ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปอเมริกาใต้

    ลำดับตอนที่ #2 : สาธารณรัฐโบลิเวีย

    • อัปเดตล่าสุด 14 ม.ค. 50




     
    สาธารณรัฐโบลิเวีย
    Republic of Bolivia


     
    ข้อมูลทั่วไป
    ที่ตั้ง โบลิเวียเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 5 ของอเมริกาใต้
    มีพรมแดนด้านเหนือ และตะวันออกติดกับบราซิล ด้านตะวันตกติดกับชิลีและเปรู ด้านใต้ติดปารากวัยและอาร์เจนตินา
    โบลิเวียมีที่ตั้งอยู่ใจกลางทวีปอเมริกาใต้ เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล และภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง


    ขนาดพื้นที่ 1,098,580 ตารางกิโลเมตร

    ภูมิประเทศ ภาคตะวันตกของประเทศเป็นภูเขาและที่ราบสูง ต่อเนื่องลงมาจากเทือกเขาแอนดีส
    มีที่ราบต่ำบริเวณลุ่มแม่น้ำอาเมซอนทางภาคตะวันออกของประเทศ

    ภูมิอากาศ แตกต่างออกไปตามแต่ละพื้นที่ บริเวณที่ราบสูงและเทือกเขาแอนดีสอากาศหนาวเย็น หุบเขาตอนกลางและตอนล่างอากาศปานกลางไม่ร้อนไม่หนาวนักส่วนทางเหนือและตะวันออกของประเทศมีอุณหภูมิอากาศแบบศูนย์สูตร

    ทรัพยากรธรรมชาติ ดีบุก แก๊สธรรมชาติ ปิโตรเลียม สังกะสี ทังสเตน
    พลวง เงิน เหล็ก ตะกั่ว ทองคำ และไม้

    ประชากร 8.94 ล้านคน (2547)

    เมืองหลวง กรุงซูเกร (Sucre) เป็นเมืองหลวงตามรัฐธรรมนูญ

    กรุงลาปาซ (La Paz) เป็นที่ตั้งของรัฐบาล และหน่วยงานสำคัญๆ และเป็นเมืองที่ใหญ่
    ที่สุดของประเทศ และเมืองสำคัญอื่นๆ ได้แก่เมือง Santa Cruz, Cochabamba, El Alto,
    Oruro Tarija และ Potosi

    ภาษา ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ สำหรับภาษาQuechua, Aymara และ Quarani ใช้ในบางภูมิภาค

    ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิค (ร้อยละ95) และนิกายโปรแตสแตนท์
    (ร้อยละ5)

    เชื้อชาติ Mestizo (เชื้อชาติผสมระหว่างชาวพื้นเมืองอินเดียแดงและชาวผิวขาว) ร้อยละ30 เชื้อสาย Quechua ร้อยละ30 เชื้อสาย Aymara ร้อยละ25 และเชื้อสายยุโรป ร้อยละ15

    อัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 87.2 (2545)

    หน่วยเงินตรา โบลีเวียโน Boliviano 1 เหรียญสหรัฐฯ = 8.02 โบลิเวียโน (2547)
    อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐฯ = 8.02 โบลิเวียโน (2547)


    วันชาติ Independence Day วันที่ 6 สิงหาคม

    วันสถาปนารัฐธรรมนูญ 2 กุมภาพันธ์ 1967 แก้ไขเมื่อเดือนสิงหาคม1994

    สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ UN, OAS, World Bank, IMF, Inter-American Development Bank: IADB, ALADI, MERCOSUR (สมาชิกสมทบ), UNCTAD, NAM
    เวลาต่างจากไทย GMT-4 ช้ากว่าไทย 11 ชม.

