ลำดับตอนที่ #74
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #74 : วิธีการถนอมดวงตา
น่าสนใจดีโดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทุกวันหรือ ใช้ปาล์มบ่อยๆ
วิธีนี้คิดค้นขึ้นโดยจักษุแพทย์ชาวอเมริกันชื่อว่า
นายแพทย์ วิลเลียม เอช. เบตส์ (ค.ศ. 1860-1931)
วันหนึ่งนายแพทย์เบตส์กลับจากทำงานด้วยดวงตาอันอ่อนล้า
เขานั่งลงที่โต๊ะทำงานในห้องที่ยังไม่ได้เปิดไฟ
วางข้อศอกทั้งสองข้างลงบนโต๊ะ
โค้งอุ้งมือทั้งสองวางครอบดวงตาของตน
หลับตาพักผ่อนในท่านั้นอยู่สิบนาที
พอลืมตาขึ้นอีกครั้งหนึ่งเขารู้สึกว่าอาการปวดเมื่อยดวงตาหายไป
แถมมองเห็นสิ่งต่างๆ ในห้องชัดเจนขึ้นกว่าเก่าอีกด้วย
จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวนายแพทย์เบตส์ได้ค้นคิดวิธีการฝึกสายตาอย่างธรรมชาติ
เพื่อพักผ่อนกล้ามเนื้อตาและช่วยรักษาสายตาให้ดีขึ้น
นายแพทย์เบตส์เขียนหนังสือชื่อ Perfect Sight without
Glasses เป็นที่นิยมแพร่หลาย แม้ภายหลังเขาเสียชีวิต
แต่วิธีการของนายแพทย์เบตส์ยังได้รับการเผยแพร่โดยแพทย์ทั้งหลาย
ทั่วยุโรปและอเมริกา "วิธีของเบตส์" มี 7 ท่าด้วยกัน
ท่าที่ 1 ครอบดวงตา
โค้งอุ้งมือทั้งสองครอบดวงตาไว้เฉย ๆ
ระวังอย่าให้อุ้งมือกดทับดวงตา
นึกถึงบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เช่น
วันพักผ่อนสุดสัปดาห์ตามป่าเขาหรือชายทะเล
อยู่ในท่านี้สัก 10 นาที
ท่าที่ 2 สร้างจินตภาพ
ต่อจากท่าที่ 1 ยังคงครอบดวงตาอยู่
สร้างจินตภาพว่าตนเองกำลังมองวัตถุบางอย่างที่มีสีสันสดใส
มีรายละเอียดต่างๆ ที่ชัดเจน เช่น
มองเห็นดอกเบญจมาศสีเหลืองสวย
เห็นกลีบดอกแต่ละกลีบละเอียดชัดเจน
สายตาที่คมชัดจากจินตนาการของเราเองจะช่วยเยียวยาสายตาจริงๆ
ของเราได้เป็นอย่างดี
ท่าที่ 3 กวาดสายตา
มองแบบไม่ต้องจ้อง (คนสายตาสั้นมักจ้องและเขม้นตา)
กวาดสายตาไปตามวัตถุที่อยู่ไกล ๆ ทางโน้นบ้างทางนี้บ้าง
ทำให้ตาของเราได้ผ่อนคลาย
ท่าที่ 4 กะพริบตา
ฝึกนิสัยให้กะพริบตา 1-2 ครั้ง ทุก ๆ 10 วินาที
ช่วยให้แก้วตาสะอาดและมีน้ำหล่อเลี้ยง
โดยเฉพาะคนที่สวมแว่นหรือคอนแท็กต์เลนส์ยิ่งจำเป็น
ท่าที่ 5 โฟกัสภาพใกล้และไกล
เหยียดแขนซ้ายไปให้ไกลที่สุด
ตั้งนิ้วชี้มือซ้ายขึ้นเพื่อเป็นจุดโฟกัส ขณะเดียวกัน
ตั้งนิ้วชี้มือขวาให้ห่างจากใบหน้าสัก 3 นิ้ว (7.5 ซม.)
