ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Crisis Thai

    ลำดับตอนที่ #8 : บทที่ 4 พัฒนาการนโยบายทางการเงิน(Financial Policy)

    • อัปเดตล่าสุด 8 มี.ค. 58


    แนวความคิดเรื่องการเปิดเสรีทางการเงิน (financial liberalization) เริ่มมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970 โดย McKinnon และ Shaw (1973) เป็นนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มแรก ที่นำเสนอแนวคิดนี้ โดยได้นำเสนอเรื่องความล้มเหลวของการควบคุมหรือการกดดันทางการเงิน (financialrepression) เช่นการเก็บภาษีสถาบันการเงินโดยผ่านการกันสำรองในระดับสูง การมีเพดานอัตราดอกเบี้ย และปริมาณสินเชื่อ รวมทั้งการมีข้อจำกัดในการจัดสรรสินเชื่อ ซึ่งมีแนวความคิดว่ากฎเกณฑ์ต่างๆที่ใช้ควบคุมระบบการเงิน เป็นสาเหตุสำคัญของการบิดเบือน และความไม่มีประสิทธิภาพของระบบการเงิน และการขจัดกฎเกณฑ์การควบคุมระบบการเงินเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาแนวคิดทฤษฎีการเปิดเสรีทางการเงินถูกนำมาใช้อย่างกว้างขว้างและได้ขยายเพิ่มเติมไปยังภาคต่างประเทศ ในช่วงเวลาต่อมาแนวความคิดการเปิดเสรีทางการเงินได้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนักการเงินเสรีรุ่นใหม่ (new generation of financial growth) ได้เพิ่มความสำคัญกับตัวกลางทางการเงิน (financial intermediary) โดยให้ความเห็นว่าตัวกลางทางการเงินมีความสำคัญกับการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ

                ซึ่งตามกระแสโลกาภิวัตน์ ที่มุ่งทำให้เกิดความมีเสรีในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการเปิดเสรีทางด้านการเงิน ประเทศต่างๆได้มีการดำเนินการเปิดเสรีด้านการเงินทั้งการเปิดเสรีทางการเงินภายในประเทศ และนอกประเทศตั้งแต่ทศวรรษ 1970 สำหรับประเทศไทยได้เข้าสู่การเปิดเสรีทางการเงินตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 โดยการผ่อนคลายข้อกัดทางการเงินต่างๆ คือการยกเลิกเพดานอัตราดอกเบี้ย การผ่อนคลายด้านปริวรรตเงินตราการผ่อนคลายข้อจำกัดของการบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน และการขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามแผนพัฒนาระบบการเงินขั้นที่ 1 (ช่วงปี พ.. 2533-2535)และต่อมาได้มีการปรับปรุงพัฒนากฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้ระบบการเงินดำเนินไปอย่างมีเสรีมากขึ้น

                ตามแผนพัฒนาระบบการเงินขั้นที่ 2 (ช่วงปี พ.. 2536-2538) และต่อเนื่องไปยังแผนพัฒนาระบบการเงินขั้นที่ 3 ที่มุ่งเน้นเสริมสร้างความมั่นคง และเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงินมากยิ่งขึ้น ซึ่งระดับการเปิดเสรีทางการเงินของไทยก็เพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากตัวชี้วัดต่างๆการเปิดเสรีทางการเงินของไทย ทำให้ภาคการเงินเกิดการขยายตัว เกิดการเชื่อมโยงระหว่างตลาดเงินในประเทศและตลาดเงินในต่างประเทศมากยิ่งขึ้น หรือการเคลื่อนไหวของอัตรดอกเบี้ยในประเทศใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น ปริมาณเงินทุนไหลเข้าเพิ่มสูงขึ้น

