คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : มาดูไอคิวเด็กไทยงับ
ไอคิวเด็กไทย
วิธีการทดสอบที่ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานมีหลายวิธี
โดยที่ส่วนใหญ่การศึกษาวิจัย จะใช้แบบทดสอบที่เป็นมาตราฐานวิธีใดวิธีหนึ่ง นั่นคือ ต้องตรวจสอบแบบทดสอบเสียก่อนที่จะทำการทดสอบกลุ่มตัวอย่าง ระดับไอคิว 90-110 เรียกว่า เชาวน์ปัญญาเด็กอยู่ในช่วงของค่าปกติ (normal range) ค่าเฉลี่ยนี้ถือว่าอยู่ที่ตัวเลข 100 กล่าวอีกอย่างหนึ่งที่คนทั่วไปเข้าใจดี ไอคิวที่เป็นตัวเลข เป็นเปอร์เซ็นต์นั้น ก็คือ การเอาตัวเลขของอายุสมองหารด้วยอายุจริง แล้วทำเป็นร้อยละ คูณด้วย 100% ผลลัพธ์ที่ได้คือตัวเลขไอคิว หรือเรียกว่าระดับเชาวน์ปัญญา บางครั้งอาจเรียกเป็นจุด
ผลสำรวจไอคิวเด็กไทย
- จากผลสำรวจล่าสุดในปี 2545 พบเด็กอายุ 6-12 ปี มีระดับความฉลาดทางสติปัญญา หรือไอคิวเฉลี่ย 88 จุด
- กลุ่มอายุ 13-18 ปี 87 จุด ซึ่งถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานที่เฉลี่ย 100 จุด หรือเมื่อเทียบอัตราการศึกษาในมหาวิทยาลัยไอคิว 87 จุดจะเรียนจบได้ในระดับปานกลางเท่านั้น
งานวิจัยชิ้นหนึ่งในประเทศไทย ได้ทำการสุ่มตัวอย่างจากเด็กทั่วประเทศ 20 จังหวัด พบว่าค่าเฉลี่ยไอคิวของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 20 จังหวัดอยู่ที่ประมาณ 91 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และมี 44% ของประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ได้ทำการสำรวจวิจัยนั้นต่ำกว่า 90 หมายความว่าเด็กมีอายุจริง 10 ขวบแต่อายุสมองเท่ากับเด็กอายุ 8-9 ขวบ ตัวเลขนี้อาจจะสรุปได้ว่าเด็กไทยมีไอคิวต่ำกว่ามาตรฐาน
ระดับของเชาว์ปัญญา (ไม่รวมเชาน์อารมณ์)
เด็กไทย 44% มีไอคิวต่ำกว่า 90 ถ้าต่ำกว่า 90 ก็ขึ้นอยู่กับว่าต่ำกว่ามากแค่ไหน เพราะว่ายังมีแบ่งเป็นอีกหลายขั้น
- ระดับ 80-90 อยู่ในระดับปัญญาทึบ
- ระดับ 70-80 เรียกว่าคาบเส้นปัญญาอ่อน
- ระดับ 70-50 เรียกว่าปัญญาอ่อน ระดับน้อย
- ระดับ 50-30 เรียกว่าปัญญาอ่อนระดับปานกลาง
- ต่ำกว่า 30 ลงมาเรียกว่าปัญญาอ่อนขั้นรุนแรง
- ถ้าเป็นระดับ 70-90 ระดับปัญญาทึบกับคาบเส้นปัญญาอ่อน
ถ้าเด็กอยู่ในชุมชนต่างๆ จะมองข้อแตกต่างไม่ออก เด็กจะพูดคุย ทำกิจกรรมต่างๆได้เหมือนเด็กปกติ แต่ความสามารถในการที่จะเรียนรู้ ความสามารถที่จะคิดแก้ไขปัญหาจะน้อยกว่าจะช้ากว่า ในระดับของปัญญาทึบนั้น ถ้าเขาเรียนอยู่ในชั้นเรียนทั่วไป เขาก็เรียนได้ แต่เขาจะอยู่ท้ายห้อง การเรียนจะไม่ค่อยดี แต่พอไปไหว แต่ถ้าอยู่ในชั้นเรียนที่สูงขึ้นจะไปไม่ไหว บางคนจะเห็นตอนที่อายุมากขึ้น อายุสมองจะตามไม่ทันอายุร่างกาย จะเริ่มเห็นปัญหาขึ้นเรื่อยๆ
สาเหตุจากการเลี้ยงดู
ที่ระดับสติปัญญาของเด็กไทย ต่ำกว่ามาตรฐานสากล สาเหตุสำคัญประการหนึ่งเกิดจากพ่อแม่เลี้ยงดูแต่ด้านร่างกาย ไม่ได้ฝึกสอนเด็กให้เกิดการพัฒนาทางสติปัญญา แต่ยกภาระเหล่านี้ให้เป็นหน้าที่ของครูและโรงเรียน
