ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปเอเซีย

    ลำดับตอนที่ #2 : ราชอาณาจักรบาห์เรน

    • อัปเดตล่าสุด 9 ม.ค. 50




     
    ราชอาณาจักรบาห์เรน
    Kingdom of Bahrain


     
    ข้อมูลทั่วไป
    ประมุขของรัฐ His Majesty the King Shaikh Hamad Bin Isa Al-Khalifa (ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองรัฐตั้งแต่ 6 มี.ค. 2542 และกษัตริย์แห่งบาห์เรนตั้งแต่ 14 ก.พ. 45)

    นายกรัฐมนตรี H.H. Shaikh Khalifa Bin Salman Al-Khalifa

    ที่ตั้งและพื้นที่ ประเทศบาห์เรนประกอบด้วยหมู่เกาะเล็ก ๆ (archipelago) ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ประมาณ 33 เกาะในอ่าวเปอร์เซีย จากฝั่งทะเลตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย 15 ไมล์ และจากชายฝั่งทะเลตะวันตกของกาตาร์ 17 ไมล์ บาห์เรนมีพื้นที่ประมาณ 620 ตร.กม.(264.4 ตารางไมล์) ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยทรายและหิน

    อากาศ เดือนธันวาคมถึงปลายเดือนมีนาคม อุณหภูมิจะอยู่ประมาณ 19C – 29C แต่จะร้อนชื้นมากในฤดูร้อน โดยในเดือนสิงหาคมและกันยายนอุณหภูมิอาจขึ้นสูงถึง 40C

    ประชากร 645,361 คน (ก.ค.2544) รวมทั้งต่างชาติ 228,424 คน
    ชาวบาห์เรน 63%
    เอเชีย 19%
    อาหรับอื่นๆ 10%
    อิหร่าน 8 %

    ภาษาราชการ อาหรับ (ภาษาอังกฤษก็ใช้กันอย่างกว้างขวาง)

    ศาสนา อิสลาม (ชีอะห์ 70% สุหนี่ 30%)

    เมืองหลวง กรุง Manama

    วันสำคัญ วันชาติ 16 ธ.ค. (ได้รับเอกราชจากอังกฤษปี ค.ศ. 1971)
    วันประกาศเอกราช 15 ส.ค. ค.ศ. 1971

    หน่วยเงิน Bahrain Dinar (BHD) : (1 US$ = 0.377 dinar)

    GDP 8.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2000)

    รายได้ต่อหัว 11,055 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี2000)

    อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 5.3% ต่อปี (ปี 2000)

    ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ ทรัพยากรทางทะเล

    สินค้าออกที่สำคัญ น้ำมันปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน อลูมิเนียม เครื่องจักรกล เครื่องมือเกี่ยวกับอุตสาหกรรม น้ำมัน ยานยนต์ อาหารกระป๋อง

    สินค้าเข้าที่สำคัญ น้ำมันดิบ สินค้าอุปโภคบริโภค

    ประเทศส่งออกที่สำคัญ อินเดีย ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

    ประเทศนำเข้าที่สำคัญ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศสและญี่ปุ่น

    อุตสาหกรรมสำคัญ โรงกลั่นน้ำมัน ผลิตอลูมิเนียม ธนาคารต่างประเทศ ซ่อมเรือและท่องเที่ยว

    การเมืองการปกครอง
    ประวัติศาสตร์
    บาห์เรนเคยอยู่ใต้อารักขาของอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1820 (2363) โดยอำนาจการปกครองถูกแบ่งออกระหว่างเจ้าครองนครกับข้าหลวงอังกฤษ อิหร่านเคยอ้างสิทธิเหนือบาห์เรนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่เมื่อปี ค.ศ. 1970 (2523) อิหร่านยอมรับรายงานของ UN ที่แสดงข้อเท็จจริงว่าชาวบาห์เรนต้องการเป็นอิสระมากกว่าที่จะถูกรวมไว้กับอิหร่าน บาห์เรนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1971 (2514) ตามสนธิสัญญามิตรภาพฉบับใหม่ที่ทำกับอังกฤษ หลังจากที่ความพยายามในการรวมประเทศกับกาตาร์และ Trucial States (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เป็นสหพันธรัฐไม่ประสบความสำเร็จ
    บาห์เรนเป็นประเทศแรกในอ่าวอาหรับที่ขุดพบน้ำมันดิบ (ปี ค.ศ. 1932) และมีการสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้น อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันดิบที่ขุดพบในบาห์เรนนับว่ามีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับคูเวตและซาอุดีอาระเบีย

