ลำดับตอนที่ #3
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล
|
|
Federative Republic of Brazil |
ข้อมูลทั่วไป |
ขนาดพื้นที่ 8,511,965 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกาและใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก
ภูมิประเทศ ทางตอนเหนือส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบและพื้นดินต่ำเป็นคลื่น บางแห่งของประเทศเป็นทุ่งกว้าง เนินเขา ภูเขา และมีแนวชายฝั่งแคบ
ภูมิอากาศ อากาศอากาศร้อนชื้น ส่วนทางตอนใต้อากาศเย็นสบาย
ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียม บอกไซท์ ทองคำ แร่เหล็ก (เป็นผู้ส่งออกแร่และผลิตภัณฑ์เหล็กรายใหญ่ที่สุดในโลก) แมงกานีส นิกเกิล ฟอสเฟต พลาตินัม ดีบุก ยูเรเนียม พลังน้ำ (hydropower) และไม้
ประชากร (2000) 181.8 ล้านคน
เมืองหลวง กรุงบราซิเลีย (Brasilia)
ภาษา โปรตุเกส (ภาษาราชการ) สเปน อังกฤษ และฝรั่งเศส
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (80%)
เชื้อชาติ ผิวขาว (โปรตุเกส อิตาลี เยอรมัน สเปน โปแลนด์) (55%) ผิวผสมระหว่างผิวขาวและผิวดำ (38%) ผิวดำ 6% และอื่นๆ {ญี่ปุ่น อาหรับ ชาวอินเดียนพื้นเมือง (Amerindian)} (1%)
อัตราผู้รู้หนังสือ (2003) ร้อยละ 86.4
หน่วยเงินตรา เฮอัล (REAL) อัตราแลกเปลี่ยน (มu.ค.2006) 1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 2.2 R$
ระบบชั่ง ตวง วัด ระบบเมตริก
วันได้รับเอกราช 7 กันยายน 1822 จากโปรตุเกส
วันชาติ Independence Day วันที่ 7 กันยายน
วันสถาปนารัฐธรรมนูญ 5 ตุลาคม 1988
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ FAO, ECLAC,G11, G15, G77, GATT, IBRD, ICAO, ILO,IMF,ITU,LAIA, MERCOSUR, NAM (OBSERVER), OAS, UN, UNCTAD, UNESCO, UNHCR, RIO Group, UNPROFOR, WHO, WIPO, เป็นต้น
เวลาต่างจากไทย ช้ากว่าไทย 9 ชั่วโมงในช่วงเดือนตุลาคม - มีนาคม และ 10 ชั่วโมง ในช่วงเดือนมีนาคม - ตุลาคม
การเมืองการปกครอง |
ประมุขของประเทศ ประธานาธิบดี นาย Luiz Inacio Lula da Silva ซึ่งชนะการเลือกตั้งเมื่อ 27 ต.ค.2545 และเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 1 ม.ค. 2546
รองประธานาธิบดี นาย Jose Alencar
หัวหน้ารัฐบาล นาย Luiz Inacio Lula da Silva
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Celso Amorim
การแบ่งเขตการปกครอง 26 รัฐ (state) และ 1 เขตนครหลวง (Federal district)
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี คณะรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี
ฝ่ายนิติบัญญัติ สภาแห่งชาติ (Congresso Nacional) เป็นระบบรัฐสภาคู่ ประกอบด้วย
1) วุฒิสภา มีสมาชิกจำนวน 81 คน ประกอบด้วยตัวแทนจาก 26 รัฐ และ 1 เขตนครหลวง มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของแต่ละรัฐและเขตนครหลวงจำนวนละ 3 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 8 ปี โดยที่ 1 ใน 3 ได้รับเลือกตั้งหลังจาก 4 ปี และ 2 ใน 3 ได้รับการเลือกตั้งอีก 4 ปีถัดไป
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด 27 ต.ค. 2545
2) สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 513 คน มาจากการเลือกตั้งตามสัดส่วน มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ระบบกฏหมาย ใช้ประมวลกฎหมายโรมัน (Roman codes)
ฝ่ายตุลาการ มีศาลสูงสุดแห่งชาติ (Supreme Federal Tribunal) โดยที่ผู้พิพากษาทั้ง 11 คน มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและรับรองโดยวุฒิสภา มีวาระดำรงตำแหน่งตลอดชีพ
เศรษฐกิจการค้า |
อัตราเงินเฟ้อ (2005) ร้อยละ 5.7
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ(GDP) ) USD 770.3 พันล้าน
รายได้ประชาชาติต่อหัว (2005) 4,182 เหรียญสหรัฐ
โครงสร้าง GDP (2005) ภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 10 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 39.4 ภาคบริการ ร้อยละ 50.6
เกษตรกรรม กาแฟ ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าว น้ำตาล โกโก้ ข้าวโพด อ้อย ผลไม้จำพวกส้ม เนื้อวัว (ผลิตเนื้อรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก) เนื้อไก่ เนื้อหมู
อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ อุปกรณ์ไฟฟ้า แร่โลหะ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สิ่งทอ รองเท้าและเครื่องหนัง เคมีภัณฑ์ ซีเมนต์ ไม้และผลิตภัณฑ์ เครื่องบิน ยานพาหนะและส่วนประกอบ กระดาษและเยื่อกระดาษ
อัตราการว่างงาน (2005) ร้อยละ 9.9
แรงงาน (2005) 90.41 ล้านคน
แรงงานตามสาขาอาชีพ
- บริการ (66%)
- เกษตรกรรม (20%)
- อุตสาหกรรม (14%)
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก (2005) มูลค่า 118.31 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้า อุปกรณ์และเครื่องจักรในการขนส่ง ถั่วเหลือง กาแฟ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ อุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำตาล บุหรี่และใบยาสูบ แร่โลหะ ไม้และผลิตภัณฑ์ กระดาษและเยื่อกระดาษ เนื้อสัตว์ ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รองเท้าและเครื่องหนัง สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์โลหะ น้ำส้ม
ประเทศคู่ค้า (2005)
สหรัฐฯ (20.8%)
อาร์เจนตินา (7.5%)
เนเธอร์แลนด์ (6.1%)
จีน (5.6%)
เยอรมัน (4.1%)
เม็กซิโก (4%)
