ลำดับตอนที่ #17
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #17 : รัฐคูเวต
|
|
State of Kuwait |
ข้อมูลทั่วไป |
พื้นที่ ประมาณ 17,818 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือและทิศตะวันตกติดกับอิรัก
ทิศใต้และทิศตะวันออกติดกับซาอุดีอาระเบีย
เมืองหลวง Kuwait City
ภูมิอากาศ ลักษณะอากาศแบบทะเลทราย ช่วง พ.ค. ต.ค. อากาศจะร้อนจัด ส่วนฤดูหนาวในช่วง ธ.ค. ก.พ. อากาศหนาวจัด
ประชากร 2.274 ล้านคน (2000) เป็นชาวคูเวต ร้อยละ 35.1
ภาษาราชการ อาหรับ ภาษาอังกฤษใข้กันอย่างแพร่หลาย
ศาสนา อิสลามร้อยละ 95 (ชีอะห์ร้อยละ 40 ซุนหนี่ 45) คริสเตียนร้อยละ 4.5
วันชาติ (National Day) 25 กุมภาพันธ์
สกุลเงิน คูเวตดีนาร์ 0.30 คูเวตดีนาร์ เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 140 บาท
GDP 39.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2004)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 15,600 ดอลลาร์สหรัฐ (2003)
อุตสาหกรรมสำคัญ ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี การผลิตอาหาร ผลิตวัสดุก่อสร้าง
ปริมาณน้ำมันสำรอง 96.5 พันล้านดอลลาร์บาร์เรล (2004)
ความสามารถในการผลิตน้ำมัน 2.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปริมาณก๊าซสำรอง 55.5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
สินค้าออกที่สำคัญ น้ำมันและผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน ปุ๋ย
สินค้าเข้าที่สำคัญ อาหาร วัสดุก่อสร้าง ยานยนต์และอะไหล่ เครื่องนุ่งห่ม
การเมืองการปกครอง |
ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของคูเวตเริ่มต้นจากการสร้างเมืองคูเวตในศตวรรษที่ 18 โดยชนเผ่า Uteiba ซึ่งเร่ร่อนมาจากทางเหนือของกาตาร์ ในระหว่างศตวรรษที่ 19 คูเวตพยายามที่จะขอความช่วยเหลือจากอังกฤษเพื่อให้พ้นจากการยึดครองของพวกเติร์กและกลุ่มต่าง ๆ ที่ทรงอำนาจในคาบสมุทรอาระเบีย ในปี 1899 Sheikh Mubarak Al Sabah ได้ลงนามในข้อ ตกลงกับอังกฤษสัญญาว่าตนและผู้สืบทอดอำนาจจะไม่ยอมให้ดินแดนและต้อนรับผู้แทนของต่างประเทศใด ๆ โดยไม่ได้ความยินยอมจากอังกฤษเสียก่อน ส่วนอังกฤษก็ได้ตกลงที่จะให้เงินช่วยเหลือประจำปีแก่ Sheikh Mubarak และทายาทและให้ความคุ้มครองคูเวต โดยอังกฤษได้ดูแลกิจการด้านการต่างประเทศและความมั่นคงให้กับคูเวต
ในช่วงต้นปี 1961 อังกฤษได้ถอนศาลสิทธิสภาพนอกอาณาเขตสำหรับตัดสินคดีของชาวต่างชาติในคูเวตออกไป และรัฐบาลคูเวตได้เริ่มการใช้กฎหมายของตนเองซึ่งยกร่างโดยนักกฎหมายชาวอียิปต์ คูเวตได้รับอิสรภาพเต็มที่เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 1961 หลังจากการแลกเปลี่ยนหนังสือ (exchange of notes) กับอังกฤษ
เขตแดนระหว่างคูเวตกับซาอุดีอาระเบียได้กำหนดขึ้นในปี 1922 โดยสนธิสัญญา Uqair หลังจากการสู้รบที่เมือง Jahrah สนธิสัญญานี้ยังได้กำหนดเขตเป็นกลางระหว่างคูเวตและซาอุดีอาระเบีย (Kuwaiti Saudi Arabia Neutral Zone) ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 5,180 ตารางกิโลเมตร ติดกับเขตแดนทางใต้ของคูเวต ในเดือนธันวาคม 1969 คูเวตและซาอุดีอาระเบียได้ลงนามในข้อตกลงแบ่งเขตเป็นกลาง (ปัจจุบันเรียกว่า Divided Zone) และปักปันเส้นเขตแดนระหว่างประเทศใหม่ โดยทั้งสองประเทศได้แบ่งน้ำมันทั้งนอกฝั่งและบนฝั่งในเขต Divided Zone อย่างเท่าเทียมกัน
