ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปยุโรป

    ลำดับตอนที่ #18 : สาธารณรัฐเฮลเลนิก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.12K
      1
      26 ม.ค. 50



     
    สาธารณรัฐเฮลเลนิก
    Hellenic Republic


    ข้อมูลทั่วไป
    ที่ตั้งและอาณาเขต กรีซตั้งอยู่ทางยุโรปตอนใต้ โดยอยู่ทางตอนใต้ของแหลมบอลข่าน และทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจรดแอลเบเนีย ยูโกสลาเวีย และบัลแกเรีย ทิศตะวันออกจรดตุรกี และทะเลอีเจียน ทิศใต้จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกจรดทะเลไอโอเนียน

    พื้นที่ 132,000 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 50,961 ตารางไมล์)
    หมู่เกาะ 3,000 เกาะ ( คิดเป็นร้อยละ 19 ของพื้นที่ทั้งหมด)

    ภูมิอากาศ สภาพอากาศโดยทั่วไปปกติมีอุณหภูมิสบายๆ ในฤดูหนาว อากาศหนาวเล็กน้อย ในฤดูร้อน อากาศร้อนและแห้ง

    ประชากร 10.6 ล้านคน (2546)

    ภาษา ภาษากรีก (ภาษาราชการ) และอื่นๆ (อังกฤษ และฝรั่งเศส)

    ศาสนา คริสต์นิกายกรีกออร์โธดอกซ์ (ร้อยละ 98) อิสลาม (ร้อยละ 1.3) และอื่นๆ (ร้อยละ 0.7)

    เมืองหลวง กรุงเอเธนส์ (Athens)

    เมืองสำคัญ 1. เทสซาโลนิกิ (Thessaloniki) เป็นเมืองท่าและเมืองที่ใหญ่เป็นลำดับสอง อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ
    2. พาทราส (Patras) เป็นเมืองใหญ่อันดับสามและเมืองท่าทางตะวันตกของประเทศ
    3. พิเรอุส (Piraus) เป็นเมืองท่าสำคัญ
    นอกจากนั้นยังมีเมือง ลาริสสา (Larissa) อิราคลิออน (Iraklion)

    สกุลเงิน ยูโร (Euro – EUR)

    วันชาติ 25 มีนาคม

    หมายเหตุ สาธารณรัฐเฮลเลนิก เป็นชื่ออย่างเป็นทางการที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ และใช้มาตั้งแต่ปี 2372 ซึ่งเป็นปีที่กรีซได้รับเอกราชจากจักรวรรดิออตโตมัน มีที่มาจากเทพธิดากรีซ "นางเฮเลน" ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีจากเทพนิยายสงครามกรุงทรอย ดั้งเดิมเป็นชื่อที่ใช้เรียกประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมือง Hellas ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งขึ้นตามชื่อของนางเฮเลน และต่อมาได้ขยายใช้เรียกประชากรเป็นการทั่วไป และในภาษากรีกปัจจุบัน เรียกประเทศของตนเองว่า Ellas (มาจากคำว่า Hellas)
    ในสมัยโบราณดินแดนที่เป็นประเทศกรีซ ถูกแบ่งออกเป็นหลายชนเผ่า ชื่อที่รู้จักเป็นการทั่วไปในปัจจุบันว่า ประเทศ Greece ในภาษาอังกฤษ มาจากคำภาษาลาตินว่า Graecia ซึ่งเป็นชื่อที่ดั้งเดิมใช้เรียกดินแดนที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรีซในปัจจุบัน และเรียกชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้ว่า Graekos

    การเมืองการปกครอง
    ระบบการเมือง สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (สภาเดียว) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข (Presidential Parliamentary Republic)

    ประมุข (ประธานาธิบดี) Karolos PAPOULIAS (ตั้งแต่ 12 มีนาคม 2548)ประธานาธิบดีมีวาระ 5 ปี

    ประธานรัฐสภา มีวาระ 4 ปี ปัจจุบัน คือ นาง Anna Psarouda-Benaki เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคม 2547

    นายกรัฐมนตรี นาย Konstantinos Karamanlis (ชนะการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2547)

    รัฐมนตรีต่างประเทศ นาง Dora Bakoyannis แทนที่นาย Petros Molyviatis ซึ่งปฏิเสธตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและได้วางมือทางการเมือง นาง Dora เคยเป็นนายกเทศมนตรีหญิงคนแรกของกรุงเอเธนส์และเป็นรมว.กต.หญิงคนแรกของกรีซ

    รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มี 3 คน คือ
    1. Yiannis Valinakis (Deputy Foreign Minister) เป็นเลื่อนตำแหน่งจากการเป็น
    รมช.คนที่สามก่อนปรับครม.เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549
    2. Evrypides Stylianidis (Deputy Foreign Minister)
    3. Theodoros Kassimis (Deputy Foreign Minister)

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการพาณิชย์
    นาย George Alogoskoufis
    (Minister of Economy and Finance)

    รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
    นาย Prokopis Pavlopoulos
    (Minister of Interior, Public Administration and Decentralization)

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
    นาย Evangelos Meimarakis

    กดที่นี่เพื่อไปยังเว็บไซต์ของรัฐบาลกรีซ

    สถาบันและระบบทางการเมือง
    -ประธานาธิบดี ได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภา โดยต้องได้รับคะแนนเสียง 2 ใน 3 มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ไม่เกิน 2 วาระ ประธานาธิบดีจะแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (โดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี) รัฐสภาอาจจะกล่าวโทษประธานาธิบดี ถ้ามีผู้สนับสนุนไม่ต่ำกว่าจำนวน 1 ใน 3 และต้องใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 ในการผ่านญัตติ ประธานาธิบดีอาจจะยุบสภาได้ด้วยคำแนะนำของคณะรัฐบาลหรือความยินยอมของสภาแห่งสาธารณรัฐ (Council of the Republic)
    - รัฐสภา ประกอบด้วยผู้แทน 300 คน ที่มาจากการเลือกตั้งโดยทางตรง
    (the Hellenic Parliament) มีวาระ 4 ปี
    - สภาแห่งสาธารณรัฐ เป็นเสมือนที่ปรึกษาของประธานาธิบดี ประกอบด้วย (Council of the Republic) อดีตประธานาธิบดี อดีตนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีและผู้นำพรรคการเมืองฝ่ายค้านซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา สภาแห่งสาธารณรัฐอาจจะช่วยจัดตั้งรัฐบาลในกรณีที่พรรคการเมืองใหญ่ๆ ไม่สามารถตกลงกับจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากรัฐสภา นอกจากนี้ สภาแห่งสาธารณรัฐอาจให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งมิได้เป็นสมาชิกรัฐสภา
    - คณะรัฐมนตรี ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีจะต้องได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา และอาจถูกยุบได้ด้วยการลงคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจจากรัฐสภา
    - อำนาจนิติบัญญัติ ร่างกฎหมายที่จะผ่านรัฐสภาต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดีซึ่งมีสิทธิคัดค้านได้ แต่การคัดค้านกฎหมายของประธานาธิบดีจะไม่มีผล ถ้าเสียงข้างมากของสมาชิกรัฐสภายังยืนยันสนับสนุนร่างกฎหมายดังกล่าว
    - อำนาจตุลาการ ประธานาธิบดีโดยคำแนะนำของสภาตุลาการจะแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาตลอดชีวิต ผู้พิพากษาจะเป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อผู้ใด กรีซมีศาลปกครอง ศาลแพ่ง และศาลอาญา นอกจากนี้ ยังมีศาลสูงพิเศษซึ่งมีอำนาจตัดสินเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ

    การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุด มีขึ้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2547



    เศรษฐกิจการค้า
    ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 197.7 พันล้าน USD (2548)

    GDP Per Capita 18,013 USD (2548)

    อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 4.2 (2547)
    อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.0 (2547)
    อัตราการว่างงาน ร้อยละ 10.4 (2547)
    ดุลบัญชีเดินสะพัด-6.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

    ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เยอรมัน อิตาลี ฝรั่งเศส สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ไซปรัส ตุรกี และกลุ่มประเทศบอลข่าน
    สินค้านำเข้าที่สำคัญ น้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รถยนต์ เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน เครื่องไฟฟ้า เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์
    สินค้าส่งออกที่สำคัญ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซีเมนต์ ใบยาสูบ ผลไม้ มะเขือเทศกระป๋อง น้ำมันมะกอก ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม

    ตลาดส่งออกสำคัญ EU (44%) สหรัฐฯ และบัลแกเรีย (5.7%) ไซปรัส (4.8%) มาเซโดเนีย (3.7%)

