ลำดับตอนที่ #11
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #11 : หนังสือที่ใช้ในการอ่านสอบ :: ทุกวิชา [99.9%]
อาหะะ ะ ะ ะ ตามรีเควส ฮ่าๆๆ
วิชาทั้งหมดที่พี่จะเขียน
ก็มี เลข อังกฤษ เคมี ชีวะ ฟิสิกส์ ไทย สังคม
อ่าหนังสือที่พี่ใช้อ่านนั้น มีทั้งที่พี่เรียนกวดวิชาเอง
ทั้งที่พี่ชายของพี่ไปเรียนกวดวิชามา(ซึ่งเป็นส่วนใหญ่)
และหนังสือเสริม ที่ก็สำคัญไม่แพ้กัน
คือหนังสือเสริมในที่นี่เกือบทั้งหมดก็เป็นของพี่ชายของพี่อีกเหมือนกันอ่ะ
สรุปพี่ซื้ออาไรมาใหม่มั่งมั้ยเนี่ย แป่วว ว ประหยัดไว้อ่าดี คริคริ
เรามาเริ่มที่วิชาสุดเลิฟของใครหลายคน
และวิชาแสนเกลียดของใครหลายคนดีกว่า า
อิอิอินั่นคือ
คณิตศาสตร์..นั่นเอง
คือปกติแล้วก่อนที่เราจะเริ่มทำข้อสอบอะไรก็ตาม
เราก็ต้องเข้าใจในส่วนเนื้อหาให้หมดซะก่อน อะป้ะอะป้ะ ><!
ในส่วนของเนื้อหานั้นพี่อ่านหนังสือเลขของเดอะเบรน
ซึ่งพี่ชอบน้ะ หนังสือเค้าเจ๋งดีอะ
เล่มเล็กกว่าเอสี่พอสมควร ตัวหนังสือน่ารัก น่าอ่านม๊ากมาก
คือเวลาเปิดแล้วรู้สึกอยากอ่านอ่ะ มีวิธีจำแบบศัพท์ตลกๆด้วยอะ
แต่ว่าหนังสือไม่ได้มีขายทั่วไปน้ะ ก้อต้องเรียนพิเศษของที่นี่อ่า
และทั้งหมดนี่ก็คือหนังสือของพี่ชายพี่ (อีกแล้ว คิคิ)
โฉมหน้าหนังสือเลขเดอะเบรน (ของจริงมีหลายเล่มกว่านี้น้ะ)
และก็เนื่องจากว่าพี่เรียนพิเศษเลขของ อ.อรรณพอยู่สองเทอม คือ ม.5 เทอม 1 และ 2
พี่ก็เลยอ่านทั้งเดอะเบรนและอ.อรรณพซะเลย
โฉมหน้าหนังสืออ.อรรโน้บ อิอิ
ซึ่งพี่ว่าดีทั้งคู่นะ ทั้งเดอะเบรนและอ.อรรณพอะ
คือดีคนละแบบ อ.อรรณพจะออกแนวจริงจังกว่า ได้ความรู้ละเอียดกว่า
แต่ถ้าเป็นเดอะเบรนจะออกแนวเนื้อหาน้อยกว่า แต่จะได้แก่นหลักของเรื่อง อาจจะไม่ละเอียดเท่า
แต่มีมุกแทรก มีวิธีจำขำๆด้วยอ่ะ พี่ว่าเจ๋งไม่แพ้กันนะ
คราวนี้เรามาดูหนังสือที่หาซื้อได้ตามร้านค้าชั้นนำทั่วไปมั่ง
และนี่คือ คัมภีร์ ENTRANCE คณิตศาสตร์
เล่มบักฟา...ยยยยย เลยทีเดียว
สุทธิแล้ว 1000 กว่าาหน้า
ซึ่งพี่อ่านทุกหน้า (ไม่ได้โม้ จิงๆน้ะ อิอิ)
เป็นหนังสือที่ดี คือจุดสำคัญของแต่ละเรื่องเค้าเน้นดีนะ
แต่ในหลายประเด็นย่อยๆ ก็ออกจะละเอียดเกินไปสักหน่อย
แบบบางทีเราอาจจะไม่ต้องรู้เนื้อหาละเอียดขนาดนั้นน่ะ
ก็คือถ้าจะอ่านก็อาจจะต้องเสียเวลาสกรีนนิดนึงว่าเรื่องไหนไม่ค่อยสำคัญ
แต่โดยรวม เจ๋งดีนะ !
เอ่อ เล่มนี้จริงๆแล้วไม่จำเป็นมากนัก เพราะดูจากด้านบนแล้วเฉยๆป้ะ
แต่ด้านข้างนี่โคดจะหนาเลย
เหมาะสำหรับคนที่พื้นฐานไม่ค่อยดี
อย่างเล่มนี้อ่ะมีเนื้อหาตอน ม.6 เทอมปลายเยอะ
ซึ่งก็คือเรื่องความน่าจะเป็นที่พี่ไม่ค่อยจะรู้เรื่อง
พี่ก็มานั่งทำอ่า โจทย์เยอะดี ก็โอเคนะ
แต่ถ้าน้องไม่มีปัญหากับเรื่องไหนเป็นพิเศษ
ก็ไม่จำเป็นมากอ่า
ตะลุยโจทย์ ม.4 5 6
อย่างเล่มซ้ายพี่ทำเกือบหมดเล่ม ในขณะที่เล่มขวาทำไปไม่เยอะ
เล่มขวาพี่ว่า โจทย์ออกจะยากเกินไปสักหน่อย
เล่มขวาเนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นโจทย์เอนทรานซ์จากปี 41 42 43 ซึ่งยากเป็นบร้าเยยอ้ะ
เล่มซ้ายก็คล้ายๆรวมโจทย์เอเนต ซึ่งก็คือโจทย์เอนทรานน่ะแหละ ทั่ว ๆ ไป
พี่ทำเกือบหมดเล่ม และมันก็ช่วยได้มากจริง ๆ
แต่นแต๊นนน และนี่คือหนังสือที่ทุกคนควรจะมีไว้ในครอบครอง
15 พ.ศ. นั่นเอง 15 พ.ศ.ก็คือข้อสอบเอนทรานซ์ของปีที่ผ่านๆๆๆมา
ไม่จำเป็นนะว่าจะต้องมีข้อสอบแค่ 15 ปี อาจจะมีมากกว่านั้นก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่พี่ก็เห็นว่ามีมากกว่านั้นนะ
เป็นหนังสือที่ควรทำให้หมดเล่มเป็นอย่างมาก
เพราะมันจะทำให้เรารู้แนวทางว่าโจทย์ที่นำมาออกข้อสอบเอนทรานซ์นั้นมีแนวโน้มข้้อสอบเป็นยังไง
และก็ทำให้เราจับจุดได้ด้วยว่าเราควรอ่านตรงไหนเพิ่ม หรือตรงไหนไม่จำเป็นต้องอ่าน
เออพี่อยากจะแนะนำเพิ่ม เวลาซื้อ 15 พ.ศ.อะ
อยากให้เลือกหนังสือที่มีสถิติคะแนนของทุกปีมาด้วย
คือข้อสอบในแต่ละปีอาจจะมีมาตรฐานไม่เท่ากัน
ซึ่งสิบห้าพ.ศ.บางเล่มของพี่ัเค้าใช้สถิติคะแนนเฉลี่ยเป็นตารางเดียวเลยอ่ะ
อ่านแล้วงงป้ะ ? คนอธิบายก็งงเหมือนกัน เดียวพี่มีรูปให้ดูในสิบห้าพ.ศ.ของชีวะนะ
มาถึงวิชาต่อไปกันมั่งดีก่า
ชีววิทยา
วิชาที่เต็มไปด้วยการจำ
>O<!! !
