ลำดับตอนที่ #15
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #15 : รัฐอิสราเอล
|
|
The State of Israel |
ข้อมูลทั่วไป |
ที่ตั้ง รัฐอิสราเอล (State of Israel) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย มีทำเลอยู่กึ่งกลางระหว่างทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา
ทิศเหนือ ติดกับเลบานอน
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับซีเรีย
ทิศตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับจอร์แดน แม่น้ำจอร์แดน และ Dead Sea
ทิศตะวันตก ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ทิศใต้ ติดกับอ่าว Aqaba (Red Sea)
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ คาบสมุทรไซนาย (อียิปต์)
พื้นที่ อิสราเอลมีพื้นที่ทั้งหมด 21,946 ตารางกิโลเมตร
ประชากร อิสราเอลมีประชากรรวม 5,938,093 - ก.ค. 2544 (ซึ่งรวมชาวอิสราเอล 176,000 คน ในนิคมชาวยิวใน West Bank 6,900 คน ใน Gaza 20,000 คน ในพื้นยึดรองในราบสูงโกลาน และ 173,000 คน ในนครเยรูซาเล็มตะวันออก ส.ค. 2543)
เมืองสำคัญ
เยรูซาเล็ม เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางศาสนาของยิว มุสลิม และคริสเตียน ภายหลังสงครามกับปาเลสไตน์ (Palestine War 1948-1949) เยรูซาเล็มถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนตะวันตกและใต้ที่เป็นเขตของอิสราเอล ส่วนเยรูซาเล็มตะวันออกและด้านเหนือเป็นเขตของจอร์แดน เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1950 อิสราเอลประกาศให้เยรูซาเล็มตะวันตกเป็นเมืองหลวงของตน แต่ไม่มีประเทศใดยอมรับรองคำประกาศ และยังคงสอท.ของตนที่เทลอาวีฟต่อไป ภายหลังสงครามหกวันระหว่างอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1967 อิสราเอลยึดเยรูซาเล็มตะวันออกจากจอร์แดน และขยายขอบเขตการปกครองครอบคลุมไปถึงเยรูซาเล็มตะวันออก โดยออกกฎหมายผนวก
เยรูซาเล็มในปี ค.ศ. 1980 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีข้อมติที่ 476 (ค.ศ. 1980) ยืนยันข้อมติอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ที่ให้ถือว่าเยรูซาเล็มเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ และการเปลี่ยนแปลงสถานะใด ๆ ของเยรูซาเล็มโดยอิสราเอลนั้นเป็นโมฆะและละเมิดต่ออนุสัญญากรุงเจนิวาว่าด้วยการปกป้องพลเรือนในยามสงคราม นอกจากนั้น ยังมีข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 (ค.ศ. 1967), 338 (ค.ศ. 1973) ให้อิสราเอลถอนทหารออกจากดินแดนยึดครอง รวมทั้งเยรูซาเล็ม ไทยสนับสนุนข้อมติดังกล่าว รวมถึงข้อมติที่478 (ค.ศ. 1980)ไม่ให้ทุกฝ่ายกระทำการใดๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อสถานะของนครเยรูซาเล็ม ปัจจุบันมีสอท.ต่างประเทศเพียง 2 ประเทศตั้งอยู่ที่เยรูซาเล็ม คือ เอลซัลวาดอร์ และแคเมอรูน ส่วนสหรัฐอเมริกา รัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้ผ่านร่างกฎหมาย Jerusalem Embassy Act เมื่อปี ค.ศ. 1995 ให้ย้ายสอท.ของตนจากเทลอาวีฟไปเยรูซาเล็มภายในปี ค.ศ. 1999 แต่จนถึงบัดนี้ยังมิได้ปฏิบัติตามนี้
เทลอาวีฟ เป็นศูนย์กลางด้านการพาณิชย์และการเงิน และเป็นที่ตั้งของสอท. และสำนักงานผู้แทนจากต่างประเทศส่วนใหญ่
ไฮฟา เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการค้ากับต่างประเทศ และเป็นเมืองท่าสำคัญของอิสราเอล
สภาพภูมิอากาศ อิสราเอลมีสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงมีลม Hamsin หรือ Sharav พัดผ่านทำให้อากาศร้อน
ภาษา ภาษา Hebrew และ Arabic เป็นภาษาราชการแต่ประชาชนส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาอังกฤษ
ศาสนา ร้อยละ 80.1 ของประชากรนับถือศาสนาจูดา-ยิว คริสเตียน 2.1% มุสลิม 14.6% ดรูซและอื่น ๆ 3.%
สกุลเงิน NIS (New Israeli Shekel) หน่วยย่อยของเงิน NIS เรียกว่า Agorot (1 NIS = 100 Agorot)
อัตราแลกเปลี่ยน 100 บาท = NIS 11.1811 Shekels (14 สิงหาคม 2545)
เวลา GMT + 2 ชั่วโมง (ช้ากว่าประเทศไทย 5 ชม.)
