ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่ ตอน ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่

    ลำดับตอนที่ #1 : พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่ ตอน ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.5K
      1
      13 พ.ย. 57

    ศิลปะบารอก (Baroque)

            เกิดเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 สืบต่อจากศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา และเสื่อมความนิยมประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ลักษณะของศิลปะบารอกเปลี่ยนแปลงจากศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา จากการแสดงอารมณ์สงบนิ่งแฝงปรัชญามาเป็นอารมณ์พลุ่งพล่าน ดิ้นรน เคลื่อนไหว หรือสร้างให้รูปทรงบิดผันจนเกินงามหรือประณีตบรรจงเกินไป และเน้นบรรยากาศโอ่อ่าหรูหราเป็นพิเศษ ศิลปะแนวนี้รุ่งเรืองมากในอิตาลีและกลุ่มประเทศคาทอลิก เช่น การตกแต่งอย่างหรูหราภายในพระราชวังแวร์ซาย

     ลักษณะเด่น คือ รูปแบบที่พัฒนาสืบต่อจากสถาปัตยกรรมเรอเนสซองส์ ด้วยการเพิ่มเติมโครงสร้างส่วนประกอบ และรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมเข้าไปอีก

     - จากรูปแบบความเรียบง่ายมั่นคง มาสู่ความแพรวพราวและดูเคลื่อนไหว มีการใช้โครงสร้างของเส้นโค้งและเส้นคด แสดงความเคลื่อนไหวมากขึ้น และส่วนประกอบมีความตื้นลึกหลายชั้น ฝาผนังแต่ละส่วนมีการเล่นมิติในพื้นที่ส่วนย่อย 

    จิตรกรรม

             มีการลวงตาด้วยเส้น สี แสง เงา และใช้หลักทัศนีวิสัย ทำให้ภาพมีลักษณะกินตา  เป็นภาพสามมิติ จิตรกรสำคัญ ได้แก่ มีเกลันเจโล ดา การาวัจโจ (Michelangelo da aravaggio ค.ศ.1573-1610) ชาวอิตาลี เรมบรันต์(Rembrandt ค.ศ.1606-1669) ชาวดัตช์ และพีเตอร์ พอล รูเบนส์(Peter Paul Rubens ค.ศ.1577-1644) ชาวเฟลมิช

    -  การเน้นย้ำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างแสง เงา เพื่อให้ดึงดูดความสนใจ และความประทับใจเมื่อเกิดการปะทะรับรู้ทางการมองเห็นอย่างฉับพลัน

    -  ผลงานที่เป็นภาพคนมักจะแสดงอารมณ์ความรู้สึกโลดแล่นราวคนจริง แสดงความโลดโผนของลีลาท่าทางมากกว่าการสื่อเพียงความงดงามของรูปร่างรูปทรง และความกลมกลืนของทัศนธาตุ

    -  ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือ ภาพคนนั้นจะแสดงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอย่างหรูหรา มีรอยพับอ่อนช้อยและปกคลุมร่างกายส่วนใหญ่ไว้ด้วยรอยยับดังกล่าว ส่วนฉากหลังจะแสดงถึงทัศนียภาพอันกว้างไกล

     

     

    สถาปัตยกรรม

           นิยมสร้างให้ดูโอ่อ่าเกินความจำเป็น ตัวอย่างเช่นสถาปัตยกรรมภายในพระราชวังแวร์ซายของฝรั่งเศส ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

    ดนตรี

    มีทั้งเพลงศาสนาและไม่ใช่เพลงศาสนา มีทั้งการร้องเดี่ยวและการร้องแบบอุปรากร (Orchestra)  ใช้นักดนตรีและนักแสดงจำนวนมาก มีการแต่งเพลงและใช้โน้ตเพลง และเปิดการแสดงดนตรีในห้องโถงใหญ่ๆ นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คลอดิโอ มอนเตเวอร์ดี (Claudio Montverdi .. 1567-1643) ชาวอิตาลี

    วรรณกรรม

    รรณกรรมแบบบารอกชอบเขียนเรื่องที่เกินจริง ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่17ได้ชื่อว่าเป็น ยุคทองแห่งวรรณกรรมยุโรป มีผลงานชิ้นเอกของนักประพันธ์ชาวอังกฤษและฝรั่งเศสเกิดขึ้นมากมาย ที่เด่นคือ งานเขียนทางปรัชญาการเมืองของ จอห์น ลอค (John Lock) และผลงานของนักเขียนบทละครเสียดสีสังคมชั้นสูง ชื่อ โมลิแอร์ (Moliere)


    ลัทธิคลาสสิกใหม่ (Neoclassicism)

            ได้รับความนิยมในยุโรปเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 อันเป็นยุคที่มนุษย์เปลี่ยนความรู้สึก ความเชื่อ และทัศนคติดั้งเดิมของตนอย่างสิ้นเชิง เนื่องมาจากความสำเร็จในการปฏิวัติและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ใน คริสต์ศตวรรษที่ 17 ทำให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในเหตุผล มีความสามารถ เฉลียงฉลาด รู้คุณค่าของความเป็นมนุษย์ เรียกว่า เป็นสมัยแห่งภูมิปัญญา

    สถาปัตยกรรม

            มีการฟื้นฟูศิลปะคลาสสิกมาปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์ในสมัยนั้น มีการสะท้อนเรื่องราวของอารยธรรมโบราณ แสดงความสง่างามของทรวดทรง การตกแต่งด้านหน้านิยมลวดลายนูนตื้นๆ ไม่หรูหรามากนัก (ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็น ลายทรงเรขาคณิต) แสดงความสง่าของทรวดทรง เน้นในความสมดุลกลมกลืนได้สัดส่วน สถาปนิกที่สำคัญ ได้แก่ โธมัส เจฟเฟอร์สัน



     

    ประติมากรรมและจิตรกรรม 

            ประติมากรรมคลาสสิกใหม่นิยมลอกเลียนแบบประติมากรรมของกรีก-โรมัน ส่วนจิตรกรรมเน้นในเรื่องเส้นมากกว่าการให้สี แสดงออกให้เห็นถึงความสง่างาม และยิ่งใหญ่ในความเรียบง่ายคล้ายคลึงกับผลงานของกรีกโบราณ  มีการใช้สีถูกต้องตามแสงเงา ไล่เฉดสีอ่อนแก่เพื่อให้เกิดความกลมกลืน มีสัดส่วนและ ความเด่นชัด 

     

    นาฏกรรม

            ในสมัยนี้ได้รับอิทธิพลจากการละครของกรีก ซึ่งต้องการแสดงความสมเหตุสมผลของเรื่อง และมุ่งมั่นที่จะสั่งสอนนอกเหนือจากการให้ความเพลิดเพลิน ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกที่เขียนบทละครคลาสสิก เมื่อประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17

    ดนตรี

    สมัยนี้นิยมเนื้อเรื่องที่แสดงออกด้านความคิดเห็น และในเรื่องของความเสมอภาคตามทัศนะของนักเขียนสมัยภูมิปัญญา นอกจากนี้ความคิดที่เชื่อมั่นในเหตุผล สติปัญญา และความสามารถของมนุษย์ ก็มีบทบาทที่ทำให้การแต่งเพลงมีอิสระมากขึ้น นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงสมัยคลาสสิกได้แก่ วอล์ฟกัง อะมาเดอุส โมสาร์ต(Wolfgang  Amadeus Mozart ค.ศ.1756-1791) เป็นชาวออสเตรเลีย




     

    ศิลปะจินตนิยม (Romanticism)

            ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะของโลกตะวันตกมีลักษณะเป็นแบบจินตนิยม ซึ่งเน้นอารมณ์ และความรู้ สึกภายใน เนื่องจากผู้คนเริ่มเบื่อหน่ายการใช้เหตุผล และกลับไปชื่นชมความงามของธรรมชาติ พอใจในเรื่องราวแปลกแตกต่างออกไปจากดินแดนต่างๆโดยไม่คำนึงถึงประเพณีนิยม พวกศิลปินจะสร้างงานโดยยึดถืออารมณ์ฝัน และจินตนาการของตนเป็นสำคัญ และไม่เห็นด้วยกับการสร้างงานที่ยึดถือหลักวิชาการ และเหตุผล

    สถาปัตยกรรม

    มีการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมในอดีตมาดัดแปลงตามจินตนาการ เพื่อให้เกิดผลทางด้านอารมณ์ ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบกอทิก

    ประติมากรรม

            ประติมากรรมจินตนิยมเน้นการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก และแนวความคิด  ประติมากรจินตนิยมที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส ได้แก่ ฟรองซัว  รูเด (Francois Rude ค.ศ.1784-1855) ผู้ปั้นประติมากรรมนูนสูง มาร์ซายแยส (Marseillaise) ประดับฐานอนุสาวรีย์ประตูชัย (Arch of Triumph ) ในกรุงปารีส