และหนังสือที่ภูมิใจนำเสนอที่สุด ก็คือ ตะแด้น แต๊น แต๊น
หนังสือชีววิทยาเล่มนี้ นี่เองงง
คุ้นๆป้ะ ? พี่เห็นน้อง ๆ ม.5 ม.4 เค้ามีกันทุกคนเรยว่ะ
ยังกะแบบเรียนแน่ะ 555555555555
แต่ตอนนี้หนังสือเป็นสีน้ำเงินหมดแล้วงะ
คือเล่มนี้พี่ซื้อตั้งแต่ตอนหนังสือเพิ่งออกใหม่ๆ ก็เลยเป็นสีแดงเลือดหมู
เป็นหนังสือที่ คุณพระคุณเจ้าช่วย
เจ๋งว่ะนาย +++ เจ๋งสุดยอด
พี่ไม่ได้ค่าโฆษณาแต่อย่างใด
แต่จะบอกว่าเล่มนี้เล่มเดียว ทำให้พี่ทำข้อสอบชีววิทยากสพท.ได้เยอะมากกกกก
เยอะกว่าเคมีกับฟิสิกส์ซะอีก
เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่า สมควรแก่การนำไปชาบูชาบูเป็นอย่างยิ่ง
กรี๊ดดดดดดด
ตอนน้องเปิดหนังสือดู น้องอาจจะรู้สึกว่าหนังสือเค้ามีเนื้อหาน้อยจัง
ตอนแรกพี่ก็เคยคิดอย่างนั้นน้ะ แต่จากการวิจัยของพี่ผ่านกระบวนการซับซ้อนมากมาย
พี่พบว่า หนังสือเล่มนี้ เค้าย่อส่วนที่สำคัญและควรจำมาให้เราหมดแล้ว
หน้าที่ของเราก็คือ จำ จำ จำ จำให้หมดทุกบรรทัดทุกรูป เน้น ทุกบรรทัดทุกรูป
และทุกแบบฝึกหัดด้านหลังควรทำให้หมดบวกจำให้หมดเป็นอย่างมาก
คือตอนพี่อ่านก่อนไปสอบอ่ะ พี่แทบจะกลืนเล่มนี้เข้าไปเลยทีเดียว
แต่ก็ไม่ค่อยอร่อยเท่าไหร่นะ ( เอ๊ะ ยังไง 5555)
อันนี้ก็คือภายในหนังสือคร่าวๆ
อ่า พี่อยากจะบอกว่าเวลาไฮไลท์หรือขีดเส้นใต้น่ะ
การที่เรามีสีหลายสี มันก็ดีน้ะ
แต่น้องเคยไหมเวลาเรามีสีมากเกิน แล้วเราก็นั่งเปลี่ยนสีทุกครั้งที่เราขึ้นย่อหน้าใหม่หรือเปลี่ยนเรื่อง
มันทำให้เราจดจ่ออยู่กับความงดงามของสี มากกว่าเนื้อหาที่ควรจะจำ
ในตอนหลังเวลาพี่ขีดพี่เลยจะใช้อย่างมากสามสี
ส่วนใหญ่จะเป็นสีเดียวหรือสองสี อย่างภาพซ้ายสุดพี่ใช้สีเดียว
อันไหนสำคัญก็วงไว้เลย
ส่วนรูปกลางก็ีมีสองสี อันไหนสำคัญก็วงเหมือนกัน เวลากลับมาอ่านจะได้เห็นชัดๆว่าสำคัญ
ส่วนขวาสุดนั้นเป็นแบบฝึกหัด เวลาพี่ทำข้อไหนผิดพี่ก็จะวงไว้
ปกติพี่จะทำทีละสิบข้อหรือยี่สิบข้อ จากนั้นก็มาตรวจเช็ค
พอเช็คเสร็จพี่ก็จะวงข้อที่ผิดไว้ แล้วก็มานั่งดูว่า เออ ทำไมถึงผิดหว่า
แล้วพี่ก็จะจำตอนนั้นทันทีว่าที่ถูกน่ะเป็นยังไง
ส่วนข้อที่ผิดพี่ก้วงไว้แบบนั้น ไม่ได้้มาลบทิ้ง
เพราะในตอนหลังเวลามาเปิดซ้ำพี่จะได้จำได้ว่าพี่เคยผิดตรงนี้ๆๆๆ น้ะ
และนี่ก็คือหนังสือคอร์ส ICU ของนพ.พิชญ์หรือเจ้บีมนั่นเอง
อันนี้พี่ก็ไม่ได้เรียนเอง (อีกแล้ว ของพี่ชายหมดเลย)
คือ ของเจ้บีมอะ จริงๆหนังสือเค้าดีมากนะ
แต่มันเหมาะที่จะไปนั่งเรียนแล้วเข้าใจ มากกว่าจะมานั่งอ่านจากหนังสือของเค้าด้วยตัวเองน่ะ
เพราะฟ้อนท์กับรูปภาพนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจริงๆ -_- ทำให้อ่านยากมาก
ในส่วนของหนังสือเจ๊บีม พี่ก็อ่านนะ แต่อ่านแล้วจำไม่ค่อยได้
อาจจะเพราะเนื้อหาละเอียดเกินไปด้วยส่วนนึง ทำให้พี่จับจุดไม่ค่อยถูก
แต่ปกติเวลาเรียนกับเค้าเค้าจะพูดให้เข้าใจดีนะว่าตรงไหนควรจำไม่ควรจำ
จากการที่เคยเรียนกับเค้ามาคอร์สนึง พี่ว่าเค้าเจ๋งดีนะ
แต่ถ้าอยากเป็นสุดยอดนักอ่านเองแบบพี่ เล่มบนโลดเลย
มาถึงเล่มที่สำคัญที่สุดที่ควรทำให้หมดเล่ม
และนี่คือ 15 พ.ศ. ชีววิทยา ค่ะ
น้องอาจจะงง อ่าว ไม่เห็นมีคำว่า 15 พ.ศ.เลย
เอาเป็นว่าเป็นหนังสือข้อสอบเก่าน่ะ
ทางขวาก็คือตารางค่าสถิติคะแนนแบบที่พี่บอกอ่ะ
ช่องแถบฟ้าๆๆ มันจะเป็น 0-10 11-20 22-30
ส่วนด้านบนจะเป็นปี 43 44 45 46
ซึ่งบางเล่มเค้าไม่มีมาแจกแจงปีอย่างนี้
แต่พี่ว่าสำคัญมาก เวลาเลือกซื้อ คือข้อสอบแต่ละเล่มก็เหมือนกันอยู่แล้ว
ก็เลือกเล่มที่มีตารางอย่างนี้ดีกว่านะ
เวลาทำข้อสอบเก่าเสร็จ จะได้เห็นภาพอันดับที่แท้จริงของตัวเอง
ที่ใกล้เคียงกับของจริงมากกว่าตารางที่เค้าเฉลี่ยคะแนนมาแล้วน่ะ
________________" หลังจากผ่านชีวะมาแล้วเราก็มาเจอกับวิชาในหมวดวิทย์วิชาต่อไป
นั่นคือ
เคมี
โอวววววว ว...
เป็นวิชาสุดหินหากไม่เข้าใจและไม่มีพื้นฐานม.4 ที่แน่นพอ
แต่จะเป็นวิชาที่ง่ายและน่าทำ ถ้ามีพฐ.ที่ดี
นั่นละนะ..
มาดูหนังสือที่พี่อ่านดีกว่า
ของจริงมีหลายเล่มกว่านี้พอสมควร
หลายคนก็คงจะคุ้นกับหนังสือรูปร่างแบบนี้ เคมีอาจารย์อุ๊นั่นเอง
อันนี้เป็นกวดวิชาอย่างเดียวที่พี่เรียนเกือบหมดทุกคอร์ส
ถึงเวลาสอนอาจารย์อุ๊อาจจะไม่มีมุขตลกมากเหมือนหลายๆที่ แต่พี่ว่าอาจารย์อุ๊เค้าสอนดีอ่า
เป็นครูสอนพิเศษที่ให้ความรู้สึกว่าเค้าเป็น ครู จริงๆ
ก็เพราะเค้าเคยเป็นครูมาก่อนด้วยล่ะ
เวลาเรียนก็อบอุ่นดีๆ (นี่ตรูโฆษณาที่เรียนพิเศษปะฟะ)
ก็โอเคอ่ะ
เนื้อหาส่วนใหญ่ของเคมีพี่อ่านจากอาจารย์อุ๊หมด
คัมภีร์ ENTRANCE เคมี
มานมาอีกแล้วค่ะท่านผู้ช๊มมมมมมม
คัมภีร์สุดโหดความหนาเกือบพัน หรือพันหว่า ของอ.สำราญ
เป็นหนังสือที่หาซื้อได้ทั่วไป คิดว่าน้อง ๆ คงเคยเห็น
และพี่ว่าหนังสือนี้ดีนะ ในหลายประเด็นก็ละเอียดดีอะ
แบบไม่ใช่ละเอียดเกินไป อ่านแล้วรู้เรื่องดี
โดยส่วนตัวพี่อ่านเป็นบางเรื่องน่ะ อย่างเคมีอินทรีย์ ไอโซเมอร์ พี่ก็อ่านจากเล่มนี้
ถ้าอยากให้เทียบระหว่างอาจารย์อุ๊กับเล่มนี้
พี่ไม่อยากตอบแบบนางงามเยยอ่ะ
แต่จะบอกว่า
ดีพอๆกันเลย แล้วแต่คนชอบค๊าา า ^O^
โฉมหน้าสิบห้าพ.ศ.เคมี หรือข้อสอบ ENTRANCE เคมีนั่นเอง
ควรมี และควรทำให้เยอะๆๆๆเป็นอย่างมาก
ไม่ต้องกลัวจำข้อสอบได้
ทางที่ดีจำข้อสอบไปเลยยย
และก็มาพบกับวิชาวิทย์ตัวสุดท้ายยย อ๊ายอ๊ายย
นั่นก็คือ
ฟิสิกส์
PHYSICS~
วิชาที่ว่าด้วยแขนกลคนมหัศจรรย์ (?)