การเมืองและการปกครอง
- คูเวตมีการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) ราชวงศ์ Al-Sabah เป็นผู้ปกครองคูเวต นับตั้งแต่ปี 1751 มาโดยตลอด คูเวตมีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัย Emir Sabah al-Salim Al Sabah พระราชบิดาของเจ้าผู้ครองรัฐคนปัจจุบันและ Emir Jaber Al-Ahmed Al-Jaber Al-Sabah เจ้าผู้ครองรัฐคนปัจจุบัน (ซึ่งขึ้นครองราชย์เมื่อปี 1977) โดยในช่วงสองสมัยนี้คูเวตได้พัฒนาเป็นรัฐสวัสดิการที่มีระดับการพัฒนาสูงที่มีเศรษฐกิจแบบเสรี อย่างไรก็ดี ไม่มีกฏหมายหรือกฏเกณฑ์การสืบราชสมบัติที่แน่นอน
- คูเวตจัดเป็นประเทศมุสลิมที่เสรีนิยมมากที่สุดประเทศหนึ่ง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (ปี 1962) กำหนดให้มีรัฐสภา แบบสภาเดี่ยว (Unicameral National Assembly) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจำนวน 50 คน เจ้าผู้ครองนคร (Emir) แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยอาจคัดเลือกจากบุคคลนอกสภาก็ได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวจะได้เป็นสมาชิกสภาด้วย การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือน กรกฎาคม 1999 ครั้งต่อไปกำหนดมีขึ้นในเดือน ตุลาคม 2003
- เจ้าผู้ครองรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ ไม่มีระบบพรรคการเมืองในคูเวต แต่แบ่งเป็นกลุ่มการเมืองต่าง ๆ อาทิ The Islamic Constitutional Movement , The Shia Islamists of the National Islamic Alliance และ Kuwait Democratic Forum เป็นต้น
- รัฐสภาคูเวตได้ขยายบทบาทอย่างไม่เคยมีมาก่อนในการกำกับดูแลการบริหารงานของรัฐบาล รวมทั้งได้แสดงบทบาทในทางนิติบัญญัติโดยการออกกฎหมายสำคัญ ๆ หลายฉบับ ซึ่งล้วนมุ่งควบคุมดูแลการทำงานของรัฐบาล
บุคคลสำคัญ
ประมุขรัฐ Sheikh Jaber Al-Ahmad Al-Jaber Al-Sabah (Amir of Kuwait)
มกุฏราชกุมารและนายกรัฐมนตรี Sheikh Saad Al-Abdullah Al-Salem Al-Sabah
รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 Sheikh Sabah Al-Ahmad Al-Jaber Al-Sabah
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
การเมืองภายในคูเวต
ขั้วการเมืองในคูเวตหลัก ๆ ที่ต่อสู้กันในรัฐสภามีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอิสลาม และกลุ่มเสรีนิยม แต่ไม่รุนแรงจนถึงขั้นส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพภายใน ประเด็นความขัดแย้งที่อาจมีขึ้นในอนาคต ได้แก่ การเรียกร้องสิทธิทางการเมืองของสตรีชาวคูเวต โดยเฉพาะสิทธิใน การออกเสียงเลือกตั้ง ทิศทางของการปฏิรูปเศรษฐกิจ และการสืบทอดราชบัลลังค์ อย่างไรก็ดี อาจกล่าวได้ว่า คูเวตมีสถานะการเมืองในประเทศที่มั่นคง
นโยบายต่างประเทศ
ในอดีต คูเวตได้ดำเนินนโยบายการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Economy) มุ่งเน้นการรักษาความปลอดภัยของประเทศที่อาจถูกรุกรานจากอิรัก โดยมีนโยบายนิยมตะวันตกและพึ่งพิงสหรัฐฯ ในด้านความมั่นคงมาโดยตลอด วิกฤตการณ์จากการยึดครองของอิรักในช่วงปี 2533 2534 (อิรักเข้ายึดครองคูเวตเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533) ส่งผลต่อนโยบายต่างประเทศของคูเวตในปัจจุบันหลายประการ ได้แก่
