื้อสัตว์ ยาสูบ ไวน์
    GDP (purchasing power parity)
    $8.41 billion (2005 est.)
    GDP (official exchange rate)
    $2.416 billion (2005 est.)
    GDP - real growth rate:
    7.1% (2005 est.)
    GDP - per capita (PPP)
    $1,900 (2005 est.)
    GDP -แบ่งตามสาขา
    เกษตร : 21.3%
    อุตสาหกรรม: 23.3%
    บริการ: 55.5% (2005 est.)
    แรงงาน
    1.34 million (2005 est.)
    อัตราว่างงาน
    8%;
    อัตราเงินเฟ้อ
    11.9% (2005 est.)
    อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องจักร เครื่องแช่แข็ง เครื่องซักผ้า
    อัตราการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรม
    17% (2003 est.)
    ดุลย์การค้า
    $-285 million (2005 est.)
    มูลค่าการส่งออก
    $1.04 billion f.o.b. (2005 est.)
    สินค้าส่งออก
    อาหาร สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากผัก เครื่องจักรและอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์แร่
    ตลาดส่งออกที่สําคัญ
    รัสเซีย อิตาลี โรมาเนีย ยูเครน เยอรมนี
    มูลค่าการนําเข้า
    $2.23 billion f.o.b. (2005 est.)
    สินค้านำเข้าที่สำคัญ
    ผลิตภัณฑ์แร่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ โลหะและผลิตภัณฑ์โลหะ
    ตลาดนําเข้าที่สําคัญ
    ยูเครน รัสเซีย เยอรมนี โรมาเนีย อิตาลี

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐมอลโดวา
    ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
    แม้ว่ามอลโดวาจะเป็นสมาชิกกลุ่มเครือรัฐเอกราช แต่ในตอนแรก มอลโดวาไม่ได้แสดงความกระตือรือร้นในการลงนามในข้อตกลง Almaty ที่ก่อตั้งกลุ่มเครือรัฐเอกราช (CIS) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการรวมตัวเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม มอลโดวาได้ปฏิเสธในการเข้าร่วมเป็นสหภาพทางภาษี การเงิน การรักษาความมั่นคงร่วมกันตามรัฐธรรมนูญของประเทศ มอลโดวาเป็นรัฐเอกราชที่รักษาความเป็นกลาง อย่างไรก็ตาม มอลโดวาเข้าเป็นหุ้นส่วนสันติภาพกับนาโต ในปี ค.ศ. 1994 และมีกองกำลังรักษาสันติภาพในมอลโดวา ซึ่งเป็นกองกำลังร่วมระหว่างรัสเซีย มอลโดวา ยูเครน และกองกำลังจากองค์การความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE)
    ความสัมพันธ์ทางการเมืองการทูต
    หลังจากสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลงในช่วงปลายปี 2534 โดยสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งเคยรวมเป็นสหภาพโซเวียตได้แยกตัวออกเป็นอิสระ และประกาศตัวเป็นเอกราช รวม 12 ประเทศ ได้แก่ สหพันธรัฐรัสเซีย ยูเครน เบลารุส คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน จอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน เติร์กเมนิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กิซ และมอลโดวา ซึ่งไทยก็ได้ให้การรับรองเอกราชของประเทศเหล่านี้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 และทั้ง 11 ประเทศ ยกเว้นจอร์เจีย ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent State-CIS)
    ต่อมา ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐ
    มอลโดวา ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2535 โดยทั้งสองฝ่ายยังมิได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตในเมืองหลวงของกันและกัน ฝ่ายไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก รับผิดชอบดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-มอลโดวา ซึ่งเอกอัครราชทูต มอลโดวาคนปัจจุบันได้แก่ นายรังสรรค์ พหลโยธิน ในขณะที่มอลโดวาได้มีการมอบหมายให้ สอท. ของตนในมอสโกดูแลประเทศไทย
    การแลกเปลี่ยนการเยือน
    นับแต่สถาปนาความสัมพันธ์ยังไม่มีการเยือนระหว่างกัน เว้นแต่การเดินทางไปยื่นพระราชสาส์นของเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก โดยล่าสุด นายสรยุตม์ พรหมพจน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโกได้เดินทางไปยื่นพระราชสาส์นที่มอลโดวา ระหว่างวันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004
    - ความสัมพันธ์ด้านกงสุล : การขอรับการตรวจลงตรา
    ประเทศไทยก็มีสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ในรัสเซียซึ่งสามารถ กระจายการให้บริการด้านกงสุลแก่ชาวมอลโดวาถึง 3 แห่ง ได้แก่ กรุงมอสโก นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเมือง วลาดิวอสต็อก และแม้ว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติวันที่ 18 ธ.ค. 44 ให้ปรับปรุงรายชื่อประเทศที่สามารถขอ visa-on-arrival (พำนักอยู่ในประเทศไทยได้ 15 วัน) ได้ลดจำนวนประเทศลงจาก 96 ประเทศ เหลือ 15 ประเทศ โดยมอลโดวาอยู่ในรายชื่อประเทศที่ถูกตัดด้วย แต่ในทางปฏิบัติมาตรการดังกล่าวยังไม่ได้นำมาใช้ในปัจจุบัน

    - การตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์
    เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2545 ในโอกาสที่นายรังสรรค์ พหลโยธิน เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุง มอสโกเดินทางไปยื่นพระราชสาส์นที่มอลโดวา นาย Petru Lucinshi ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐมอลโดวา ได้ตอบรับข้อเสนอของออท.ฯ ที่จะให้มีการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ ประจำเมืองหลวงของประเทศทั้งสอง และต่อมากระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือถึงประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อขอความร่วมมือสภาหอการค้าฯ เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวให้แก่นักธุรกิจที่สนใจทราบ

    ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
    สถานะของมอลโดวาในการค้าระหว่างประเทศกับไทย
    สถานะความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับมอลโดวา มิได้อยู่ในลำดับแรกของความสัมพันธ์ระหว่างไทย
    กับประเทศสมาชิก CIS เนื่องจากมอลโดวาเป็นสาธารณรัฐขนาดเล็ก ประชากรน้อย (มอลโดวาเป็นหนึ่งใน
    สาธารณรัฐที่มีดินแดนเล็กที่สุดของอดีตสหภาพโซเวียต) เป็นประเทศเกษตรกรรมที่ยากจน และการพัฒนาไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบการตลาดก็ยังดำเนินไปอย่างเชื่องช้า การค้าและการลงทุนส่วนใหญ่ของมอลโดวากระทำกับประเทศ CIS และโรมาเนีย แต่การค้ามากกว่า 70 % ยังดำเนินไปในรูปของ Barter trade
    ด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้ชิดกับตลาดยุโรปตะวันตก เปิดโอกาสให้มอลโดวาสามารถขยายการ ส่งออกของตนในด้านการผลิตเกษตรกรรมไปยังประเทศต่างๆ ได้ แต่ภาวะที่มอลโดวามีอัตราการพึ่งพิงทางการค้ากับกลุ่ม CIS ยังต้องดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้ การมีที่ตั้งใกล้เคียงกับยูเครนซึ่งมีขนาดใหญ่และมีเศรษฐกิจที่หลากหลาย อาจส่งผลให้มอลโดวาไม่อาจแข่งขันกับยูเครนได้ ซึ่งนับว่าเป็นข้อจำกัดในการขยายการค้าและความร่วมมือกับต่างๆ ประเทศในกรอบที่กว้างกว่ากลุ่ม CIS
    มอลโดวายังมีปัจจัยทางการเมืองที่อาจจะกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ กล่าวคือ ความไม่สงบอันเกิดจากชนกลุ่มน้อยชาวรัสเซีย หากมีความตึงเครียดทางการเมืองเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลในด้านการลดผลผลิต และการอพยพออกของแรงงานชาวรัสเซียซึ่งเป็นแรงงานที่มีฝีมืออีกด้วย