    การเปิดเสรีทางการเงินของประเทศไทย

                การเปิดเสรีทางการเงิน (financial liberalization) คือระบบการเงินที่ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งการเปิดเสรีทางการเงินนั้นสามารถดำเนินการได้โดยการปล่อยเสรีอัตราดอกเบี้ย(deregulation of interest rates) และการปล่อยเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ (liberalizationof international capital flows) และการยกเลิกการควบคุมสินเชื่อ(elimination of credit controls)(เทียนทิพ สุพานิช และ เรจินา วรอุไร, 2544) สำหรับประเทศไทยนั้นเริ่มมีการผ่อนคลายข้อจำกัดทางการเงิน มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปี พ.. 2528 เช่นการอนุญาตให้ชาวต่างถือครองหุ้นของกิจการบางประเภท การเปิดเสรีตลาดทุนโดยการอนุญาตให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนโดยผ่านกองทุน ซึ่งเรียกว่า Country Fund (ซึ่งเป็นหน่วยลงทุนที่ออกหน่วยลงทุนให้กับชาวต่างประเทศ แล้วนำเงินลงทุนดังกล่าวมาลงทุนในประเทศ) การเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงิน

                การเปิดเสรีทางการเงินด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ซึ่งจุดมุ่งหมายหลักเพื่อเป็นการระดมเงินทุนจากต่างประเทศ เข้ามาในตลาดเงินในประเทศเพื่อจัดสรรสู่ระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง และใช้หมุนเวียนเพื่อก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีการเปิดเสรีการเงินด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศนั้นอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในเวลาเดียวกันทั้งนี้เนื่องจากหากมีการปล่อยให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศอย่างเสรีมากเกินไปแล้วโครงสร้างของเงินทุนอาจเป็นโครงสร้างที่ไม่มีเสถียรภาพได้

                ซึ่งประเทศต่างๆที่ดำเนินนโยบายการเปิดเสรีทางด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุน โดยขาดความระมัดระวัง หรือขาดความเหมาะสมกับระบบเศรษฐกิจประเทศนั้นๆแล้วมักจะประสบกับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในที่สุด เช่นประเทศชิลี ได้ดำเนินการปฏิรูประบบการเงินเมื่อปี ค..1974โดยมีลักษณะการดำเนินนโยบายแบบขนาดใหญ่และรวดเร็ว (big-bang approach) ยกเลิกการควบคุมเพดานอัตราดอกเบี้ย อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาดำเนินธุรกิจภาคการธนาคารได้อย่างเต็มรูปแบบ ยกเลิกการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ในที่สุดการปล่อยให้ระบบการเงินดำเนินกิจการได้อย่างเสรีแบบเต็มที่นั้น ทำให้เกิดการขาดความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ เกิดปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (non-performing loan: NPL) จำนวนมาก

                ประเทศเกาหลีใต้ในช่วงแรกได้มีการดำเนินนโยบายการเปิ ดเสรีทางการเงิน โดยการปฏิรูประบบการเงินแบบค่อยเป็นค่อยไป ดำเนินการโดยการยกเลิกเพดานอัตราดอกเบี้ยแต่ภาครัฐก็ยังเข้าไปควบคุมการจัดสรรสินเชื่อให้ระบบเศรษฐกิจอยู่ และหลังจากนั้นก็ได้มีการดำเนินนโยบายการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น ภาคเอกชนมีการก่อหนี้ต่างประเทศสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่เมื่อต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจของประเทศเมื่อปี ค..1997 จึงเรียกชำระหนี้คืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้ระยะสั้น ทำให้สภาพคล่องในระบบการเงินลดลงอย่างรวดเร็ว และเกิดเป็นวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในที่สุด

                สำหรับประเทศไทย ได้มีการผ่อนคลายข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศเรื่อยมาโดยเริ่มอย่างเป็นทางการตั้งแต่การรับพันธะ 8 ประการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหลังการผ่อนคลายข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายเงินทุนแล้ว ทำให้มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าจำนวนมากก่อนการเปิดเสรีทางการเงินในปี พ..2531-..2532 มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าประมาณ 226,086 ล้านบาท และ 339,803 ล้านบาท ตามลำดับ แต่หลังจากการผ่อนคลายข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายเงินทุนแล้ว มีเงินทุนไหลเข้าเพิ่มขึ้นเป็น 580,846 ล้านบาท ในปี พ..2533 และ 960,646 ล้านบาท ในปี พ..2534 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.94 และร้อยละ 65.39 ตามลำดับ

                อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ได้ประสบปัญหาวิกฤติการณ์ทางด้านการเงินเช่นเดียวกัน ในปี..2540 โดยที่วิกฤติการณ์ของประเทศไทยในครั้งนั้นเป็นทั้งวิกฤติการณ์ของภาคสถาบันทางการเงิน และวิกฤติการณ์ค่าเงินบาท ทั้งนี้ผลของปัญหาของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มสูงขึ้นมากทำให้ภาคสถาบันการเงินขาดสภาพคล่อง และความผันผวนของค่าเงินบาท การเก็งกำไรค่าเงินบาททำให้นักลงทุนและเจ้าหนี้ต่างประเทศ นำเงินลงทุนออก และเรียกชำระหนี้คืนโดยเฉพาะ อย่างยิ่งหนี้ระยะสั้น ทำให้เกิดเงินทุนไหลออกจำนวนมาก เห็นได้ชัดว่าในช่วงปี พ..2540มูลค่าเงินทุนเคลื่อนย้ายภาคเอกชนสุทธิ ลดลงอย่างรวดเร็ว และแสดงมูลค่าเป็นเงินทุนเคลื่อนย้ายภาคเอกชนไหลออกสุทธิสูงสุดในปี พ..2541 ซึ่งมีมูลค่าเงินทุนเคลื่อนย้ายภาคเอกชนไหลออกสุทธิเท่ากับ 645,096 ล้านบาท

                สำหรับภาคธนาคารพาณิชย์นั้น หลังจากมีการผ่อนคลายข้อจำกัดการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศแล้ว ก็ได้มีการกู้ยืมจากต่างประเทศเพื่อนำมาปล่อยสินเชื่อสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกู้ยืมแบบ BIBF (Bangkok International Banking Facilities) หากพิจารณาจากมูลค่าหนี้สินต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ตามภาพที่ 4.12 มูลค่าหนี้ต่างประเทศของภาคการธนาคารโดยเฉลี่ยระหว่างปี พ..2528-..2532 เท่ากับ 47,700 ล้านบาท แต่หลังจากการผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศแล้ว ภาคธนาคารพาณิชย์มีหนี้สินต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่ตั้งแต่เริ่มการเปิดเสรีอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ..2533ถึงการปี พ..2536 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวมีการออกมาตรการผ่อนคลายข้อจำกัดออกมาอย่างต่อเนื่อง หนี้ต่างประเทศของภาคธนาคารเพิ่มขึ้นกว่า 186,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 255หลังจากนั้นก็มีการก่อหนี้จากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปริมาณหนี้ต่างประเทศของภาคธนาคารสูงสุดเมื่อปี พ..2540 มีมูลค่าหนี้กว่า 1,507,291 ล้านบาท อย่างไรก็ตามปี พ..2540อาจสะท้อนมูลค่าหนี้ที่ไม่ถูกต้องมากนัก เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจากการลอยตัวค่าเงินบาท

                จากการที่ประเทศไทยได้มีการดำเนินนโยบายการเปิ ดเสรีทางการเงินอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.. 2533 ส่วนหนึ่งของนโยบายการเปิ ดเสรีทางการเงินคือการผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ซึ่งเมื่อเปิ ดเสรีทางการเงินแล้ว การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศในรูปของเงินกู้ยืมระหว่างประเทศ ทั้งการกู้ยืมโดยตรงจากต่างประเทศของภาคเอกชน และการกู้ยืมผ่านกิจการวิเทศธนกิจ (Bangkok International Banking Facilities:BIBF)

                ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศการใช้หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจ เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ..2535 โดยมีจุดมุ่งหมายคือการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และชดเชยช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุนในขณะนั้น โดยที่เงินกู้ยืมผ่าน BIBF สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือประเภทOut-Out เป็นการนำเงินทุนที่มาจากแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศ มาปล่อยกู้ให้นักลงทุนที่อยู่ในต่างประเทศ และอีกประเภทหนึ่งคือ Out-In เป็นการนำเงินทุนจากแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศมาปล่อยเงินกู้ในประเทศ ในรูปของเงินตราต่างประเทศ

                เมื่อมีการจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจเพื่อเป็นแหล่งระดมเงินทุน การไหลเข้าของเงินทุนผ่านกิจการวิเทศธนกิจเพิ่มขึ้นสูงมาก หากพิจารณาตามภาพที่ 4.14 เริ่มแรกที่ได้มีการจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจ ในไตรมาสที่ 4 ปี พ.. 2533 ยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อของกิจการวิเทศธนกิจ 186,049ล้านบาท หลังจากนั้นปริมาณสินเชื่อผ่านกิจการวิเทศธนกิจเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณสินเชื่อผ่านกิจการวิเทศธนกิจสูงสุดในไตรมาสที่ 4 ปี พ.. 2540 ยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อของกิจการวิเทศธนกิจ 1.881.863 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท และหากพิจารณาสัดส่วนยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อของกิจการวิเทศธนกิจ ระหว่างประเภท Out-Outและ Out-In พบว่าสัดส่วนของยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อของกิจการวิเทศธนกิจมีสัดส่วนที่สูงกว่ามาก โดยมีสัดส่วนของยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อของกิจการวิเทศธนกิจประเภท Out-In เฉลี่ยที่ร้อยละ 76.94 ของยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อของกิจการวิเทศธนกิจรวม และตั้งแต่เปิ ดเสรีทางการเงินจนถึงก่อนวิกฤติการณ์ทางการเงินปี พ..2540 มีสัดส่วนสูงสุดที่ร้อยละ 97.95 ซึ่งหมายความว่าการกู้ยืมเงินในรูปเงินตราต่างประเทศผ่านกิจการวิเทศธนกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นการที่คนในประเทศ หรือภาคธุรกิจในประเทศกู้ยืมเงินตราต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง

                การดำเนินนโยบายการผ่อนคลายการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ของประเทศไทยในช่วงแรกอยู่ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงิน (Basket Currency) ซึ่งเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ผูกค่าเงินบาทไว้กับกลุ่มเงินตราของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย และให้ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (Exchange Equalization Fund: EEF) ทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน ด้วยวิธีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์โดยไม่จำกัดจำนวนแต่ต้องซื้อด้วยอัตรากลางที่ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรากำหนด อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าประเทศไทยจะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงินแต่ในทางปฏิบัติอัตราแลกเปลี่ยนยังคงอ้างอิงค่าเงินบาทไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐฯไว้ในสัดส่วนที่สูง

                การดำเนินนโยบายการเปิ ดเสรีทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่อนคลายข้อจำกัดการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ภายใต้นโยบายการอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ทำให้เงินทุนไหลเข้า โครงสร้างของเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าเปลี่ยนแปลงเป็นการนำเข้าผ่านทางวิเทศธนกิจและการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ การไหลเข้าของเงินทุนจำนวนมากภายใต้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน รับซื้อเงินตราต่างประเทศจำนวนมาก ซึ่งการแทรกแซงด้วยวิธีนี้ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นมาก ส่งผลต่อเนื่องทำให้การลงทุน และการบริการโภคขยายตัว และการที่ปริมาณเงินเพิ่มสูงขึ้นเป็นการเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้ อ และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวดุลบัญชีเงินทุนยังคงเกินดุลจำนวนมากทำให้ดุลการชำระเงินยังคงเกินดุลอยู่ (ธนาคารแห่งประเทศไทย,2538-2542)