ห้ะ (?) งง เอาเป็นว่าเข้าเรื่องเลยละกัน 55555
ในส่วนเนื้อหาของฟิสิกส์นั้นพี่อ่านจากหนังสือแอพพลายเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งหนังสือส่วนใหญ่ไม่ใช่ของพี่นะคะ
ของจริงมีเยอะกว่านี้พอสมควร
แอพพลายมีข้อดีที่หนังสือเล่มบางเบา
แล้วก็สรุปประเด็นหลักสำคัญของเรื่องชัดเจนดี
แต่คนที่เรียนอาจจะต้องหัวเร็วนิดนึงอะ
เพราะเวลาสอนเค้าจะให้ประเด็นใหญ่ๆมา
แต่น้องต้องมีความสามารถในการประยุกต์ให้เป็น
คือเค้าจะไม่ได้มานั่งบอกละเอียดเว่อร์ๆนักว่า หัวข้ออย่างนี้จะสรุปเป็นประเด็นย่อยๆอะไรได้บ้าง
เพราะพี่เห็นบางที่เค้าแยกประเด็นย่อยแบบว่ายิบมากอะ
ซึ่งพี่ว่าแล้วแต่คนนะว่าจะชอบเรียนที่ไหน
เดี๋ยวนี้พี่ก็เห็นมีที่เรียนพิเศษฟิสิกส์หลายที่
ถ้าอยากจะเรียนก็ลองไปดูหลายๆที่แล้วก็หาที่ที่เหมาะกะน้องเน้อ
ส่วนตัวพี่ชอบที่นี่น้ะ ^O^
มีตะลุยโจทย์เลข A-net ไปแล้วก็ต้องมีตะลุยโจทย์ ฟิสิกส์ A-net สินะ
ตะลุยโจทย์ฟิสิกส์นั้นมีจำนวนข้อที่มากกว่าตะลุยโจทย์เลขมาก
ในส่วนตะลุยโจทย์เลขนั้นเฉลี่ยจะมีจำนวนข้อ 40 ข้อต่อหนึ่งบทซึ่งเหมือนคัดสรรมาแล้วว่าเป็นโจทย์ที่จะออกเอนท์
(ซึ่งจริงๆตะลุยโจทย์พวกนี้ก็เหมือนการนำข้อสอบเอนท์มาแยกเรื่องแล้วก็รวมเล่มให้เราน่ะ)
ในส่วนตะลุยโจทย์ฟิสิกส์นั้นจะมีจำนวนข้อเฉลี่ย 100 ข้อต่อหนึ่งบท
ซึ่งมีถึง 20 บท อุแม่จ้าว
ถ้าทำหมดเล่มนี่คงต้องไปนอนหยอดน้ำเกลืออ่า
พี่แนะนำว่าให้หาหนังสือเนื้อหาดีๆอ่านสักเล่ม แล้วทำโจทย์ในแต่ละเล่มให้เข้าใจ
ถ้าบทไหนไม่เข้าใจจริงๆถึงจะมาทำตะลุยโจทย์เล่มนี้ดีกว่า
คือตะลุยโจทย์ฟิสิกส์ต่างจากเลขตรงที่
ตะลุยโจทย์ฟิสิกส์อาจจะไม่ใช่โจทย์จากเอนทรานซ์เสมอไปเหมือนกับตะลุยโจทย์เลข
แต่เป็นเหมือนการรวมโจทย์จากที่ไหนไม่รู้มาเยอะๆ
ซึ่งพี่ก็ว่าดีอะ ถ้ามีเวลามากพอ
แล้วก็โจทย์ในนี้ส่วนมากจะเป็นโจทย์ที่แทนค่าแล้วออกเลย
โจทย์ยากๆจะอยู่ข้อหลังๆ คือถ้าน้องซื้อมาน้องจะเห็นอะว่าโจทย์มันเรียงตามเนื้อเรื่องย่อยๆในนั้น
อย่างสมมติเรื่องคลื่นงี้ มี 100 ข้ออะ ในร้อยข้อนั้น เช่น
25 ข้อแรกเป็นเรื่องคลื่นเสียง ข้อยากๆจะอยู่ประมาณข้อ 20-25
ข้อ 26-50 เป็นคลื่นแสง ข้อที่ยากๆจะอยู่ประมาณข้อ 46-50 อะ
ทั้งหมดนี้สมมตินะ นึกภาพออกแล้วป้ะ
นี่ก็คือคัมภีร์สุดหนาอีกเล่มเช่นกัน
เป็นหนังสือเนื้อหาที่พี่ว่าก็โอเคอ่า
พี่มาใช้อ่านมากๆเรื่อง ฟิสิกส์อะตอมกับฟิสิกส์นิวเคลียร์
ก็ใช้ได้น้ะ อาจจะมีบางตอนละเอียดไปนิดนึง
ปิดท้ายด้วย 15 พ.ศ. ฟิสิกส์เช่นเคยย
อ่า สำหรับฟิสิกส์พี่ติงไว้หน่อยว่าข้อสอบอาจจะง่ายไปนิดนึง
(?) ไม่ใช่เพราะว่าพี่ถนัดวิชานี้
แต่เป็นเพราะโจทย์ส่วนใหญ่เป็นการแทนค่าตอนเดียวแล้วจบ
ซึ่งโจทย์สอบหมอยากกว่านั้นอะ
พี่ว่าถ้าอยากทำคะแนนดีในส่วนของฟิสิกส์นั้น
ลองไปหาอ่านในหนังสือ พฐ.วิศวะ เพิ่มก็ดีนะ
แต่สำหรับพี่ พี่อ่านคัมภีร์ฟิสิกส์บวกกับแอพพลายพี่ว่าก็พอน่ะ
เวลาอ่านฟิสิกส์น่ะ ไม่ใช่อ่านแต่เนื้อหานะ น้องต้องอ่านไปทำโจทย์ไปด้วย
เพราะพี่เคยอ่านเนื้อหาเฉย ๆ พร้อมกับอ่านโจทย์แล้วจำไม่ค่อยได้อะ
อ่านไปทำไปอะเวิร์คสุด ๆ
อ่าน้ะ เราก็มาพักสมอง(ตรงไหน?)กับสองวิชานี้กันดีกว่า
ภาษาไทยและสังคม
เป็นวิชาที่ไม่ควรละเลย ถึงจะมีน้ำหนักเพียงอย่างละ 10% ก็ตาม
เริ่มกันที่ภาษาไทยก่อน
แหะ ๆ อันนี้เป็นวิชาเดียวที่อ่านเฉพาะจากที่เรียนพิเศษเลย
ดาว้องของอ.ปิงนั่นเอง
อันนี้ก็ไม่ใช่หนังสือพี่น้า
เคยได้ยินว่าภาษาไทยของดาว้องดี ก็ดีจริงๆน่ะแหละ
ส่วนหนึ่งเพราะว่าเนื้อหาวิชาภาษาไทยนั้น ไม่ค่อยมีอะไรเพิ่มเติมมากนัก
ที่ผ่านมาออกข้อสอบยังไง ก็ออกยังง้านแหละ
นี่ก็คือคลังข้อสอบภาษาไทยและสังคมซึ่งเรียงเรื่องไว้แล้ว
ไหนๆก็พูดถึงสังคมแล้วก็มาพูดถึงหนังสือที่ช่วยชีวิตพี่ดีกว่า
_______________สมมติว่าเป็นรูป (ยังไม่ได้ถ่าย)
และนี่ก็คือหนังสือสังคมศึกษาครูป๊อบ มีขายตามร้านค้าชั้นนำทั่วไป
สรุปไว้ดีมากกกก ถึงมากที่สุด
รวมทั้งใช้ภาษาที่น่าอ่านด้วยอ่ะ
สำหรับสังคมนี่ก็ไม่มีอะไรมาก
อ่านแล้วก็จำแบบทื่อๆ เพราะข้อสอบส่วนใหญ่ก็จะถามทื่อๆ เช่นกัน
ทั้งสองเล่มนี้ก็คือหนังสือข้อสอบเก่าเหมือนกัน แต่เล่มขวามี 7 พ.ศ.แต่จะมีทั้งไทยและสังคม
เล่มซ้ายจะหนากว่า มีหลายพ.ศ.กว่า แต่มีเฉพาะภาษาไทย
ไม่ควรละเลยกับสองวิชานี้
เพราะอาจเป็นวิชาดึงคะแนนน้องขึ้นก็ได้น้ะ
มาถึงวิชาสุดท้ายที่พี่ทำคะแนนได้มากที่สุด
ภาษาอังกฤษ
จริงๆแล้ววิชานี้พี่ไม่ค่อยมีอะไรจะแนะนำ
เพราะเป็นวิชาที่เรียนแล้วสะสมมาตั้งแต่เด็ก
คือต้องใช้ประสบการณ์ของน้องๆ มาทำอ่ะ
อย่างที่บอกพี่เรียนโรงเรียนรัฐธรรมดา
ภาษาอังกฤษก็เลยอาจจะไม่เก่งนัก
แต่พี่ภาษาอังกฤษดีขึ้นได้เพราะอ่านมากขึ้น ทำโจทย์มากขึ้น
และสำคัญมากๆพี่ท่องศัพท์มากขึ้น (กำ)
คือ อย่างเวลาน้องอ่านบทความภาษาอังกฤษ (Passage)
น้องอาจจะเคยว่าอ่านจนจบเรื่องแล้ว
มันแปลว่าอะไรหว่า..?
