ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคใต้

    ลำดับตอนที่ #15 : จังหวัดนราธิวาส

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 716
      2
      7 ม.ค. 50

    " ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา บาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน "
    ข้อมูลทั่วไป :

    นราธิวาส เดิมเป็นเพียงหัวเมืองชายแดนภาคใต้ หนึ่งในแปดหัวเมือง อันได้แก่ ปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ระแงะ รือมัง จาลอ หรือยาลอ และจะนะ ประชากรใช้ภาษามลายูพื้นเมืองเป็นภาษาพูด ส่วนภาษาเขียนเป็นภาษาอาหรับดัดแปลง การอ่านเป็นภาษามลายูและโรมันมาเป็นภาษายาวี ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

    ในขณะนั้น นราธิวาสมีสภาพเป็นเพียงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อว่า "บ้านบางนรา" เพราะตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางนราใกล้กับทะเล มีการปกครองขึ้นกับเมืองสายบุรี ครั้นต่อมาถูกโอนมาขึ้นกับเมืองระแงะ

    พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวมหัวเมืองทั้งหมดเป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลปัตตานี ในช่วงเวลานั้นทางราชการได้ย้ายศาลาว่าการจากเมืองสายบุรีมาตั้งอยู่ที่บ้านบางนรา ด้วยเหตุที่ว่าบริเวณที่ตั้งของบ้านบางนรานั้นได้เจริญเป็นชุมชนใหญ่ มีการค้าทั้งทางบกและทางทะเลคึกคักกว่าเมืองสายบุรี ดังนั้น จึงได้ลดฐานะเมืองระแงะและเมืองสายบุรีลงมาขึ้นกับเมืองบางนราแทน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองบางนราเป็นนราธิวาส


    ภูมิประเทศ :

    จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,475.430 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของแหลมมลายู สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าและภูเขาประมาณ 2/3 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่ติดกับบริเวณอ่าวไทยและที่ราบลุ่ม แม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาสมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงที่ฝนตกมากที่สุด คือ ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 27-29 องศาเซลเซียส


    การเดินทาง :

    จังหวัดนราธิวาส อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ 1,149 กิโลเมตร และทางรถไฟประมาณ 1,116 กิโลเมตร (สถานีตันหยงมัส) การเดินทางสามารถไปได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางเครื่องบิน

    ทางรถยนต์
    จากหาดใหญ่สามารถเดินทางไปจังหวัดนราธิวาสได้โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 43 (หาดใหญ่-ปัตตานี) แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่จังหวัดปัตตานี ไปยังจังหวัดนราธิวาสโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) อีกประมาณ 100 กิโลเมตร

    ทางรถโดยสาร
    มีรถโดยสารทั้งธรรมดาและรถปรับอากาศของบริษัทขนส่งจำกัด บริการระหว่างกรุงเทพฯ-นราธิวาสทุกวัน จากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 435-1200, 434-7192

    ทางรถไฟ
    การรถไฟเปิดบริการรถด่วนและรถเร็วทุกวัน จากกรุงเทพฯ (สถานีหัวลำโพง) ถึงนราธิวาส (สถานีตันหยงมัส) สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 223-7010, 223-7020

    ทางเครื่องบิน
    การบินไทยมีเที่ยวบินไปจังหวัดนราธิวาสทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด กรุงเทพฯ โทร. 280-0060, 628-2000 หรือที่ บริษัท การบินไทย จำกัด จังหวัดนราธิวาส โทร. (073) 511161, 512178

    ระยะทางจากจังหวัดนราธิวาสไปยังจังหวัดใกล้เคียง
    - ปัตตานี 92 กิโลเมตร
    - ยะลา 128 กิโลเมตร
    - สงขลา 194 กิโลเมตร

    ระยะทางจากตัวจังหวัดไปยังสถานที่ใกล้เคียง
    - อ. ยี่งอ 12 กิโลเมตร
    - อ. ระแงะ 22 กิโลเมตร
    - อ. บาเจาะ 28 กิโลเมตร
    - อ. ตากไบ 33 กิโลเมตร
    - อ. รือเสาะ 47 กิโลเมตร
    - อ. สุไหงปาดี 49 กิโลเมตร
    - อ. จะแนะ 50 กิโลเมตร
    - อ. ศรีสาคร 64 กิโลเมตร
    - อ. สุไหงโก-ลก 66 กิโลเมตร
    - อ. แว้ง 83 กิโลเมตร
    - อ. สุคิริน 103 กิโลเมตร


    อาณาเขตและการปกครอง :

    ทิศเหนือ จดจังหวัดปัตตานี
    ทิศตะวันตก จดจังหวัดยะลา
    ทิศตะวันออก จดอ่าวไทย
    ทิศใต้ จดประเทศมาเลเซีย

    จังหวัดนราธิวาส แบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอตากใบ อำเภอแว้ง อำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงปาดี อำเภอบาเจาะ อำเภอระแงะ อำเภอรือเสาะ อำเภอศรีสาคร อำเภอสุคิริน และอำเภอจะแนะ

    ที่มา www.tourthai.com 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×