ลำดับตอนที่ #11
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #11 : สาธารณรัฐเปรู
|
|
Republic of Peru |
ข้อมูลทั่วไป |
ภูมิอากาศ ตะวันออกของประเทศร้อนชื้น ตะวันตกแห้งแล้งแบบทะเลทราย
พื้นที่ 1,285,200 ตารางกิโลเมตร
แนวชายฝั่งทะเล 2,414 กิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงลิมา (Lima)
เมืองสำคัญ Lima, Arequipa, Callao, Trujillo
ประชากร 27,949,639 คน (ก.ค. 2545) เชื้อชาติอินเดียนพื้นเมือง
ร้อยละ 45 เมสติโซ (ผิวขาวผสมอินเดียนพื้นเมือง) ร้อยละ 37
ผิวขาวร้อยละ 15 อื่น ๆ ร้อยละ 3 อัตราผู้รู้หนังสือ ร้อยละ 88.3
อัตราการเติบโตของประชากร ร้อยละ 88.3
ภาษา ภาษาสเปน และ ภาษา Quechua เป็นภาษาราชการ
ภาษา Aymara (ภาษาท้องถิ่น)
ศาสนา นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 90
หน่วยเงินตรา สกุล Nuevo Sol: 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 3.4 Nuevo Sol (ก.ค. 2546)
เวลาต่างจากไทย ช้ากว่าไทย 12 ชั่วโมง
วันชาติ 28 กรกฎาคม / Independence Day (from Spain / 1821)
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศและกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาค UN, OAS, ITU, IBRD, IMF, ICAO, NAM, WHO, WTO, UNESCO, UNCTAD, Rio Group, ANDEAN Community, APEC, G-77, FAO, CAN
การเมืองการปกครอง |
ฝ่ายบริหารเปรูมีประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
โดยมาจากการเลือกตั้ง และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Alejandro Toledo ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 28 กรกฎาคม 2544
รองประธานาธิบดีคือ นาย Raul Diez Canseco Terry
การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา 8 เมษายน 2544 (รอบแรก)
3 มิถุนายน 2544 (รอบสอง)
การเลือกตั้งครั้งต่อไป เมษายน 2549
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนาย Oscar Maurtua de Romana
ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นสภาเดียว คือ Democratic Constituent Congress มีสมาชิก 120 คน และเลือกตั้งทุก 5 ปี
ฝ่ายตุลาการคือศาลยุติธรรมแห่งชาติ (National Court of the Judiciary)
กระทรวงยุติธรรม
นโยบายที่สำคัญของรัฐบาลเปรูชุดปัจจุบัน
ประธานาธิบดี Alejandro Toledo ดำเนินนโยบายประชานิยม คือแก้ไขปัญหาความยากจนและปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลชุดก่อนของอดีตประธานาธิบดี Alberto Fujimori เน้นการปฏิรูประบบการเมืองและเศรษฐกิจ โดยทำให้รัฐบาลเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยรวม และแก้ไขปัญหาทุจริตฉ้อฉลของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งแก้ไขปัญหาความยากจน โดยสร้างงานให้แก่ชาวเปรูอย่างทั่วถึง การประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวเปรู โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการด้านสาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรมอย่างทั่วถึง รวมทั้งให้ความสำคัญในเรื่องการปราบปรามยาเสพติดและอาชญากรรมเกี่ยวเนื่อง เพราะเปรูเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก โดยมีความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาคและระดับทวิภาคีกับหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและบราซิล นอกจากนี้ เปรูยังได้ให้ความสำคัญกับการปราบปรามการก่อการร้ายที่เป็นภัยคุมคามสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยดำเนินการตามกฎบัตรแห่งสหประชาชาติและอนุสัญญาต่างๆ ที่เปรูเป็นภาคี
สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
แม้ว่าประธานาธิบดี Toledo ประกาศจะดำเนินนโยบายแบบประชานิยม แต่อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลเปรูในปัจจุบันยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนและการว่างงานของประชาชนได้ แม้ว่าตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะดีขึ้น เนื่องจากการวางนโยบายควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณ และมุ่งเน้นการจ่ายหนี้สินต่างประเทศ
ปัจจุบันสถานะทางการเมืองของประธานาธิบดี Toledo เริ่มดีขึ้น จากผลสำรวจความนิยม
ในตัวประธานาธิบดี Toledo เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 พบว่ามีคะแนนความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 17 จากที่เคยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 11 ในช่วงเดือนมิถุนายน 2546 ซึ่งเป็นคะแนนนิยมที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2544 เป็นต้นมา ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการแต่งตั้งประธานคณะรัฐมนตรีคนใหม่ เมื่อเดือนมิถุนายน 2546 ซึ่งสามารถเรียกศรัทธาของประชาชนกลับมาได้บ้าง
เศรษฐกิจการค้า |
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 1.5 *
ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ 10.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ *
ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 1.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ *
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 10.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ *
หนี้สินต่างประเทศ 28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ *
ทรัพยากรธรรมชาติ ทองแดง ตะกั่ว เงิน สังกะสี น้ำมัน ปลา ไม้ ขนแกะ ฝ้าย น้ำตาล กาแฟ ข้าวโพด ถ่านหิน
อุตสาหกรรม อาหารปลา การทำเหมืองแร่ อุตสาหกรรมเบา สิ่งทอ ประมง ปิโตรเลียม ซีเมนต์ เหล็กกล้า ต่อเรือ
เกษตรกรรม ผลไม้ ปลา ไม้ ข้าวโพด เนื้อสัตว์ ขนแกะ
สินค้าเข้า มูลค่า 7.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ * ได้แก่ เครื่องจักร