สำคัญมากในการอ่านบทความอะไรรู้เรื่องนั้น
เราก็ต้องรู้ศัพท์ก่อน
ซึ่งศัพท์สมัย ม.3 กับสมัย ม.6
เมื่อเทียบจากมาตรฐานโรงเรียนรัฐที่ไม่ได้อยู่โครงการอังกฤษแล้วยิ่งค่อนข้างจะฟ้ากับเหว
ยิ่งภาษาอังกฤษนั้นสายวิทย์ส่วนใหญ่จะเรียนอ่อนกว่าสายศิลป์
เพราะสายศิลป์เรียนเยอะกว่า เราก็ยิ่งต้องฟิตมาก ๆ
ที่น้องควรทำก็คือท่องศัพท์ ท่องไปนั่นแหละพี่ท่องรวม ๆ แล้วน่าจะเกินพันคำมั้งน่ะ
ท่องทุกวัน ว่าง ๆ ก็หยิบมาดู ตอนหลังก็จำได้เองอ่า
ศัพท์ที่พี่ท่องนั้นก็เป็นของครูสมศรีหมดเลยยย ทั้งจากของตัวเองคอร์สนึง และจากของเพื่อนอีกหลายๆคอร์ส -_-"
ซึ่งการท่องศัพท์อาจจะใช้เวลานิดนึง ขอให้น้องอดทนน้า
อ่าวกำ? หนังสือเล่มนี้เกี่ยวยังไงเนี่ย
อิอิไม่ได้โฆษณาสถาบันน้า
แต่จะบอกว่าเล่มนี้พี่ใช้จดศัพท์ค่ะ
พี่จะจดเฉพาะคำภาษาอังกฤษ ไม่ได้จดคำแปลเลย คำแปลอยู่อีกเล่ม
เพราะพี่เคยท่องแล้วมีคำแปลอยู่ข้าง ๆ
พอจะเริ่มอ่านศัพท์ทีไร ตามันต้องเหลือบไปดูคำแปลก่อนทุกที 5555555555
เลยทำให้การท่องศัพท์ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไหร่ -____-"
พี่เพิ่งสังเกตเหมือนกันว่าสมุดจดที่พวกรุ่นพี่มาขายจากมหาลัยต่าง ๆ อ่า
พี่ซื้อของธรรมศาสตร์เป็นที่แรกเลย
เลยทำให้พี่ได้มาอยู่ธรรมศาสตร์แน่ๆเยย ฮ่าๆๆๆ ว่าไปนั่น
คราวนี้พี่ไม่ได้ปิดท้ายด้วยสิบห้าพ.ศ.เน่อ ยังมีอีกเล่มอยู่ข้างล่าง
อืม..พี่อยากจะบอกว่าหนังสือเสริมอังกฤษทั้งหลายอ่าไม่จำเป็นเลย
สิบห้าพ.ศ.ภาษาอังกฤษเล่มเดียว เพียงพอค่ะ
ทำให้ครบทุกปีละกัน ในเล่มนี้มีตั้งแต่ปี 32 33 เลยมั้ง
คือจะบอกว่าสิบห้าพ.ศ.ของแต่ละวิชาความยากง่ายไม่เหมือนกันนะเพราะคนออกข้อสอบก็ต่างแล้วอะ
อันนี้พูดถึงเฉพาะภาษาอังกฤษ คือ ช่วงตั้งแต่ปี 40 ลงมาข้อสอบภาษาอังกฤษจะยากมากๆ
แต่พอปี 40 ขึ้นไป ซึ่งรู้สึกปีนั้นเค้าเปลี่ยนระบบมั้ง
ข้อสอบอังกฤษง่ายขึ้นเยอะเลย
ซึ่งแม้ว่าอังกฤษในปัจจุบันจะไม่ยากเท่าปี 36 37 แต่ว่าทำไว้เหอะ ไม่เสียหาย
อนาคตเค้าอาจจะกลับมายากอีกก็ได้น้ะ
มีความรู้ให้ครอบคลุมน่ะดีแล้ว
จะติดอยู่อย่างที่ 15 พ.ศ.ไม่มีให้เรา
นั่นคือข้อสอบ errors ค่ะ
พี่ก็ไปหาซื้อเพิ่มมา เล่มนี้แพงมากอ่า แง๊งๆๆ
สำหรับอังกฤษที่พี่พูดถึงทั้งหมดนั้นเป็นแค่การอ่านจับใจความกับแกรมม่าแบบไม่ละเอียดมากนิดหน่อย
แต่ถ้าอยากได้แกรมม่าเยอะๆจริงๆก็ต้องลองหาหนังสือแกรมม่าอังกฤษดีๆมาอ่านดูอะ
ตอนนั้นพี่ยืมหนังสือห้องสมุดมาอ่าน แต่คืนไปแล้วเน่อ
คือในข้อสอบกสพท.อะ อังกฤษเค้าออกข้อสอบแนวแปลกๆ
มีการเรียงประโยคด้วย ซึ่งหลายๆข้อพี่ไม่เคยเห็นออกข้อสอบแบบนี้มาก่อนเลย
ก็หาแกรมม่าดูเพิ่มกันน้ะ
สุดท้ายนี้น้องจะมีหนังสือเสริมหรือหนังสือหลักในการอ่านกี่เล่มก็ตาม
สิ่งที่น้องควรให้ความสำคัญที่สุดคือการทำข้อสอบเก่า
ทำๆๆๆทำให้หมดเลยยยยยยยยย ย ย ย
สู้สู้น้า ^_____^
แถมๆ ตัวอย่างหนังสือสอวน.เคมี
เผอิญพี่ขุดเจออะเลยถ่ายมาด้วย
จริงๆมีอีกสองเล่ม ต้องนั่งหาอีกสักพัก
เผื่อใครสนใจอยากเข้าสอวน.เคมี >___<
____________" เกือบจะจบแร้ะ
ขอบคุณทุกคนที่อ่านมาถึงตรงนี้ (หรือเค้าเปิดข้ามมาอ่านกันเลยหว่า)
ขอบคุณทุกคนเพื่อที่จะบอกว่า บทความนี้...คงมีเนื้อหาต่อ อีกยาวเลย - -"
อ่านมาเยอะแล้วเหนื่อยกันป่าววว
เหนื่อยก็ทนแล้วก็อ่านกันต่อไปน้ะ ฮ่าๆๆ
ขอบคุณที่ทนอ่านคำบ่นแปลก ๆ อย่างเช่น
อุอุอิอิงุิงิคริคริฮ่าๆคุคุคิคิ ฯลฯ อีกมากมาย
ซึ่งคนทั่วไปก็คงพูดจาภาษามนุษย์กันมากกว่านี้อ่า 555555555 ทำไปได้
ขอบคุณที่ติดตามน้ะคะ
และก็เราจะนำท่านไปสู่บทต่อไปกับ..