    ระบอบการปกครอง
    บาห์เรนมีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตย มีเจ้าผู้ครองรัฐ (The Emir of the State of Bahrain) เป็นประมุขปกครอง โดยมีรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1973 (2516) เป็นกฎหมายหลัก ตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้มี National Assembly (Majlis al-Watani) ซึ่งมีสมาชิก 30 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไปรวมกับคณะรัฐมนตรีอีกจำนวนไม่เกิน 14 คน อยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี แต่ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1975 (2518) เจ้าผู้ครองรัฐได้ออกพระราชกฤษฎีกายุบ National Assembly เพราะเกิดความขัดแย้งระหว่างคณะรัฐมนตรีกับ National Assembly แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1992 (2535) มีการตั้งMajlis As-Shura (Consultative Council) ขึ้น โดยมีสมาชิกแรกเริ่มจำนวนเท่าเดิม คือ 30 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีโดยตรง ต่อมาในปี ค.ศ. 1996 (2539) ได้ขยายจำนวนสมาชิกเป็น 40 คน สมาชิกของสภาฯ ไม่มีอำนาจนิติบัญญัติ
    เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 545 เจ้าผู้ครองรัฐองค์ปัจจุบันคือ H.H. Shaikh Hamad Bin Isa Al-Khalifa ซึ่งสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระบิดาเมื่อเดือนมีนาคม 2542 ได้ออกแถลงการณ์ต่อประชาชนเปลี่ยนชื่อประเทศจากรัฐบาห์เรนเป็นราชอาณาจักรบาห์เรน (Kingdomof Bahrain) โดยพระองค์ดำรงตำแหน่งกษัตริย์แห่งบาห์เรนที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Democratic Constitutional Monarchy) ซึ่งเป็นไปตามผลการลงประชามติของชาวบาห์เรนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2544 และเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะสร้างเสริมประชาธิปไตยในประเทศ

    บุคคลสำคัญของบาห์เรน
    1. H.H. Shaikh Hamad Bin Isa Al – Khalifa กษัตริย์
    2. H.H. Shaikh Khalifa Bin Salman Al – Khalifa นายกรัฐมนตรี(Prime Minister)
    3. H.E. Shaikh Mohamed Bin Mubarak Al – Khalifa รัฐมนตรีต่างประเทศ (Minister of Foreign Affairs of the Kingdom of Bahrain)

    การเมืองภายในของบาห์เรน
    - นับแต่มีการยุบรัฐสภาของประเทศเมื่อปี ค.ศ. 1975 เป็นต้นมา ผู้บริหารประเทศต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านของกลุ่มฝ่ายค้าน ซึ่งเป็นพวกที่นับถือนิกายชีอะห์เป็นส่วนใหญ่ใช้ชื่อว่า Bahrain Freedom Movement (BFM) มีฐานที่ตั้งในกรุงลอนดอน ทำการเรียกร้องให้รัฐบาลบาห์เรนเปิดเสรีระบบการปกครองให้มากขึ้น และยอมรื้อฟื้นระบบรัฐสภาขึ้นใหม่
    - อย่างไรก็ดี เจ้าผู้ครองรัฐองค์ปัจจุบัน คือ Shaikh Hamad มีนโยบายที่จะปฏิรูปการเมืองภายในในระดับหนึ่ง อาทิ การแต่งตั้งสมาชิกของสภา Shura ให้เป็นตัวแทนของนิกายชีอะห์และสุหนี่ในจำนวนเท่าเทียมกัน รวมทั้งแต่งตั้งผู้แทนชาวยิว 1 คน และสตรีอีก 1 คน เพื่อให้เกิดความหลากหลายและเป็นกระบอกเสียงให้แก่ชนทุกกลุ่ม นอกจากนี้ เมื่อเดือน พฤษภาคม 2543 นายกรัฐมนตรียังได้ออกแถลงการณ์ของรัฐบาลว่า สมาชิกรุ่นใหม่ของสภาฯ ที่จะมีการผลัดเปลี่ยนหน้าที่ในสมัยต่อไป คือปี ค.ศ. 2004 (2547) นั้น จะมาจากการเลือกตั้ง เป็นต้น ทั้งนี้ ภายหลังการประกาศเปลี่ยนเป็นราชอาณาจักรบาห์เรนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2545 ได้มีการกำหนดจัดเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในเดือนพฤษภาคม 2545 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเดือนตุลาคม 2545

    ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
    - บาห์เรนมีความใกล้ชิดกับซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจำนวนมากเช่นเดียวกับสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และคูเวต และเป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุดของบาห์เรนในภูมิภาคอ่าวอาหรับ สำหรับโอมานนั้น ไม่ได้ใกล้ชิดนัก
    - ทางด้านความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก สหรัฐอเมริกาและอังกฤษเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับบาห์เรนมาก และจะยังคงให้การสนับสนุนบาห์เรนต่อไป เนื่องจากบาห์เรนเป็นที่ตั้งฐานทัพเรือที่ 5 ของสหรัฐอเมริกา (the 5th fleet)
    - แม้ว่าการอ้างสิทธิเหนือดินแดนบาห์เรนของอิหร่านจะยุติไปแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970(2513) ตามความตกลงที่ทำไว้ระหว่างกัน แต่การปฏิวัติอิสลามในประเทศอิหร่านเมื่อปี ค.ศ. 1979(2522) ตามด้วยการจับกุมคนมากกว่า 70 คน ซึ่งต้องสงสัยว่าจะได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านในการโค่นล้มรัฐบาลเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1981 (2524) (เจ้าครองนครบาห์เรนนับถือนิกายสุหนี่ ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ 60% นับถือนิกายชีอะห์เช่นเดียวกับอิหร่าน) ทำให้บาห์เรนเกิดความไม่ไว้วางใจและไม่แน่ใจว่าอิหร่านจะไม่อ้างสิทธิเหนือประเทศตนอีกครั้งหนึ่ง
    - ปัจจุบันบาห์เรนมีการปรับความสัมพันธ์กับอิหร่านมากขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิหร่านได้ไปเยือนบาห์เรน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศดีขึ้นตามลำดับ และบาห์เรนเลิกกล่าวหาว่าอิหร่านสนับสนุนกลุ่มชีอะห์ที่ต่อต้านรัฐบาลบาห์เรน ขณะเดียวกันอิหร่านก็ได้เลิกให้ความสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในบาห์เรน

    การป้องกันประเทศ
    - จากการที่บาห์เรนเป็นประเทศเล็ก และมีความต้องการพึ่งพาประเทศอื่น ๆ เพื่อประกันความมั่นคงของตน ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1981 (2524) บาห์เรนจึงเป็นหนึ่งในหกประเทศสมาชิกที่ก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council - GCC) ซึ่งเป็นองค์การที่นอกจากจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจแล้ว ยังมุ่งที่จะจัดตั้งระบบการป้องกันร่วมกันในภูมิภาคอ่าวอาหรับด้วย สมาชิกของ GCC ประกอบด้วย ซาอุดิอาระเบีย บาห์เรน โอมาน กาตาร์ คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

    เศรษฐกิจการค้า
    เศรษฐกิจ
    - ก่อนการค้นพบน้ำมัน เศรษฐกิจของบาห์เรนขึ้นอยู่กับไข่มุก การค้าและการประมง แต่หลังจากปี ค.ศ. 1932 ซึ่งเป็นปีที่มีการค้นพบน้ำมันภายในประเทศ น้ำมันก็กลายเป็นที่มาของรายได้สำคัญซึ่งได้ถูกนำไปใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม จากการที่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำรองของบาห์เรนมีจำนวนน้อย และคาดกันว่าจะหมดลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จึงได้มีการสำรวจหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแหล่งอื่นเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเปลี่ยนแนวเศรษฐกิจของประเทศไปเป็นธุรกิจการกลั่นน้ำมันและการทำให้บาห์เรนเป็นจุดศูนย์กลางทางด้านการค้าและธุรกิจของภูมิภาคอีกด้วย และตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา บาห์เรนได้ดำเนินนโยบายที่จะกระจายแหล่งรายได้ของประเทศออกไปจากน้ำมันโดยมีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอลูมิเนียม
    - บาห์เรนได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของธุรกิจบริการ กล่าวคือ ด้านการเงินและการธนาคารของภูมิภาคอ่าวอาหรับ นโยบายของรัฐบาลบาห์เรนจึงมุ่งไปที่การรักษาสถานะของประเทศให้เป็นศูนย์กลางการค้าเสรี และภาคบริการของภูมิภาค แข่งกับสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ด้วยการส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติ รักษาเสถียรภาพการเมืองภายในประเทศให้มั่นคง และรัฐบาลบาห์เรนได้เปิดระบบการธนาคารอิสลามระหว่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้บริการทางการเงินในต่างประเทศด้วยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544