โฟกัสภาพที่แต่ละนิ้วสลับกันไปมา ทำบ่อยๆ
เมื่อโอกาสอำนวย
ท่าที่ 6 ชโลมดวงตา
ตื่นนอนทุกเช้าใช้มือวักน้ำชโลมดวงตาด้วยน้ำอุ่น สัก 20
ครั้ง สลับกับการวักน้ำเย็นชโลมดวงตาอีก 20 ครั้ง
ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียนมาเลี้ยงดวงตาดีขึ้น
การจบด้วยน้ำเย็น
ทำให้กล้ามเนื้อตาและหนังตากระชับไม่หย่อนยาน
ก่อนเข้านอนให้วักน้ำชโลมดวงตาอีกครั้งหนึ่ง
แต่คราวนี้ชโลมด้วยน้ำเย็นก่อนแล้วตามด้วยน้ำอุ่น
จะทำให้กล้ามเนื้อตาและหนังตาได้ผ่อนคลาย ก่อนเข้านอน
ท่าที่ 7 แกว่งตัว
ยืนแยกเท้าเท่ากับช่วงไหล่ แกว่งตัวไปมาจากซ้ายไปขวา
ถ่ายน้ำหนักตัวบนขาแต่ละข้างสลับไปมา สายตามองไปไกลๆ
แต่ไม่ต้องจ้อง
ปล่อยให้จุดที่เรามองแกว่งไปมาซ้ายขวาตามการแกว่งตัว
ท่านี้จะทำให้ดวงตาได้พักและมีการปรับตัวดีขึ้น ทำบ่อย ๆ
เมื่อมีโอกาส เปิดเพลงคลอไปด้วยก็ได้
"วิธีของเบตส์"
ได้รับการยืนยันจากจักษุแพทย์จำนวนมากว่าเป็นการฝึกดวงตา
ที่เป็นระบบช่วยรักษาสายตาคนไข้ได้เป็นจำนวนมาก...
วิธีนี้คิดค้นขึ้นโดยจักษุแพทย์ชาวอเมริกันชื่อว่า
นายแพทย์ วิลเลียม เอช. เบตส์ (ค.ศ. 1860-1931)
วันหนึ่งนายแพทย์เบตส์กลับจากทำงานด้วยดวงตาอันอ่อนล้า
เขานั่งลงที่โต๊ะทำงานในห้องที่ยังไม่ได้เปิดไฟ
วางข้อศอกทั้งสองข้างลงบนโต๊ะ
โค้งอุ้งมือทั้งสองวางครอบดวงตาของตน
หลับตาพักผ่อนในท่านั้นอยู่สิบนาที
พอลืมตาขึ้นอีกครั้งหนึ่งเขารู้สึกว่าอาการปวดเมื่อยดวงตาหายไป
แถมมองเห็นสิ่งต่างๆ ในห้องชัดเจนขึ้นกว่าเก่าอีกด้วย
จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวนายแพทย์เบตส์ได้ค้นคิดวิธีการฝึกสายตาอย่างธรรมชาติ
เพื่อพักผ่อนกล้ามเนื้อตาและช่วยรักษาสายตาให้ดีขึ้น
นายแพทย์เบตส์เขียนหนังสือชื่อ Perfect Sight without
Glasses เป็นที่นิยมแพร่หลาย แม้ภายหลังเขาเสียชีวิต
แต่วิธีการของนายแพทย์เบตส์ยังได้รับการเผยแพร่โดยแพทย์ทั้งหลาย
ทั่วยุโรปและอเมริกา "วิธีของเบตส์" มี 7 ท่าด้วยกัน
ท่าที่ 1 ครอบดวงตา
โค้งอุ้งมือทั้งสองครอบดวงตาไว้เฉย ๆ
ระวังอย่าให้อุ้งมือกดทับดวงตา
นึกถึงบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เช่น
