ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บทเรียนภาษาเกาหลี กับ By 김 선민

    ลำดับตอนที่ #2 : เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประเทศเกาหลีใต้

    • อัปเดตล่าสุด 31 มี.ค. 52


    ธงประจำชาต

     
            ธงประจำชาติของประเทศเกาหลีใต้ ในภาษาเกาหลีเรียกว่า “แทกึกกี (태극기)” โดย “แทกึก” แปลว่า จักรวาล และ “กี”
    แปลว่า ธง พื้นสีขาวของธงชาติ หมายถึง ความสะอาดบริสุทธิ์ของประชาชนของประเทศเกาหลีใต้ บนผืนธงประกอบไปด้วย
    วงกลมอยู่ตรงกลาง แบ่งเป็นสีน้ำเงินและสีแดงเท่าๆกัน ซึ่งเป็นลักษณะของ “หยิน – หยาง” ตามหลักปรัชญาตะวันออก
    โดยสีน้ำเงิน หมายถึง หยิน หรือ พลังในเชิงลบ
    ส่วนสีแดง หมายถึง หยาง หรือ พลังในเชิงบวก
    ซึ่งพลังทั้งสองรวมกันเป็นหลักแห่งการเคลื่อนที่ ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องประสานกันอย่างสมดุล อีกทั้งเป็นหลักแห่งความสามัคคี
    ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และรอบวงกลมนี้จะมีสัญลักษณ์สีดำตรงมุมทั้ง 4 ด้าน อยู่บนพื้นธงสีขาว สัญลักษณ์ทั้ง 4 มุมนี้ ได้แก่
      
    Geon อยู่มุมบนด้านซ้าย หมายถึง สวรรค์
    Gon อยู่มุมล่างด้านขวา หมายถึง โลก
    Gam อยู่มุมบนด้านขวา หมายถึง น้ำ
    Li อยู่มุมล่างด้านซ้าย หมายถึง ไฟ
      
    เพลงชาติ
      
                  เพลงชาติประเทศเกาหลีใต้ ในภาษาเกาหลีเรียกว่า
    “เอกุกกา ()” หมายถึง เพลงของผู้รักชาติเนื่องจากชาวเกาหลี
    เป็นคนที่รักในชาติิของตนมาก เพลงชาติจึงมีความหมายอันสื่อถึงความรักชาติ
    อย่างยิ่งยวด ในช่วงที่เกาหลีตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศญี่ปุ่นเพลงนี้ถูกร้อง
    โดยชาวเกาหลีโพ้นทะเลเพื่อขอพรให้ประเทศของตนได้รับอิสรภาพ ซึ่งเชื่อกันว่าคำร้องได้ประพันธ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1896 โดย ยอนชิโน () ผู้นำการต่อสู้เพื่อเอกราชของเกาหลีและเป็นนักการศึกษา ต่อมาในปี ค.ศ. 1935 ได้มีผู้ประพันธ์ทำนองเพลงนี้ขึ้น คือ อันอิกแท ()นักดนตรีีเกาหลีในสเปน
    เพลงนี้ได้บรรเลงในพิธีฉลองการสถาปนาสาธารณรัฐเกาหลีในวันที่ 15 สิงหาคม
    ค.ศ.1948โดยนายลีซึงมาน ()ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐ
    เกาหลี หลังการปลดปล่อยเป็นอิสระจากญี่ปุ่นเป็นเวลาสามปี และนำมาใช้เป็น
    เพลงชาติในปีเดียวกันจวบจนปัจจุบัน
     
    ดอกไม้ประจำชาติ

            ดอกมูกุงฮวา (무궁화) หรือ Rose of Sharonเป็นดอกไม้ประจำชาติ ิของเกาหลีใต้ “มูกุงฮวา” มาจากรากศัพท์ “มูกุง” หมายถึง ความเป็นอมตะ สะท้อนถึงความเป็นอมตะของประวัติศาสตร์ และความมุ่งมั่นอดทนของชาวเกาหลีใต้ ดอกมูกุงฮวาจะบานสะพรั่งทั่วประเทศ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม
            คุณสมบัติเด่นของดอกไม้ชนิดนี้คือ สามารถทนสภาพอากาศที่เลวร้าย
    และศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี
    เครื่องแต่งกายประจำชาติ

            เครื่องแต่งกายของชาวเกาหลีใต้ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีชื่อเรียกว่า
    “ฮันบก (한복)” ซึ่งหากแยกคำ “ฮัน” จะหมายถึง ชาวฮั่นหรือชาวเกาหลี และ “บก” หมายถึง ชุด ความหมายรวมจึงเป็น “ชุดของชาวเกาหลี” นั่นเอง
    ความงามและความอ่อนช้อยของวัฒนธรรมเกาหลี มักถูกถ่ายทอดออกมาผ่าน
    ทาง ภาพถ่ายของสุภาพสตรีในเครื่องแต่งกายฮันบกนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ชุด
    ฮันบกจะเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของประเทศเกาหลี
            เครื่องแต่งกายทั้งของผู้หญิงและผู้ชาย จะมีลักษณะหลวมเพื่อความสะดวกสบาย ในการเคลื่อนไหว และเสื้อผ้าจะใช้ผ้าผูกแทนกระดุมหรือตะขอ โดยส่วนประกอบของชุดฮันบก มีดังนี้

    ชุดผู้หญิงชุดผู้ชาย

    แพนที = กระโปรงชั้นใน
    ซ็อกชีมา = แถบผ้าขนาดใหญ่ ใช้มัดทรวงอกแทนเสื้อยกทรง
    ชีมา = กระโปรงชั้นนอก ยาวคลุมเท้า
    จอโกรี = เสื้อนอกแขนยาว