- ต่อต้านอิรัก พยายามคงมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ตลอดจนมาตรการลงโทษต่ออิรักต่อไป และยึดมั่นเรียกร้องให้นานาชาติกดดันให้อิรักปฏิบัติตามมติของสหประชาชาติ
- เพิ่มความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ฝรั่งเศส อังกฤษ ตลอดจนพันธมิตรอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านการทหาร
- เล็งเห็นความสำคัญของการมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับประเทศกำลังพัฒนาที่อยู่ห่างไกล เนื่องจากคูเวตตระหนักดีว่าต้องพึ่งการสนับสนุนจากประเทศเหล่านี้ในเวทีสหประชาชาติ
- จัดสรรงบประมาณด้านการป้องกันประเทศสูง เพื่อป้องปรามอิรัก รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์กับอิหร่าน เพื่อคานอิรัก และโน้มน้าวประเทศอาหรับอื่น ๆ มิให้ใกล้ชิดกับอิรัก
ปัจจุบันคูเวตกำลังดำเนินนโยบาย "การทูตทางเศรษฐกิจ" (Economic Diplomacy) เน้นการใช้ประโยชน์ทางการทูตเพื่อผลทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ชาวคูเวตได้รับผลอย่างเป็นรูปธรรม งบประมาณทั้งหลายจะถูกใช้ในการพัฒนาประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจการค้า |
จากการที่ราคาน้ำมันมีการผันผวนตามภาวะการของตลาดโลก คูเวตได้จัดเตรียมแผนเพื่อรองรับกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยได้เริ่มดำเนินการตามแผนรวมปฏิรูปเศรษฐกิจ (Economic Reform Package) มาตั้งแต่ปี 2542 ที่ครอบคลุมเรื่องการปรับโครงสร้างค่าใช้จ่ายของรัฐ การลดรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคม การแปรรูปวิสาหกิจ และการผลักดันให้บรรจุคนคูเวตเข้าทำงานแทนคนต่างชาติ (Kuwaitization) การส่งเสริมและให้ความสำคัญทางด้านการค้า และการลงทุนโดยเร่งออกพระราขกฤษฎีกากฎหมายการลงทุนต่างประเทศ พระราชกฤษฎีกาให้ชาวต่างชาติถือหุ้นในตลากหลักทรัพย์ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ การปรับปรุงกฏระเบียบการค้า และการอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่นักลงทุนต่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัฐคูเวต |
ไทยและคูเวตได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2506 ไทยเปิดสอท. ณ คูเวตเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2526 ในอดีตคูเวตได้แต่งตั้งออท. ประจำมาเลเซียเป็นออท.ประจำประเทศไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง แต่ต่อมาเมื่อเดือนมกราคม 2540 คูเวตได้แต่งตั้งให้นาย Hamood Yusuf M. Al-Roudhan ดำรงตำแหน่งออท.คูเวตประจำประเทศไทยคนแรก
ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
โดยทั่วไปไทยและคูเวตมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและไม่มีความขัดแย้งทางการเมือง ที่ผ่านมาคูเวตได้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของไทยที่เคยช่วยเหลือและสนับสนุนคูเวตมาโดยตลอดในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย ขณะที่ไทยก็ได้สนับสนุนข้อมติทุกข้อเกี่ยวกับเรื่องคูเวต อิรัก และได้ส่งทหารเข้าร่วมในกองกำลังสังเกตการณ์แห่งสหประชาชาติประจำชายแดนอิรัก คูเวต (United Nations Iraq Kuwait Observer Mission UNIKOM) รวมทั้งได้ส่งคณะแพทย์และพยาบาลไปช่วยเหลือคูเวตด้วย
