ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ

    ลำดับตอนที่ #3 : ตอนที่ 3 : สาเหตุของความขัดแย้ง : ความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ

    • อัปเดตล่าสุด 4 พ.ย. 53




    ผู้นำของรัฐบาลที่ดีจะต้องรักษาความมั่นคงให้เกิดขึ้นในรัฐ  และทำให้ประชาชนของตนได้อยู่ดีกินดี  
    โดยทั่วไปแล้วประเทศต่างๆย่อมมีความอุดมสมบูรณ์และมีทรัพยากรที่ส่งเสริมเศรษฐกิจไม่เท่าเทียมกัน  
    จึงทำให้มีการใช้กำลังเข้าบุกรุก ขับไล่  และละเมิดอธิปไตยของประเทศอื่น
    เพื่อตนจะได้เข้าครอบครองความอุดมสมบูรณ์นั้น

    ระบบเศรษฐกิจอาจจัดจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆได้  3  ระบบ  คือ 

    1.  ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม( Free enterprise economic system)
    ได้แก่  ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม  (capitalism)  และระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด 
    (market economic system) ผู้บริโภค  ผู้ผลิตมีอิสระในการเลือกอย่างเต็มที่ 
    รัฐบาลจะมีบทบาทจำกัดเฉพาะส่วนของการทำหน้าที่ให้บริการทางสังคม 
    เช่น การออกกฎหมาย การป้องกันประเทศ การสร้างโรงเรียน การสร้างถนน 
    การสร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ  การรักษาความสงบเรียบร้อย 
    และการสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน   

    2.  ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม(  socialistic  economic  system  )
    หรือการวางแผนจากส่วนกลาง หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลมีกรรมสิทธิ์หรือเป็นเจ้าของ
    ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ รายได้จากการที่รัฐเข้าดำเนินกิจการเหล่านี้จะนำไปใช้
    ช่วยเหลือบุคคลที่มีรายได้น้อยโดยผ่านการจัดสวัสดิการเพื่อส่วนรวม 
    ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมอาจมีได้หลายรูปแบบพิจารณาได้จากลักษณะของการที่รัฐบาล
    เข้าถือกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรของชาติ ถ้าเป็นสังคมนิยมอย่างเข้มหรือระบบคอมมิวนิสต์ 
    รัฐบาลอาจเข้าถือกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรทั้งหมด แต่ถ้าเป็นสังคมนิยมอย่างอ่อน 
    รัฐบาลอาจเข้าถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรและปัจจัยการผลิตบางชนิดได้ 
    ปัจจุบันไม่มีประเทศใดใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

    3.  ระบบเศรษฐกิจแบบผสม( Mixed economy system) หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะ
    ส่วนหนึ่งเป็นแบบเสรีนิยมและอีกส่วนหนึ่งเป็นแบบสังคมนิยม  ในส่วนที่เป็นแบบทุนนิยมเอกชนมีกรรมสิทธิ์
    ในทรัพย์สิน ธุรกิจบางอย่างที่เอกชน เป็นผู้ประกอบการก็มีลักษณะแบบเสรีนิยม  โดยทั่วไปกลไกการทำงาน
    เป็นระบบการตลาดหรือราคา ส่วนที่เป็นแบบสังคมนิยมนั้น  รัฐบาลจะควบคุมหรือดำเนินกิจการ
    ในธุรกิจบางอย่างที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชน  เช่น  สาธารณูปโภค  อุตสาหกรรมหลัก  
    หรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องลงทุนเป็นจำนวนมาก  ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องเข้าดำเนินการเอง  เนื่องจาก
    หาเอกชนลงทุนเองได้ยาก  เสี่ยงต่อการขาดทุน แต่จำเป็นต้องมี  เพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีพ 
    เหตุที่รัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องกับกับธุรกิจเอกชนก็เพื่อต้องการขจัดปัญหาการผูกขาด นอกจากนี้อุดมการณ์
    ทางเศรษฐกิจที่ผูกผันกับด้านการเมืองของสองอภิมหาอำนาจยังมีผลทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ
    ขึ้นได้ กล่าวคือ  ฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมมีอุดมการณ์ที่จะขจัดและทำลายล้างระบบ
    และสถาบันเก่าและต้องการเปลี่ยนแปลงสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศที่เคยทำไว้ ในอดีตที่คิดว่าตน
    ไม่ได้รับความยุติธรรม จึงพยายามสร้างความขัดแย้งและเงื่อนไขสงคราม  จนกระทั่งสามารถชนะอุปสรรค
    ทั้งหลายได้ ส่วนฝ่ายเสรีประชาธิปไตยยึดระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีอุดมการณ์ว่า  รัฐบาลของทุกประเทศ
    จะต้องมีศีลธรรมและมีเหตุผลในการรักษาผลประโยชน์ของมนุษยชาติร่วมกัน
    จึงได้ร่วมมือกันสร้างความยุติธรรม เพื่อให้เกิดสันติภาพขึ้น  จากอุดมการณ์ที่แตกต่างกันนี้จึงทำให้เกิด
    ความตึงเครียดและความขัดแย้งระหว่างประเทศขึ้น

    ในปัจจุบัน  การแข่งขันทางเศรษฐกิจในสังคมโลกมีความรุนแรงมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการค้า
    ประเทศต่างๆพยายามขยายรายได้จากการส่งออกและการลงทุน  แต่ขณะเดียวกันก็กีดกันการนำเข้าสินค้า
    จากต่างประเทศในรูปแบบต่างๆ  ตลอดจนการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจไปยังประเทศอื่นๆ
    จนนำไปสู่ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×