    ปันซือ / แพนที = กางเกงชั้นใน
    พาจี = กางเกงขายาวชั้นนอก รวบปลายขาด้วย แทมิน
    แทมิน = แถบผ้าใช้มัดขากางเกง
    บันโซเม = เสื้อรัดรูปแขนสั้นใส่ข้างใน
    จอโกรี = เสื้อนอกแขนยาวไม่มีปก ไม่มีกระเป๋า

            การผลิตชุดฮันบก มีประเภทเนื้อผ้าที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับโอกาสและวัยของ ผู้สวมใส่ โดยเด็กผู้หญิงหรือหญิงสาว (ที่ยังไม่แต่งงาน) จะสวมเสื้อสีเหลือง กระโปรงสีแดง และจะเปลี่ยนเป็นเสื้อสีเขียว กระโปรงสีแดงเมื่อแต่งงานแล้ว นอกจากนี้ ชาวเกาหลียังคำนึงถึงความเหมาะสมของเนื้อผ้ากับสภาพ
    อากาศประเทศของตนอีกด้วย โดยในฤดูหนาวจะใช้ผ้าฝ้าย
    และสวมกางเกงขายาวที่มีสายรัดข้อเท้า ช่วยในการเก็บความร้อนของร่างกาย
    ส่วนในฤดูร้อนจะใช้ผ้าป่านลงแป้งแข็ง ซึ่งช่วยในการดูดซับและแผ่ระบายความร้อนในร่างกายได้ดี
            ในปัจจุบันการสวมชุดประจำชาติฮันบก จะใช้เฉพาะในโอกาสพิเศษต่างๆเท่านั้น เช่น งานมงคลสมรส, ซอลนัล (วันขึ้นปีใหม่ของเกาหลี) หรือวันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้า) แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้สูงอายุก็ยังคงสวมใส่ชุดฮันบกกันอยู่
     
    กีฬาประจำชาติ

            เทควันโด เป็นกีฬาที่ถือกำเนิดมาจากประเทศเกาหลีใต้ เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่มีมาตั้งแต่ 2 พันกว่าปี ซึ่งคำว่า “เทควันโด (Taekwondo)” มาจากการรวมของคำ 3 คำ คือ เท (tae) แปลว่า มือ, ควัน (kwon) แปลว่า เท้า, และ โด (do) แปลว่า สติปัญญา หรือ การมีสติ เมื่อรวมกันแล้ว จะได้ความหมายว่า ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว โดยใช้มือและเท้าอย่างมีสติ ซึ่งการใช้มือและเท้า หมายความถึง ใช้สำหรับโจมตีและตั้งรับคู่ต่อสู้ ส่วนใช้อย่างมีสติ หมายความถึง การฝึกจิตกับกายให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งถือเป็นจุดหลักของกีฬาประเภทนี้
             ประวัติความเป็นมาของเทควันโดนั้น มีต้นกำเนิดมาจาก การต่อสู้ที่เรียกว่า แทกคียอน ซึ่งเป็นการต่อสู้แบบดั้งเดิมของชาวเกาหลี โดยในช่วงระหว่างศตวรรษที่ 4 – 7 สมัยที่ 3 อาณาจักรได้แก่ โกคูรยอ ชิลลา และแพกเจ ต่อสู้กันเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในคาบสมุทรเกาหลีนั้น แทกคียอนมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งต่อมาก็ได้มีการพัฒนามากขึ้น และในช่วงที่ผู้ที่มีทักษะในการต่อสู้ได้รับการนับถือกันมาก แทกคียอนก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเลื่อนยศของกองทัพ แต่พอมาถึงยุคสมัยแห่งโชซอน (ค.ศ. 1392 – 1910) สิ่งต่างๆ ก็เปลี่ยนไป มีการใช้ดาบกันมากขึ้น และบทบาทของแทกคียอนก็ค่อยๆ ลดลง อย่างไรก็ตาม ในอดีต ได้มีการจัดแทกคียอนขึ้นอยู่เป็นประจำเมื่อมีการจัดเทศกาลพื้นบ้านต่างๆ หรือการแข่งขันกันกับหมู่บ้านใกล้เคียง
            ในปลายยุคโชซอน ได้ให้คำอธิบายที่ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับแทกคียอนซึ่งถูกบันทึกไว้ ว่า “มีบางสิ่งที่เรียกว่า กักซุล (ชื่อเดิมของแทกคียอน) ในวิธีการเดิม ซึ่งคู่ต่อสู้สองคนเผชิญหน้ากัน และมีการเตะกัน เพื่อให้อีกฝ่ายล้ม โดยการเตะมีด้วยกัน 3 ระดับ คือ 1) ระดับขา ในผู้ที่มีทักษะน้อย 2) ระดับหัวไหล่ ในผู้ที่มีทักษะสูง และ 3) ระดับศีรษะ ในผู้ที่เก่งที่สุด บรรพบุรุษของเราใช้มันเพื่อการล้างแค้น และแม้กระทั่งการพนัน หรือการต่อสู้เพื่อแย่งชิงผู้หญิง” ซึ่งในปัจจุบัน การต่อสู้นี้ได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นการให้คะแนนในกีฬาเทควันโดระดับสากล โดยนักกีฬาจะเน้นการใช้ส่วนที่ต่ำกว่าข้อเท้าทำคะแนนบริเวณเป้าหมาย คือ ส่วนที่สูงกว่าเอวขึ้นไป และสามารถใช้หมัดได้ที่หน้าอกเท่านั้น ส่วนการ กอด ผลัก ทุ่ม ศอก เข่า จะไม่ได้คะแนน

