ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคเหนือ

    ลำดับตอนที่ #11 : จังหวัดพิจิตร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 638
      0
      6 ม.ค. 50

    " เมืองชาละวัน แข่งขันเรือยาว ข้าวเจ้าอร่อย ส้มท่าข่อยรสเด็ด
    หลวงพ่อเพชรรวมใจ บึงสีไฟลือเลื่อง ยอดพระเครื่องหลวงพ่อเงิน "
    ข้อมูลทั่วไป :

    พิจิตร เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ชื่อเมืองมีความหมายว่า “เมืองงาม” มีที่ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก ตัวเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน มีแม่น้ำน่านกับแม่น้ำยมไหลผ่าน

    พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ ในสมัยสุโขทัยปรากฎในศิลาจารึกหลักที่1ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและในศิลาจารึกหลักที่ 8 รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า “เมืองสระหลวง” ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองโอฆบุรี” ซึ่งแปลว่า “เมืองในท้องน้ำ” นอกจากนี้เมืองพิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาอีกพระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระศรีสรรเพชญที่ 8 หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ สมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองเช่นเมืองอื่นๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียงซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ ทั้งนี้เพราะแม่น้ำน่านตื้นเขิน คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา และจังหวัดพิจิตรยังเป็นถิ่นกำเนิดของ นิทานเรื่อง ไกรทอง อันลือลั่นอีกด้วย


    การเดินทาง :

    จังหวัดพิจิตรอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ สามารถเดินทางได้โดยทางรถไฟ ทางรถยนต์และทางรถประจำทาง โดยมีรายละเอียดดังนี้

    ทางรถยนต์

    เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถึงจังหวัดนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทางนครสวรรค์-ชุมแสง-บางมูลนาก-ตะพานหิน-พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 1118) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร รวมระยะทางประมาณ 345 กิโลเมตร

    เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แยกเข้าสู่เส้นทางตากฟ้า- เขาทราย-สากเหล็ก (ทางหลวงหมายเลข 11) และเข้าสู่จังหวัดพิจิตรที่กิ่งอำเภอสากเหล็ก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 111) รวมระยะทางประมาณ 344

    เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แยกเข้าสู่เส้นทางสายตากฟ้า - เขาทราย (ทางหลวงหมายเลข 11) แยกเข้าเส้นทางเขาทราย-ตะพานหิน (ทางหลวงหมายเลข 113) แยกเข้าเส้นทางตะพานหิน-พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 113) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร ระยะทางประมาณ 338 กิโลเมตร

    เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถีงจังหวัดนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทางนครสวรรค์-พิษณุโลก (ทางหลวงหมายเลข 117) ถึงอำเภอสามง่าม แยกเข้าเส้นทางสามง่าม-พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 115) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร รวมระยะทาง 360 กิโลเมตร

    ทางรถไฟ

    การรถไฟแห่งประเทศไทย มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ไป-กลับ ระหว่าง กรุงเทพฯ-พิจิตร ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-6 ชั่วโมง สามารถขึ้นได้จากสถานีสามเสน บางซื่อ ดอนเมือง สนใจติดต่อหน่วยประชาสัมพันธ์การรถไฟ โทร. 223-7010, 223-7020

    ทางรถประจำทาง

    มีรถประจำทาง (บขส. สีส้ม) ไป-กลับ ระหว่างกรุงเทพฯ - พิจิตร ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถ.กำแพงเพชร 2 ค่าโดยสารรถ บขส. สีส้มราคา 83 บาท ค่าโดยสารรถปรับอากาศชั้น 2 ราคา 116 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 936-3660, 936-3666

    รถประจำทางปรับอากาศ
    มีรถปรับอากาศชั้น1 ของบริษัทเชิดชัยทัวร์ออกทุกวันๆละ 4 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 9.00-22.10 น. ค่าโดยสารราคา 149 บาท


    อาณาเขตและการปกครอง :

    จังหวัดพิจิตรมีเนื้อที่ 4,531.013 ตารางกิโลเมตร มีความยาวจากทิศเหนือจดใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ความกว้างจากทิศตะวันออกจดทิศตะวันตกประมาณ 72 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่างๆ ดังนี้

    ทิศเหนือ จดจังหวัดพิษณุโลก
    ทิศใต้ จดจังหวัดนครสวรรค์
    ทิศตะวันออก จดจังหวัดเพชรบูรณ์
    ทิศตะวันตก จดจังหวัดกำแพงเพชรและนครสวรรค์

    จังหวัดพิจิตรแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอและ 3 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล อำเภอสามง่าม อำเภอวังทรายพูน อำเภอทับคล้อ กิ่งอำเภอสากเหล็ก กิ่งอำเภอดงเจริญและกิ่งอำเภอบึงนาราง

    ที่มา www.tourthai.com

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×