    3.2 ความสัมพันธ์ทางการค้าไทย-มอลโดวา

     การค้ารวม การค้าระหว่างไทยกับมอลโดวายังอยู่ในระดับที่ต่ำมากและมีความไม่แน่นอน และคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยโดยรวม (ร้อยละเกือบ 0.0) โดยจัดเป็นประเทศคู่ค้าที่มีมูลค่าการค้ากับไทยเป็นลำดับรองสุดท้ายของการค้าระหว่างไทยกับกลุ่ม CIS 12 ประเทศ สำหรับในปี ค.ศ. 2003 การค้าระหว่างไทยกับมอลโดวามีมูลค่าทางการค้ารวมเพียง 2.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 46.71 โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 2.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และล่าสุดในช่วง 4 เดือนแรกของปี ค.ศ. 2004 การค้าระหว่างกันมีมูลค่า 29,033 ดอลลาร์ สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี ค.ศ. 2003
    ในปี 49 ในช่วง 9 เดือนแรก มูลค่าทางการค้าอยู่ที่ 130,000 แสน USD (ไทยส่งออก 6 หมื่น USD นำเข้า 7 หมื่น USD ไทยขาดดุล 1 หมื่น USD)
    ไทยส่งออก ผลิตภัณฑ์พลาสติก
    ไทยนำเข้า เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องประดับ
    -ลู่ทางทางการค้า
    วิธีการซื้อขายในระยะแรกอาจใช้วิธี barter trade เนื่องจากมอลโดวามีความขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ โดยอาจขนส่งสินค้าโดยใช้ท่าเรือ Odessa ของยูเครน ซึ่งห่างจากมอลโดวาประมาณ 177 กิโลเมตร
    นอกจากนั้น วิธีการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ อาจกระทำโดยการแลกเปลี่ยนการเยือนของคณะผู้แทนการค้าระหว่างสองฝ่าย การจัดแสดงสินค้าไทยมอลโดวา และแสดงสินค้ามอลโดวาในไทย
    (สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของมอลโดวาได้แสดงความประสงค์ที่จะจัดแสดงสินค้าไทยขึ้นในกรุงคิชินอฟ เมืองหลวงของมอลโดวา)
    ฝ่ายมอลโดวาเคยเสนอซื้อจากไทย ได้แก่ ข้าว น้ำตาล โดยวิธี barter trade และเคยเสนอขาย Electrical Pump ที่มีศักยภาพในการสูบของเหลวในระดับความลึก 250 เมตร
    สินค้าที่ฝ่ายไทยอาจซื้อจากมอลโดวา ได้แก่ อัญมณี หนังสัตว์ เครื่องดื่มประเภทไวน์และคอนยัค เมล็ดทานตะวัน ซีเมนต์ ปุ๋ยเคมี พรม ไม้ หินอ่อน เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ และแปรรูปสินค้าเกษตร

    ความร่วมมือด้านการลงทุน
    -ลู่ทางการลงทุน
    ฝ่ายมอลโดวาได้เสนอให้ฝ่ายไทยร่วมลงทุนในกิจการต่างๆ เช่น การแปรรูปสินค้าเกษตร การผลิตน้ำตาล เครื่องดูดฝุ่นยี่ห้อ tapas เครื่องจักรกลขนาดเล็กที่ใช้ในการเกษตร อุตสาหกรรมหนังสัตว์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตู้เย็น คอมพิวเตอร์ ฯลฯ

    สินค้าที่ไทยส่งไปขายยังมอลโดวา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ถั่วต่างๆข้าว ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ผลไม้สดแช่เย็น เครื่องเทศและสมุนไพร เป็นต้น

    สินค้าที่ไทยนำเข้าจากมอลโดวา ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเบรก หลอดและท่อโลหะ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เป็นต้น

    ความร่วมมือในด้านต่างๆ
    การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
    ไทยได้ให้ความช่วยเหลือมอลโดวาที่ประสบภัยแล้ง ในครั้งที่มอลโดวาประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางด้านการเกษตรเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ในปี ค.ศ. 2000 ซึ่งทำให้ผลิตผลทางการเกษตรเสียหายอย่างมาก โดยไทยได้บริจาคเงินแก่รัฐบาลมอลโดวาเป็นจำนวน 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมอบหมายให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก เป็นผู้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปมอบให้ฝ่าย
    มอลโดวา
    ความช่วยเหลือทางการวิชาการและเทคโนโลยี
    เนื่องจากมอลโดวาเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประเทศไทย และมีสถาบันวิจัยด้านการเกษตรที่ก้าวหน้า ดังนั้น จึงอาจมีการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรระหว่างกันได้ ทั้งนี้ มอลโดวาเคยขอรับความช่วยเหลือจากไทยในการฝึกอบรมบุคคลากรด้านการเกษตร ซึ่งไทยมีความชำนาญ
    นอกจากนี้ มอลโดวาเคยแสดงความสนใจเรื่องฝนเทียม และขอรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีการทำฝนเทียมจากไทย ซึ่งไทยได้จัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องผ่านทาง สอท. ณ กรุงมอสโกให้แก่
    มอลโดวาในปี ค.ศ. 2001

    ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
    ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวจากกลุ่มเครือรัฐเอกราชเป็นกลุ่มตลาดใหม่ที่มีการขยายตัวดีมาก แต่นักท่องเที่ยวจากมอลโดวายังเดินทางมาไทยในปริมาณน้อย โดยในปี ค.ศ. 2002 มีนักท่องเที่ยวชาว มอลโดวาเดินทางเข้ามาในไทยจำนวน 176 คน เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 2001 ที่มีจำนวน 119 คน และในปี 2006 มีนักท่องเที่ยวมอลโดวามาประเทศไทย จํานวน 277 คน

    ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมการผลิตและส่งออกไวน์
    มอลโดวามีศักยภาพในการผลิตไวน์ชั้นดีที่มีคุณภาพเทียบเคียงกับประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ของโลกแต่ขายในราคาที่ต่ำกว่ามาก โดยปัจจุบันมอลโดวาส่งออกไวน์จำนวนมากไปยังประเทศในยุโรป รวมทั้งพระราชสำนักสมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช และจีน ดังนั้น ไวน์จากมอลโดวาจึงน่าจะเป็นโอกาสและทางเลือกใหม่สำหรับผู้นำเข้าไวน์ของไทย ทั้งนี้ ปัจจุบันอุตสาหกรรมไวน์ของมอลโดวาได้พัฒนาไปพอสมควร โดยมีการพัฒนาสายพันธุ์องุ่นและกรรมวิธีการผลิตบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รัฐบาลมอลโดวามีโครงการพัฒนาไร่องุ่นสำหรับผลิตไวน์ในพื้นที่ 250,000 เฮคเตอร์ ซึ่งต้องการการเข้ามาร่วมลงทุนของนักธุรกิจต่างชาติแบบครบวงจรเพื่อการส่งออก

    ความตกลงทวิภาคี
    - ความตกลงที่อยู่ในระหว่างการเจรจา
    1. ฝ่ายมอลโดวาเป็นผู้เสนอร่างความตกลง
    1.1 ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน
    1.2 ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้อน
    1.3 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจการค้า วิทยาศาสตร์ และวิชาการ


    การให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและความช่วยเหลือต่างๆ
    - การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
    ไทยได้ให้ความช่วยเหลือมอลโดวาที่ประสบภัยแล้ง ในครั้งที่มอลโดวาประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางด้านการเกษตรเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ในปี 2543 ซึ่งทำให้ผลิตผลทางการเกษตรเสียหายอย่างมาก โดยไทยได้บริจาคเงินแก่รัฐบาลมอลโดวาเป็นจำนวน 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมอบหมายให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก เป็นผู้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปมอบให้ฝ่ายมอลโดวา
    - ความช่วยเหลือทางการวิชาการและเทคโนโลยี
    เนื่องจากมอลโดวาเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประเทศไทย และมีสถาบันวิจัยทางด้านการเกษตรที่ก้าวหน้า ดังนั้น จึงอาจมีการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรระหว่างกันได้ ทั้งนี้ มอลโดวาเคยขอรับความช่วยเหลือจากไทยในการฝึกอบรมบุคคลากรด้านการเกษตรซึ่งไทยมีความชำนาญ
    นอกจากนี้ มอลโดวาเคยแสดงความสนใจเรื่องฝนเทียม และขอรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีการทำฝนเทียมจากไทย ซึ่งไทยได้จัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องผ่านทางสอท. ณ กรุงมอสโกให้แก่ มอลโดวาในปี 2544

    มกราคม 2550

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×