    อาหารเกาหลี
            อาหารของเกาหลีใต้มีสารอาหารสูงและแคลอรี่ต่ำสามารถรับประทานได้ตามความต้องการโดยมีให้เลือกมากมายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ที่มีทั้งข้าวนึ่ง และข้าวต้ม, แกง, ซุป, สตูว์, อาหารประเภททอด / ปิ้งย่าง / ตุ๋น / นึ่ง, เมนูผักใบเขียว, อาหารทะเลหมักเกลือ, เมนูจานกระทะร้อน, และอาหารประเภทยัดไส้ ซึ่งในที่นี้จะขอหยิบยกรายการอาหารเด่นๆ ที่ขึ้นชื่อของประเทศเกาหลีใต้ มาให้ได้รู้จักกันนี้

    ผักดองเกาหลีกิมจิ ()
             กิมจิเป็นผักดองเค็มชนิดหนึ่งอันเป็นส่วนหนึ่งของมื้ออาหาร
    เฉกเช่นเดียวกับเครื่องเคียงอย่างอื่นถึงกระนั้นกิมจิกลับเป็นรายการหลัก
    ที่ขาดไม่ได้เลยในมื้ออาหารของชาวเกาหลีเพราะเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มรสชาติ
    ในการรับประทานอาหารให้อร่อยมากยิ่งขึ้น โดยที่มาของกิมจินั้น ก็เนื่อง
    มาจากมนุษย์เล็งเห็นคุณค่าของผักซึ่งมีทั้งวิตามินและแร่ธาตุมากมายแต่ใน
    ฤดูหนาวสภาพอากาศไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกมนุษย์จึงได้คิดค้นวิธีการ
    ถนอมอาหารโดยวิธีการหมักดอง กิมจิจึงได้ถือกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 7
    ต่อมาในระหว่างศตวรรษที่ 12 ได้มีการทำกิมจิรูปแบบ ใหม่ที่มีส่วนผสม
    ของเครื่องเทศและเครื่องปรุงรสและในศตวรรษที่ 18 พริกเผ็ดป่นก็ได้มาเป็น
    ส่วนผสมที่สำคัญของกิมจิในที่สุดอีกทั้งยังมีการนำเอากะหล่ำปลีเข้ามา
    ในศตวรรษที่ 19 มาทำเป็นกิมจิอันเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน

     


    เนื้อย่างเกาหลี / พุลโกกิ, คาลบิ ()
            หากใครมีโอกาสได้ไปประเทศเกาหลีใต้ แน่นอนว่าเมนูที่จะลืมไม่ได้เลย นั่นก็คือ เนื้อย่างสไตล์เกาหลีสูตรต้นตำรับประเทศของเขา ซึ่งพุลโกกิ มีทั้งเนื้อหมู เนื้อวัว หั่นบางๆ หมักในซอสถั่วเหลือง น้ำมันงา กระเทียม และเครื่องปรุงรสอื่นๆ หรืออาจเป็นสูตรพิเศษเฉพาะของแต่ละร้าน ส่วนคาลบิจะเป็นส่วนซี่โครงติดเนื้อหรือกระดูกอ่อนชิ้นเล็กๆ ซึ่งทั้งพุลโกกิและคาลบิเป็นเมนูที่ได้รับความนิยมด้วยกันทั้งคู่ โดยจะย่างบนเตาที่วางบนโต๊ะอาหารเหมือนกัน นอกจากนี้ ยังมีหมูสามชั้นแบบปิ้ง/ย่าง บนกระทะเช่นกัน แต่เรียกว่า ซัมกยอบซัล ()


    สตูว์ / จีเก ()
            จีเกจะมีลักษณะคล้ายซุปข้น มีทั้งทเวนจังจีเก (จีเกเต้าเจี้ยว) และกิมจิจีเก ซึ่งมักจะมีรสชาติเผ็ดร้อน และเสิร์ฟในชามหินร้อน


    ไก่ตุ๋นโสม / ซัมเกทัง ()
            ซุปไก่ยัดไส้โสม จะใช้ไก่อายุ 45 วัน ยัดข้าวตุ๋นกับโสม, เกาลัด, พุทราแห้ง, กระเทียม, ปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทยดำ เสิร์ฟทั้งตัว รับประทานกับบะหมี่ชนิดเส้นใหญ่ และเหล้าโสม ซุปชนิดนี้นิยมรับประทานเพื่อเรียกกำลังวังชาในช่วงฤดูร้อน


    บะหมี่เย็น / แนงมยอน ()
            ในช่วงที่สภาพอากาศร้อน หรืออบอ้าว นอกจากเมนูของหวานอย่างไอศกรีมแล้ว เมนูอาหารอีกอย่างหนึ่งที่ชาวเกาหลีจะนึกถึง ก็คือ บะหมี่เย็น นั่นเอง เป็นอาหารที่ประกอบด้วยเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ทำจากแป้งสาลีนุ่มและเหนียว เสิร์ฟในน้ำซุปรสหวานกลมกล่อม แช่เย็นด้วยน้ำแข็ง พร้อมหอมสับ หัวไชเท้า และแตงกวาซอยเป็นเส้นๆ เนื้อปรุงรสด้วยน้ำมันงา มัสตาร์ดเผ็ด และน้ำส้มสายชู เป็นเมนูที่จะทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น


    ข้าวยำ / บิบิมพับ ()
            เมนูข้าวที่ประกอบด้วยผักต่างๆ (เช่น ใบเฟิร์นเบรก รากดอกบอลลูน ถั่วงอก) เนื้อวัวที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ พริกแดงบด และน้ำมันงาผัดกับผัก ปรุงรสกับไข่ คลุกกับโคชูจัง (ซอสพริกรสเผ็ด) เป็นเครื่องปรุงสไตล์เกาหลี เวลารับประทานชาวเกาหลีจะคลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน ซึ่งเมนูจานนี้มีสรรพคุณช่วยบำรุงสายตาและคุณค่าทางโภชนาการ