การนำเข้า มูลค่า (2005) 73.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้า อุปกรณ์และเครื่องจักรและเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์สำหรับการติดต่อสื่อสาร น้ำมันเชื้อเพลิง รถยนต์และอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์
ธัญญพืช ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์ยา ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช เครื่องบิน ผ้าผืนและเส้นด้าย น้ำมันและวัตถุดิบที่ใช้ในภาคการผลิต
ประเทศคู่ค้า (2005)
สหรัฐฯ (18.3%)
อาร์เจนตินา (8.9%)
เยอรมัน (8.1%)
จีน (5.9%)
ไนจีเรีย (5.6%)
ญี่ปุ่น (4.6%)
สถิติการค้าไทย-บราซิล (หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
มูลค่าการค้า ไทยส่งออก ไทยนำเข้า ดุลการค้า
ปี 2545 525.9 161.6 364.3 -202.8
ปี 2546 856.0 298.7 557.3 -258.7
ปี 2547 1,190.7 385.8 804.9 -419.1
ปี 2548 1,537.4 457.7 1,079.7 -622.0
ในปี 2547 มีชาวบราซิลเดินทางเข้าประเทศไทย 9,147 คน และเดินทางออก 8,953 คน
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล |
การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต 17 เมษายน 2502 (ค.ศ.1959)
เอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย H.E. Ms. Siree Bunnag (ฯพณฯ นางสาวสิรี บุนนาค)
Royal Thai Embassy
SEN - Av. Das Nacoes Lote 10
Brasilia DF, CEP:70433-900
Brazil
โทรศัพท์ (5561) 3224-6089, 3224-6849, 3224-6943
โทรสาร (5561) 3321-2994,3223-7502
e-mail: thaiemb@linkexpress.com.br
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซา เปาโล
Ms. Nitaya Punyakij
Office of Trade Promotion
Edificio Mykonos
1356 Rua Gomes de Cavalho
Cep: 04547-005 Sao Paulo-SP Brazil
โทรศัพท์ (5511) 3044-7301, 3044-7347, 3045-4563
โทรสาร (5511) 3045-1913
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครริโอ เดอ จาเนโร Mr. Daniel Andrea Sauer (Honorary Consul-General)
Royal Thai Consulate-General
Rua Visconde de Piraja, 250, 9 andar
CEP 22410-000, Rio de Janeiro-RJ, Brazil
โทรศัพท์ (5521) 2525-0000
โทรสาร (5521) 2525-0002
กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ นครเซา เปาโล Mrs. Thassanee Wanderly Wanick de Souza (Honorary Consul)
Royal Thai Consulate
Alameda Dinamarca 467 Alphaville 1
CEP 06474-250 Barueri Sao Paulo-SP
Brazil
โทรศัพท์ (5511) 4193-8461
โทรสาร (5511) 4195-2820
เอกอัครราชทูตบราซิลประจำไทย H.E. Edgard Telles Ribeiro
The Embassy of the Federative Republic of Brazil
34 F Lumpini Tower
1168/101 Rama IV Rd.
Thungmahamek, Sathorn,
Bangkok 10120
โทรศัพท์ (662) 679-8567-8
โทรสาร (662) 679-8569
e-mail: EMBRASbkk@mozart.inet.co.th
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
สถิติการค้าระหว่างไทยกับบราซิล ดูเอกสารแนบ
สินค้าที่ไทยส่งออก 10 รายการแรก
1) ยางพารา
2) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
3) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ
4) ผลิตภัณฑ์ยาง
5) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
6) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
7) แผงวงจรไฟฟ้า
8) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ
9) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
10) เครื่องวิดีโอ เครื่องเสียงอุปกรณ์และส่วนประกอบ
สินค้าที่ไทยนำเข้า 10 รายการแรก
1) พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช
2) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
3) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์
4) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
5) ด้ายและเส้นใย
6) สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
7) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ ยานยนต์
8) ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์
9) แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่
10) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
ความตกลงระหว่างไทย - บราซิล
1. ความตกลงทางการค้า 12 กันยายน 2527 (ค.ศ.1984)
2. ความตกลงทางวิทยาศาสตร์ และวิชาการ 12 กันยายน 2527 (ค.ศ.1984)
3. ความตกลงการบิน 21 มีนาคม 2534 (ค.ศ.1991)
4. ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ ลงนามเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2537 (ค.ศ.1994)
5. ความตกลงร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
กับ The National Confederation of Commerce ลงนามเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2537 (ค.ศ.1994)
6. ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางธรรมดา ลงนามเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2540 (ค.ศ.1997)
7. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วม (JC) ไทย-บราซิล ลงนามเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2547 (ค.ศ. 2004)
8. บันทึกความเข้าใจระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธนส.) กับธนาคารแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติบราซิล (BNDES) ลงนามเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2547 (ค.ศ. 2004)
9. ความตกลงด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ลงนามเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2547
(ค.ศ. 2004)
วันที่ 29 มีนาคม 2549
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น