    ตลาดนำเข้าสำคัญ EU (50.8%) รัสเซีย (5.3%) ซาอุดิอาระเบีย (3.5%) สหรัฐฯ (3.3%) อิหร่าน (3.2%)

    ดุลการค้าระหว่างไทยและกรีซ (ม.ค.- มิ.ย. 49)

    ในช่วง 2 ไตรมาสแรก ไทยส่งออกไปกรีซ 113.3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ นำเข้า 14.9 ดอลล่าร์สหรัฐ การค้ารวมมีมูลค่า 128.2 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยไทยได้ดุล 98.4 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเฮลเลนิก
    ความสัมพันธ์ทางการทูต
    ประเทศไทยและกรีซได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในระดับเอกอัครราชทูต ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2501

    ความสัมพันธ์ทางการเมือง
    ไทยและกรีซไม่มีปัญหาทางการเมืองต่อกัน ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศดำเนินมาโดยราบรื่น และอยู่ในระดับที่น่าพอใจ

    ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ
    1. การค้า ในปี 2546 การค้ารวมระหว่างไทย-กรีซ มีมูลค่า 151.9 ล้าน USD ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 128.8 ล้าน USD โดยนำเข้า 11.6 ล้าน USD และส่งออก 140.3 ล้าน USD

    สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป รองเท้าและชิ้นส่วน ผ้าผืน เป็นต้น

    สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้า ได้แก่ น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเบรก ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผลไม้ เคมีภัณฑ์ เส้นใยใช้ในการทอ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ หลอดและท่อโลหะ เป็นต้น
    (ที่มา: ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์)

    จุดแข็งของกรีซ
    - สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์สามารถพัฒนาให้เป็น gateway ไปสู่กลุ่มประเทศบอลข่านและกลุ่มประเทศย่านทะเลดำได้ในอนาคต
    - เศรษฐกิจมีแนวโน้มจะขยายตัวซึ่งจะนำไปสู่การนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น
    - มีความสัมพันธ์และภาพลักษณ์ที่ดีกับไทยมาโดยตลอด
    - มีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้ความชำนาญในบางสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ เช่น การเดินเรือ การท่องเที่ยว เป็นต้น

    การลงทุน ( ที่มา: ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน )จากตัวเลขการลงทุนของประเทศกลุ่มยุโรปในไทย ฝ่ายกรีซไม่มีการลงทุนในไทยและฝ่ายไทยก็ไม่มีการลงทุนในกรีซเช่นกัน

    การท่องเที่ยว ( ที่มา : ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย )
    - นักท่องเที่ยวชาวกรีกที่เดินทางมาไทยในช่วงห้าปีที่ผ่านมา (2542-2546) มีจำนวนไม่มากนัก ในปี 2542 มีจำนวน 13,501 คน ปี 2543 มีจำนวน 12,843 ปี 2544 มีจำนวน 14,138 คน ปี 2545 มีจำนวน 14,050 คน ปี 2546 มีจำนวน 10,849 คน (ลดลงร้อยละ 22.85)

    -นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปกรีซ ปี 2545 มีจำนวน 1,889 คน ปี 2546 มีจำนวน 1,245 คน (ลดลงร้อยละ 34.09)

    แรงงานไทยในกรีซ
    กรีซมีกำลังแรงงานทั้งประเทศประมาณ 4.37 ล้านคน และประสบปัญหาอัตราการว่างงานสูงถึงประมาณร้อยละ 9 นอกจากนี้ กรีซยังมีปัญหาผู้อพยพหรือผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่มาจากแอลแบเนีย โปแลนด์ โรมาเนีย บัลแกเรีย และเซอร์เบียและมอนเตเนโกร ประมาณ 800,000 คน ดังนั้น รัฐบาลกรีซจึงมีนโยบายไม่รับแรงงานต่างชาติเข้าไปทำงานอีกและมีความเข้มงวดในเรื่องการเข้าเมืองมาก
    สำหรับคนไทยที่เข้าไปทำงานในกรีซ ปัจจุบัน มีประมาณ 100 คน เข้าไปทำงานได้ด้วยการติดต่อกับคนรู้จักหรือญาติ โอกาสของแรงงานไทยมี 2 ประเภท คืองานแม่บ้านซึ่งคงจะขยายอีกไม่ได้มากนัก และงานกะลาสีเรือ ซึ่งปัจจุบัน แรงงานจากฟิลิปปินส์และอินเดียครอบครองอยู่