    นโยบายต่างประเทศ
    - บาห์เรนเป็นประเทศอาหรับที่ดำเนินนโยบายสายกลาง มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจในคณะมนตรีความร่วมมือระหว่างรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ทั้งทางด้านการเมือง ทหารและเศรษฐกิจและมีความใกล้ชิดกับซาอุดีอาระเบียมาก และมักจะดำเนินนโยบายต่างประเทศที่สอดคล้องกับซาอุดีอาระเบีย รวมไปถึงการปรับความสัมพันธ์กับอิหร่าน และกับกาตาร์
    - สำหรับปัญหาตะวันออกกลาง บาห์เรนมีท่าทีและบทบาทเช่นเดียวกับประเทศอาหรับสายกลางในคาบสมุทรอาระเบีย กล่าวคือ สนับสนุนการกำหนดใจตนเอง และการได้มาซึ่งรัฐอันสมบูรณ์ของชาวปาเลสไตน์ และเป็นประเทศหนึ่งที่ประกาศรับรองรัฐปาเลสไตน์
    - ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1986 (2529) ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างกาตาร์กับบาห์เรนจากการที่กองทหารของกาตาร์บุกขึ้นยึดเกาะ Fasht al – Dibel ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างอ้างว่ามีอธิปไตยเหนือเกาะนั้น แต่จากการไกล่เกลี่ยของ GCC ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของศาลโลกเมื่อปีค.ศ. 1991 (2534) ทั้งนี้ เกาะ Fasht al – Dibel เป็นดินแดนที่สามที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกาตาร์กับบาห์เรนสองแห่งแรกคือหมู่เกาะ Hawar และเกาะ Qitat Jaradah)
    - เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2001 ศาลโลกได้ตัดสินปัญหาพิพาธระหว่างบาห์เรนและกาตาร์เกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิเหนือหมู่เกาะดังกล่าว โดยตัดสินให้หมู่เกาะ Hawar และเกาะ Qitat Jaradah ตกเป็นของบาห์เรน ส่วน Zubara strip เกาะ Fasht al-Dibel และหมู่เกาะ Janan และ Hadd Janan ให้เป็นของกาตาร์ รวมทั้งสิทธิการเดินเรือผ่านอย่างเสรีแก่กาตาร์ในน่านน้ำระหว่างบาห์เรนและหมู่เกาะ Hawar
    - ภายหลังการตัดสิน ทั้งสองประเทศต่างยอมรับผลการตัดสินและแสดงความยินดีที่กรณีพิพาทยุติลง ซึ่งเป็นการคลี่คลายปัญหาให้แก่ผู้นำทั้งสองประเทศและทำให้ทั้งสองประเทศสามารถเริ่มต้นการหารือเพื่อกระชับความสัมพันธ์และสร้างความร่วมมือระหว่างกัน โดยมีโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมระหว่างบาห์เรนและกาตาร์ การสร้างท่อส่งแก๊สจากกาตาร์มายังบาห์เรน และการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางเศรษฐกิจระหว่างกัน

    สมาชิกภายในองค์การระหว่างประเทศ
    บาห์เรนเป็นสมาชิกใน
    - องค์การสหประชาชาติ (UN)
    - องค์การการประชุมอิสลาม (OIC)
    - สันนิบาตอาหรับ (Arab League)
    - กลุ่มประเทศอาหรับผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (OAPEC)
    - กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM)
    - คณะมนตรีความร่วมมือระหว่างรัฐอ่าวอาหรับ (GCC)
    - องค์การการค้าโลก (WTO)