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
มูลค่าการค้าของไทยกับคูเวตในปี 2546 คิดเป็นเงิน 247.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 83.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าที่ไทยส่งออก ได้แก่ ส่วนประกอบรถยนต์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รองเท้า ชิ้นส่วนยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน อาหารทะเล ฯลฯ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากคูเวค ได้แก่ น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเบรก สินแร่โลหะ ผ้าผืน ฯลฯ
กลไกทวิภาคีที่สำคัญระหว่างไทย-คูเวต ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วม (JC)ไทย-คูเวต ซึ่งมีการประชุมครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2542 ที่กรุงเทพฯ (การจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมฯ เป็นไปตามความตกลงทางด้านเศรษฐกิจและการค้า ซึ่งได้ลงนามเมื่อปี 2530) ทั้งสองฝ่ายได้หารือที่จะขยายความร่วมมือทางด้านการค้า การลงทุน การเงิน การธนาคาร อุตสาหกรรมน้ำมัน ความร่วมมือทางวิชาการ การท่องเที่ยวและความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เห็นว่า คูเวตเป็นตลาดเล็ก แต่ก็มีศักยภาพสำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยในปี 2543 มีนักท่องเที่ยวคูเวต จำนวน 19,847 คน และไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวจากตลาดคูเวตมูลค่า 1,316.25 ล้านบาท และททท.ยินดีสนับสนุนการท่องเที่ยวระหว่างไทย-คูเวต สำหรับความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนนั้น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้นำคณะนักธุรกิจไทย จำนวน 15 คน ไปเยือนคูเวตเมื่อเดือนตุลาคม 2543 เพื่อส่งเสริม
ความสัมพันธ์ทางการค้าและหาลู่ทางในการร่วมลงทุนระหว่างกัน ในปี 2533 บ. โอเวอร์ซี เอนเนอร์ยี ซัพพลายของไทย ได้ร่วมทุนกับบริษัทคูเวต ปิโตรเลียมอินเตอร์เนชั่นแนล ก่อตั้งบริษัท คูเวตปิโตรเลียม (ประเทศไทย) เพื่อก่อตั้งเครือข่ายสถานีบริการน้ำมัน Q8 ทั่วประเทศไทย และการสร้างฐานการตลาดสำหรับการผลิตน้ำมันหล่อลื่น Q8 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เครื่องยนต์เบนซิน และสำหรับรถจักรยานยนต์ สำหรับภาคการเงิน คูเวตเริ่มให้ความสนใจไปลงทุนในภูมิภาคเอเชีย และจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ ทำให้มีนักธุรกิจคูเวตจำนวนมากสนใจที่จะสร้างพันธมิตรกับฝ่ายไทย เพื่อทำธุรกิจในคูเวต โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ ธุรกิจร้านอาหาร เสริมสวย ความงาม สปา เป็นต้น นอกจากนี้ คูเวตยังมีโครงการพัฒนาหมู่เกาะ Failaka และ Bubiyanจึงมีความต้องการการก่อสร้างบ้านพักอาศัยอีกจำนวนมาก
ตัวเลขทางการค้าไทย คูเวต ดูเอกสารแนบ