FAQ :: คำถามที่คนมักสงสัย
อาจจะเป็นพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้ดูก่อนน้า
ขอบคุณอีกครั้ง T____T ซาบซึ้ง
_______________________99.9% ยังเหลือลงรูป -*-
วิชาทั้งหมดที่พี่จะเขียน
ก็มี เลข อังกฤษ เคมี ชีวะ ฟิสิกส์ ไทย สังคม
อ่าหนังสือที่พี่ใช้อ่านนั้น มีทั้งที่พี่เรียนกวดวิชาเอง
ทั้งที่พี่ชายของพี่ไปเรียนกวดวิชามา(ซึ่งเป็นส่วนใหญ่)
และหนังสือเสริม ที่ก็สำคัญไม่แพ้กัน
คือหนังสือเสริมในที่นี่เกือบทั้งหมดก็เป็นของพี่ชายของพี่อีกเหมือนกันอ่ะ
สรุปพี่ซื้ออาไรมาใหม่มั่งมั้ยเนี่ย แป่วว ว ประหยัดไว้อ่าดี คริคริ
เรามาเริ่มที่วิชาสุดเลิฟของใครหลายคน
และวิชาแสนเกลียดของใครหลายคนดีกว่า า
อิอิอินั่นคือ
คณิตศาสตร์..นั่นเอง
คือปกติแล้วก่อนที่เราจะเริ่มทำข้อสอบอะไรก็ตาม
เราก็ต้องเข้าใจในส่วนเนื้อหาให้หมดซะก่อน อะป้ะอะป้ะ ><!
ในส่วนของเนื้อหานั้นพี่อ่านหนังสือเลขของเดอะเบรน
ซึ่งพี่ชอบน้ะ หนังสือเค้าเจ๋งดีอะ
เล่มเล็กกว่าเอสี่พอสมควร ตัวหนังสือน่ารัก น่าอ่านม๊ากมาก
คือเวลาเปิดแล้วรู้สึกอยากอ่านอ่ะ มีวิธีจำแบบศัพท์ตลกๆด้วยอะ
แต่ว่าหนังสือไม่ได้มีขายทั่วไปน้ะ ก้อต้องเรียนพิเศษของที่นี่อ่า
และทั้งหมดนี่ก็คือหนังสือของพี่ชายพี่ (อีกแล้ว คิคิ)
โฉมหน้าหนังสือเลขเดอะเบรน (ของจริงมีหลายเล่มกว่านี้น้ะ)
และก็เนื่องจากว่าพี่เรียนพิเศษเลขของ อ.อรรณพอยู่สองเทอม คือ ม.5 เทอม 1 และ 2
พี่ก็เลยอ่านทั้งเดอะเบรนและอ.อรรณพซะเลย
โฉมหน้าหนังสืออ.อรรโน้บ อิอิ
ซึ่งพี่ว่าดีทั้งคู่นะ ทั้งเดอะเบรนและอ.อรรณพอะ
คือดีคนละแบบ อ.อรรณพจะออกแนวจริงจังกว่า ได้ความรู้ละเอียดกว่า
แต่ถ้าเป็นเดอะเบรนจะออกแนวเนื้อหาน้อยกว่า แต่จะได้แก่นหลักของเรื่อง อาจจะไม่ละเอียดเท่า
แต่มีมุกแทรก มีวิธีจำขำๆด้วยอ่ะ พี่ว่าเจ๋งไม่แพ้กันนะ
คราวนี้เรามาดูหนังสือที่หาซื้อได้ตามร้านค้าชั้นนำทั่วไปมั่ง
และนี่คือ คัมภีร์ ENTRANCE คณิตศาสตร์
เล่มบักฟา...ยยยยย เลยทีเดียว
สุทธิแล้ว 1000 กว่าาหน้า
ซึ่งพี่อ่านทุกหน้า (ไม่ได้โม้ จิงๆน้ะ อิอิ)
เป็นหนังสือที่ดี คือจุดสำคัญของแต่ละเรื่องเค้าเน้นดีนะ
แต่ในหลายประเด็นย่อยๆ ก็ออกจะละเอียดเกินไปสักหน่อย
แบบบางทีเราอาจจะไม่ต้องรู้เนื้อหาละเอียดขนาดนั้นน่ะ
ก็คือถ้าจะอ่านก็อาจจะต้องเสียเวลาสกรีนนิดนึงว่าเรื่องไหนไม่ค่อยสำคัญ
แต่โดยรวม เจ๋งดีนะ !
เอ่อ เล่มนี้จริงๆแล้วไม่จำเป็นมากนัก เพราะดูจากด้านบนแล้วเฉยๆป้ะ
แต่ด้านข้างนี่โคดจะหนาเลย
เหมาะสำหรับคนที่พื้นฐานไม่ค่อยดี
อย่างเล่มนี้อ่ะมีเนื้อหาตอน ม.6 เทอมปลายเยอะ
ซึ่งก็คือเรื่องความน่าจะเป็นที่พี่ไม่ค่อยจะรู้เรื่อง
พี่ก็มานั่งทำอ่า โจทย์เยอะดี ก็โอเคนะ
แต่ถ้าน้องไม่มีปัญหากับเรื่องไหนเป็นพิเศษ
ก็ไม่จำเป็นมากอ่า
ตะลุยโจทย์ ม.4 5 6
อย่างเล่มซ้ายพี่ทำเกือบหมดเล่ม ในขณะที่เล่มขวาทำไปไม่เยอะ
เล่มขวาพี่ว่า โจทย์ออกจะยากเกินไปสักหน่อย
เล่มขวาเนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นโจทย์เอนทรานซ์จากปี 41 42 43 ซึ่งยากเป็นบร้าเยยอ้ะ
เล่มซ้ายก็คล้ายๆรวมโจทย์เอเนต ซึ่งก็คือโจทย์เอนทรานน่ะแหละ ทั่ว ๆ ไป
พี่ทำเกือบหมดเล่ม และมันก็ช่วยได้มากจริง ๆ
แต่นแต๊นนน และนี่คือหนังสือที่ทุกคนควรจะมีไว้ในครอบครอง
15 พ.ศ. นั่นเอง 15 พ.ศ.ก็คือข้อสอบเอนทรานซ์ของปีที่ผ่านๆๆๆมา
ไม่จำเป็นนะว่าจะต้องมีข้อสอบแค่ 15 ปี อาจจะมีมากกว่านั้นก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่พี่ก็เห็นว่ามีมากกว่านั้นนะ
เป็นหนังสือที่ควรทำให้หมดเล่มเป็นอย่างมาก
เพราะมันจะทำให้เรารู้แนวทางว่าโจทย์ที่นำมาออกข้อสอบเอนทรานซ์นั้นมีแนวโน้มข้้อสอบเป็นยังไง
และก็ทำให้เราจับจุดได้ด้วยว่าเราควรอ่านตรงไหนเพิ่ม หรือตรงไหนไม่จำเป็นต้องอ่าน
เออพี่อยากจะแนะนำเพิ่ม เวลาซื้อ 15 พ.ศ.อะ
อยากให้เลือกหนังสือที่มีสถิติคะแนนของทุกปีมาด้วย
คือข้อสอบในแต่ละปีอาจจะมีมาตรฐานไม่เท่ากัน
ซึ่งสิบห้าพ.ศ.บางเล่มของพี่ัเค้าใช้สถิติคะแนนเฉลี่ยเป็นตารางเดียวเลยอ่ะ
อ่านแล้วงงป้ะ ? คนอธิบายก็งงเหมือนกัน เดียวพี่มีรูปให้ดูในสิบห้าพ.ศ.ของชีวะนะ
มาถึงวิชาต่อไปกันมั่งดีก่า
ชีววิทยา
วิชาที่เต็มไปด้วยการจำ
>O<!! !
