ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อาณาจักรที่เคยมีตั้งอยู่ในพื้นที่ของประเทศไทย

    ลำดับตอนที่ #1 : แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

    • อัปเดตล่าสุด 4 ก.พ. 50


    แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
    (ประเทศไทย)

    แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

    แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
    ภาษาอังกฤษ Ban Chiang Archaeological Site
    ภาษาฝรั่งเศส Site archéologique de Ban Chiang
    ภาษาจีนกลาง {{{zh_name}}}
    ภาษาญี่ปุ่น バン・チアン遺跡
    ประเภท มรดกทางวัฒนธรรม
    เกณฑ์การพิจารณา (iii)
    ลงทะเบียนเมื่อปี พ.ศ. 2535
    ลิงก์ องค์การยูเนสโก

































    บ้านเชียง
    เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า ๕,๐๐๐ ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโกของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก

     ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา

    ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา ของบ้านเชียงนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ได้แก่

    1. ภาชนะดินเผาสมัยต้น อายุ 5,600-3,000 ปี มีลายเชือกทาบ ซึ่งคาดกันว่าเป็นปอกัญชา ทั้งยังมีลายขูดขีด และมีการเขียนสีบ่า โดยพบวางคู่กับโครงกระดูก บางใบใช้บรรจุศพเด็กด้วย
    2. ภาชนะดินเผาสมัยกลาง อายุ 3,000 ปี-2,300 ปี สมัยนี้เป็นสมัยที่เริ่มมีการขีดทาสีแดงแล้ว
    3. ภาชนะดินเผาสมัยปลาย อายุ 2,300 ปี-1,800 ปี เป็นยุคที่มีลวดลายที่สวยงามที่สุด ลวดลายพิสดาร สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่สงบสุข ก่อนที่จะกลายมาเป็นการเคลือบน้ำโคลนสีแดงขัดมัน
    ภาชนะดินเผาสมัยปลาย
    ภาชนะดินเผาสมัยปลาย

    เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก

    อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยมีเหตุผลตามเกณฑ์การพิจารณาคือ

    • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×