    เทศกาลของเกาหลีในฤดูต่างๆ

    ฤดูหนาว

    เทศกาลตกปลาน้ำแข็งที่อินเจ (Ice Fishing Festival)

            เทศกาลตกปลาน้ำแข็ง ณ บริเวณทะเลสาบโซยัง เมืองอินเจ ซึ่งเป็นเมืองที่สายน้ำมีความใสสะอาดที่สุด อีกทั้งป่าไม้ที่ปกคลุมทั่วขุนเขาและหุบเขาที่สลับซับซ้อน ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนและผจญภัยที่ได้มาตรฐานมากที่สุดของประเทศ
            เทศกาลตกปลาน้ำแข็ง ที่ใน 1 ปี จะมีเพียงครั้งเดียวและช่วงเวลาเดียวเท่านั้นคือ ราวปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์
    ประมาณ 2 อาทิตย์ ผืนน้ำที่กลายเป็นลานน้ำแข็งกว้างไกลสุดสายตาส่วนหนึ่งจะถูกกันไว้สำหรับบรรดานักตกปลาที่ต้องการสัมผัส
    ประสบการณ์อีกรูปแบบหนึ่ง กับการตกปลาบิงงอปลาน้ำแข็งขนาดเล็กประมาณนิ้วก้อยที่จะมีเฉพาะช่วงที่น้ำในแม่น้ำมีอุณหภูมิต่ำกว่า
    จุดเยือกแข็งเท่านั้นโดยน้ำแข็งในบริเวณนั้นจะถูกเจาะเป็นหลุมเรียงกันเป็นแถวส่วนผู้มาเที่ยวชมก็แค่ซื้อเบ็ดที่มีตะขออันเล็กๆเป็นช่วงๆ
    ตามเอ็นที่ห้อยยาวลง หลังจากนั้นก็เอาไปหย่อนลงในโพรงน้ำแข็งที่เจาะไว้ให้แล้วก็นั่งรอเวลาปลากินเบ็ดปลาที่ตกขึ้นมาได้ คนเกาหลีจะสามารถรับประทานได้ทันทีแบบสดๆ พร้อมจิ้มกับน้ำจิ้มพริกสไตล์เกาหลี นอกจากนี้ยังมีการจัดการแข่งขันฟุตบอลบนน้ำแข็ง และกีฬาน้ำแข็งอื่นๆ การแข่งขันชิงแชมป์สุนัขลากเลื่อนหิมะ และรถแข่งหิมะ

    เทศกาลหิมะแทแบคซาน (Taebaek Snow Festival)

            ในทุกฤดูหนาวจะมีการจัดเทศกาลหิมะขึ้นที่จังหวัดคังวังโด โดยจะจัดในช่วงระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่บริเวณอุทยานภูเขาแทแบ็ค และในส่วนอื่นๆด้วย เพื่อร่วมฉลองเทศกาลนี้ ซึ่งจัดขึ้นเพียง 9 วัน ต่อปีเท่านั้น งานยิ่งใหญ่ประจำปีนี้จัดมาตั้งแต่ปี 1995 โดยใช้ทัศนียภาพความสวยงามของภูเขาหิมะแทแบคเป็นฉาก ในช่วงนั้น ภูเขาแทแบคจะกลายเป็นสีเงินสดใสที่ถูกห่มไว้ด้วยหิมะขาวโพลน
            ในงานเทศกาลหิมะนี้จะมีรายการที่น่าสนใจหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นขบวนพาเหรดที่เดินจากท้องถนนไปยังภูเขาแทแบค มีบรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลองที่เรียกว่ากิลนอรี ภายในงานมีการแสดงการประกวดประติมากรรมน้ำแข็งระดับประเทศ โดยศิลปินมืออาชีพระดับโลกรวมถึงระดับประเทศเกาหลีเองด้วย นอกจากนี้ยังมีการแสดงมายากล คอนเสิร์ต การแข่งขันประดิษฐ์ตุ๊กตาหิมะในหมู่สมาชิกครอบครัว เลื่อนหิมะการวิ่งแข่งมาราธอนหิมะเกมพื้นบ้านบนหิมะ และ งานออกร้านอาหารพื้นบ้านฤดูหนาวเป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้จึงดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาสัมผัสกับบรรยากาศอันโรแมนติกของฤดูหนาวที่เกาหลีใต้

     

    ฤดูใบไม้ผลิ

     

    เทศกาลโคมไฟดอกบัว (Lotus Lantern Festival)

            เทศกาลที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เหล่าพุทธศาสนิกชนในเกาหลีใต้จะร่วมแห่ขบวนโคมไฟดอกบัว และเดินขบวนแห่มังกร ในวันก่อนถึงวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน จะมีการห้อยโคมไฟดอกบัวหลากสีสัน พร้อมการจัดเทศกาลรื่นเริงทั่วประเทศ ตั้งแต่ในพระราชวังไปจนถึงหมู่บ้านเล็กๆ