    ความตกลงทวิภาคีที่ได้ลงนามแล้ว
    1. ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ (Air Services Agreement) ลงนามเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2515
    2. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (Agreement on Tourism Cooperation between The Tourism Authority of Thailand and the National Tourist Organization of Greece) ลงนามเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2535
    3. ความตกลงวัฒนธรรม (Cultural Agreement) ลงนามเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2547
    4.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และวิชาการ(Agreement of Economic, Scientific and Technical Cooperation)
    5. บันทึกความเข้าใจระหว่างระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายสนธยา คุณปลื้ม) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกรีซ (นาย Dimitris Avramopoulos)

    ความตกลงทวิภาคีที่อยู่ระหว่างการเจรจา/จัดทำ
    1. ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน
    (Agreement on the Reciprocal Promotion and Protection of Investments)
    2. อนุสัญญาเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน
    (Agreement for the Avoidance of Double Taxation)
    3.ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ
    (Agreement on Abolition of Visa Requirements for Holders of Diplomatic and Official Passports)
    4. ความตกลงว่าด้วยบริการเดินเรือพาณิชย์
    (Agreement on Maritime Transportation)


    การแลกเปลี่ยนการเยือน
    ราชวงศ์
    - 30 มีนาคม-14 เมษายน และ 13-15 ตุลาคม 2536 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเยือนกรีซอย่างเป็นทางการ
    - 20-30 พฤษภาคม 2536 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
    เสด็จพระราชดำเนินเยือนกรีซอย่างเป็นทางการ

    รัฐบาล
    - 29 กันยายน–1 ตุลาคม 2530 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยือนกรีซอย่างเป็นทางการ
    - 15-16 มิถุนายน 2541 นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเยือนกรีซอย่างเป็นทางการ
    - 1-3 พฤศจิกายน 2541 ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนกรีซอย่างเป็นทางการ
    - 1-3 พฤศจิกายน 2541 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนกรีซอย่างเป็นทางการ
    - 7 กุมภาพันธ์ 2543 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมซึ่งจัดโดย ASIA FORUM 2000 ณ เมืองเทสซาโลนิกิ ประเทศกรีซ และได้พบปะและหารือข้อราชการทวิภาคีกับนาย Grigoris Niotis รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกรีซ
    -12-15 สิงหาคม 2547 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนกรีซในฐานะตัวแทนของนายกรัฐมนตรีเพื่อเข้าร่วมชมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
    -26-31 สิงหาคม และ 16-19 กันยายน 2547 นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เดินทางเยือนกรีซ

    หน่วยงานราชการ
    - 5-10 ตุลาคม 2541 ผู้แทนจากสามเหล่าทัพของไทยไปร่วมงาน Defendory International’98 ที่กรุงเอเธนส์
    - 1-6 มิถุนายน 2549 ประธานศาลปกครองสูงสุด (นาย อักขราทร จุฬารัตน) เยือนกรีซ
    - คณะนักศึกษาหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 10 เดินทางศึกษาดูงานที่กรีซ

    ฝ่ายกรีซ
    - 5-7 เมษายน 2529 นาย Andreas Papandreou นายกรัฐมนตรีกรีซเยือนไทยอย่างไม่เป็นทางการ
    - 29-31 กรกฎาคม 2536 นาง Virginia Tsouderou รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกรีซ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ
    - 1-2 มีนาคม 2539 นาย Akis Tsochatzopoulos รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกรีซ เป็นผู้แทนนายกรัฐมนตรีกรีซมาเข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 1
    - 5-7 เมษายน 2539 นาย Andreas Papandreou นายกรัฐมนตรีกรีซ เยือนไทย
    - 8-11 กุมภาพันธ์ 2540 นาย Theodoros Pangalos รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกรีซ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ
    - 29 - 31 กรกฎาคม 2540 นาย Alexandros Philon ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกรีซและภริยา เยือนไทย
    - 22-26 เมษายน 2541 นาย Constantinos J. Ivrakis รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศกรีซเยือนไทย
    - 30 พฤษภาคม 2544 นาย Grigoris Niotis รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกรีซเยือนไทย
    - 3 และ 8 มีนาคม 2545 นาย Constantinos Simitis นายกรัฐมนตรีกรีซแวะผ่านไทย (transit) ในระหว่างการเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ
    - 9-11 กรกฎาคม 2547 นาย Dimitris Avramopoulos รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกรีซ เดินทางเยือนไทย เพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดงาน "Athens 2004 Olympiuc Games" และร่วมงานเทศกาลอาหารกรีก (Greek Food Festival)
    - พฤศจิกายน 2547 นาย Nikos Tsirtsionis รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการเขต Macedonia and Thrace เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการเพื่อขอเสียงสนับสนุนให้กรีซเป็นเจ้าภาพ
    - 29 สิงหาคม 2549 นาย Nikos Tsirtsionis รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการเขต

