ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปแอฟริกา

    ลำดับตอนที่ #1 : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย

    • อัปเดตล่าสุด 11 ม.ค. 50




     
    สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย
    Democratic and Popular Republic of Algeria


    ข้อมูลทั่วไป
    ชื่อทางราชการ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย (Democratic and Popular Republic of Algeria)
    ที่ตั้งและอาณาเขต : แอลจีเรียตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแอฟริกามีพรมแดน
    ทิศตะวันออกติดกับลิเบียและตูนีเซีย
    ทิศใต้ติดกับไนเจอร์ มาลี และมอริเตเนีย
    ทิศตะวันตกติดกับโมร็อกโก
    ทิศเหนือติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
    ประชากร : 32,930,091 คน (กรกฎาคม 2549)
    พื้นที่ : 2.38 ล้าน ตร.กม.
    ภูมิอากาศ : อากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ร้อนและความชื้นสูงในช่วงฤดูร้อน(พค.-กย.) อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 30-38° C ในบางครั้งอุณหภูมิในฤดูร้อนอาจสูงถึง 43° C ฤดูฝนจะมีฝนตกหนัก โดยเฉพาะในช่วงเดือน พย.-มค. และอากาศจะเย็นในช่วง ธค.-มค. ซึ่งจะมีอุณหภูมิประมาณ 22-30° C
    เมืองหลวง : กรุงแอลเจียร์ (Algiers) มีประชากร 1.5 ล้านคน
    เมืองสำคัญ : เมืองโอราน (590,000 คน) เมืองคอนสแตนติน (438,000 คน)
    ศาสนา : ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ
    ภาษาราชการ : อาหรับ (ภาษาต่างประเทศที่ใช้ทั่วไปคือ ฝรั่งเศส)
    ประมุข : ประธานาธิบดี Abdelaziz Bouteflika รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2542
    นายกรัฐมนตรี นาย Abdelaziz Belkhadem รับตำแหน่งเมื่อ 24 พฤษภาคม 2549
    รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Mohammed Bedjaoui รับตำแหน่งเมื่อ1 พฤษภาคม 2548

    การเมืองการปกครอง
    การเมืองภายใน
    ประธานาธิบดี นาย Abdelaziz Bouteflika
    นายกรัฐมนตรี นาย Abdelaziz Belkhadem
    รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Mohammed Bedjaoui
    ภายหลังจากที่นาย Abdelaziz Bouteflika ได้รับการเลือกตั้งและเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2542 แล้ว ก็ได้ดำเนินนโยบายเพื่อความสมานฉันท์ในชาติ
    (civil concord) โดยรัฐบาลแอลจีเรียได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่กลุ่มอิสลามหัวรุนแรงติดอาวุธ
    เพื่อให้หันกลับมาร่วมกันพัฒนาประเทศ หลังจากที่แอลจีเรียต้องผจญภาวะวิกฤตการณ์การสู้รบ
    ระหว่างกองกำลังอิสลามติดอาวุธกับกองกำลังของรัฐบาล ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี
    หลังจากที่รัฐบาลประกาศนโยบายสร้างความสมานฉันท์ภายในชาติ มีกลุ่มหัวรุนแรงเข้ามอบ
    อาวุธและมอบตัวจำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ยังมีการก่อการร้ายอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งประธานาธิบดี
    Bouteflika ได้ประกาศว่า หากพ้นกำหนดการให้เข้ามอบตัวเมื่อปลายเดือนมกราคม 2543 แล้ว
    รัฐบาลจะดำเนินมาตรการเฉียบขาดเพื่อปราบปรามกองกำลังติดอาวุธ

    แม้ว่ารัฐบาลแอลจีเรียปัจจุบันได้พยายามที่จะสร้างความมั่นคงทางการเมืองภายใน โดย
    ต้องการให้กลุ่มกองกำลังติดอาวุธที่เคยเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลแอลจีเรียในอดีตเข้ามามีส่วนร่วมในการ
    ปฏิรูปทางการเมืองก็ตาม แต่รัฐบาลแอลจีเรียก็ยังไม่ได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่ และยังคงต้องใช้
    มาตรการปราบปราม ดังนั้น แนวโน้มการมีเสถียรภาพทางการเมืองในแอลจีเรีย จึงขึ้นอยู่กับความ
    ร่วมมือที่ได้จากกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง ซึ่งในปัจจุบันยังมีบางกลุ่มไม่ยอมปลดอาวุธและใช้วิธีรุนแรง
    อาทิ การก่อการร้ายเป็นเครื่องมือทางการเมือง

