ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Crisis Thai

    ลำดับตอนที่ #7 : บทที่ 3 เศรษฐศาสตร์กับอิทธิพลทางการเมือง

    • อัปเดตล่าสุด 8 มี.ค. 58


    สำหรับประเทศไทย เราเป็นประเทศเกิดใหม่ในทางเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า Emerging country หรือ Emerging market หรือถ้าเรียกแบบทั่้่วๆไปก็เรียกว่า Developing country (ประเทศที่กำลังพัฒนา) ถ้าให้เห็นภาพที่ต่างประเทศพูดถึง เราก็เหมือนป่าที่กำลังแปรเป็นสภาพเหมือนไร่นา มันมีความอุดมสมบูรณ์ของป่า ชาวบ้านหรือนายทุนบางคนจึงนิยมทำลายป่าเพื่อทำไร่ สมัยก่อนมีการทำไร่เลื่อนลอยกันมาก ป่าเมืองไทยจึงลดน้อยลงตามลำดับ

    สำหรับระบบเศรษฐกิจก็เหมือนกัน เรามีระบบเศรษฐกิจที่อุดมสมบูรณ์มาก่อนอย่างคำพูดที่ว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" เรามีทรัพยากรธรรมชาติมากมายในการผลิตสินค้าระบบเศรษฐกิจใหม่ เรามีรัฐที่เข้มแข็งในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช เราผลิตข้าวปลาอาหารให้โลกมานานแม้ปัจจุบันนี้

     เมื่อกระแสโลกพัดผ่านมา (โลกาภิวัตน์หรือ Globalization) ประเทศไทยก็จำต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เคราะห์ดีที่เราก็ผ่านการเปลี่ยนผ่านนั้นมาด้วยดี   

    รัฐเปรียบเหมือนสมองของประเทศ ทางเศรษฐกิจรัฐเป็นผู้ควบคุมสูงสุดของระบบ และถือว่าเป็นส่วนสำคัญสูงสุดเช่นกัน ผลประโยชน์ของรัฐต้องมาก่อน ประชาชนต้องปกป้องรัฐอย่างสุดความสามารถ ถึงตายก็ต้องยอม

    แต่เดิมฝรั่งถือปรัชญาเศรษฐกิจเสรี ให้รัฐเข้าไปควบคุมดูแลระบบเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด แต่ภายหลังพบว่าหากขืนปล่อยให้ระบบดำเนินไปตามธรรมชาติ อาจเกิดความเสียหายได้ จึงเริ่มมีการแทรกแซง ชี้นำ เป็นระยะๆ ตามความจำเป็น แต่ยามวิกฤติเศรษฐกิจมาเยือน เราจะเห็นความสำคัญของรัฐในการควบคุมแก้ไขปัญหา รัฐสังคมนิยมอย่างจีนซึ่งมีเศรษฐกิจเสรีแบบควบคุม กลับควบคุมสถานการณ์วิกฤติได้ดีกว่า

         เนื่องจากรัฐมีอำนาจสูงสุดในการดูแลความมั่งคั่งของประเทศ จึงได้มีการแก่งแย่งเป็นผู้กุมอำนาจรัฐมาตั้งแต่โบราณ ไม่ว่ารัฐนั้นจะปกครองกันด้วยระบบใด นอกจากนั้นยังมีการทำสงครามระหว่างรัฐเพื่อแย่งชิงความมั่งคั่งของประเทศอื่น เพราะฉะนั้นสงครามหรือความขัดแย้งทางการเมืองจึงถือเป็นฉากสำคัญฉากหนึ่งของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

         แม้ว่ารัฐในโลกนี้จะมีระบบการปกครองที่แตกต่างกัน แต่ระบบเศรษฐกิจในลักษณะโครงสร้างที่ต้องอาศัยทุนก็ไม่ได้แตกต่างกัน สิ่งที่แตกต่างกันก็คือระบบการปกครองที่ให้อำนาจในการบริหารจัดการทางเศรษฐกิจส่วนอื่นๆ เช่น ภาคการเงินและธนาคาร ภาคการผลิต และภาคประชาชนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะได้กล่าวในตอนหลัง

         รัฐในอุดมคติทางเศรษฐกิจก็คือรัฐที่มุ่งสร้างความมั่งคั่งของประเทศโดยรวม ซึ่งต้องมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่องคาพยพทางเศรษฐกิจทั้งสาม อันได้แก่ สถาบันการเงินหรือทุน ภาคการผลิต และภาคประชาชนผู้บริโภค ปัญหาที่มักจะเกิดก็คือ ความเหลื่อมล้ำในการดูแลที่ไม่เสมอภาค ในอดีตภาคที่สูบเอาความมั่งคั่งไปมากที่สุดคือภาคการเงิน ส่วนภาคประชาชนผู้ใช้แรงงานกลับไปได้การเหลียวแล แต่ปัจจุบันการเอาใจภาคประชาชนซึ่งเรียกว่าประชานิยม กลับหวนกลับมามีความสำคัญมากกว่า อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้กุมอำนาจรัฐต้องพิจารณาคือการให้ระบบมีความสมดุลย์เพื่อให้ระบบมีความเสถียรภาพมากที่สุด(http://www.oknation.net)