ปัจจัยทางพันธุกรรม
จากการศึกษาทั่วโลก พบว่าปัจจัยทางพันธุกรรมเกี่ยวข้องกับระดับสติปัญญา แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่ทราบถึงยีนที่เกี่ยวข้องและอาจเป็นสาเหตุ บางรายงานก็ไม่พบสาเหตุที่เกิดจากพันธุกรรมชัดเจน
พัฒนาการในวัยทารก
ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นปัญหาระหว่างการคลอด คลอดก่อนกำหนด คลอดออกมาขาดออกซิเจน หรืออาจจะเป็นปัญหาจากโรคทางพันธุกรรม เป็นความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ได้รับสารพิษ ได้รับยาเสพติด หรือสุรา ทำให้มีพัฒนาการทางสมองช้า
สมองไม่พัฒนาเท่าที่ควร
ปัจจัยหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ปัจจัยของสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ทำให้สมองไม่พัฒนาเท่าที่ควร สมองของเด็กในช่วงสามปีแรก จะมีการเติบโตพัฒนาเร็วมาก ซึ่งจะมีผลต่อเรื่องความสามารถ เชาว์ปัญญา ในสามปีแรกสมองจะขยายตัวอย่างมากมาย เรียกว่าเป็นเวลาทอง ถ้าจะต้องเพาะบ่มอะไรตอนนั้นจะต้องรีบทำเด็กแรกเกิดสมองจะมีขนาดจำกัด ตามขนาดของศีรษะ แรกเกิดจะมีเส้นรอบศีรษะประมาณ 35 เซนติเมตร ในขณะที่ผู้ใหญ่จะมีขนาดศีรษะประมาณ 55-60 เซนติเมตร จะเห็นว่าตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ ขนาดศีรษะจะโตขึ้นประมาณ 20 เซนติเมตร แต่ว่าในช่วงสามปีแรกสมองหรือศีรษะจะขยายขึ้น 15 เซนติเมตร ในสามปีแรก ในช่วงสามถึงเก้าปี จะขึ้นมาอีกประมาณ 5 เซนติเมตร หลักจากนั้นอีก 20-50 ปีต่อไปจนถึงจบชีวิต อาจจะขึ้นมาไม่เกิน 5 เซนติเมตร
องค์ประกอบสำคัญที่พัฒนาไอคิวเด็ก
องค์ประกอบสำคัญที่พัฒนาไอคิวเด็กมี 3 ประการ คือ
- มีพื้นฐานภาษาดี
- มีการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และ
- ได้รับสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม พร้อมแสดงความเป็นห่วงนักเรียนที่นั่งเรียนหลังห้อง จะเป็นกลุ่มที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการเรียนรู้ไม่ค่อยดี จึงอยากเรียกร้องให้ครูใส่ใจเป็นพิเศษ
แนวทางแก้ไข
กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้า หมายว่า ภายในปี 2551 ไอคิวเด็กไทยต้องเทียบเท่าประเทศพัฒนาอย่างญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกา คือไม่ต่ำกว่า 100 จุด จากการประชุมวิชาการเรื่อง “พัฒนาอย่างไรให้เด็กไทยฉลาด” ที่มีบุคลากรของกรมสุขภาพจิตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 800 คนเข้าร่วมประชุม ถือเป็นการระดมความคิดอาจารย์ นักวิชาการ นักจิตวิทยา และแพทย์จากทั่วประเทศ มาร่วมวางมาตรฐานพัฒนาสติปัญญาเด็กและเยาวชนไทย โดยจะพัฒนาตั้งแต่ระดับร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา ตั้งแต่ในครรภ์มารดาและวางกรอบการเลี้ยงดูบุตร
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ ขอขอบคุณนะครับ
ความคิดเห็น