การเมืองการปกครอง |
- รัฐอิสราเอลก่อตั้งขึ้นตามมติของสหประชาชาติ ที่ 181 (1947) ที่แบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งให้เป็นที่อาศัยของชาวยิวและอีกส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวอาหรับ ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 นายเดวิด เบน กูเรียน (Mr. David Ben Gurion) นายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอลได้ประกาศสถาปนารัฐอิสราเอลขึ้นส่งผลให้ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในดินแดนดังกล่าวเป็นชาวอิสราเอลโดยสมบูรณ์ อิสราเอลต้องเผชิญกับความขัดแย้งกับกลุ่มประเทศอาหรับมาโดยตลอด โดยเฉพาะปัญหาเรื่องดินแดนที่ชาวอาหรับเห็นว่า อิสราเอลได้แย่งดินแดนของพวกตน ในขณะที่ชาวอิสราเอลยึดถือว่าดินแดนที่อิสราเอลตั้งอยู่เป็นแผ่นดินแห่งพันธะสัญญาที่พระผู้เป็นเจ้าได้สัญญาไว้ให้แก่ชาวอิสราเอล ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มประเทศอาหรับทวีความรุนแรงขึ้น และในปี ค.ศ. 1967 กลุ่มประเทศอาหรับได้โจมตีอิสราเอล แต่อิสราเอลตอบโต้และสามารถยึดดินแดนของอาหรับได้เพิ่มเติมด้วย โดยใช้เวลา 6 วัน (สงคราม 6 วัน) ดินแดนที่อิสราเอลยึดได้จากอาหรับในสงคราม 6 วัน ได้แก่ ที่ราบสูงโกลันจากซีเรีย ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน นครเยรูซาเล็มฝั่งตะวันออก ซึ่งดินแดนทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของอิสราเอลจนถึงปัจจุบัน
- พัฒนาการที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มประเทศอาหรับ ได้แก่ กระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพในตะวันออกกลาง (Middle East Peace Process) ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อสหรัฐฯ และรัสเซียได้อุปถัมภ์การประชุมสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มประเทศอาหรับเป็นครั้งแรกที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน ในปี ค.ศ. 1991 (Madrid Peace Conference) ส่งผลให้อิสราเอลลงนามในความตกลงสันติภาพกับจอร์แดนในปี ค.ศ. 1994 ซึ่งถือเป็นประเทศอาหรับที่สองรองจากอียิปต์ (ความตกลงสันติภาพอิสราเอล อียิปต์ลงนามกันเมื่อปี ค.ศ. 1979) ที่ได้ลงนามในความตกลงสันติภาพกับอิสราเอล สำหรับการเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย (กรณีที่ราบสูงโกลัน) เลบานอน (กรณีที่อิสราเอลยึดครองดินแดนทางตอนใต้ของเลบานอนและได้คืนให้เมื่อต้นปี 2543) การเจรจายังคงประสบภาวะชะงักงัน
- ส่วนการเจรจาสันติภาพกับปาเลสไตน์นั้น ถึงแม้จะได้ลงนามความตกลงหลายฉบับแล้ว เริ่มต้นตั้งแต่ Oslo Peace Accord หรือ Declaration of Principles ในปี ค.ศ. 1993 จนถึงฉบับล่าสุด (Sharm el-Sheikh) เมื่อเดือนกันยายน 2542 แต่กระบวนการสันติภาพ ก็ยังคงประสบกับอุปสรรคต่อไป ในเมื่อรอบความรุนแรงล่าสุดระวห่างฝ่ายอิสราเอลและฝ่ายปาเลสไตน์ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดืนกันยายน 2543 ยังคงดำเนินต่อไป โดยที่ไม่มีแน้วโน้มที่จะหยุด
โครงสร้างทางการเมือง
- ประธานาธิบดีเป็นประมุขได้รับการเลือกตั้งจากสภา Knesset มีวาระประจำการ 5 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้แก่นาย Moshe Katsav ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2543
- คณะรัฐมนตรี มาจากการเลือกตั้งมีวาระครั้งละ 4 ปี ปัจจุบันมีนาย Ariel Sharon จากพรรค Likud เป็นนายกรัฐมนตรี (เลือกตั้งครั้งล่าสุด 6 กุมภาพันธ์ 2544)
- สมาชิกสภา Knesset มีวาระครั้งละ 4 ปี เป็นสภาผู้แทนราษฎรและสถาบันทางนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิก 120 คน
เศรษฐกิจการค้า |
