เจ้าพ่อหลักเมือง กรุงเทพมหานคร - เจ้าพ่อหลักเมือง กรุงเทพมหานคร นิยาย เจ้าพ่อหลักเมือง กรุงเทพมหานคร : Dek-D.com - Writer

    เจ้าพ่อหลักเมือง กรุงเทพมหานคร

    เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับ เจ้าพ่อหลักเมือง กรุงเทพมหานคร

    ผู้เข้าชมรวม

    2,012

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    2.01K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 ม.ค. 50 / 22:30 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      เจ้าพ่อหลักเมือง กรุงเทพมหานคร
      ศาลหลักเมือง

      เสาหลักเมือง
      ต้นฉบับภาพเสาหลักเมือง โดยคุณฉาวหวาว จาก pantip.com > Blue Planet

      ประเพณีโบราณเกี่ยวกับการสร้างเมืองจะต้องทำพิธีอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น สิ่งนั้น คือ การยกเสาหลักเมืองขึ้นในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ ให้เป็นมิ่งขวัญแก่พสกนิกรสำหรับยึดถือเป็นหลักชัยทางจิตใจว่า บ้านเมืองที่สร้างขึ้นนั้น มีรากฐานฝังไว้อย่างแน่นอนแล้ว รวมทั้งเป็นที่อาศัยแห่งขวัญและจิตใจของประชาชน เพราะประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเมือง เพื่อประชาชนมีจิตใจมั่นคง มีความเชื่อในหลักเมืองที่ได้สร้างขึ้นแล้ว ก็จะผดุงกำลังใจให้มั่นคงแน่วแน่ในการดำรงชีพ และอยู่เย็นเป็นสุขรุ่งเรืองสถาพรตลอดไป 

              บ้านเมืองใดจะสงบราบรื่น ชาวประชาจะผาสุกสะดวกสบาย โบราณเชื่อว่าขึ้นอยู่กับดวงชะตาของเมือง มีการผูกดวงชะตาของเมืองไว้ กรุงรัตนโกสินทร์ของเราก็เช่นเดียวกัน ได้ทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ เวลา ๖.๔๕ น. การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตรองมากตามพระตำรา ที่เรียกว่า พระราชพิธีพระนครสถานโดยเฉพาะ กล่าวโดยย่อคือ ท่านให้เอาไม้ชัยพฤกษ์มาทำเป็นเสาหลักเมือง เอาไม้แก่นประดับนอก กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดินแล้ว ๑๐๘ นิ้ว ฝังลงในดินลึก ๗๙ นิ้ว มีเม็ดยอดสวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง 

              สำหรับดวงฤกษ์ชะตาเมืองนั้น มีบันทึกไว้ว่า "ลัคนาสถิตราษีเมษกุมอาทิตย์ เกตุอังคารอยู่ราศีพฤษภ 
      มฤตยู ราศีเมถุน จันทร ราศีกรกฎ เสาร์และพฤหัส ราศรีธนู ราหู ศุกร์และพุธ ราศีมีน"

              หลักเมืองในสมัยต้นๆ ไม่ได้มีสิ่งก่อสร้างปกคลุมเหมือนอย่างทุกวันนี้ คงเป็นเพียงศาลาปลูกไว้กันแดดกันฝนเท่านั้น และมีแต่เสาหลักเมืองอย่างเดียว ไม่มีเทวดาต่างๆ เข้าร่วมอยู่เหมือนปัจจุบัน  ปรากฏมาชำรุดมากในสมัยรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นใหม่ แล้วบรรจุดวงชะตาเมืองให้เรียบร้อย ลงด้วยแผ่นทองคำหนัก ๑ บาท ประกอบพิธีที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในการบรรจุดวงชะตาเมืองครั้งนี้โปรดให้ก่อสร้างศาลาขึ้นใหม่ ให้เป็นยอดปรางค์ตามแบบอย่างศาลาที่พระนครศรีอยุธยา คือแบบที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน 

      ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร

      ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง กรุงเทพมหานคร
      ต้นฉบับภาพศาลหลักเมือง โดยคุณโมโมทาโร่ จาก pantip.com > Blue Planet

              ในศาลาเจ้าพ่อหลักเมืองทุกวันนี้ นอกจากหลักเมืองแล้ว รอบๆ หลักเมืองมีเทพารักษ์อยู่ ๕ องค์ เทพารักษ์เหล่านี้ ๔ องค์เป็นเทพารักษ์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ และปิดทองหมด ส่วนอีกองค์หนึ่งแกะสลักรูปเทพารักษ์ด้วยไม้แล้วปิดทอง ทั้ง ๕ องค์นี้เป็นฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ

              ๑. เทพารักษ์ หรือ เจ้าพ่อหอกลอง (อ่านว่า หอ-กลอง)
              ๒. เทพารักษ์พระเสื้อเมือง คุ้มครองป้องกันทางบก ทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากรครอบคลุมเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข
              ๓. เทพารักษ์พระทรงเมือง มีหน้าที่ป้องกันไพร่ฟ้าประชาชนทั่วประเทศ มีปู่เจ้าเขาเขียว ปู่เจ้าสมิงพราย เป็นบริวาร
              ๔. เทพารักษ์พระกาฬ มีหน้าที่ป้องกันมิให้ผู้คนทำความชั่ว ป้องกันความเจ็บไข้ มีธุระสอดส่อง บุคคลอันธพาลทั้งหลายในยามค่ำคืน ด้วยการขี่นกแสกออกตรวจตราบุคคลใดถึงฆาตก็นำตัวไปให้พระยมชำระ ถ้ามีความดีก็ส่งขึ้นไปสวรรค์ ถ้าทำความชั่วก็ส่งลงนรก 
              ๕. เทพารักเจ้าพ่อเจตคุปก์ เทพารักษ์องค์นี้แกะด้วยไม้แต่ปิดทองทั้งองค์ สูง ๑.๓๓ เมตร

      เทพารักษ์ทั้ง ๕

      จากซ้ายไปขวา  พระเสื้อเมือง, พระทรงเมือง, เจ้าพ่อหอกลอง, พระกาฬไชยศรี, เจ้าพ่อเจตคุปต์ 
      ต้นฉบับภาพเทพารักษ์ โดยคุณฉาวหวาว จาก pantip.com > Blue Planet

              ถ้าจะพูดถึงความเคารพนับถือของประชาชนพลเมือง ที่มีต่อเจ้าพ่อหลักเมือง ก็กล่าวได้ว่าเป็นอเนกอนันต์ ที่หน้าศาลรอบๆ บริเวณและภายในศาลมีผู้คนเข้าไปจุดธูปเทียนบูชาและถวายดอกไม้ตลอดจนเครื่องบวงสรวงสังเวย ไม่ขาดวัน มีละครชาตรี ลิเกเล่นถวาย ตั้งแต่เช้าจรดเย็นค่ำ กลิ่นดอกไม้ธูปเทียนหอมฟุ้ง ผู้ที่ไม่มีโอาสได้เข้าไปเคารพ ถ้านั่งรถผ่านหรือเดินผ่านก็จะยกมือไหว้ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเชื่อกันว่าท่านมีหน้าที่คุ้มครองพระราชกำหนดกฏหมาย ให้ขุนศาลตุลาการดำเนินไปด้วยความเที่ยงธรรม เป็นหลักค้ำจุนบ้านเมืองมิให้ซวนเซ  เพราะบ้านเมืองถ้าขาดหลักเมืองเสียแล้ว ก็หาความร่มเย็นเป็นสุขสถาพรได้ไม่ หลักเมืองจึงเป็นหนึ่งในความสำคัญของการสร้างเมือง. 

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×