วันพักผ่อนสุดสัปดาห์ตามป่าเขาหรือชายทะเล
อยู่ในท่านี้สัก 10 นาที
ท่าที่ 2 สร้างจินตภาพ
ต่อจากท่าที่ 1 ยังคงครอบดวงตาอยู่
สร้างจินตภาพว่าตนเองกำลังมองวัตถุบางอย่างที่มีสีสันสดใส
มีรายละเอียดต่างๆ ที่ชัดเจน เช่น
มองเห็นดอกเบญจมาศสีเหลืองสวย
เห็นกลีบดอกแต่ละกลีบละเอียดชัดเจน
สายตาที่คมชัดจากจินตนาการของเราเองจะช่วยเยียวยาสายตาจริงๆ
ของเราได้เป็นอย่างดี
ท่าที่ 3 กวาดสายตา
มองแบบไม่ต้องจ้อง (คนสายตาสั้นมักจ้องและเขม้นตา)
กวาดสายตาไปตามวัตถุที่อยู่ไกล ๆ ทางโน้นบ้างทางนี้บ้าง
ทำให้ตาของเราได้ผ่อนคลาย
ท่าที่ 4 กะพริบตา
ฝึกนิสัยให้กะพริบตา 1-2 ครั้ง ทุก ๆ 10 วินาที
ช่วยให้แก้วตาสะอาดและมีน้ำหล่อเลี้ยง
โดยเฉพาะคนที่สวมแว่นหรือคอนแท็กต์เลนส์ยิ่งจำเป็น
ท่าที่ 5 โฟกัสภาพใกล้และไกล
เหยียดแขนซ้ายไปให้ไกลที่สุด
ตั้งนิ้วชี้มือซ้ายขึ้นเพื่อเป็นจุดโฟกัส ขณะเดียวกัน
ตั้งนิ้วชี้มือขวาให้ห่างจากใบหน้าสัก 3 นิ้ว (7.5 ซม.)
โฟกัสภาพที่แต่ละนิ้วสลับกันไปมา ทำบ่อยๆ
เมื่อโอกาสอำนวย
ท่าที่ 6 ชโลมดวงตา
ตื่นนอนทุกเช้าใช้มือวักน้ำชโลมดวงตาด้วยน้ำอุ่น สัก 20
ครั้ง สลับกับการวักน้ำเย็นชโลมดวงตาอีก 20 ครั้ง
ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียนมาเลี้ยงดวงตาดีขึ้น
การจบด้วยน้ำเย็น
ทำให้กล้ามเนื้อตาและหนังตากระชับไม่หย่อนยาน
ก่อนเข้านอนให้วักน้ำชโลมดวงตาอีกครั้งหนึ่ง
แต่คราวนี้ชโลมด้วยน้ำเย็นก่อนแล้วตามด้วยน้ำอุ่น
จะทำให้กล้ามเนื้อตาและหนังตาได้ผ่อนคลาย ก่อนเข้านอน
ท่าที่ 7 แกว่งตัว
ยืนแยกเท้าเท่ากับช่วงไหล่ แกว่งตัวไปมาจากซ้ายไปขวา
ถ่ายน้ำหนักตัวบนขาแต่ละข้างสลับไปมา สายตามองไปไกลๆ
แต่ไม่ต้องจ้อง
ปล่อยให้จุดที่เรามองแกว่งไปมาซ้ายขวาตามการแกว่งตัว
ท่านี้จะทำให้ดวงตาได้พักและมีการปรับตัวดีขึ้น ทำบ่อย ๆ
เมื่อมีโอกาส เปิดเพลงคลอไปด้วยก็ได้
"วิธีของเบตส์"
ได้รับการยืนยันจากจักษุแพทย์จำนวนมากว่าเป็นการฝึกดวงตา
ที่เป็นระบบช่วยรักษาสายตาคนไข้ได้เป็นจำนวนมาก...
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น