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรบาห์เรน
    ด้านการเมือง
    - ประเทศไทยกับบาห์เรนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 (ค.ศ. 1977) โดยไทยให้
    สอท. ณ กรุงริยาดมีเขตอาณาคลุมถึงบาห์เรนด้วย แต่ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532 ให้บาห์เรนอยู่ใต้เขตอาณาของ สอท.ณ คูเวต
    - โดยทั่วไปแล้วประเทศไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับบาห์เรนและไม่มีความขัดแย้งกันในทางการเมือง
    - สำหรับปัญหากัมพูชาในสหประชาชาตินั้น บาห์เรนออกเสียงสนับสนุนประเทศไทยและอาเซียน ตามข้อมติสหประชาชาติเกี่ยวกับสถานการณ์ในกัมพูชาและปัญหาที่นั่งกัมพูชาประชาธิปไตยตั้งแต่สมัยที่ 35 เป็นต้นมา (งดออกเสียงสมัยที่ 34)

    การแลกเปลี่ยนการเยือน
    - รมช.กต. (ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์) เดินทางเยือนบาห์เรน เมื่อปี 2527 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และแสวงหาลู่ทางในการขยายการค้าระหว่างกัน
    - รมช.มหาดไทย (นายเฉลียว วัชรพุกก์) เยือนบาห์เรน เมื่อ 6 กรกฎาคม 2530 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ ความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งเยี่ยมเยือนให้กำลังใจคนงานไทย
    - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ตามคำทูลเชิญของมกุฎราชกุมารบาห์เรนในขณะนั้น (Shaikh Hamad Bin Isa Al – Khalifa) ระหว่างวันที่ 13-15 มีนาคม 2532
    - รมว.กต. (สุรินทร์ พิศสุวรรณ) เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2541
    - H.H. Shaikh Khalifa Bin Salman Al – Khalifa นรม.บาห์เรนเสด็จเยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์ (ที่ภูเก็ต) ระหว่างวันที่ 22-27 ตุลาคม 2542
    - H.H. Sheikh Salman bin Khalifa Al-Khalifa (บุตรชายของ นรม.บาห์เรน) หัวหน้าคณะผู้แทนบาห์เรนในการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 เดินทางมาเยือนไทย เพื่อร่วมการประชุมฯ และพบหารือทวิภาคีกับ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รมว.กต. และ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัยนรม. เพื่อมอบสารจาก นรม.บาห์เรน
    - H.H. Shaikh Khalifa Bin Salman Al-Khalifa นรม.บาห์เรน เยือนไทยระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2544 ในฐานะแขกของรัฐบาล โดยได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย
    - H.H. Shaikh Khalifa Bin Salman Al-Khalifa นายกรัฐมนตรีบาห์เรนและคณะได้เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการในลักษณะ Official Working Visit ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2544
    - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) นำคณะนักธุรกิจเดินทางไปเยือนบาห์เรนในฐานะแขกของรัฐมนตรีต่างประเทศบาห์เรนระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 1 เมษายน 2545
    - รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เดินทางเยือนบาห์เรนเพื่อเข้าร่วมการประชุม Gulf Investment Forum และหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีบาห์เรนและรัฐมนตรีคลังบาห์เรนระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน 2545
    - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายอดิศัย โพธารามิก) เดินทางเยือนบาห์เรนในฐานะแขกของรัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมของบาห์เรน ระหว่างวันที่ 29 เม.ย. – 2 พ.ค. 2545 เพื่อหารือเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรี และการจัดตั้งศูนย์แสดงสินค้าและกระจายสินค้าไทยในบาห์เรน
    - H.H. Shaikh Kalifa Bin Salman Al-Khalifa นรม.บาห์เรน เสด็จเยือนไทยในลักษณะ Working Visit ระหว่างวันที่ 20-22 พ.ค. 2545 เพื่อหารือข้อราชการเกี่ยวกับความคืบหน้าของความสัมพันธ์ทวิภาคีในด้านต่างๆ และร่วมเป็นประธานในพิธีลงนามคตล.ส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างรมว.คลังของทั้สองฝ่าย
    - นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) และคณะเดินทางเยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกขอรัฐบาลบาห์เรนระหว่างวันที่ 10-11 เมษายน 2545

    ด้านเศรษฐกิจและการค้า
    สถิติการค้าไทย-บาห์เรน ดูเอกสารแนบ
    สินค้าออกที่สำคัญของไทยไปบาห์เรน : เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ทองแดง ผ้าผืน ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก อาหารทะเลกระป๋อง เครื่องใช้สำหรับเดินทาง
    สินค้าเข้าจากบาห์เรนที่สำคัญ : สินแร่โลหะเศษ เศษโลหะ เคมีภัณฑ์ ปุ๋ย กระดาษ และเยื่อกระดาษ ปลาหมึกแช่แข็ง ไม้ซุง ไม้แปรรูป สิ่งพิมพ์ สิ่งทอ ผ้าผืน