และหนังสือที่ภูมิใจนำเสนอที่สุด ก็คือ ตะแด้น แต๊น แต๊น
หนังสือชีววิทยาเล่มนี้ นี่เองงง
คุ้นๆป้ะ ? พี่เห็นน้อง ๆ ม.5 ม.4 เค้ามีกันทุกคนเรยว่ะ
ยังกะแบบเรียนแน่ะ 555555555555
แต่ตอนนี้หนังสือเป็นสีน้ำเงินหมดแล้วงะ
คือเล่มนี้พี่ซื้อตั้งแต่ตอนหนังสือเพิ่งออกใหม่ๆ ก็เลยเป็นสีแดงเลือดหมู
เป็นหนังสือที่ คุณพระคุณเจ้าช่วย
เจ๋งว่ะนาย +++ เจ๋งสุดยอด
พี่ไม่ได้ค่าโฆษณาแต่อย่างใด
แต่จะบอกว่าเล่มนี้เล่มเดียว ทำให้พี่ทำข้อสอบชีววิทยากสพท.ได้เยอะมากกกกก
เยอะกว่าเคมีกับฟิสิกส์ซะอีก
เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่า สมควรแก่การนำไปชาบูชาบูเป็นอย่างยิ่ง
กรี๊ดดดดดดด
ตอนน้องเปิดหนังสือดู น้องอาจจะรู้สึกว่าหนังสือเค้ามีเนื้อหาน้อยจัง
ตอนแรกพี่ก็เคยคิดอย่างนั้นน้ะ แต่จากการวิจัยของพี่ผ่านกระบวนการซับซ้อนมากมาย
พี่พบว่า หนังสือเล่มนี้ เค้าย่อส่วนที่สำคัญและควรจำมาให้เราหมดแล้ว
หน้าที่ของเราก็คือ จำ จำ จำ จำให้หมดทุกบรรทัดทุกรูป เน้น ทุกบรรทัดทุกรูป
และทุกแบบฝึกหัดด้านหลังควรทำให้หมดบวกจำให้หมดเป็นอย่างมาก
คือตอนพี่อ่านก่อนไปสอบอ่ะ พี่แทบจะกลืนเล่มนี้เข้าไปเลยทีเดียว
แต่ก็ไม่ค่อยอร่อยเท่าไหร่นะ ( เอ๊ะ ยังไง 5555)
อันนี้ก็คือภายในหนังสือคร่าวๆ
อ่า พี่อยากจะบอกว่าเวลาไฮไลท์หรือขีดเส้นใต้น่ะ
การที่เรามีสีหลายสี มันก็ดีน้ะ
แต่น้องเคยไหมเวลาเรามีสีมากเกิน แล้วเราก็นั่งเปลี่ยนสีทุกครั้งที่เราขึ้นย่อหน้าใหม่หรือเปลี่ยนเรื่อง
มันทำให้เราจดจ่ออยู่กับความงดงามของสี มากกว่าเนื้อหาที่ควรจะจำ
ในตอนหลังเวลาพี่ขีดพี่เลยจะใช้อย่างมากสามสี
ส่วนใหญ่จะเป็นสีเดียวหรือสองสี อย่างภาพซ้ายสุดพี่ใช้สีเดียว
อันไหนสำคัญก็วงไว้เลย
ส่วนรูปกลางก็ีมีสองสี อันไหนสำคัญก็วงเหมือนกัน เวลากลับมาอ่านจะได้เห็นชัดๆว่าสำคัญ
ส่วนขวาสุดนั้นเป็นแบบฝึกหัด เวลาพี่ทำข้อไหนผิดพี่ก็จะวงไว้
ปกติพี่จะทำทีละสิบข้อหรือยี่สิบข้อ จากนั้นก็มาตรวจเช็ค
พอเช็คเสร็จพี่ก็จะวงข้อที่ผิดไว้ แล้วก็มานั่งดูว่า เออ ทำไมถึงผิดหว่า
แล้วพี่ก็จะจำตอนนั้นทันทีว่าที่ถูกน่ะเป็นยังไง
ส่วนข้อที่ผิดพี่ก้วงไว้แบบนั้น ไม่ได้้มาลบทิ้ง
เพราะในตอนหลังเวลามาเปิดซ้ำพี่จะได้จำได้ว่าพี่เคยผิดตรงนี้ๆๆๆ น้ะ
และนี่ก็คือหนังสือคอร์ส ICU ของนพ.พิชญ์หรือเจ้บีมนั่นเอง
อันนี้พี่ก็ไม่ได้เรียนเอง (อีกแล้ว ของพี่ชายหมดเลย)
คือ ของเจ้บีมอะ จริงๆหนังสือเค้าดีมากนะ
แต่มันเหมาะที่จะไปนั่งเรียนแล้วเข้าใจ มากกว่าจะมานั่งอ่านจากหนังสือของเค้าด้วยตัวเองน่ะ
เพราะฟ้อนท์กับรูปภาพนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจริงๆ -_- ทำให้อ่านยากมาก
ในส่วนของหนังสือเจ๊บีม พี่ก็อ่านนะ แต่อ่านแล้วจำไม่ค่อยได้
อาจจะเพราะเนื้อหาละเอียดเกินไปด้วยส่วนนึง ทำให้พี่จับจุดไม่ค่อยถูก
แต่ปกติเวลาเรียนกับเค้าเค้าจะพูดให้เข้าใจดีนะว่าตรงไหนควรจำไม่ควรจำ
จากการที่เคยเรียนกับเค้ามาคอร์สนึง พี่ว่าเค้าเจ๋งดีนะ
แต่ถ้าอยากเป็นสุดยอดนักอ่านเองแบบพี่ เล่มบนโลดเลย
มาถึงเล่มที่สำคัญที่สุดที่ควรทำให้หมดเล่ม
และนี่คือ 15 พ.ศ. ชีววิทยา ค่ะ
น้องอาจจะงง อ่าว ไม่เห็นมีคำว่า 15 พ.ศ.เลย
เอาเป็นว่าเป็นหนังสือข้อสอบเก่าน่ะ
ทางขวาก็คือตารางค่าสถิติคะแนนแบบที่พี่บอกอ่ะ
ช่องแถบฟ้าๆๆ มันจะเป็น 0-10 11-20 22-30
ส่วนด้านบนจะเป็นปี 43 44 45 46
ซึ่งบางเล่มเค้าไม่มีมาแจกแจงปีอย่างนี้
แต่พี่ว่าสำคัญมาก เวลาเลือกซื้อ คือข้อสอบแต่ละเล่มก็เหมือนกันอยู่แล้ว
ก็เลือกเล่มที่มีตารางอย่างนี้ดีกว่านะ
เวลาทำข้อสอบเก่าเสร็จ จะได้เห็นภาพอันดับที่แท้จริงของตัวเอง
ที่ใกล้เคียงกับของจริงมากกว่าตารางที่เค้าเฉลี่ยคะแนนมาแล้วน่ะ
________________" หลังจากผ่านชีวะมาแล้วเราก็มาเจอกับวิชาในหมวดวิทย์วิชาต่อไป
นั่นคือ
เคมี
โอวววววว ว...
เป็นวิชาสุดหินหากไม่เข้าใจและไม่มีพื้นฐานม.4 ที่แน่นพอ
แต่จะเป็นวิชาที่ง่ายและน่าทำ ถ้ามีพฐ.ที่ดี
นั่นละนะ..
มาดูหนังสือที่พี่อ่านดีกว่า
ของจริงมีหลายเล่มกว่านี้พอสมควร
หลายคนก็คงจะคุ้นกับหนังสือรูปร่างแบบนี้ เคมีอาจารย์อุ๊นั่นเอง
อันนี้เป็นกวดวิชาอย่างเดียวที่พี่เรียนเกือบหมดทุกคอร์ส
ถึงเวลาสอนอาจารย์อุ๊อาจจะไม่มีมุขตลกมากเหมือนหลายๆที่ แต่พี่ว่าอาจารย์อุ๊เค้าสอนดีอ่า
เป็นครูสอนพิเศษที่ให้ความรู้สึกว่าเค้าเป็น ครู จริงๆ
ก็เพราะเค้าเคยเป็นครูมาก่อนด้วยล่ะ
เวลาเรียนก็อบอุ่นดีๆ (นี่ตรูโฆษณาที่เรียนพิเศษปะฟะ)
ก็โอเคอ่ะ
เนื้อหาส่วนใหญ่ของเคมีพี่อ่านจากอาจารย์อุ๊หมด
คัมภีร์ ENTRANCE เคมี
มานมาอีกแล้วค่ะท่านผู้ช๊มมมมมมม
คัมภีร์สุดโหดความหนาเกือบพัน หรือพันหว่า ของอ.สำราญ
เป็นหนังสือที่หาซื้อได้ทั่วไป คิดว่าน้อง ๆ คงเคยเห็น
และพี่ว่าหนังสือนี้ดีนะ ในหลายประเด็นก็ละเอียดดีอะ
แบบไม่ใช่ละเอียดเกินไป อ่านแล้วรู้เรื่องดี
โดยส่วนตัวพี่อ่านเป็นบางเรื่องน่ะ อย่างเคมีอินทรีย์ ไอโซเมอร์ พี่ก็อ่านจากเล่มนี้
ถ้าอยากให้เทียบระหว่างอาจารย์อุ๊กับเล่มนี้
พี่ไม่อยากตอบแบบนางงามเยยอ่ะ
แต่จะบอกว่า
ดีพอๆกันเลย แล้วแต่คนชอบค๊าา า ^O^
โฉมหน้าสิบห้าพ.ศ.เคมี หรือข้อสอบ ENTRANCE เคมีนั่นเอง
ควรมี และควรทำให้เยอะๆๆๆเป็นอย่างมาก
ไม่ต้องกลัวจำข้อสอบได้
ทางที่ดีจำข้อสอบไปเลยยย
และก็มาพบกับวิชาวิทย์ตัวสุดท้ายยย อ๊ายอ๊ายย
นั่นก็คือ
ฟิสิกส์
PHYSICS~
วิชาที่ว่าด้วยแขนกลคนมหัศจรรย์ (?)