            ปัจจุบันเทศกาลโคมไฟดอกบัวได้กลายเป็นงานประเพณี
    ีประจำปีไปแล้ว โดยเฉพาะในใจกลางกรุงโซล จุดเด่นของงานคือ ขบวนพาเหรดโคมไฟในใจกลางกรุงโซล โดยเริ่มขบวนตั้งแต่สนามกีฬาทงแดมุน ใกล้บริเวณวัดพงอึนซา ไปจนถึงวัดโชเกซาในย่านชงโน เส้นทางของขบวนประมาณ 5 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยแสงสีจากโคมไฟในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ เช่น มังกร เสื้อ หรือช้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา และมีขบวนพาเหรดของประเทศต่างๆ ที่ผู้คนนับถือศาสนาพุทธ เช่น อินเดีย จีน ศรีลังกา เนปาล รวมทั้งจากประเทศไทยด้วย

            นอกจากนี้ผู้ร่วมงานสามารถเดินชมนิทรรศการเกี่ยวกับศาสนาพุทธ
    ตลอดแนวถนน และกิจกรรมทางด้านบันเทิง และพุทธสาระ ตลอดจนการทำโคมบัวด้วยตัวเองเพื่อร่วมขบวน ซึ่งมีอุปกรณ์และผู้สอนฟรี การทำสมาธิ และการแสดงระบำพื้นเมือง พร้อมการละเล่นพื้นเมืองของประเทศต่างๆ

     

    ฤดูใบไม้ร่วง

     

    เทศกาลระบำหน้ากาก (Mask Dance Festival)

            จัดขึ้นในเมืองอันดง ซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมขงจื๊อของเกาหลี จะมีทั้งการแสดงของเกาหลีเอง และจากนานาประเทศ ที่หมู่บ้านฮาโฮ ที่ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งหนึ่งของเกาหลี ที่นี่นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้ชมการเต้นรำหน้ากากในป่าสนแล้ว ยังได้ตื่นตาตื่นใจกับ “ฮาโฮ ซอนยูจุลบุลโนรี” ซึ่งเป็นดอกไม้ไฟพื้นเมืองของเกาหลี ที่จุดข้ามท้องฟ้าเวลากลางคืน ทำให้เกิดบรรยากาศที่สวยงามสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เหล่าบรรพบุรุษเชื่อว่า ซอนยูจุลบุลโนรีสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคภัยไข้เจ็บ และเพื่อปัดเป่าความโชคร้าย

            หน้ากากที่หมู่บ้านฮาโฮจะมีจุดเด่นตรงที่ทำด้วยไม้ทั้งหมด ถ้าเมืองหรือหมู่บ้านอื่นจะใช้วัสดุอื่นร่วมด้วย เช่น กระดาษ ผลน้ำเต้า และขนสัตว์ ส่วนละครระบำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดได้แก่ ฮาโฮ เบียวซินกุต ทัลลอรี ซึ่งเป็นละครระบำหน้ากากนักบวชซึ่งได้มีการเล่นมากว่า 500 ปี ในหมู่บ้านฮาโฮ เป็นการสวดขอพรเทวดาผู้พิทักษ์ให้มีสุขภาพดี และเกิดสันติสุขในชุมชน เพิ่มเติมสีสันด้วยคำถากถางอันเผ็ดร้อนต่อบรรดาชนชั้นสูงที่ทุจริต และพระที่กระทำผิด หรือพระที่ฟุ่มเฟือย

     

    ฤดูร้อน

     

    เทศกาลโคลนโพเรียง (Boryeong Mud Festival)

            จัดขึ้นช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ชายหาดแดเจิน เมืองโพเรียง จังหวัดชุงชองนัมโด ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเกาหลีใต้ สิ่งที่ดึงดูดให้มีผู้มาเยือนตลอดปีของที่นี่ก็คือ “หาดแทชอน” ซึ่งเป็นหาดรูปจันทร์เสี้ยวที่ยาวที่สุดในฝั่งทะเลตะวันตก “หาดมูจางโป” ที่มีชื่อเสียงว่าเป็นปาฏิหาริย์แห่งโมเสสอีกแห่งนอกจากที่เกาะชินโด เนื่องด้วยความมีชื่อเสียงของโคลนที่เมืองโพเรียง ซึ่งได้รับการกล่าวขวัญกันว่ามีคุณสมบัติในการบำรุงผิว สามารถช่วยป้องกันรังสีอินฟาเรด และมีแร่ธาตุต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แร่ธาตุเจอเมเนี่ยม ที่ช่วยปกป้องผิวและรักษาโรคที่เกี่ยวกับผิวหนังได้หลายชนิด มีส่วนช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของเลือด ประทินผิว ช่วยชะลอความชรา ลบรอยเหี่ยวย่น ขจัดน้ำมันส่วนเกิน และคราบสกปรกจากผิวหนัง เทศกาลนี้จึงเป็นที่นิยมของผู้คนทั้งชาวเกาหลีและชาวต่างชาติ ซึ่งนิยมมาพอกโคลนบำรุงผิวกันที่นี่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน

            สำหรับรายการสำคัญของงาน มีทั้งการบรรยายเกี่ยวกับสุขภาพและอนามัย ภาคปฏิบัติเกี่ยวกับโคลน เช่น การนวดตัวด้วยโคลน การบำรุงผิว และแต่งหน้าด้วยโคลน การแข่งขันมวยปล้ำ และชักเย่อในโคลน นอกจากนี้ยังมีการแสดงทางด้านวัฒนธรรม และการละเล่นพื้นเมืองของเกาหลี การประกวดภาพถ่าย และการแข่งขันวอลเล่ย์บอลชายหาด และการประกวด “ราชาโคลน” ชิงเงินรางวัล 2 ล้านวอนผู้มาเยือนยังสามารถหาซื้อ
    เครื่องประทินโฉมที่ทำจากโคลนในราคาพิเศษ ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีชื่อเสียง
    ในต่างประเทศและได้เริ่มแพร่หลายในเมืองไทยด้วยเช่นกัน

    การละเล่น

     

     