    เศรษฐกิจการค้า
    ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ 95.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)
    รายได้ต่อหัว 2, 898 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)
    อัตราเงินเฟ้อ 1.9% (2548)
    หนี้สินต่างประเทศ 19.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)
    การเกษตร แรงงานในภาคเกษตรประมาณ 25% ผลผลิตภาคการเกษตรไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศต้องนำนำเข้าสินค้าเกษตรเพิ่มเติม ประมาณ 60% ของความต้องการภายใน
    อุตสาหกรรม ประมาณ 26% ของแรงงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรม
    อุตสาหกรรมหนัก เช่นอุตสาหกรรมเหล็ก เคมีภัณฑ์ และปุ๋ย ดำเนินการโดยรัฐ แต่ขณะนี้รัฐมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลาง ขนาดเล็กเช่น สิ่งทอ แปรรูปอาหาร ยาสูบ ฯลฯ โดยให้โอกาสนักลงทุนภาคเอกชนและชาวต่างประเทศ
    แร่ธาตุ มีผลผลิตประมาณ 25% ของ GNP แต่มีแรงงานอยู่ใน
    ภาคนี้เพียง 4% เท่านั้น โดยมีแร่ธาตุที่สำคัญ คือ แร่เหล็ก
    ยูเรเนียม ฟอสเฟต ทองคำ ตะกั่ว ฯลฯ
    สินค้าออกที่สำคัญ น้ำมันดิบ แก๊ส ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (รวมเป็นมูลค่า 95
    ของมูลค่าการส่งออก) ไวน์ ยาสูบ และอาหาร โดยมีประเทศนำเข้าที่สำคัญ คือ อิตาลี สหรัฐฯ ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษฯลฯ
    สินค้าเข้าที่สำคัญ ส่วนมากจะนำเข้าสินค้าทุน สินค้ากึ่งสำเร็จรูป
    สินค้าบริโภค และอาหารที่จำเป็น โดยนำเข้าจากฝรั่งเศส
    อิตาลี เยอรมัน อังกฤษ สหรัฐฯ สเปน ญี่ปุ่น ฯลฯ
    ตลาดคู่ค้าที่สำคัญ
    ส่งออกไปยัง สหรัฐฯ(ร้อยละ 22.8) อิตาลี(ร้อยละ 16.2) สเปน(ร้อยละ 10.4) ฝรั่งเศส(ร้อยละ 10) แคนาดา(ร้อยละ 8) บราซิล(ร้อยละ 6.1) เบลเยี่ยม(ร้อยละ 4.4) และเยอรมัน(ร้อยละ 4.2)
    นำเข้าจาก ฝรั่งเศส(ร้อยละ 28.2) อิตาลี(ร้อยละ 7.8) สเปน(ร้อยละ 7.1) จีน(ร้อยละ 6.6) เยอรมัน(ร้อยละ 6.3) และสหรัฐฯ(ร้อยละ 5.5)

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย
    ไทยสถาปนาความสัมพันธ์กับแอลจีเรียเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2518 แอลจีเรียมอบหมายให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง ส่วนไทยมอบหมายให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำแอลจีเรีย
    ด้วย โดยเอกอัครราชทูตฯ ได้ยื่นพระราชสาส์นตราตั้งฯ ต่อประธานาธิบดีแอลจีเรีย เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2549
    การค้าระหว่างแอลจีเรียกับไทยมีมูลค่าไม่มากนัก โดยในปี 2542 มีมูลค่าประมาณ 37.6
    ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 19.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนปี 2543 ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม ปริมาณการค้ามีมูลค่า 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 14 ล้านดอลลาร์ และนำเข้า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    ปี พ.ศ. มูลค่าการค้า สินค้าออก สินค้าเข้า ดุลการค้า
    2546 5,097.0 2,433.0 2,664.0 -231.0
    2547 8,676.3 3,510.8 5,165.4 -1,654.6
    2548 12,468.7 3,740.6 8,728.1 -4,987.5
    2549
    (ม.ค.-ต.ค.) 12,741.7 2,584.6 10,157.1 -7,572.5

    สินค้าส่งออกของไทยไปยังแอลจีเรีย ได้แก่ น้ำตาลทราย ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์พลาสติกและข้าวส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากแอลจีเรีย ได้แก่ น้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันเบรก และสินแร่โลหะ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×