    การเมืองการปกครอง
    ประวัติโดยสังเขป ระหว่าง 100 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงศตวรรษที่ 9 ชนอินเดียแดงเผ่า Aymara คือชนชาติที่อาศัยอยู่ในโบลิเวีย ต่อมาในช่วงกลางศตวรรษที่ 14 ชาวเผ่าอินคาที่ใช้ภาษา Quechua ได้ผนวกโบลิเวียเข้ากับจักรวรรดิของอินคา ในปี 1535 สเปนได้เข้ายึดครองโบลิเวียและในปี 1825) สาธารณรัฐโบลิเวียก็ได้ถือกำเนิดตั้งขึ้นตามชื่อของ Simon Bolivar วีรบุรุษผู้นำที่ได้กอบกู้อิสรภาพจากสเปนให้กับอเมริกาใต้ หลังจากนั้น โบลิเวียก็ตกอยู่ใต้การปกครองของทหารมาโดยตลอด โบลิเวียได้เข้าสู่สงครามกับชิลี (ปี 1879-84) แต่โบลิเวียต้องประสบกับความพ่ายแพ้และต้องสูญเสียดินแดนส่วนหนึ่งซึ่งเป็นทางออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิกให้แก่ชิลี ในปี 1903 โบลิเวียต้องสูญเสียส่วนหนึ่งของจังหวัด Acre ซึ่งเป็นแหล่งยางพาราที่สำคัญให้กับบราซิล และในปี 1938 โบลิเวียก็ต้องเสียดินแดนอีก 100,000 ตารางไมล์ เนื่องจากแพ้สงครามให้กับปารากวัย

    รูปแบบการปกครอง แบบสาธารณรัฐ
    ประมุขของประเทศประธานาธิบดี นาย Carlos Mesa เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2546 สืบแทนนาย Gonzalo Sanchez de Lozada ที่ลาออกเนื่องจากประชาชนประท้วงต่อต้านรัฐบาล
    เขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 9 เขต (departamentos) อาทิ 1) Chuquisaca, 2) Cochabamba 3) Beni 4) La Paz 5) Oruro 6) Pando 7) Potois 8) Santa Cruz และ 9) Tarija
    ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
    ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งครั้งละ 5 ปี หากผู้ชนะการเลือกตั้งได้รับคะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละ 50 ในการลงคะแนนรอบแรก รัฐสภาจะเป็นผู้ลงคะแนนเสียงลับเลือกตั้งระหว่างผู้ที่มีคะแนนนำสูงสุด 2 คนจากการเลือกตั้งรอบแรก ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
    คณะรัฐมนตรี ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีจากบัญชีรายชื่อที่เสนอโดยวุฒิสภาโดยดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี

    รายชื่อคณะรัฐมนตรี (20 ต.ค. 2546)
    1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Juan Ignacio Siles del Valle
    2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นาย Alfonso Ferrufino Valderrama
    3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ นาย Gonzlo Arredondo Millan
    4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ นาย Javier Gonzalo Cuevas Argote
    5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน นาย Jorge Cortez Rodriguez
    6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจ นาย Javier Nogales Iturri
    7. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงานสาธารณูปโภค นาย Jorge Urquidi Barrau
    8. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และไฮดรอคาร์บอน นาย Alvaro Rios Rosa
    9. รัฐทนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นาย Donato Ayma Rojas
    10. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพและการกีฬา นาย Fernando Antezana Aranibar
    11. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นาย Luis Fernandez Fagalde
    12. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร นาย Diego Montenegro Ernst
    13. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการมีส่วนร่วมของประชาชน นาย Roberto Barbery Anaya
    14. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเพื่อชาวพื้นเมือง นาย Justo Seoane Parapaino
    15. รัฐมนตรีว่าการสำนักงานประธานาธิบดี นาย Jose Antonio Galindo Nedar
    16. ผู้แทนประธานาธิบดีด้านปราบปรามการทุจริต นาง Guagalupe Cajias de la Vega

    ฝ่ายนิติบัญญัติ สภาแห่งชาติ (Congreso Nacional) เป็นระบบสภาคู่ ประกอบด้วย
    1) วุฒิสภา มีสมาชิก 27 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี
    2) สภาผู้แทนราษฎร (หรือ Chamber of Deputies) มีสมาชิกจำนวน 130 คน
    ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งได้รับเลือกตั้งโดยตรงโดยประชาชนในแต่ละเขต และอีก ครึ่งหนึ่งได้รับเลือกตั้งตามระบบ proportional representative มีวาระดำรง ตำแหน่ง 5 ปี