    ด้านความตกลง
    - ประเทศไทยได้ทำความตกลงการบินกับประเทศบาห์เรน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2521 โดยปัจจุบันบาห์เรนบินในนามของสายการบินกัลฟ์แอร์ (ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ บาห์เรน โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) การบินไทยจะเริ่มเปิดเที่ยวบินไปยังกรุงมานามาในเดือนพฤศจิกายน 2545 Gulf Air บินจากบาห์เรนมาไทย
    - ไทยได้จัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและวิชาการกับบาห์เรน โดยได้ลงนามย่อระหว่างกันเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2542 และจัดทำความตกลงเพื่อยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ซึ่งครม.ได้มีมติอนุมัติเมื่อ 18 กันยายน 2544 และรมว.กต.ของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามความตกลงทั้งสองฉบับเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2544
    - ทั้งสองฝ่ายได้จัดทำความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนเสร็จสิ้น
    แล้วและรมว.คลังของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามความตกลงฯ ร่วมกันในระหว่างการเยือนไทยของนรม.บาห์เรนในวันที่ 21 พ.ค. 2545
    - รัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายร่วมลงนามคตล.จัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงฯ (High Joint Commission) ระหว่างไทย-บาห์เรน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 45 ที่กรุงมานามา ในระหว่างการเยือนบาห์เรนของนรม.
    - นรม.ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์ร่วมเพื่อจัดทำ Closer Economic Partnership (CEP) การจัดตั้งเขตการค้าเสรี เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2545 ที่กรุงมานามา

    ด้านแรงงาน
    คนงานไทยทำงานอยู่ที่บาห์เรนประมาณ 2,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานฝีมือและกึ่งฝีมือที่ทำงานในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ ช่างซ่อมรถยนต์ ช่างเคาะพ่นสี ช่างเชื่อม ซ่อมเรือสินค้า ช่างประกอบท่อส่งน้ำมัน ช่างเสริมสวย ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า และคนปรุงอาหาร ส่วนใหญ่ทำงานในกิจการขนถ่ายสินค้าทางเรือ ซ่อมบำรุง โรงกลั่นน้ำมัน ก่อสร้างอาคารและถนน กิจการอู่ซ่อมรถยนต์ และร้านเสริมสวย เป็นต้น

    ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับ GCC
    - คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ได้แสดงความปรารถนาที่จะสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นรูปธรรมกับอาเซียน ด้วยเล็งเห็นว่า อาเซียนมีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งลงทุนของ GCC การพบปะหารือกันระหว่าง รมว.กต.ของทั้งสององค์กร ได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1990 ในช่วงการประชุม UNGA ที่นครนิวยอร์ก และเวทีนี้ได้กลายเป็นเวทีหารือประจำปีของอาเซียนและ GCC นับแต่นั้นมา
    - ไทยเคยเสนอแนะต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASC) เมื่อปี ค.ศ.1994 ให้การขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียน-GCC ดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป (incremental basis) ซึ่งอาเซียนเห็นด้วยและมีมติ พร้อมจะให้มีความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมกับ GCC เช่น การติดต่ออย่างเป็นทางการระหว่างสำนักเลขาธิการอาเซียนและ GCC และการจัดอาเซียน-GCC Workshop ที่นครนิวยอร์ก ในปี 2542
    - ในปี 2543 ระหว่างการประชุมรมว.กต.อาเซียน (AMM) ครั้งที่ 33 ที่กรุงเทพฯ (ก.ค. 2543) ไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพได้เชิญผู้แทนระดับสูงของ GCC เข้าร่วมในพิธีเปิดในฐานะแขกของประเทศเจ้าภาพ เพื่อขยายลู่ทางการกระชับความร่วมมือระหว่างทั้งสององค์กร ซึ่ง GCC ได้มอบหมายให้นาย Omar Al-Seqtary ชาวโอมาน ตำแหน่งอัครราชทูตฝ่ายกิจการการเมืองเข้าร่วมการประชุม

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×