    …………………………………………….

    หน่วยงานของไทยในกรีซ
    สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเอเธนส์ สาธารณรัฐเฮลเลนิก
    Royal Thai Embassy
    25 Marathonodromou Paleo Psychivo 15452 Athens
    Tel. (3021) 0671-0155, 0674-9065
    Fax (3021) 0674-9508
    E-mail : thaiath@otenet.gr

    เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเอเธนส์
    (Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary)
    นายชัชเวทย์ ชาติสุวรรณ


    สำนักงานแรงงาน ณ กรุงเอเธนส์
    Office of Labour Affairs
    28 Argonafton StreetHalandri 15232,Athens
    Tel (3021) 0681-3274, 0684-8330
    Fax (3021) 0684-8330

    ที่ปรึกษา (Counsellor)
    นายสมศักดิ์ อภิวันทนากุล

    หน่วยงานของกรีซในไทย
    สถานเอกอัครราชทูตกรีซประจำประเทศไทย ตั้งอยู่ที่
    หน่วยที่ 25/9-5 ชั้น 9
    ตึก บีเคไอ และ วายดับเบิ้ลยูซีเอ
    หมายเลข 25 ถนนสาธรใต้
    แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาธร
    กรุงเทพ 10120
    โทร 0-2679-1462
    โทรสาร 0-2679-1463
    ไปรษณีย์อิเล็กโทรนิกส์: embgrbkk@ksc.th.com

    The Embassy of Greece
    Unit No. 25/9-5,
    9th Floor
    BKI/YWCA Building
    No. 25 South Sathorn Road
    Tung-mahamek Sub-district
    Sathorn District
    Bangkok 10120 Thailand
    Office hour 09-15.30 (Mon-Fri)
    Tel. 0-2679-1462
    Fax 0-2679-1463
    E-mail : embgrbkk@ksc.th.com

    เอกอัครราชทูตกรีซประจำประเทศไทย
    นายโยอันนีส ปาปาดูปูลอส H.E. Mr. Ioannis Papadopoulos

    กรีซเพิ่งเปิดสำนักงานพาณิชย์ (Office of Economic and Commercial Affairs) ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 มีที่ตั้งอยู่ที่เดียวกันกับสถานเอกอัครราชทูต โดยมีนาย Emmanuel Markianos เป็นหัวหน้าสำนักงาน

    คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 อนุมัติให้รัฐบาลกรีซเปิดสถานกงสุลประจำเชียงใหม่ โดยมีเขตอาณา 10 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ สุโขทัย และพิษณุโลก และแต่งตั้ง
    กงสุลกิตติมศักดิ์กรีซประจำเชียงใหม่ คือ นาย จอร์จ เอ. ซิโอริส (George A. Sioris)


    +++++++++++++++++++++++++++++++++++


    กระทรวงการต่างประเทศกรีซ มีคณะกรรมการจัดการวิกฤตการณ์ (Crisis Management Committee) ซึ่งมีหน้าที่แก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับด้านการกงสุลหรือการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

    หมายเลขโทรศัพท์สายด่วนของคณะกรรมการดังกล่าว คือ 001 302 10 368 1912 (12 คู่สาย) หมายเลขอื่นๆ อีก 5 หมายเลข คือ 001 302 10 368 1835-38 และ 001 302 10 367 1469 โดยหมายเลขดังกล่าวจัดเพื่อให้ชาวกรีกและสื่อมวลชนชาวกรีกสามารถสอบถามสถานการณ์และข้อมูลเกี่ยวกับชาวกรีกที่อยู่ในประเทศที่มีสถานการณ์ฉุกเฉิน

    21 ธันวาคม 2549

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×