คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #9 : เฮอร์เมส เทพแห่งการค้า การโจรกรรม และการสื่อสาร
เทพเฮอร์มีส (Hermes) หรือ เมอร์คิวรี่ (Mercury) เป็นเทพบุตรของซูสเทพบดี กับ นางมาย หรือ เมยา (Maia) เป็นเทพที่มีผู้รู้จักมาก เนื่องจากรูปของเธอปรากฏคุ้นตาคนมากกว่าเทพองค์อื่น ๆ คนมักนำรูปเทพองค์นี้ หรืออย่างน้อยก็ของวิเศษอย่างหนึ่งของเธอ คือ เกือกมีปีก มาแสดงเป็นเครื่องหมายถึงความเร็ว นอกจากเกือก หมวกและไม้ถืออันศักดิ์สิทธิ์ของเธอก็มีปีกเหมือนกัน เธอไปได้เร็วยิ่งนัก ถึงแด่ว่ากันว่า "ไปเร็วเพียงความคิด" ทีเดียว
หมวกและเกือกมีปีกของเฮอร์มีสนั้นเรียกว่า เพตตะซัส (Petasus) และ ทะเลเรีย (Talaria) เป็น ของที่ได้รับประทานจากซูสเทพบิดา ซึ่งโปรดให้เธอเป็นเทพพนักงานสื่อสารประจำพระองค์ ส่วนไม้ถือศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า กะดูเซียส (Caduceus) เดิมเป็นของเทพอพอลโล เธอใช้ต้อนวัวควายในครอบครอง ครั้งหนึ่งเฮอร์มีสขโมยวัวของ เธอไปซ่อน อพอลโลรู้ระแคะระคายดังนั้นจึงมาทวงถามให้เทพภราดรคืนวัวให้แก่เธอ เฮอร์มีสในตอนนั้นยังเยาว์อยู่แท้ ๆ กลับย้อนถามอย่างหน้าตาเฉยว่า วัวอะไรที่ไหนกัน เธอไม่เคยเห็นและไม่เคยได้ยิน อพอลโลก็ไปฟ้องเทพบิดา ซูส ไกล่เกลี่ยให้เฮอร์มีสคืนวัวให้เจ้าของ อพอลโลได้วัวคืนแล้วก็ไม่ถือเทพผู้น้อง แม้ว่าวัวจะขาดจำนวนไป 2 ตัว เพราะ เฮอร์มีสเอาไปทำเครื่องสังเวยเสียแล้วก็ตาม เธอเห็นเฮอร์มีสมีพิณถือคันหนึ่งเรียกว่า ไลร์ (lyre) เป็นของเฮอร์มีส ประดิษฐ์ขึ้นเองด้วยกระดองเต่าก็อยากได้ จึงเอาไม้กะดูเซียสแลก ไม้ถือกะดูเซียสจึงเป็นของเฮอร์มีสด้วยเหตุฉะนี้ และถือ กันว่าเป็นสัญลักษณ์ของเฮอร์มีสแต่ครั้งนั้น
ไม้กะดูเซียสนี้แต่เดิมเป็นไม้ถือมีปีกลุ่น ๆ ต่อมาเฮอร์มีสถือไปพบงู 2 ตัวกำลังต่อสู้กัน เธอเอาไม้ทิ่มเข้าในระหว่างกลางเพื่อห้าม ความวิวาท งูก็เลื้อยขึ้นมาพันอยู่กับไม้ โดยหันหัวเข้าหากัน ตั้งแต่นั้นมางูนี้ก็พันอยู่กับไม้ถือกะดูเซียสตลอดมา และไม้ถือกะดูเซียสก็ กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางด้วย ภายหลังได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของการแพทย์มาจนบัดนี้
เฮอร์มีสไม่แต่จะเป็นเทพพนักงานสื่อสารของซูสเท่านั้น หากยังเป็นเทพครองการเดินทาง การพาณิชย์ และตลาด เป็นที่บูชาของพวกหัวขโมย และมีหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์คอยนำวิญญาณคนตายไปสู่ยมโลกด้วยจนได้รับนามกร อีกชื่อหนึ่งว่า เฮอร์มีสไซโคปอมปัส (Hermes Psychopompus) สรุปว่าการสื่อสารและการเป็นคนกลางใน กิจการทุกอย่างตกเป็นภาระของเธอ หรืออยู่ในความสอดส่องของเธอทั้งสิ้น ส่วนการที่เธอเป็นที่นับถือบูชาของพวกขโมยก็คง เนื่องจากขโมยวัวของอพอลโลที่เล่ามาแล้วนั่นเอง
สิ่งที่น่าแปลกประการหนึ่งในตัวของเฮอร์มีสก็คือ แม้ว่าเธอจะเป็นโอรสของซูสเทพบดีกับนาง เมยา (Maia) ซึ่ง เป็นอนุ แต่ทว่าทรงเป็นโอรสองค์เดียวของซูสที่ราชินีขี้หึงเทวีฮีร่าไม่เกลียดชัง กลับเรียกหาให้เฮอร์มีสอยู่ใกล้ ๆ ด้วยเสีย อีก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบุคลิกและนิสัยของเทพเฮอร์มีส ที่ชอบช่วยเหลือทุกคน ไม่ว่าจะเป็นทวยเทพด้วยกัน หรือมนุษย์ ธรรมดา อาทิเช่น ช่วยปราบยักษ์ร้ายฮิปโปไลตุล ช่วยองค์ซูสเทพบิดาให้พ้นจากพันธนาการของยักษ์ไทฟีอัส ช่วยอนุองค์ หนึ่งของเทพบิดา คือนางไอโอให้รอดตายด้วยการสังหารอาร์กัส อสูรพันตาของเจ้าแม่ฮีร่า และช่วยเหลือเลี้ยงดูไดโอนิซัส ในยามแรกถือกำเนิดขึ้นอีกด้วย ในด้านของมนุษย์นั้น เฮอร์มีสเคยช่วยเปอร์ซีอุสสังหารนางการ์กอนเทดูซ่า ช่วย เฮอร์คิวลิสในยามเดินทางสู่แดนบาดาล ช่วยโอดีสซีอัสให้รอดพ้นเงื้อมมือนางเซอร์ซี และช่วยให้เตเลมาดุสตามหาพ่อจน พบ เป็นต้น
เฮอร์มีสก็เช่นเดียวกับเทพบุตรองค์อื่น ๆ ตรงที่ไม่ยกย่องเทวีหรือสตรีนางใดเป็นชายา แต่สมัครรักใคร่ไปเรื่อย ๆ นับไม่ถ้วน ว่ากันว่าการที่เธอชอบเสด็จลงไป ในแดนบาดาลบ่อย ๆ นั้นเป็นเพราะหลงเสน่ห์ของเทวีเพอร์เซโฟนีผู้เป็นชายา ของฮาเดส จ้าวแดนบาดาล ยามขึ้นมาสู่ผืนดินเฮอร์มีสก็รักกับสตรีมนุษย์มากหน้า ที่เป็นที่ กล่าวขานได้แก่ อคาคัลลิส (Acacallis) ผู้เป็นธิดาของท้าวไมนอส แห่งครีต เมื่อขึ้นไปสู่สวรรค์โอลิมปัสก็เกิดจิตพิศวาส กับเทวีในทำนองรักข้ามรุ่น โดยเฉพาะกับ เฮเคตี และอโฟร์ไดที่เทวี
'Gray & Black' Mël ődy อ่านต่อ : http://writer.dek-d.com/praewtk/writer/viewlongc.php?id=515964&chapter=15#ixzz1HP0boYB6
ความคิดเห็น