                ในปี พ..2539 การส่งออกของประเทศไทยชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ประกอบกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงินที่อิงกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัดส่วนที่สูงทำให้ค่าเงินบาทเข็งค่าขึ้นตามค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เข็งค่าขึ้นทำให้ราคาสินค้าโดยเปรียบเทียบแพงกว่าคู่แข่ง การนำเงินทุนระยะสั้นใช้ลงทุนในโครงการระยะยาว เริ่มสร้างปัญหาเมื่อเงินทุนระยะสั้นทยอยออกนอกประเทศ ยอดหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans: NPLs) ของสถาบันการเงินเริ่มเพิ่มขึ้น บริษัทจัดอันดับความเสี่ยง Moody’s Investor Service ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของประเทศไทย เจ้าหนี้ต่างประเทศเริ่มมีการเรียกคืนเงินกู้ และทำให้มีเงินทุนไหลออกอย่างต่อเนื่องเนื่องจากโดยส่วนใหญ่แล้วเงินทุนไหลเข้าเป็น เงินกู้ยืมโดยตรงของภาคเอกชน เงินกู้ผ่านกิจการวิเทศธนกิจ และเงินบาทของผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ

                เมื่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ขณะทีเศรษฐกิจประเทศไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มสูงขึ้นประเทศไทยภายใต้การดำเนินโบบายระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงินที่อิงกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในสัดส่วนที่สูงทำให้ค่าเงินบาทมีค่าสูงเกินกว่าความเป็นจริง (Overvalued) ก่อให้เกิดกระแสข่าวลือเรื่องการลดค่าเงินบาท และนักเก็งกำไรค่าเงินโจมตีค่าเงินบาท ครั้งแรกเดือน ธันวาคม พ..2539ครั้งที่สองเดือน มกราคม พ..2540 และครั้งที่สามเดือน เมษายน พ..2540 กรโจมตีค่าเงินบาททั้ง3 ครั้ง ทางการได้เข้าแทรกแซงค่าเงินบาททั้งการใช้ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน และการแทรกแซงจากฝ่ ายการธนาคาร หลังจากนั้นก็มีการโจมตีค่าเงินบาทมาต่อเนื่อง และมีการโจมตีค่าเงินบาทอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ..2540 แต่ครั้งนั้นทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นผู้ทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน

                วันที่ 13 พฤษภาคม พ..2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ขอความช่วยเหลือจากธนาคารกลางฮ่องกงให้รับซื้อเงินบาทเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท การโจมตีค่าเงินบาทมีต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 14 พฤษภาคม พ..2540 ฝ่ ายจัดการธนาคารเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน แบบไม่จำกัดจำนวนเงิน จนกระทั่งวันที่ 15 พฤษภาคม พ..2540ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งห้ามธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้เงินบาทให้สถาบันการเงินต่างประเทศที่ไม่มีธุรกรรมเกิดขึ้นจริง มาตรการดังกล่าวทำให้ตลาดเงินบาทถูกแบ่งเป็น 2 ตลาด คือตลาดภายในประเทศ (onshore market) และตลาดต่างประเทศ (offshore market)

                มาตรการดังกล่าวทำให้เกิดการขาดแคลนเงินบาทในตลาดต่างประเทศทันที ทำให้ค่าเงินบาทและอัตราดอกเบี้ยเงินบาทในตลาดต่างประเทศสูงขึ้น ขณะที่ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศไม่ได้สูงขึ้นตาม นักเก็งกำไรค่าเงินบาทขาดทุนสูงมากเพราะต้องหากเงินบาทที่มีราคาแพงในตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังคงไม่มั่นใจในเศรษฐกิจของประเทศไทยจึงเกิดการไหลออกของเงินทุน ในสุดท้ายแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงิน เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ(Managed Float) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ..2540 (ธนาคารแห่งประเทศไทย,2538-2542)

     .........................................................................................................................................................................................

               

    ดู (วิทยานิพนธ์ เรื่อง ผลกระทบของระดับการเปิดเสรีทางการเงินต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

    The Effect of Financial Liberalization on Economic Growth โดยนายไพรัช หม่อมวิทยา)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×