- ระบบเศรษฐกิจอิสราเอลมีลักษณะผสมระหว่างการที่รัฐเข้าไปมีบทบาทควบคุมกิจการที่มีกำลังการผลิตและการจ้างงานสูง ขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถมีกิจการได้โดยเสรี โดยทั่วไปแล้ว เศรษฐกิจของอิสราเอลจะอยู่ใต้อิทธิพลของความจำเป็นด้านความมั่นคง
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 2 (2544)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 112 พันล้านเหรียญสหรัฐ(2544)
ทรัพยากรธรรมชาติ โพแทช โบรมีน และเกลืออื่นๆ จาก Dead Sea
อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ อิเล็กตรอนนิก อาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เพชร เหมืองโพแทช (potash mining)
หนี้ต่างประเทศ 38 พันล้านเหรียญสหรัฐ (2543)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 2 (2544)
อัตราผู้ว่างงาน ร้อยละ 9 (2543)
สินค้าออกที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์เกษตร เพชร เสื่อผ้าสำเร็จรูป เส้นใย
สินค้าเข้าที่สำคัญ วัตถุดิบ อุปกรณ์ทหาร เชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์บริโภค
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐฯ อังกฤษ เยอรมัน เบลเยี่ยม
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัฐอิสราเอล |
การเมือง
- โดยทั่วไป ไทยและอิสราเอลมีความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ดี ไทยกับอิสราเอลสถาปนาความสัมพันธ์การทูตระหว่างกันเมื่อมีนาคม 2497 (ค.ศ. 1954) อิสราเอลมีสถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ไทยจัดตั้งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟเมื่อเดือนมกราคม 2539 โดยมีนายรณรงค์ นพคุณ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟคนแรก นอกจากนี้ ไทยยังจัดตั้งสำนักงานที่ปรึกษาการพาณิชย์ที่กรุงเทลอาวีฟตั้งแต่ปี 2531 และมีกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำกรุงเทลอาวีฟ (นาย Eddy Strod) ตั้งแต่ปี 2535 และประจำเมืองไฮฟา (นาย Joseph Gillor) ในปีเดียวกัน ส่วนสำนักแรงงานไทยในอิสราเอลได้จัดตั้งในปี 2540 (ปัจจุบันแรงงานไทยในอิสราเอลมีประมาณ 24,000 คน โดยส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานภาคการเกษตร)
การค้า
- มูลค่าการค้าระหว่างไทย อิสราเอล ยังอยู่ในอัตราที่น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการค้ากับประเทศต่างๆ ในปี 2544 ปริมาณการค้าของไทยกับอิสราเอล มีมูลค่า 34,633.4 ล้านบาท โดยไทยส่งออกสินค้าไปอิสราเอล มูลค่า 20,240.9 ล้านบาท และนำเข้าสินค้าของอิสราเอล มูลค่า 14,392.5 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า มูลค่า 5,848.4 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในเอเชีย ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดในอีสราเอลในลำดับที่ 8 รองจากประเทศญี่ปู่น ฮ่องกง อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ และจีน สินค้าส่งออกของไทยที่สำคัญได้แก่ อัญมญีและเครื่องประดับ สินค้าเกษตรและอาหาร รถยนต์ อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากพืชและผัก และเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้านำเข้าไทยทีสำคัญได้แก เครื่องมือและอุปกรณ์การสื่อสาร และเคมีภัณฑ์
ผู้แทนทางการทูต
ฝ่ายไทย
Royal Thai Embassy
Golda Center, 21 Shaul Hamalech Blvd.
Tel Aviv 64367, Israel
Tel. : (972-3) 695-8980
Fax : (972-3) 695-8991
E-mail : thaisr@netvision.net.il
ฝ่ายอิสราเอล
Embassy of Israel
Ocean Tower II, 25th floor
75 Sukhumvit Soi 19
Bangkok 10110, Thailand
Tel. :0-2204-9200
Fax. :0-2204-9255
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น