    การเล่นว่าว / ยอนนัลลีกี ()
            เป็นการละเล่นที่ผู้คนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ชื่นชอบมาตั้งแต่โบราณ โดยเป้าหมายในการแข่งว่าวของชาวเกาหลี คือ ชักว่าวของตนให้ไปตัดสายป่านว่าวของฝ่ายตรงข้ามให้ขาดจนหัวปักลงดินให้ได้ ว่าวรูปสี่เหลี่ยม (ยอน) ทำขึ้นด้วยการขึงไม้ไผ่บนแผ่นกระดาษชังโฮจิตามขวางและเย็บเข้าติดกัน และสายป่านมักทำจากไหมที่โรยเศษกระเบื้อง หรือกากเพชรละเอียดเคลือบไว้เพื่อให้คม เพียงเท่านี้ ว่าวก็พร้อมจะถูกปล่อยให้ลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า
            การเล่นว่าวเป็นที่นิยมกันมาก โดยเฉพาะในวันประเพณีต่างๆ เช่นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ หรือวันฉลองอื่นๆของชาวบ้าน มีการชิงชนะเลิศการเล่นว่าวไปหลายๆเมืองในเกาหลี หรือวันอาทิตย์ที่ลมดี จะมีสมาชิกชมรมว่าวของกรุงโซลออกมาแข่งขันกันที่สวนสาธารณะฮันกัง งานเทศกาลว่าวนานาชาติของที่นี่ จะจัดขึ้นในเดือนแรกของปีตามปฏิทินทางจันทรคติ

     

    หมากล้อม / พาดุก ()
            พาดุก หรือในภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า “โกะ” หรือหมากล้อม เป็นการละเล่นแบบกระดาน โดยมีผู้เล่น 2 คน แข่งกันยึดครองพื้นที่บนกระดาน กระดานพาดุกจะตีเส้นตรงตัดกัน ในแนวตั้งและแนวนอน ด้านละ 19 เส้น ตัวหมากแบ่งเป็นหมากขาวและหมากดำ ในสมัยโกคูรยอและแพ็กเจ พาดุกถือเป็นการละเล่นสำหรับขุนนางชั้นสูงและเพิ่งจะ กลายมาเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวบ้านเมื่อหลังปี 1945 นี้เท่านั้น ปัจจุบันเกาหลีมีศาลาเล่นพาดุกตั้งอยู่ตามเมืองต่างๆ แทบจะทุกแห่งก็ว่าได้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่จะชอบเล่นพาดุกกัน นอกจากจะเล่นเพื่อความสนุกสนานแล้ว ยังช่วยฝึกสมองให้รู้จักคิดและเล่นยากกว่าหมากรุก พาดุกจึงได้รับความนิยมเล่นอย่างแพร่หลาย ในภาคตะวันออกไกลและทั่วโลก บัดนี้กลายเป็นการละเล่นระดับสากลไปแล้ว

     

    กระดานหก / นอลตุยกี ()
            กระดานหกเป็นประเพณีการละเล่นแบบชาวบ้านสำหรับสุภาพสตรี วิธีการก็คล้ายกับม้ากระดกแบบตะวันตก นั่นคือ มีแผ่นไม้ยาว ซึ่งส่วนกลางจะตั้งอยู่บนกองฟางที่แห้งแข็ง ผู้เล่นจะมี 2 คน โดยแต่ละคนจะผลัดกันกระโดดลงบนลายไม้แต่ละข้าง ส่งให้อีกฝ่ายตัวลอยขึ้นกลางอากาศ         การละเล่นนี้มักจะเล่นกันในวันหยุดตามประเพณีต่างๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ วันชูซก หรือวันทาโน๊ะ ซึ่งจัดในช่วงฤดูใบไม้ผลิมาแต่ครั้งโบราณ การละเล่นเหล่านี้คิดค้นขึ้นเพื่อให้สตรีชั้นสูงของเกาหลีในสมัยโบราณ มีโอกาสได้มองเห็นความเป็นไปของโลกนอกกำแพงบ้านอันสูงใหญ่บ้าง เพราะพวกนางไม่ได้รับอนุญาตให้ออกนอกบ้านในเวลากลางวัน

     

    ไพ่ / ฮวาทู ()
            ไพ่เกาหลีเรียกว่า ฮวาทู () มีขนาดเท่ากลักไม้ขีดไฟ 1 สำรับมีไพ่ทั้งหมด 48 ใบ แทนเดือนทั้ง 12 เดือนใน 1 ปี ดังนี

    ไพ่ต้นสนมกราคมไอริสกรกฎาคม
    ต้นพลัมกุมภาพันธ์พระจันทร์สิงหาคม
    เชอร์รี่มีนาคมเบญจมาศกันยายน
    โคลฟเวอร์ป่าเมษายนเมเปิ้ลตุลาคม
    กล้วยไม้พฤษภาคมพาวโลเนียพฤศจิกายน
    โบตั๋นมิถุนายนสายฝนธันวาคม
            ถ้ามีการลงเงินเดิมพัน เกมก็จะยิ่งสนุก นอกจากนี้ยังใช้ไพ่ในการทำนายโชคชะตาได้อีกด้วย
     