    จิตรกรรม

            มีการจัดองค์ประกอบด้วยสี เส้น แสงเงา และปริมาตรค่อนข้างรุนแรง มุ่งให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ คล้อยตามไปกับจินตนาการที่เต็มไปด้วยความเพ้อฝัน แปลกประหลาดตื่นเต้นเร้าใจ ความรุนแรง และความน่าหวาดเสียวสยดสยอง  จิตรกรคนสำคัญของฝรั่งเศส ได้แก่ เออชอน เดอลา-กรัวซ์ (Eugene Delacroix ค.ศ.1798-1863) ผู้เขียนภาพอิสรภาพนำประชาชน (Liberty Leading the People) เขียนจากเหตุการณ์นองเลือดเมื่อประชาชนลุกฮือขึ้นโค่นบัลลังก์ราชวงศ์บูร์บง ที่เกิดเมื่อ ค.ศ.1830

    ดนตรี

            ดนตรีแนวจินตนิยมมิได้แต่งขึ้นเพื่อให้ฟังเพลิดเพลินอย่างเดียว แต่มีจุดมุ่งหมายที่จะเร้าความรู้สึกทางจิตใจด้วย เช่น ความรู้สึกชาตินิยม โน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้คล้อยตาม นักแต่งเพลงจินตนิยมที่มีชื่อเสียงของโลกมีหลายคน เช่น ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven ..1770-1827)  ฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert .. 1840-1893) ชาวออสเตรเลีย เฟรเดอริก โชแปง (Frederic Chopin .. 1810-1849) นักเปียโนและนักแต่งเพลงชาวโปแลนด์ ปีเตอร์ อีลิช ไชคอฟสกี (Peter Ilich Tchaikovsky .. 1840-1893) นักแต่งเพลงเอกชาวรัสเซีย

    การละคร

            นิยมแสดงเรื่องที่ตัวเอกประสบปัญหา อุปสรรค หรือมีข้อขัดแย้งในชีวิตอย่างสาหัส ซึ่งดึงอารมณ์ของผู้ชมให้เอาใจช่วย การเขียนบทไม่เคร่งครัดในระเบียบแบบแผนอย่างละครคลาสสิค ละครแนวจินตนิยมมีกำเนิดในประเทศเยอรมนี บทละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ เรื่อง เฟาสต์ (Faust) ของโยฮีนน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ (Johann Wolggang von Goethe .. 1749-1832)


     

    วรรณกรรม

            เน้นจินตนาการและอารมณ์ และถือว่าความต้องการของผู้ประพันธ์สำคัญกว่าความต้องการของคนในสังคม บทร้อยกรองประเภทคีตกานท์ (lyric) ซึ่งเป็นโคลงสั้นๆแสดงอารมณ์ของกวี ได้รับความนิยมสูงสุดในสมัยนี้ กวีคนสำคัญของอังกฤษ ได้แก่ วิลเลียม เวิดส์เวิร์ท (William Wordsworth .. 1770-1850) และแซมวล เทย์เลอร์ โคลริดจ์ (Samuel Taylor Coleridge .. 1772-1834) กวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส คือ วิกเตอร์-มารี อูโก (Victor-Marie Hugo .. 1802-1885) นอกจาการแต่งโคลงแล้ว ยังแต่งบทละครและนวนิยายด้วย นวนิยายที่มีชื่อเสียงมาก คือ เหยื่อยอธรรม (Les Miserables)


    ลัทธิสัจนิยม ( Realisticism)

            ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา เป็นสมัยแห่งความเจริญทางเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์  การใช้ระบบเศรษฐกิจที่เป็นแบบทุนนิยมทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกรรมกรกับนายทุน ในขณะเดียวกันก็เกิดแนวความคิดแบบสังคมนิยม ซึ่งต่อต้านระบบนายทุน อย่างไรก็ตาม ชนชั้นกลางหรือนายทุนก็ยังสามารถรักษาสถานภาพและอำนาจในสังคมของตนไว้ได้การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้แนวความคิดศิลปะหันเหจากแนวจินตนิยมมาเป็นแนวสัจนิยม ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงของชีวิต

           ลักษณะเด่นของสัจนิยม

    คือ การแสดงให้เห็นสภาพที่เป็นจริงของสังคม เปิดโปงความชั่วร้ายของพวกนายทุนและความไม่ยุติธรรมที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้รับ มักจะเน้นชีวิตของพวกกรรมกรที่ทุกข์ยาก ชุมชนแออัด ความสับสนวุ่นวายในเมือง สภาพของคนที่ยากไร้ การเอารัดเอาเปรียบของกลุ่มคนที่มีฐานะดีกว่า พวกสัจนิยมไม่นิยมเรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องจินตนาการเพ้อฝัน และไม่มองโลกในแง่ดีเหมือนพวก จินตนิยม นอกจากนี้ยังเสนอผลงานอย่างตรงไปตรงมาและเป็นกลาง