ห้ะ (?) งง เอาเป็นว่าเข้าเรื่องเลยละกัน 55555
ในส่วนเนื้อหาของฟิสิกส์นั้นพี่อ่านจากหนังสือแอพพลายเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งหนังสือส่วนใหญ่ไม่ใช่ของพี่นะคะ
ของจริงมีเยอะกว่านี้พอสมควร
แอพพลายมีข้อดีที่หนังสือเล่มบางเบา
แล้วก็สรุปประเด็นหลักสำคัญของเรื่องชัดเจนดี
แต่คนที่เรียนอาจจะต้องหัวเร็วนิดนึงอะ
เพราะเวลาสอนเค้าจะให้ประเด็นใหญ่ๆมา
แต่น้องต้องมีความสามารถในการประยุกต์ให้เป็น
คือเค้าจะไม่ได้มานั่งบอกละเอียดเว่อร์ๆนักว่า หัวข้ออย่างนี้จะสรุปเป็นประเด็นย่อยๆอะไรได้บ้าง
เพราะพี่เห็นบางที่เค้าแยกประเด็นย่อยแบบว่ายิบมากอะ
ซึ่งพี่ว่าแล้วแต่คนนะว่าจะชอบเรียนที่ไหน
เดี๋ยวนี้พี่ก็เห็นมีที่เรียนพิเศษฟิสิกส์หลายที่
ถ้าอยากจะเรียนก็ลองไปดูหลายๆที่แล้วก็หาที่ที่เหมาะกะน้องเน้อ
ส่วนตัวพี่ชอบที่นี่น้ะ ^O^
มีตะลุยโจทย์เลข A-net ไปแล้วก็ต้องมีตะลุยโจทย์ ฟิสิกส์ A-net สินะ
ตะลุยโจทย์ฟิสิกส์นั้นมีจำนวนข้อที่มากกว่าตะลุยโจทย์เลขมาก
ในส่วนตะลุยโจทย์เลขนั้นเฉลี่ยจะมีจำนวนข้อ 40 ข้อต่อหนึ่งบทซึ่งเหมือนคัดสรรมาแล้วว่าเป็นโจทย์ที่จะออกเอนท์
(ซึ่งจริงๆตะลุยโจทย์พวกนี้ก็เหมือนการนำข้อสอบเอนท์มาแยกเรื่องแล้วก็รวมเล่มให้เราน่ะ)
ในส่วนตะลุยโจทย์ฟิสิกส์นั้นจะมีจำนวนข้อเฉลี่ย 100 ข้อต่อหนึ่งบท
ซึ่งมีถึง 20 บท อุแม่จ้าว
ถ้าทำหมดเล่มนี่คงต้องไปนอนหยอดน้ำเกลืออ่า
พี่แนะนำว่าให้หาหนังสือเนื้อหาดีๆอ่านสักเล่ม แล้วทำโจทย์ในแต่ละเล่มให้เข้าใจ
ถ้าบทไหนไม่เข้าใจจริงๆถึงจะมาทำตะลุยโจทย์เล่มนี้ดีกว่า
คือตะลุยโจทย์ฟิสิกส์ต่างจากเลขตรงที่
ตะลุยโจทย์ฟิสิกส์อาจจะไม่ใช่โจทย์จากเอนทรานซ์เสมอไปเหมือนกับตะลุยโจทย์เลข
แต่เป็นเหมือนการรวมโจทย์จากที่ไหนไม่รู้มาเยอะๆ
ซึ่งพี่ก็ว่าดีอะ ถ้ามีเวลามากพอ
แล้วก็โจทย์ในนี้ส่วนมากจะเป็นโจทย์ที่แทนค่าแล้วออกเลย
โจทย์ยากๆจะอยู่ข้อหลังๆ คือถ้าน้องซื้อมาน้องจะเห็นอะว่าโจทย์มันเรียงตามเนื้อเรื่องย่อยๆในนั้น
อย่างสมมติเรื่องคลื่นงี้ มี 100 ข้ออะ ในร้อยข้อนั้น เช่น
25 ข้อแรกเป็นเรื่องคลื่นเสียง ข้อยากๆจะอยู่ประมาณข้อ 20-25
ข้อ 26-50 เป็นคลื่นแสง ข้อที่ยากๆจะอยู่ประมาณข้อ 46-50 อะ
ทั้งหมดนี้สมมตินะ นึกภาพออกแล้วป้ะ
นี่ก็คือคัมภีร์สุดหนาอีกเล่มเช่นกัน
เป็นหนังสือเนื้อหาที่พี่ว่าก็โอเคอ่า
พี่มาใช้อ่านมากๆเรื่อง ฟิสิกส์อะตอมกับฟิสิกส์นิวเคลียร์
ก็ใช้ได้น้ะ อาจจะมีบางตอนละเอียดไปนิดนึง
ปิดท้ายด้วย 15 พ.ศ. ฟิสิกส์เช่นเคยย
อ่า สำหรับฟิสิกส์พี่ติงไว้หน่อยว่าข้อสอบอาจจะง่ายไปนิดนึง
(?) ไม่ใช่เพราะว่าพี่ถนัดวิชานี้
แต่เป็นเพราะโจทย์ส่วนใหญ่เป็นการแทนค่าตอนเดียวแล้วจบ
ซึ่งโจทย์สอบหมอยากกว่านั้นอะ
พี่ว่าถ้าอยากทำคะแนนดีในส่วนของฟิสิกส์นั้น
ลองไปหาอ่านในหนังสือ พฐ.วิศวะ เพิ่มก็ดีนะ
แต่สำหรับพี่ พี่อ่านคัมภีร์ฟิสิกส์บวกกับแอพพลายพี่ว่าก็พอน่ะ
เวลาอ่านฟิสิกส์น่ะ ไม่ใช่อ่านแต่เนื้อหานะ น้องต้องอ่านไปทำโจทย์ไปด้วย
เพราะพี่เคยอ่านเนื้อหาเฉย ๆ พร้อมกับอ่านโจทย์แล้วจำไม่ค่อยได้อะ
อ่านไปทำไปอะเวิร์คสุด ๆ
อ่าน้ะ เราก็มาพักสมอง(ตรงไหน?)กับสองวิชานี้กันดีกว่า
ภาษาไทยและสังคม
เป็นวิชาที่ไม่ควรละเลย ถึงจะมีน้ำหนักเพียงอย่างละ 10% ก็ตาม
เริ่มกันที่ภาษาไทยก่อน
แหะ ๆ อันนี้เป็นวิชาเดียวที่อ่านเฉพาะจากที่เรียนพิเศษเลย
ดาว้องของอ.ปิงนั่นเอง
อันนี้ก็ไม่ใช่หนังสือพี่น้า
เคยได้ยินว่าภาษาไทยของดาว้องดี ก็ดีจริงๆน่ะแหละ
ส่วนหนึ่งเพราะว่าเนื้อหาวิชาภาษาไทยนั้น ไม่ค่อยมีอะไรเพิ่มเติมมากนัก
ที่ผ่านมาออกข้อสอบยังไง ก็ออกยังง้านแหละ
นี่ก็คือคลังข้อสอบภาษาไทยและสังคมซึ่งเรียงเรื่องไว้แล้ว
ไหนๆก็พูดถึงสังคมแล้วก็มาพูดถึงหนังสือที่ช่วยชีวิตพี่ดีกว่า
_______________สมมติว่าเป็นรูป (ยังไม่ได้ถ่าย)
และนี่ก็คือหนังสือสังคมศึกษาครูป๊อบ มีขายตามร้านค้าชั้นนำทั่วไป
สรุปไว้ดีมากกกก ถึงมากที่สุด
รวมทั้งใช้ภาษาที่น่าอ่านด้วยอ่ะ
สำหรับสังคมนี่ก็ไม่มีอะไรมาก
อ่านแล้วก็จำแบบทื่อๆ เพราะข้อสอบส่วนใหญ่ก็จะถามทื่อๆ เช่นกัน
ทั้งสองเล่มนี้ก็คือหนังสือข้อสอบเก่าเหมือนกัน แต่เล่มขวามี 7 พ.ศ.แต่จะมีทั้งไทยและสังคม
เล่มซ้ายจะหนากว่า มีหลายพ.ศ.กว่า แต่มีเฉพาะภาษาไทย
ไม่ควรละเลยกับสองวิชานี้
เพราะอาจเป็นวิชาดึงคะแนนน้องขึ้นก็ได้น้ะ
มาถึงวิชาสุดท้ายที่พี่ทำคะแนนได้มากที่สุด
ภาษาอังกฤษ
จริงๆแล้ววิชานี้พี่ไม่ค่อยมีอะไรจะแนะนำ
เพราะเป็นวิชาที่เรียนแล้วสะสมมาตั้งแต่เด็ก
คือต้องใช้ประสบการณ์ของน้องๆ มาทำอ่ะ
อย่างที่บอกพี่เรียนโรงเรียนรัฐธรรมดา
ภาษาอังกฤษก็เลยอาจจะไม่เก่งนัก
แต่พี่ภาษาอังกฤษดีขึ้นได้เพราะอ่านมากขึ้น ทำโจทย์มากขึ้น
และสำคัญมากๆพี่ท่องศัพท์มากขึ้น (กำ)
คือ อย่างเวลาน้องอ่านบทความภาษาอังกฤษ (Passage)
น้องอาจจะเคยว่าอ่านจนจบเรื่องแล้ว
มันแปลว่าอะไรหว่า..?