    ชิงช้า / คึเนตุยกี ()
            ชิงช้านี้ก็เป็นการละเล่นแบบชาวบ้านอีกอย่างหนึ่ง ที่นิยมเล่นกันในหมู่สุภาพสตรีเช่นเดียวกับนอลตุยกี และนิยมเล่นกันในวันทาโน๊ะ คึเนเป็นชิงช้าของเกาหลีทำขึ้นโดยใช้เชือก 2 เส้น ซึ่งมีความยาว 6 เมตร ผูกติดกับแผ่นไม้และนำไปแขวนติดกับต้นไม้สูงหรือผูกติดกับไม้ซุง ซึ่งต่อเป็นคานแล้วแกว่งตัวขึ้นไปกลางอากาศอย่างสนุกสนาน หญิงสาวชาวเกาหลีจะโล้ชิงช้าคึเนนี้ไปได้สูงทีเดียว คึเนตุยกีจึงเป็นการละเล่นที่ชาวบ้านทุกเพศทุกวัยเล่นกันในระดับประเทศ

     

    แบ็กแกมมอน / ยุทโนรี ()
            เป็นเกมที่ผู้สูงอายุนิยมเล่นกันตามริมถนนโดยใช้แท่งไม้ยาว 10 นิ้ว 4 แท่ง โยนขึ้นไปกลางอากาศ ผู้เล่นจะเดินเบี้ยของตนไปตามจำนวนแท่งไม้ที่หงายขึ้นหรือคว่ำลง เพื่อนำเบี้ยทั้ง 4 ตัวไปถึงเส้นชัย ชาวเกาหลีนิยมเล่นกันในเดือนมกราคมตามจันทรคติ และเป็นการละเล่นของเกาหลีแท้ๆ ยุท เป็นคำๆหนึ่งในเกมนี้ (โด, เก, กล, ยุท และโม) หมายความว่า “สี่” เกมมีความคล้ายคลึงกับเกมพาชีสิ แต่การเล่นแบ่งออกเป็น 2 ทีม ซึ่งจะเดินหมากไปรอบๆ หลังจากการโยนไม้

     

    หมากรุกเกาหลี / จางกี ()
            เกาหลีรับเอาหมากรุกจากแถบเมโสโปเตเมียผ่านเข้ามาทางประเทศจีน ชายชาวเกาหลีมักจับกลุ่มเล่นหมากรุกกันทั้งตามบาทวิถี ในร้านค้าและตามสวนสาธารณะ ชางกีเป็นการละเล่นแบบกระดานคล้ายหมากรุก กระดานและตัวหมากเดินทำด้วยไม้หรือพลาสติก มีผู้เล่น 2 คน ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะมีหมาก 16 ตัว ประกอบด้วย ขุนหนึ่ง รถศึกสอง ปืนใหญ่สอง ม้าสอง ช้างสอง องครักษ์รักษาวังสอง และพลทหารอีกห้า โดยจะเขียนสัญลักษณ์อักษรจีนเอาไว้บนตัวหมาก ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะต้องรุกฆาตขุนของฝ่ายตรงข้ามให้ได้ บรรดานักเล่นหมากรุกทั้งหลายย่อมรู้จักตัวพระราชา เรือ ม้า และเบี้ยอื่นๆ แต่คงไม่เคยเห็นช้างและปืนใหญ่ซึ่งไม่มีในหมากรุก


    วันหยุดและวันสำคัญของเกาหลี

            ประเทศเกาหลีใต้มีการกำหนดวันต่างๆ ทั้งวันหยุดราชการและวันพิเศษสำหรับคู่รัก ซึ่งต่างก็เป็นวันสำคัญของชาวเกาหลี โดยในวันหยุดราชการ สำนักงานและธนาคารจะหยุด แต่พระราชวัง พิพิธภัณฑ์ ภัตตาคาร ห้างสรรพสินค้า และสถานเริงรมย์ส่วนใหญ่จะเปิด ซึ่งเกาหลีใต้จะมีทั้งวันหยุดตามปฏิทินสากล และวันหยุดตามปฏิทินตะวันออก (จันทรคติ)

    มกราคม
    1 วันขึ้นปีใหม่ (ชินจอง “ ”) วันหยุดสากลเหมือนกับหลายๆ ประเทศ
      – วันหยุดสากลเหมือนกับหลายๆ ประเทศ
    14 Diary Day
      -  วันมอบไดอารี่ที่เขียนไว้ 1 ปีให้กับคนรัก / ครอบครัว หรือเพื่อนๆ เพื่อ ให้ระลึกถึงวันสำคัญๆ จะได้ไม่ลืม


    ประมาณ มกราคม - กุมภาพันธ์
    ม.ค. – ก.พ. วันปีใหม่เกาหลี (ซอลนัล “ ”) ตามจันทรคติ
      มีวันหยุดประมาณ 3 วัน เป็นวันที่ชาวเกาหลีให้ความสำคัญมากยิ่งกว่าวันขึ้นปีใหม่ (1 ม.ค.) ร้านค้า บริษัทต่างๆ จะปิด และประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อไปอยู่กับครอบครัว คำนับผู้อาวุโส และทำพิธีเคารพบรรพบุรุษ อีกทั้งยังจัดงานเลี้ยง พร้อมกิจกรรมต่างๆ มากมาย


    กุมภาพันธ์
    14 วันวาเลนไทน์
      วันที่หญิงสาวต้องบอกความในใจ และมอบสิ่งของ (ของขวัญ, ลูกอม, ช็อกโกแลต) พร้อมการ์ดให้กับ ชายหนุ่มที่ตนแอบรักหรือชอบ


    มีนาคม
    1 วันอิสรภาพ (ซัมอิลจอล “ ”)
      – วันระลึกถึงการประกาศอิสรภาพจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 1919
    14 White Day
      – วันที่ชายหนุ่มต้องบอกความในใจ และมอบสิ่งของ (ของขวัญ, ลูกอม, ช็อกโกแลต)
       พร้อมการ์ดให้กับ หญิงสาวที่ตนแอบรักหรือชอบ