    ด้านสถาปัตยกรรม

            เนื่องจากอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงมีการสร้างโรงงานขนาดใหญ่ อาคารสำนักงานที่สูงหลายๆชั้นกันมาก การก่อสร้างอาคารจะนำวัสดุที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ แทนที่จะใช้แค่อิฐ หิน และไม้อย่างแต่ก่อน อาคารส่วนใหญ่มีลักษณะเรียบง่าย ให้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด การออกแบบจึงต้องสอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอย

    ด้านประติมากรรม

            นิยมปั้นและหล่อรูปคนมีรูปร่างสัดส่วนเหมือนคนจริง ผิวของรูปปั้นหยาบและขรุขระ ไม่เนียนเรียบ เมื่อมีแสงส่องกระทบจะเห็นกล้ามเนื้อชัดเจน ศิลปินคนสำคัญ คือ โอกูสต์ โรแดง ( Auguste Rodin ค.ศ 1840-1917) ซึ่งเป็นประติมากรที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศสและของโลก ผลงานชิ้นเอก เช่น นักคิด (The thinker) หล่อด้วยสำริด
     

    จิตรกรรม

            มักสะท้อนสภาพชีวิตจริงของมนุษย์ในด้านลบ เช่น ชีวิตคนชั้นต่ำตามเมืองใหญ่ๆ ชีวิตชาวไร่ชาวนาที่ยากไร้ในชนบท ศิลปะสัจนิยมมีกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส จากการริเริ่มของกูสตาฟ กูร์เบ ( Gustave Courbet ค.ศ 1819-1877) ซึ่งยึดถือหลักการสร้างงานให้เหมือนจริงตามที่ตาเห็น

    ดนตรี

            สมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่20 มีการแต่งเพลงในรูปแบบใหม่ ไม่ยึดถือแบบเก่าที่เคยมีมา ตามแนวความคิดที่ว่าดนตรีไม่ใช่สิ่งที่หล่อออกมาเป็นแบบประเพณีหรือมีรูปแบบตายตัวแต่ดนตรีต้องประกอบด้วยทั้งสีสันและจังหวะ นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ โคลด เดอบูซี (Claude Debussy ค.ศ1862-1918) นักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศส  อีกอร์ สตราวินสกี ( Igor Stravinsky ค.ศ1882-1971) นักแต่งเพลงชาวรัสเซีย

    การละคร

    สะท้อนภาพสังคมหรือภาพชีวิตในแง่มุมต่างๆ การแสดงสมจริงเป็นธรรมชาติ บทเจรจาใช้ภาษาเหมาะแก่สภาพและฐานะของตัวละคร บทละครเขียนเป็นร้อยแก้ว ผู้บุกเบิกระครแนวใหม่นี้ คือ เฮนริก อิบเซน (Henrik Ibsen ค.ศ1828-1906) นักแต่งบทละครชาวนอร์เวย์ ผู้แต่งเรื่อง บ้านตุ๊กตา จอร์จ เบอร์นาร์ด ซอว์ (George Bernard Show ค.ศ1856-1950) นักแต่งบทละครชาวอังกฤษ เรื่องเอกของซอว์ได้แก่ อามส์แอนด์เดอะแมน (Arms and the man)

     

    วรรณกรรม

            นักเขียนสนใจข้อเท็จจริงมากกว่าอารมณ์และความรู้สึก โดยพยายามสะท้อนภาพการต่อสู้ดิ้นรนของมนุษย์ในสังคม ความเห็นแก่ตัว การแข่งขันเอารัดเอาเปรียบ ความยากจน และชีวิตที่ไร้ความหวัง นักประพันธ์และนักเขียนมักบรรยายสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของกรรมกรตามชุนชนแออัด ความชั่วร้ายจอมปลอมของชนชั้นกลาง มนุษย์ที่ตกเป็นเหยื่อของโชคชะตา

            วรรณคดีแนวสัจนิยมเกิดขึ้นก่อนในประเทศฝรั่งเศส นักเขียนนวนิยายที่มีอิทธิพล ได้แก่ โอเนเร เดอ บัลซัก (Honore de Baizac ค.ศ 1799-1850) และกูสตาฟว์ โฟลแบร์ ( Gustav Flaubert ค.ศ 1821-1880) ทั้งสองพยายามสะท้อนสภาพสังคมอย่างตรงไปตรงมา  ในอังกฤษมีนักเขียนนวนิยายแนวสัจนิยมหลายคน ที่รู้จักกันดีคือ ชาลส์ ดิกเกนส์ (Charies Dickens ค.ศ 1812-1870) เขียนเรื่อง โอลิเวอร์ ทวิสต์ (Oliver Twist) ซึ่งชี้ให้เห็นสภาพที่น่าสงสารของคนจนและชนชั้นต่ำ งานเขียนของติกเกนส์มีส่วนทำให้เกิดการปฏิรูปสังคมในอังกฤษในเวลาต่อมา
     








     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×