อุตสาหกรรม ยานพาหนะ อาหาร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เคมีและยา
สินค้าออก มูลค่า 7.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ * ได้แก่ ปลาและ
ผลิตภัณฑ์จากปลา ทองคำ ทองแดง สังกะสี ปิโตเลียม ตะกั่ว กาแฟ น้ำตาล และฝ้าย
ดุลการค้าระหว่างประเทศ 0.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ *
ประเทศคู่ค้าสำคัญ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เยอรมัน
อาร์เจนตินา บราซิล โคลอมเบีย ชิลี
* ข้อมูลจาก Latin America Monitor ปี 2545
นโยบายด้านเศรษฐกิจ
ประธานาธิบดี Alejandro Toledo วางนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม มุ่งเน้นการเปิดเสรีทางการค้าและเศรษฐกิจ เพื่อดึงดูดการค้าและการลงทุนจากต่างชาติ โดยรัฐบาลเปรูได้เสนอโครงการแปรรูป
หน่วยงานรัฐวิสาหกิจหลายโครงการ ปรับปรุงและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบภาษี ปรับลดภาษีนำเข้า และแก้ไขปัญหาในระบบยุติธรรม โดยเชื่อว่าจะสามารถช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยภายในประเทศ และในระยะยาว การเติบโตทางเศรษฐกิจจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างงานและแก้ปัญหาความยากจน ทั้งนี้จากการดำเนินมาตรการเปิดประเทศเพื่อดึงดูดการลงทุนนี้ ทำให้เปรูกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเปิดกว้างและเอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากที่สุดประเทศหนึ่ง
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเปรู |
ไทยและเปรูสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่10 พฤศจิกายน 2508
ไทยเปิดสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำกรุงลิมาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2517 มีนาย Jaime Pardo Escandon ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ปัจจุบันเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย (นางสาวสิรี บุนนาค) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐเปรูอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ส่วนเปรูก็ได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยเมื่อกลางปี 2535 ในระดับอุปทูต และต่อมาได้แต่งตั้งนาย Oscar Maurtua de Romana ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตเปรูคนแรกประจำประเทศไทยในปี 2538 ปัจจุบัน นาย Carlos Manuel Alfredo Velasco Mendiola เป็นเอกอัครราชทูตเปรูประจำประเทศไทย
ความตกลงระหว่างไทยกับเปรู
1. ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ลงนามเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2534
2. บันทึกความเข้าใจการให้ความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นลิมา (BOLSA de Valores de Lima) ลงนามเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2537
3. ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทย เปรู ลงนามเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2537
4. ความตกลงทางการค้า ลงนามเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2539
5. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับสหพันธ์สถาบันผู้ประกอบการเอกชนเปรู (CONFIEP) ลงนามเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2539
6. ความตกลงระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยกับสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของเปรู (COFIDE) ลงนามเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2539
7. บันทึกความเข้าใจสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและสภาวิทยาศาสตร์ (CONCYTEC) ของเปรู ลงนามเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2539
ความตกลงทวิภาคีที่ได้ลงนามในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีฟูจิโมริในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2539 ได้แก่
8. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการประมง
9. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่งทางอากาศ
10. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างทบวงมหาวิทยาลัยกับกระทรวงศึกษาธิการของเปรู
11. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม
12. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
13. ความตกลงระหว่างสถาบันการทูตเปรูกับศูนย์ศึกษาการต่างประเทศ (กระทรวงการต่างประเทศไทย)
14. บันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมธนาคารของเปรูและสมาคมธนาคารไทย
- ความตกลงทวิภาคีด้านต่างๆ ที่ได้มีการลงนามในระหว่างการเยือนเปรูอย่างเป็นทางการของนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 4 มิถุนายน 2542 ได้แก่
15. ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางทะเล
16. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และสารตั้งต้น
17. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางราชการและหนังสือเดินทางธรรมดา
18.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกับสมาคมอุตสาหกรรมแห่งเปรู
-ความตกลงทวิภาคีด้านต่างๆ ที่ได้มีการลงนามในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนาย Alejandro Toledo ประธานาธิบดี ในวันที่ 17 ตุลาคม 2546 ได้แก่
19.กรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
20.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม
ระดับพระบรมวงศ์
-สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนเปรูอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน 2536
-สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือนเปรูอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 22 มีนาคม 2543
ระดับหัวหน้ารัฐบาล
-นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เยือนสาธารณรัฐเปรูอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 2 6 มิถุนายน 2542
ระดับรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรี
-นายอำนวย วีรวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางไปเยือนเปรูอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 14 17 มกราคม 2539
-นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางไปเยือนเปรูอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 24 26 พฤศจิกายน 2537
-นายกันตธีร์ ศุภมงคล ผู้แทนการค้าไทยพร้อมด้วยคณะนักธุรกิจเดินทางไปเยือนเปรู ระหว่างวันที่ 10 15 กรกฎาคม 2545
การเยือนไทยของผู้นำระดับสูงของเปรู
-นาย Alberto Fujimori ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเปรูเดินทางมาเยือนไทยครั้งแรกในแบบ working visit ระหว่างวันที่ 14 15 พฤศจิกายน 2534
-นาย Alberto Fujimori ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเปรูเดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 17 20 พฤศจิกายน 2539
-นาย Alejandro Toledo ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเปรูเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 17 ตุลาคม 2546 และเข้าร่วมการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ระหว่างวันที่ 20 21 ตุลาคม 2546
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย เปรู
เปรูเป็นคู่ค้าอันดับ 7 ของไทยในลาตินอเมริกา โดยในปี 2547 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า
73.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.04 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
ดุลการค้า คิดเป็นมูลค่า 9.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนำเข้า 41.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออก
32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 43.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย
ไทยได้เปรียบการค้าเปรูคิดเป็นมูลค่า 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการได้ดุลการค้าครั้งแรก จากที่ขาดดุลการค้าเปรูต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2539 โดยมูลค่าการส่งออกของไทยในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 46
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเปรู ได้แก่สินแร่โลหะ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ สัตว์และ
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ สินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี
เงินแท่งและทองคำ ด้ายและเส้นใย และเสื้อผ้าสำเร็จรูป
สินค้าที่ไทยส่งออกไปเปรูได้แก่ เม็ดพลาสติก ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ รถยนต์
อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องซักผ้า และเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ ยางพารา เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกม และหลอดไฟฟ้า (เอกสารแนบ)
ความสัมพันธ์ในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ
นอกจากในกรอบทวิภาคีแล้วไทยและเปรูยังมีความใกล้ชิดและร่วมมือในเวทีพหุภาคีต่างๆ ด้วย โดยไทยและเปรูเป็นสมาชิกก่อตั้งของเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา
(Forum for East Asia Latin America Cooperation) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 2542 และถือว่าเป็นเวทีหารือที่เชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกาเข้าด้วยกัน รวมทั้งส่งเสริมระหว่างกันในทุกด้าน โดยมีประเทศสมาชิกจากทวีปเอเชีย 15 ประเทศ รวมกับประเทศสมาชิกจากลาตินอเมริกาอีก 15 ประเทศ รวมทั้งในเวทีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก (APEC) ซึ่งเปรูจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในปี 2551 (ค.ศ. 2008) นอกจากนี้ ไทยและเปรูยังให้ความสำคัญกับการสร้างอำนาจต่อรองในเวทีเศรษฐกิจ
การเมืองระหว่างประเทศในฐานะที่ต่างเป็นประเทศกำลังพัฒนาและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรหลักด้วยกัน โดยเฉพาะในเวทีองค์การสหประชาชาติ กลุ่ม Cairns และกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM)
ความสัมพันธ์ด้านอื่นๆ
ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมเปรูเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันยาวนาน โดยเป็นดินแดนของชนเผ่าโบราณที่มีอารยธรรมรุ่งเรือง อาทิ เผ่าซานอง เผ่าโมเซ่ เผ่าชิบุ และอาณาจักรอินคา ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองยาวนานจนกระทั่งสเปนเข้ามามีอำนาจในเปรูเมื่อปี ค.ศ. 1492 จากการที่มีมรดกทางวัฒนธรรมและมานุษยวิทยามากมาย เปรูจึงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมและพัฒนาด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ โดยในปัจจุบันเปรูมีพิพิธภัณฑ์ทั้งของรัฐบาลและเอกชนกว่า 120 แห่ง ซึ่งส่วนมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยา เปรูจึงเสนอให้ไทยและเปรูมีความร่วมมือทางด้านนี้ โดยฝ่ายเปรูได้ทาบทามไทยในการจัดทำความตกลง Inter-Museums Agreements on Cooperation ในระหว่างการหารืออย่างเป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร กับประธานาธิบดี Alejandro Toledo เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2546
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น