ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคใต้

    ลำดับตอนที่ #13 : จังหวัดปัตตานี

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 606
      0
      7 ม.ค. 50

    " บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด "
    ข้อมูลทั่วไป :

    ปัตตานี เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้สุดติดกับทะเลจีนใต้ หรืออ่าวไทย มีพื้นที่ประมาณ 2,052.356 ตารางกิโลเมตร และเป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ รองลงมาจากจังหวัดภูเก็ต พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก ภูเขาที่สำคัญได้แก่ ภูเขาทรายขาว ซึ่งอยู่ในเทือกเขาสันกะลาคีรี มีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำตานี และแม่น้ำสายบุรี ภูมิอากาศอบอุ่นตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 27.5 อาศาฯ ฝนตกชุกในระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม ฝนตกเฉลี่ย 1,750.9 มิลลิเมตร/ปี (เฉลี่ยในรอบ 30 ปี) ฤดูกาลมี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน (เดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม) ฤดูฝน (ธันวาคม-มกราคม) ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีอาชีพหลักคือการทำนา นอกจากนี้ประชาชนที่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด เช่น อำเภอเมือง อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี ยังประกอบอาชีพประมง ซึ่งส่งผลให้เกิดผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างมากมาย

    ในอดีตจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นเมืองเก่าแก่ที่ยิ่งใหญ่ เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรลังกาสุกะ ซึ่งเป็นรัฐอิสระของชาวไทยพุทธในพุทธศตวรรษที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กลันตัน และตรังกานูในมาเลเซียปัจจุบัน ยังมีซากเมืองเก่าของปัตตานีในยุคนั้นปรากฏให้เห็นที่อำเภอยะรังในปัจจุบัน และจากการที่มีพื้นที่เป็นป่าเขา และมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเป็นระยะทางยาวประมาณ 176 กิโลเมตร จึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางการปกครอง การค้า และวัฒนธรรม มีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวหลายด้าน ทั้งด้านธรรมชาติ โบราณสถานทางประวัติศาสตร์และด้านประเพณีวัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้านซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย


    การเดินทาง :

    ปัตตานีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ประมาณ 1,055 กิโลเมตร หรือ 1,025 กิโลเมตรโดยทางรถไฟ (สถานีโคกโพธิ์) การเดินทางไปได้สะดวกทั้งทางรถประจำทาง รถไฟ และเครื่องบิน ดังนี้

    ทางรถยนต์
    จากกรุงเทพฯ สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถส่วนตัว สามารถใช้เส้นทางหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ระยะทาง 90 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 จนถึงจังหวัดชุมพร รวมระยะทางประมาณ 460 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 41, 42, 43 ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ผ่านปากน้ำเทพา เข้าสู่จังหวัดปัตตานี รวมระยะทางอีก 505 กิโลเมตร

    ทางรถโดยสารประจำทาง
    จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดา และปรับอากาศ ออกจากสถานีขนสงสายใต้ ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 435-1200, 434-7192

    ทางรถไฟ
    จากสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) มีขบวนรถด่วนและรถเร็วบริการถึงสถานีโคกโพธิ์ทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้จากหน่วยบริการเดินทาง ภายในบริเวณสถานีกรุงเทพฯ โทร. 223-7010, 223-7020

    จากสถานีโคกโพธิ์ จะมีรถโดยสารประจำทางและรถแท็กซี่บริการระหว่างอำเภอโคกโพธิ์-อำเภอเมือง ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร

    ทางอากาศ
    มีเครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด บริการระหว่างกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ทุกวัน และต่อเครื่องจากหาดใหญ่ไปปัตตานี (สนามบินบ่อทอง) สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด โทร. 280-0060, 628-2000

    นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวสามารถต่อรถโดยสารประจำทางหรือรถแท็กซี่ จากหาดใหญ่ไปปัตตานีได้ทุกวัน ระยะทางประมาณ 104 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณชั่วโมงเศษ

    ระยะทางจากจังหวัดไปยังอำเภอต่างๆ
    อำเภอเมือง-อำเภอหนองจิก 8 กิโลเมตร
    อำเภอเมือง-อำเภอยะหริ่ง 15 กิโลเมตร
    อำเภอเมือง-อำเภอยะรัง 15 กิโลเมตร
    อำเภอเมือง-อำเภอโคกโพธิ์ 26 กิโลเมตร
    อำเภอเมือง-อำเภอมายอ 29 กิโลเมตร
    อำเภอเมือง-อำเภอปะนาเระ 45 กิโลเมตร
    อำเภอเมือง-อำเภอสายบุรี 50 กิโลเมตร
    อำเภอเมือง-กิ่งอำเภอทุ่งยางแดง 46 กิโลเมตร
    อำเภอเมือง-กิ่งอำเภอแม่ลาน 53 กิโลเมตร
    อำเภอเมือง-กิ่งอำเภอไม้แก่น 67 กิโลเมตร
    อำเภอเมือง-กิ่งอำเภอกะพ้อ 65 กิโลเมตร

    ระยะทางจากจังหวัดไปยังสถานีที่ใกล้เคียง
    ปัตตานี-ยะลา ระยะทาง 35 กิโลเมตร
    ปัตตานี-นราธิวาส ระยะทาง 92 กิโลเมตร
    ปัตตานี-สงขลา ระยะทาง 99 กิโลเมตร


    อาณาเขตและการปกครอง :

    ทิศเหนือ จดกับจังหวัดสงขลา
    ทิศใต้ จดกับจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา
    ทิศตะวันตก จดจังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา
    ทิศตะวันออก จดกับอ่าวไทย

    ปัตตานีแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ กับ 4 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอสายบุรี อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอหนองจิก อำเภอยะรัง กิ่งอำเภอไม้แก่น กิ่งอำเภอทุ่งยางแดง กิ่งอำเภอกะพ้อ และกิ่งอำเภอแม่ลาน

    ที่มา www.tourthai.com

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×