    ฝ่ายตุลาการ อยู่ภายใต้ศาลสูง (Supreme Court) โดยผู้พิพากษามาจากการแต่งตั้งโดยสภาแห่งชาติ อยู่ในวาระคราวละ 10 ปี แต่ละเขตการปกครองมีศาลของตนเอง
    ระบบกฎหมาย ใช้กฎหมายสเปนและประมวลกฎหมายนโปเลียน (Napoleonic Code) เป็นต้นแบบ สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง อายุ 20 ปี (18 ปี ในกรณีที่สมรสแล้ว)
    พรรครัฐบาล ADN, MIR, UCS, CONDEPA, NFR และ PDC
    พรรคฝ่ายค้าน MNR, MBL, IU
    สถานการณ์ทางการเมือง
    ประธานาธิบดี Carlos Mesa ได้ประกาศว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเป็นเพียงรัฐบาลชั่วคราว แต่จะ
    เร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดจากรัฐบาลชุดก่อนให้เสร็จสิ้น คือ ปัญหาโครงการส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังสหรัฐอเมริกา และเม็กซิโกผ่านทางชิลี โดยรัฐบาลจะจัดประชามติเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รวมทั้งแก้ไขปัญหาความยากจนและปัญหาการห้ามปลูกพืชโคคา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของชาวอินเดียนพื้นเมืองในบริเวณเทือกเขาแอนดีสมานาน
    แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงผู้นำและคณะรัฐบาลของโบลิเวียจะทำให้บรรยากาศของการเจรจา
    ระหว่างรัฐบาลกับผู้นำกลุ่มต่างๆ ดีขึ้น แต่รัฐบาลยังมีปัญหาสำคัญๆ ที่ต้องเร่งแก้ไขคือ ปัญหาวิกฤติการณ์ทางสังคมอันเนื่องมาจากความยากจน ซึ่ง 8 ใน 10 คนของพลเมืองในเมืองหลวง และ 9 ใน 10 คนของพลเมืองในชนบทเป็นผู้ยากจน และมีอัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 12 นอกจากนี้ ปัญหาช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนชาวอินเดียนพื้นเมืองซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ได้เพิ่มมากขึ้นจนก่อให้เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาล ซึ่งเป็นชาวผิวขาว

    เศรษฐกิจการค้า
    ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 8.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ *
    อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 3.6 *
    รายได้ประชาชาติต่อหัว 2,400 เหรียญสหรัฐ/คน/ปี
    อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 4.6
    โครงสร้าง GDP
    ภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 20
    ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 20
    ภาคบริการ ร้อยละ 60
    อัตราการว่างงาน ร้อยละ 7.6 (2543)
    หนี้ต่างประเทศ 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ก.ย. 2546)
    เกษตรกรรม เมล็ดถั่วเหลือง กาแฟ ใบโคคา ฝ้าย ข้าวโพด อ้อย ข้าว มันฝรั่ง และไม้
    อุตสาหกรรม การทำเหมืองแร่ การถลุงแร่ ปิโตรเลียม อาหารและเครื่องดื่ม ยาสูบ หัตถกรรม เสื้อผ้าสำเร็จรูป

    การค้าต่างประเทศ
    การส่งออก มูลค่า 1.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
    สินค้า เมล็ดถั่วเหลือง ก๊าซธรรมชาติ ดีบุก ทองคำ ไม้
    ประเทศคู่ค้า บราซิล ร้อยละ19.7 โคลอมเบีย ร้อยละ 19.2
    สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 14.8 อาร์เจนตินา ร้อยละ 9.1 เปรู
    การนำเข้า มูลค่า 1.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
    สินค้า สินค้าทุน วัตถุดิบ สินค้ากึ่งอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ น้ำมันปิโตรเลียม
    ประเทศคู่ค้า บราซิล ร้อยละ 24.4 อาร์เจนตินา ร้อยละ 17.9 สหรัฐฯ ร้อยละ 13.9 ชิลี ร้อยละ 9.3 เปรู


    ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของโบลิเวีย
    น้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ (โบลิเวียมีปริมาณน้ำมันดิบสำรองประมาณ 478 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอเมริกาใต้ และก๊าซธรรมชาติสำรอง 52.3 ล้านคิวบิคฟิต (thrillion cubic feet)
    แร่ธาตุต่างๆ (ซึ่งมีอัตราส่วนประมาณร้อยละ 5.76 ของ GDP) ได้แก่ดีบุก สังกะสี ตะกั่ว พลวง (antimony) วูลแฟรม (wolfram) เงิน ทองคำ ทองแดง กำมะถัน โปแตสเซียม

    การขนส่งสินค้า
    เนื่องจากโบลิเวียเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ดังนั้นการส่งออกและนำเข้าสินค้า โบลิเวียจะดำเนินการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือที่เมือง Arica และ Antofagasta ในชิลี และท่าเรือ Mollendo-Matarani ในเปรู นอกจากนี้ยังขนส่งผ่านเมือง La Quiaca ที่พรมแดนโบลิเวีย-อาร์เจนตินา และผ่านท่าเรือแม่น้ำ บนเส้นทางแม่น้ำที่ไหลไปสู่แม่น้ำอะเมซอน ทั้งนี้ โบลิเวียและชิลีได้มีความตกลงพิเศษระหว่างกันสำหรับการขนส่งสินค้าจากเมือง Arica เข้ามายังโบลิเวีย โดยละเว้นค่าธรรมเนียม Cargo fee ที่ท่าเรือ และเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1992 โบลิเวียและเปรูได้มีความตกลงระหว่างกันในเรื่องการขนส่ง โดยเปรูยกเว้นภาษีให้โบลิเวีย สำหรับการขนส่งสินค้าผ่านเมืองชายแดน Desaguadero ของโบลิเวียไปสู่ท่าเรือ Ilo ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของเปรู ในขณะเดียวกัน เปรูจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการขนส่งสินค้าทางรถยนต์และรถไฟผ่านโบลิเวียไปสู่มหาสมุทรแอตแลนติก

    การต่างประเทศ
    โบลิเวียได้รับความช่วยเหลือจากนานาประเทศ โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกาในด้านเงินทุนสนับสนุนโครงการลดการปลูกโคคา และยังได้รับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร (GSP) จากสหรัฐอเมริกาสำหรับสินค้าสิ่งทอ สินค้าหัตกรรม หนังและด้ายทำจากขน Llama นอกจากนี้ โบลิเวียยังได้รับความช่วยเหลือ/ ความร่วมมือจากประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพยุโรป ในด้านสาธารณสุข การศึกษา การก่อสร้างถนน และการสร้างงาน เพื่อให้โบลิเวียสามารถพัฒนาตนเองได้

    สถิติการค้าไทย-โบลิเวีย (มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
    ปี ปริมาณการค้า การนำเข้า การส่งออก ดุลการค้า
    2546 5.9 3.0 2.9 -0.1
    2547 4.3 1.5 2.8 1.3
    2547 (ม.ค.-เม.ย.) 1.6 0.7 0.9 0.1
    2548 (ม.ค.-เม.ย.) 1.7 0.7 1.0 0.3

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐโบลิเวีย
    ความสัมพันธ์ทางการทูต
    ไทยและโบลิเวียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2506
    (ค.ศ. 1963) โดยรัฐบาลไทยได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอสเรส ปฏิบัติหน้าที่เอกอัครราชทูตประจำอุรุกวัยและกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำประเทศโบลิเวีย และโบลิเวียได้แต่งตั้งให้สถานเอกอัครราชทูตโบลิเวียณ กรุงโตเกียวมีอาณาครอบคลุมประเทศไทย

    เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศโบลิเวีย ฯพณฯ นายอสิพล จับจิตรใจดล
    (ถิ่นพำนัก ณ กรุงบัวโนสไอเรส) H.E. Mr. Asiphol Chabchitrchaidol
    Royal Thai Embassy
    2158 Federico Lacroze,1425 Capital Federal,
    Buenos Aires
    โทรศัพท์ (5411) 4774-4415, 4772-1170
    โทรสาร (5411) 4773-2447
    E-mail : thaiembargen@fibertel.com.ar
    กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ กรุงลาปาซ Mr. Francisco Munoz
    Royal Thai Consulate-General
    Casilla de Correo 398,
    LA PAZ, BOLIVIA
    โทรศัพท์ (59122) 408 181
    โทรสาร (59122) 112 752
    E-mail: francisco.c.Munoz@bo.pwcglobal.com
    อุปทูตโบลิเวียประจำประเทศไทย Ms. Patricia Ines Sanjinez Alvarez
    (ถิ่นพำนัก ณ กรุงโตเกียว) The Embassy of the Republic of Bolivia
    No. 38 Kowa Bldg., 8th Fl., Rm. 804,
    4-12-24 Nishi-Azabu,
    Minato-ku, Tokyo 106-0031, Japan
    โทรศัพท์ (813) 3449-5441-2
    โทรสาร (813) 3449-5443
    E-mail: emboltk4@ad.il24.net
    การเดินทางเยือนโบลิเวีย
    • 10 – 12 มิถุนายน 2540 คณะเอกอัครราชทูตสัญจรประจำภูมิภาคลาตินอเมริกาเดินทางเยือนโบลิเวีย
    • 24 – 27 พฤศจิกายน 2546 คณะผู้แทนจาก Special Task Force กรมส่งเสริมการส่งออก
    กระทรวงพาณิชย์เดินทางไปศึกษาตลาดสินค้าที่โบลิเวีย

    ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
    ประเทศไทยและโบลิเวียมีมูลค่าการค้าระหว่างกันไม่มากนัก แต่ประเทศไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบ
    ดุลการค้ามาโดยตลอด ดังนั้น แม้โบลิเวียจะเป็นประเทศที่มีตลาดขนาดเล็กและมีประชากรจำนวนมากที่มีฐานะยากจน แต่ประเทศไทยก็ยังมีลู่ทางขยายตลาดสินค้าคุณภาพปานกลางไปยังโบลิเวียในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2546 มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับโบลิเวียมีมูลค่า 5.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 50 คิดเป็นมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 2.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าส่งออกที่สำคัญคือ รถยนต์และส่วนประกอบ หม้อแบตเตอรี่ รถจักรยนต์ และผ้าปักและผ้าลูกไม้ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 2.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสินค้าสำคัญได้แก่ สินแร่โลหะและเศษโลหะ เคมีภัณฑ์ และเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
    ความสัมพันธ์ทางการค้าไทย-โบลิเวีย
    การค้าระหว่างไทย-โบลิเวีย
    การค้ารวม ในปี 2547 การค้าระหว่างไทยกับโบลิเวียมีปริมาณลดลงจากปี 2546 จำนวน 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในปี 2547 การค้ารวมระหว่างไทยกับโบลิเวีย มีมูลค่า 4.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ากับโบลิเวีย
    อย่างไรก็ตาม ในช่วงสามปีที่ผ่านมา มูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยในปี 2546 มีมูลค่าการค้ารวม 5.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 63.89 การส่งออก ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2544-2547) ได้ส่งออกสินค้าไปโบลิเวีย เฉลี่ยปีละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในปี 2547 มูลค่าการส่งออกของไทยไปโบลิเวียคิดเป็น 2.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2546 ร้อยละ 3.43
    สินค้าส่งออกที่สำคัญในปี 2547 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผ้าปักและ
    ผ้าลูกไม้ หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ตาข่ายจับปลา และเครื่องพักกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
    การนำเข้า ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมามีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 2547 ไทยนำเข้าจากโบลิเวียคิดเป็นมูลค่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2546 ร้อยละ 50 สินค้านำเข้าที่สำคัญในปี 2547 ได้แก่ สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ เคมีภัณฑ์ ไม้ซุง ไม้แปรรูป และไม้อื่นๆ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและ ทองคำ และส่วนประกอบเครื่องรับ-ส่งวิทยุโทรศัพท์ โทรเลขและโทรทัศน์ เป็นต้น

    วันที่ 23 มิถุนายน 2548

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×