สำคัญมากในการอ่านบทความอะไรรู้เรื่องนั้น
เราก็ต้องรู้ศัพท์ก่อน
ซึ่งศัพท์สมัย ม.3 กับสมัย ม.6
เมื่อเทียบจากมาตรฐานโรงเรียนรัฐที่ไม่ได้อยู่โครงการอังกฤษแล้วยิ่งค่อนข้างจะฟ้ากับเหว
ยิ่งภาษาอังกฤษนั้นสายวิทย์ส่วนใหญ่จะเรียนอ่อนกว่าสายศิลป์
เพราะสายศิลป์เรียนเยอะกว่า เราก็ยิ่งต้องฟิตมาก ๆ
ที่น้องควรทำก็คือท่องศัพท์ ท่องไปนั่นแหละพี่ท่องรวม ๆ แล้วน่าจะเกินพันคำมั้งน่ะ
ท่องทุกวัน ว่าง ๆ ก็หยิบมาดู ตอนหลังก็จำได้เองอ่า
ศัพท์ที่พี่ท่องนั้นก็เป็นของครูสมศรีหมดเลยยย ทั้งจากของตัวเองคอร์สนึง และจากของเพื่อนอีกหลายๆคอร์ส -_-"
ซึ่งการท่องศัพท์อาจจะใช้เวลานิดนึง ขอให้น้องอดทนน้า
อ่าวกำ? หนังสือเล่มนี้เกี่ยวยังไงเนี่ย
อิอิไม่ได้โฆษณาสถาบันน้า
แต่จะบอกว่าเล่มนี้พี่ใช้จดศัพท์ค่ะ
พี่จะจดเฉพาะคำภาษาอังกฤษ ไม่ได้จดคำแปลเลย คำแปลอยู่อีกเล่ม
เพราะพี่เคยท่องแล้วมีคำแปลอยู่ข้าง ๆ
พอจะเริ่มอ่านศัพท์ทีไร ตามันต้องเหลือบไปดูคำแปลก่อนทุกที 5555555555
เลยทำให้การท่องศัพท์ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไหร่ -____-"
พี่เพิ่งสังเกตเหมือนกันว่าสมุดจดที่พวกรุ่นพี่มาขายจากมหาลัยต่าง ๆ อ่า
พี่ซื้อของธรรมศาสตร์เป็นที่แรกเลย
เลยทำให้พี่ได้มาอยู่ธรรมศาสตร์แน่ๆเยย ฮ่าๆๆๆ ว่าไปนั่น
คราวนี้พี่ไม่ได้ปิดท้ายด้วยสิบห้าพ.ศ.เน่อ ยังมีอีกเล่มอยู่ข้างล่าง
อืม..พี่อยากจะบอกว่าหนังสือเสริมอังกฤษทั้งหลายอ่าไม่จำเป็นเลย
สิบห้าพ.ศ.ภาษาอังกฤษเล่มเดียว เพียงพอค่ะ
ทำให้ครบทุกปีละกัน ในเล่มนี้มีตั้งแต่ปี 32 33 เลยมั้ง
คือจะบอกว่าสิบห้าพ.ศ.ของแต่ละวิชาความยากง่ายไม่เหมือนกันนะเพราะคนออกข้อสอบก็ต่างแล้วอะ
อันนี้พูดถึงเฉพาะภาษาอังกฤษ คือ ช่วงตั้งแต่ปี 40 ลงมาข้อสอบภาษาอังกฤษจะยากมากๆ
แต่พอปี 40 ขึ้นไป ซึ่งรู้สึกปีนั้นเค้าเปลี่ยนระบบมั้ง
ข้อสอบอังกฤษง่ายขึ้นเยอะเลย
ซึ่งแม้ว่าอังกฤษในปัจจุบันจะไม่ยากเท่าปี 36 37 แต่ว่าทำไว้เหอะ ไม่เสียหาย
อนาคตเค้าอาจจะกลับมายากอีกก็ได้น้ะ
มีความรู้ให้ครอบคลุมน่ะดีแล้ว
จะติดอยู่อย่างที่ 15 พ.ศ.ไม่มีให้เรา
นั่นคือข้อสอบ errors ค่ะ
พี่ก็ไปหาซื้อเพิ่มมา เล่มนี้แพงมากอ่า แง๊งๆๆ
สำหรับอังกฤษที่พี่พูดถึงทั้งหมดนั้นเป็นแค่การอ่านจับใจความกับแกรมม่าแบบไม่ละเอียดมากนิดหน่อย
แต่ถ้าอยากได้แกรมม่าเยอะๆจริงๆก็ต้องลองหาหนังสือแกรมม่าอังกฤษดีๆมาอ่านดูอะ
ตอนนั้นพี่ยืมหนังสือห้องสมุดมาอ่าน แต่คืนไปแล้วเน่อ
คือในข้อสอบกสพท.อะ อังกฤษเค้าออกข้อสอบแนวแปลกๆ
มีการเรียงประโยคด้วย ซึ่งหลายๆข้อพี่ไม่เคยเห็นออกข้อสอบแบบนี้มาก่อนเลย
ก็หาแกรมม่าดูเพิ่มกันน้ะ
สุดท้ายนี้น้องจะมีหนังสือเสริมหรือหนังสือหลักในการอ่านกี่เล่มก็ตาม
สิ่งที่น้องควรให้ความสำคัญที่สุดคือการทำข้อสอบเก่า
ทำๆๆๆทำให้หมดเลยยยยยยยยย ย ย ย
สู้สู้น้า ^_____^
แถมๆ ตัวอย่างหนังสือสอวน.เคมี
เผอิญพี่ขุดเจออะเลยถ่ายมาด้วย
จริงๆมีอีกสองเล่ม ต้องนั่งหาอีกสักพัก
เผื่อใครสนใจอยากเข้าสอวน.เคมี >___<
____________" เกือบจะจบแร้ะ
ขอบคุณทุกคนที่อ่านมาถึงตรงนี้ (หรือเค้าเปิดข้ามมาอ่านกันเลยหว่า)
ขอบคุณทุกคนเพื่อที่จะบอกว่า บทความนี้...คงมีเนื้อหาต่อ อีกยาวเลย - -"
อ่านมาเยอะแล้วเหนื่อยกันป่าววว
เหนื่อยก็ทนแล้วก็อ่านกันต่อไปน้ะ ฮ่าๆๆ
ขอบคุณที่ทนอ่านคำบ่นแปลก ๆ อย่างเช่น
อุอุอิอิงุิงิคริคริฮ่าๆคุคุคิคิ ฯลฯ อีกมากมาย
ซึ่งคนทั่วไปก็คงพูดจาภาษามนุษย์กันมากกว่านี้อ่า 555555555 ทำไปได้
ขอบคุณที่ติดตามน้ะคะ
และก็เราจะนำท่านไปสู่บทต่อไปกับ..
FAQ :: คำถามที่คนมักสงสัย
อาจจะเป็นพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้ดูก่อนน้า
ขอบคุณอีกครั้ง T____T ซาบซึ้ง
_______________________99.9% ยังเหลือลงรูป -*-
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น