สินค้าออกของไทยไปคูเวตได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รองเท้าและชิ้นส่วน ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ผ้าผืน อาหารทะเลกระป๋อง ฯลฯ
สินค้านำเข้าจากคูเวต ได้แก่ น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเบรก สินแร่โลหะอื่น ๆ ผ้าผืน ฯลฯ
แรงงาน ปัจจุบันมีแรงงานไทยอยู่ในคูเวตประมาณ 1,500 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานประเภทกึ่งฝีมือ โดยทำงานในภาคเอกชนในประเภทกิจการรับเหมาะขุดเจาะและประกอบท่อส่งน้ำมัน รับเหมาก่อสร้าง อู่ต่อเรือ อู่ซ่อมรถยนต์ โรงงานเฟอร์นิเจอร์ ร้านเสริมสวย และตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี
การลงทุน บริษัท Kuwait Petroleum International (Thailand) หรือ KPI ได้มาลงทุนด้านสถานีบริการน้ำมัน Q8 ในไทย ขณะนี้มีสถานีบริการน้ำมันอยู่ 250 แห่ง และมีโครงการจะขยายถึง 500 แห่งในปี ค.ศ. 2010 นอกจากการสร้างสถานีบริการน้ำมันแล้ว บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญต่อการสร้างฐานการตลาดสำหรับการผลิตน้ำมันหล่อลื่น Q8 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เครื่องยนต์เบนซิน และสำหรับรถจักรยานยนต์ด้วย นอกจากการลงทุนด้านสถานีบริการน้ำมันแล้ว คูเวตยังมีแผนจะลงทุนด้านโรงกลั่นน้ำมันในลักษณะลงทุนร่วมร้อยละ 50 เพราะเห็นว่าไทยอาจจะเป็นศูนย์กลางการส่งน้ำมันภายในภูมิภาครวมทั้งจีนตอนใต้ ในปี 2544 ปตท.ได้ทำสัญญาซื้อน้ำมันจาก Kuwait Petroleum Company ในปริมาณไตรมาสละ 200,000 บาร์เรล
การแลกเปลี่ยนการเยือน
- รมช.กต. (ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธ์) เยือนคูเวตระหว่างวันที่ 12 14 สิงหาคม 2526 และ 16 17 มกราคม 2527
- รมว.กต. เยือนคูเวตตามคำเชิญของรองนรม.และรมว.กต. คูเวตระหว่าง วันที่ 1 4 กุมภาพันธ์ 2528
- รมช.มท. (นายเฉลียว วัชรพุกก์) เยือนคูเวต ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน 1 กรกฎาคม 2530
- รมว.กระทรวงน้ำมันคูเวตเยือนไทยอย่างระหว่างวันที่ 23 25 กันยายน 2530
- รมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายกร ทัพพะรังสี) เยือนคูเวตระหว่างวันที่ 21 23 มีนาคม 2532 ตามคำเชิญของ Sheikh Ali Khalifa Al-Sabah รมว.กระทรวง น้ำมันคูเวต
- Sheikh Ali Khalifa Al-Sabah รมว.กระทรวงน้ำมันคูเวตเยือนไทยระหว่างวันที่ 27 31 กุมภาพันธ์ 2533
- Dr. Rasheed Al-Ameeri รมว.กระทรวงน้ำมันคูเวตเยือนไทยระหว่างวันที่ 31สิงหาคม 4 กันยายน 2533 ในฐานะผู้แทนพิเศษของเจ้าผู้ครองรัฐคูเวตเพื่อขอความสนับสนุนจากไทยต่อรัฐบาลที่ชอบธรรมของคูเวตและยืนยันการดำเนินการลงทุนต่อไปในประเทศไทย
- นาย Yahya Fahad Al-Sumaid รมว.กระทรวงการเคหะในฐานะแขกพิเศษของเจ้าผู้ครองนคร รัฐคูเวต เยือนไทยระหว่างวันที่ 28 30 พฤศจิกายน 2533
-ในระหว่างการเยือนซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2533 2 มกราคม 2534 ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ รมว.กต.ได้เดินทางไปเข้าเฝ้าเจ้าผู้ครองรัฐคูเวตที่เมือง Taif ของซาอุดีฯ เพื่อแสดงการสนับสนุนต่อรัฐบาลคูเวตในการต่อต้านการยึดครองของอิรัก
- เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี รมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้นำคณะสันถวไมตรีของไทยเยือนคูเวต เมื่อวันที่ 6 7 พฤษภาคม 2534 โดยได้เข้าเฝ้า Sheikh Saad Al-Sabah มกุฏราชกุมารและนายกรัฐมนตรีคูเวต
- Dr. Ahmed Al-Rubei รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการคูเวตในฐานะผู้แทนพิเศษของเจ้าผู้ครองนคร เยือนไทยอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมีนาคม 2536
- นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองประธานรัฐสภาเยือนคูเวตเมื่อเดือนเมษายน 2536
- Dr. Ali Ahmad Al-Gaghli รมว.กระทรวงน้ำมันคูเวตเยือนไทยในฐานะ แขกของ รมว. อุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 5 8 พฤษภาคม 2536
- นาย Ghazi Al-Rayes ออท.คูเวตประจำปักกิ่ง เยือนไทยในฐานะผู้แทนพิเศษของ รองนรม. และ รมว.กต. คูเวต เมื่อวันที่ 22 25 สิงหาคม 2536
- Sheikh Saad Al-Abdullah Al-Salem Al-Sabah มกุฏราชกุมารและนายก- รัฐมนตรีคูเวตเยือนไทยระหว่างวันที่ 10 12 เมษายน 2538 นับเป็นการเยือนระดับสูงครั้งประวัติศาสตร์ในความสัมพันธ์ไทย คูเวต
- พล.อ. เชษฐา ฐานะจาโร ผบ.ทบ. ในฐานะประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยเยือนคูเวตระหว่างวันที่ 22 23 กันยายน 2540
- นาย Ahmad Khaled Al-Kulaib รมว.แรงงานและกิจการสังคมคูเวตเข้าร่วมประชุมกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกของ ILO ครั้งที่ 12 ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 9 11 ธันวาคม 2540
- ฯพณฯ รมว.กต. และคณะเดินทางเยือนคูเวตระหว่างวันที่ 10 11 มิถุนายน 2541
- นาย Abdul Wahab Mohammed Al-Wazzan รมว.พาณิชย์และอุตสาหกรรมคูเวตเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนคูเวต เดินทางมาร่วมการประชุม UNCTAD X ที่กรุงเทพฯ
- นาย Talal Al Ayyar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมและรัฐมนตรีกระทรวงไฟฟ้าและน้ำของคูเวต เดินทางมาเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีของ ILO ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกระหว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม 2544 และได้เข้าพบนายปองพล อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรี และนายเดช บุญ-หลง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- นายประพาส ลิมปะพันธุ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและคณะ เดินทางเยือนตะวันออกกลาง รวมทั้งคูเวต ระหว่างวันที่ 17 - 21 พ.ค. 2546 เพื่อขยายตลาดแรงงานในภูมิภาค
- นายวันมูฮะหมัดนอร์ มะทา และคณะ ได้เดินทางเยือนตะวันออกกลาง รวมทั้งคูเวต ระหว่างวันที่ 23 - 30 เม.ย. 2547
สถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวต
Royal Thai Embassy
Jabriya, Block No. 6, Street No. 8, Villa No. 1
P.O. Box 66647 Bayan 43757 KUWAIT
Tel. (96-5) 531-7530 to 1, 531-4870
Fax. (96-5) 531-7532
สถานเอกอัครราชทูตคูเวตประจำประเทศไทย
เลขที่ 100/44 ตึกสาธรนค ชั้น 24 เอ
ถ. สาธรเหนือ เขตบางรัก กทม. 10500
โทร. 0 -2636-6600, 0-2636-7461
โทรสาร 0-2636-7363
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น