ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ

    ลำดับตอนที่ #2 : ตอนที่ 2 : สาเหตุของความขัดแย้ง : ความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง

    • อัปเดตล่าสุด 4 พ.ย. 53





    อุดมการณ์ หมายถึง  ความเชื่อหรือแนวคิดที่ถือว่าเป็นมาตรฐานแห่งความจริงทางใดทางหนึ่งที่มนุษย์
    ถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตของตนเอง โดยจะมีความแตกต่างออกไปตามประวัติศาสตร์  ของมนุษยชาติและสภาพสังคม

    ความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง

    1. ลัทธิทางการเมือง

    หมายถึง แนวคิดอย่างเป็นระบบที่รัฐนำมาใช้เป็นนโยบายสำหรับดำเนิน การบริหารประเทศ 
    มีหลายประเภทจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม

      1.) ลัทธิการเมืองแบบอำนาจนิยม
    เน้นถึงอำนาจของรัฐเป็นสำคัญ ให้ความสำคัญต่อเสรีภาพของบุคคลน้อย ได้แก่ สังคมนิยม คอมมิวนิสต์  ฟาสซิสต์ เป็นลัทธิการเมืองที่เบนิโต   มุสโสลินี นายกรัฐมนตรีของอิตาลีนำมาบริหารประเทศ  นาซี หรือพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมันซึ่งฮิตเลอร์นำมาใช้ในระยะก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

      2.) ลัทธิการเมืองแบบเสรีนิยม
    เน้นถึงเสรีภาพของแต่ละบุคคล โดยที่รัฐมีอำนาจอย่างจำกัด ได้แก่ ระบบการปกครองเสรีนิยมประชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่ให้ประชาชนปกครองตนเองโดยผ่านผู้แทนและสามารถตั้งและควบคุมรัฐบาลได้ บางประเทศมีการปกครองระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตย  ซึ่งรัฐสามารถเข้าแทรกแซงวิถีชีวิตและกิจกรรมของประชากรบางด้าน เพื่อกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมในสังคม
    แนวความคิดเสรีนิยมที่เป็นแบบอุดมคติ คือ ลัทธิเสรีนิยมที่มีลักษณะอนุรักษ์นิยม และประโยชน์นิยม ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่รัฐไม่มีอำนาจเลย

    2.ระบอบการเมืองที่สำคัญ

      1.) ระบอบประชาธิปไตย หมายถึง ระบอบทางการเมือง ที่ให้ประชาชนมีโอกาสปกครองตนเอง หรือหมายถึงการปกครองโดยประชาชน ระบอบประชาธิปไตยมีหลักการสำคัญคือทุกคนมีคุณค่า และเท่าเทียมกัน มีความสามารถและมีเหตุผลในการดำเนินการปกครองตนเอง และทุกคนมีเสรีภาพและหลักประกัน ในการมีและการใช้เสรีภาพ ลักษณะของระบอบประชาธิปไตยมีการแบ่งแยกอำนาจการปกครองเป็นอำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ โดยยึดถือกฎหมายที่ทุกฝ่ายในสังคมตกลงร่วมกันและบัญญัติออกมาเป็นรัฐธรรมนูญ

      2.) ระบอบเผด็จการ  หมายถึง  การปกครองที่ใช้อำนาจเป็นสำคัญ รัฐบาลจะเข้าควบคุมสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน และไม่ยอมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง สังคมที่ปกครองด้วยระบอบนี้จะถูกกีดกันทางการเมือง ถูกสกัดกั้นความคิดและการกระทำทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประชาชนเกิดความไม่แน่ใจในสถานภาพของตนเอง ผู้นำของระบอบเผด็จการจะปลูกฝังค่านิยมต่างๆให้แก่ประชาชน เพื่อให้เชื่อว่าผู้นำคือผู้ที่ถูกต้องเสมอ ประชาชนจึงไม่มีสิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์หรือคัดค้านสิ่งที่ตนไม่เห็นด้วยเพราะจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×