    เมษายน
    5 วันปลูกต้นไม้ (ฉิกมกอิล “ ”)
      – วันที่ผู้คนทั่วประเทศพร้อมใจกันปลูกต้นไม้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปลูกป่า
    14 Black Day
      – กลุ่มที่ผิดหวังจากวันวาเลนไทน์และไวท์เดย์ จะออกมาระบายความอัดอั้นตันใจด้วยสิ่งต่างๆ ที่เป็นสีดำ
       เช่น การแต่งกายด้วยสีดำ, การกินอาหารสีดำ (บะหมี่ดำ หรือ จาจังมยอน)


    ประมาณ เมษายน – พฤษภาคม
    เม.ย. – พ.ค. วันวิสาขบูชา (ซอกคาทันชินอิล “ ”)
      วันสำคัญทางศาสนา ที่มีการทำบุญ และการแขวนโคมไฟตอนหัวค่ำ ที่ลานวัดต่างๆ ในแต่ละเมือง


    พฤษภาคม
    1 วันแรงงาน (กึลโรจาเอนัล “ ”)
      – แม้จะไม่ใช่วันหยุดประจำชาติ แต่ธนาคารและบริษัทต่างๆ จะปิดทำการ
    5 วันเด็ก (ออรินอีนัล “ ”)
      – บรรดาพ่อแม่ ผู้ปกครอง จะพาบุตรหลานของตน ไปเที่ยว และทำกิจกรรมต่างๆ อาทิ สนามเด็กเล่น
       สวนสนุก สวนสัตว์ หรือไปดูภาพยนตร์ เพื่อให้เด็กสนุกสนานเพลิดเพลิน
    8 วันบุพการี (ออบออีเอนัล “ ”)
      – วันที่บุตรธิดา จะแสดงความรักและความเคารพต่อบุพการี
    14 Rose Day
      – คู่รักจะมอบดอกกุหลาบให้แก่กันในวันนี้
    21 Lover Day
      – วันที่คู่รัก / คู่สามีภรรยา กลับมาทบทวนความรักที่มีให้กัน โดยนัดไปทานข้าว
       และมอบดอกไม้ ของขวัญให้แก่กัน


    มิถุนายน
    6 วันรำลึกถึงวีรชนแห่งชาติ (ฮยอนชุงอิล “ ”)
      – จัดเพื่อเป็นเกียรติให้กับทหาร และพลเรือนผู้เสียสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ
       โดยจะมีพิธีจัดขึ้นที่สุสานแห่งชาติในกรุงโซล
    14 Kiss Day
      – วันที่ให้จูบกับคู่รัก เพื่อเติมความโรแมนติกในหน้าร้อน


    กรกฎาคม
    14 Silver Day
      – วันที่คู่รักมอบของขวัญที่ทำด้วยเงินให้แก่กัน เช่น แหวน, สร้อย
    17 วันรัฐธรรมนูญ (เชฮอนจอล “ ”)
      – วันระลึกถึงการประกาศรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 1948


    สิงหาคม
    14 Green Day
      – วันที่คู่รักจะแต่งกายด้วยชุดสีเขียว และทำกิจกรรมเกี่ยวกับสีเขียว เช่น เที่ยวป่า เที่ยวสวน
    15 วันฉลองอิสรภาพ (กวางบกจอล “ ”)
      – วันระลึกถึง วันที่ญี่ปุ่นยอมรับข้อตกลงฝ่ายพันธมิตรในการยอมแพ้ และทำให้ประเทศเกาหลีใต้
       เป็นอิสรภาพ ในปี ค.ศ. 1945


    กันยายน
    14 Photo Day
      – วันที่คู่รักจะถ่ายรูปด้วยกัน แล้วก็เก็บเอาไว้คนละใบ


    ประมาณ กันยายน – ตุลาคม
    ก.ย. – ต.ค. วันคล้ายวันขอบคุณพระเจ้า (ชูซก “ ”)
      – วันคล้ายวันขอบคุณพระเจ้าที่ประทานความอุดมสมบูรณ์มาให้แก่โลกมนุษย์ เป็นวันหยุดยาว
       ประมาณ 3 วัน โดยชาวเกาหลีจะเดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อไปเยี่ยมครอบครัว


    ตุลาคม
    3 วันสถาปนาประเทศ (แกชอนจอล “ ”)
      – วันระลึกถึงการก่อตั้งประเทศของเกาหลีใต้ ในปี ค.ศ. 2333 ก่อนคริสตกาล
    9 วันภาษาเกาหลี (ฮันกึลนัล “ ”)
      – วันที่ระลึกถึงการประกาศใช้อักษรเกาหลี
    14 Wine Day
      – จะฉลองด้วยการดื่ม Traditional Korean Wine ระหว่างปิกนิกท่ามกลางธรรมชาติ


    พฤศจิกายน
    11 วันแปแปโร
      – วันที่เด็กๆ หนุ่มสาว และบุคคลต่างๆ ที่มีความรู้สึกที่ดีต่อกัน ต่างมอบขนมแปแปโรให้แก่กัน
       (แปแปโร คือ ขนมของเกาหลี คล้ายๆป็อกกี้ นั่นเอง)
    14 Movie Day
      – วันที่คู่รักต้องไปดูหนังด้วยกัน หรืออาจซื้อ/เช่าหนังมาดูด้วยกันที่บ้านก็ได้


    ธันวาคม
    14 Hug Day
      – วันที่คู่รักจะกอดกันให้อบอุ่น คลายหนาวจากลมหนาวและหิมะที่เข้ามาเยือน
    25 Christmas Day (ซองทันจอล “ ”)
      – เทศกาลคริสต์มาส ที่ถือเป็นวันหยุดสากลเช่นเดียวกันกับหลายๆ ประเทศ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×