ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปยุโรป

    ลำดับตอนที่ #30 : สาธารณรัฐมาซิโดเนีย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.47K
      1
      2 ก.พ. 50



     
    สาธารณรัฐมาซิโดเนีย
    Republic of Macedonia


     
    ข้อมูลทั่วไป
    ที่ตั้ง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป
    มีพรมแดนติดกับแอลเบเนีย (151 กม.)
    สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย (เซอร์เบีย-มอนเตนิโกร) (211 กม.) บัลแกเรีย (148 กม.) และกรีซ (228 กม.)

    พื้นที่ 25,333 ตารางกิโลเมตร

    ประชากร 2,046,209 (ค.ศ.2001)

    เชื้อชาติ มาซิโดเนีย 66.6% แอลเบเนีย 22.7% เติร์ก 4%
    โรมา 2.2% เซิร์บ 2.1% อื่น ๆ 2.4%. (ค.ศ. 1994)

    ศาสนา มาซิโดเนียนออร์โธดอกซ์ 31% มุสลิม 30% อื่น ๆ 3%

    เมืองหลวง กรุงสโกเปีย (Skopje)

    ภาษา มาซิโดเนีย 70% แอลเบเนีย 21% เติร์ก 3%
    เซอร์โบ-โครอัท 3% อื่น ๆ 3%

    วันชาติ 2 สิงหาคม (Uprising Day ปี ค.ศ. 1903)


    ระบอบการปกครอง
    ระบอบประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991 โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข มาจากการเลือกตั้งโดยตรงโดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี

    ประมุข ประธานาธิบดี Boris TRAJKOVSKI รับตำแหน่งวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1999

    ฝ่ายบริหาร รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาจากการรับเลือกด้วยคะแนนเสียงข้างมากในสภา มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

    นายกรัฐมนตรี นาย Ljubco GEORGIEVSKI รับตำแหน่งวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Slobodan Casule


    ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบสภาเดียว (Unicameral Assembly) หรือเรียกว่า Sobranje มีสมาชิก 120 คน ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง 85 คน และมาจากการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง 35 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี








    การเมืองการปกครอง
    ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
    มาซิโดเนียเป็นชื่อเรียกดินแดนในประวัติศาสตร์ที่มีพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของยูโกสลาเวีย
    กรีซ และบัลแกเรีย ในระหว่างปี ค.ศ. 1946-1949 เกิดสงครามกลางเมืองภายในกรีซ จึงทำให้นายพลตีโต แห่งยูโกสลาเวียประสบความสำเร็จในการเรียกร้องพื้นที่ส่วนหนึ่งของดินแดนมาซิโดเนียมาอยู่ภายใต้การปกครอง โดยเป็นสาธารณรัฐ 1 ใน 6 สาธารณรัฐของยูโกสลาเวีย
    ในปี ค.ศ. 1991 สาธารณรัฐสโลวีเนีย และสาธารณรัฐโครเอเชีย และบอสเนีย-เฮอร์โซโกวีนาได้เคลื่อนไหวแยกตัวเป็นเอกราชจากยูโกสลาเวีย ชาวมาซิโดเนียจึงได้จัดให้มีการลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราช และได้ประกาศเอกราชจากยูโกสลาเวียเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1991 ซึ่งเป็นการแยกตัวโดยปราศจากการใช้กำลังต่อต้านจากยูโกสลาเวีย ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะยูโกสลาเวียกำลังสนับสนุนชาวเซิร์บในการสู้รบในบอสเนีย-เฮอร์โซโกวีนา ประกอบกับในมาซิโดเนียมาประชากรเชื้อสายเซิร์บจำนวนน้อย
    ยูโกสลาเวียจึงไม่ต้องการเปิดศึก 2 ด้าน
    มาซิโดเนียประกาศเอกราชโดยใช้ชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐมาซิโดเนีย (Republic of Macedonia - ROM) ตามรัฐธรรมนูญ และต่อมาได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติภายใต้ชื่อROM แต่ได้รับการคัดค้านจากกรีซ โดยให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์และดินแดนว่า การใช้ชื่อ Republic
    of Macedonia เป็นการส่อเจตนารมย์ที่จะอ้างสิทธิครอบคลุมไปถึงดินแดนมาซิโดเนียส่วนที่อยู่ในกรีซ ในที่สุดคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 817 (1993) ให้ใช้ชื่อ Former Yugoslav Republic of Macedomia (FYROM) ในการอ้างถึงมาซิโดเนียในสหประชาชาติจนกว่าประเทศทั้งสองจะตกลงกันได้
    สหประชาชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1993 ประกาศรับรองมาซิโดเนียเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 181 นอกจากนี้ มาซิโดเนียยังได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศอีกหลายองค์การ เช่น FAO, IAEA, IBRD, ICAO, ILO, IMF, OSCE, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, WHO เป็นต้น

    เศรษฐกิจการค้า
    เศรษฐกิจ

    สกุลเงิน Macedonian denar (MKD)

    อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 64.757 MKD (มกราคม ค.ศ. 2001)

    ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2000)

    ผลผลิตประชาชาติมวลรวมต่อหัว 1,865 ดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 1998)

    อัตราการเจริญเติบโต 5.1% (ค.ศ. 2000)

    อัตราเงินเฟ้อ 11% (ค.ศ. 2000)

    มูลค่าการส่งออก 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2000)

    สินค้าส่งออก อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ เหล็กและเหล็กกล้า

    ประเทศคู่ค้า เยอรมนี 22% ยูโกสลาเวีย 22% สหรัฐฯ 12%
    กรีซ 7% อิตาลี 6%

    มูลค่าการนำเข้า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2000)

    สินค้านำเข้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ เชื้อเพลิง
    ผลิตภัณฑ์อาหาร

    ประเทศคู่ค้า เยอรมนี 13% ยูเครน 13% รัสเซีย 10%
    ยูโกสลาเวีย 8% กรีซ 8%

    หนี้ต่างประเทศ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2000)

    ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากสหภาพยุโรป
    (ค.ศ. 2000)

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐมาซิโดเนีย
    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาซิโดเนีย
    คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1997 อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการรับรองและสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับมาซิโดเนีย อย่างไรก็ตาม การสถาปนาความสัมพันธ์ยังไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากติดขัดในเรื่องชื่อประเทศมาซิโดเนีย โดยฝ่ายไทยประสงค์จะใช้ชื่อ “Former Yugoslav Republic of Macedonia – FYROM” ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 817 (1993) ขณะที่ฝ่ายมาซิโดเนียประสงค์จะใช้ชื่อ “Republic of Macedonia - ROM” ซึ่งเป็นชื่อที่กรีซคัดค้าน
    แม้ว่าจะยังมิได้สถาปนาความสัมพันธ์ แต่ปัจจุบันไทยและมาซิโดเนียได้มีการติดต่อดำเนินความสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ โดยระหว่างวันที่ 5-11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ได้ไปเยือนกรีซและมาซิโดเนียอย่างเป็นทางการ และระหว่างวันที่ 27-30 มิถุนายน ค.ศ. 2000 นาย Aleksandar Dimitrov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาซิโดเนีย เดินทางมาเยือนไทยในฐานะแขกของกระทรวงฯ
    ทางด้านเศรษฐกิจการค้าไทยและมาซิโดเนียยังไม่มีตัวเลขการค้าอย่างเป็นทางการระหว่างกัน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×