    ตลอดเวลาที่ผ่านมาจะหานโยบายใดในสังคมไทยที่สร้างผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งไปกว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นไม่มี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กลายเป็นแม่แบบของการวางแผนด้านเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทยอย่างเด่นชัด รวมทั้งยังเป็นเป้าหมายร่วมที่คนในสังคมไทยพยายามขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินไปในทิศทางเดียวกัน แม้ระยะหลังจะเน้นฉันทามติและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในขั้นตอนการร่างแผนมากขึ้นก็ตาม

    การจัดการให้มีหน่วยงานวางแผนด้านเศรษฐกิจของไทยเริ่มต้นขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นผลมาจากแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงครามของประเทศต่างๆ ที่ธนาคารโลกได้เป็นผู้เสนอแนะแนวทาง ในประเทศไทยการวางแผนเศรษฐกิจรัฐบาลได้ตั้งหน่วยงานรับผิดชอบดูแลที่ชื่อ "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ขึ้น เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2493 มีหน้าที่เสนอความเห็นและคำแนะนำตลอดจนข้อชี้แจงต่อรัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศ แต่หน่วยงานดังกล่าวก็ไม่ได้ดำเนินงานที่เห็นได้ชัดเจนเพราะขณะนั้นรัฐบาลภายใต้นายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงครามกำลังดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแนวชาตินิยมหรือทุนนิยมโดยรัฐ ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมสำคัญเกือบทั้งหมด ไม่ได้ส่งเสริมให้เอกชนประกอบการอุตสาหกรรมนัก หรือให้การส่งเสริมเฉพาะเอกชนที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลทำให้มีลักษณะของทุนนิยมขุนนาง ที่ไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจเกชนและเกิดกลไกตลาดที่สมบูรณ์ขึ้นได้

    ต่อมาคณะผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลกได้เสนอแนะให้มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มบทบาทหน้าที่ของ "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ให้มีมากขึ้น และให้จัดตั้งเป็นหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่วางแผนพัฒนาประเทศขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ดังนั้นในปี 2502 จึงได้มีการปรับโครงสร้างการทำงานและเปลี่ยนชื่อของหน่วยงานแห่งนี้ใหม่เป็น "สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ" โดยมีบทบาทสำคัญคือการวางแผนการด้านเศรษฐกิจที่มีจุดประสงค์และเป้าหมายชัดเจนในการดำเนินงานระยะยาว ต่างจากโครงการเศรษฐกิจก่อนหน้านั้นที่เน้นการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องจนกระทั่งในปี 2515 มีการนำกระบวนการวางแผนพัฒนาสังคมเข้ามาใช้ควบคู่กับการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างจริงจัง จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อของหน่วยงานใหม่อีกครั้งหนึ่งเป็น "สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้อย่างเป็นทางการจวบจนปัจจุบันนี้โดยอยู่ภายใต้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีตลอดมา

    สาเหตุสำคัญของการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทยนั้นส่วนใหญ่จะให้น้ำหนักไปที่การผลักดันหรืออิทธิพลของทุนนิยมโลก คือธนาคารโลกและโดยเฉพาะอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาที่ต้องทำสงครามเย็นกับฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ด้วยการพยายามผลักดันนโยบายเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีนิยมเพื่อปิดล้อมการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในเอเชียหลังจีนปฏิวัติสำเร็จในปี 2492 ซึ่งประเทศไทยก็เป็นเป้าหมายที่สหรัฐต้องช่วยเหลือไม่ให้กลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้เพราะไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตกอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมืองและการค้ากับจีนมาช้านานกว่าพันปี ดังนั้นสหรัฐจึงต้องเข้ามาสร้างอิทธิพลต่อไทยด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการต่างๆ แก่ไทย ตั้งแต่การลงนามในข้อตกลงระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2493 หลังจากนั้นรัฐบาลไทยก็ได้รับความช่วยเหลือจากทางสหรัฐอเมริกาผ่านทางหน่วยงานต่างๆ ที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไทย โดยให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรมากที่สุด เท่าๆ กับด้านคมนาคมและพลังงาน รองลงมาเป็นด้านอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ ด้านการศึกษาและการบริหารราชการ

    การเข้ามาช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจของสหรัฐยังได้พยายามกดดันให้ไทยหันมาใช้ระบบเศรษฐกิจระบบเปิดให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนมากขึ้นตามแนวทางของสหรัฐอเมริกาที่การลงทุนเป็นหน้าที่ของเอกชนรัฐบาลมีหน้าที่ควบคุมกฎเกณฑ์และส่งเสริมเอกชนในการลงทุน ด้วยการลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการให้หลักประกันการลงทุนของคนอเมริกันเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2497 และเพื่อตอบสนองต่อข้อตกลงดังกล่าว รัฐบาลไทยได้ออกพระราชบัญญัติส่งเสริมอุตสาหกรรม 2497 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ถือว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกของไทยที่แสดงเจตนารมณ์ในการส่งเสริมการลงทุนของเอกชนและการลงทุนจากต่างประเทศ สหรัฐฯ เห็นแนวโน้มที่เอกชนของตนจะเข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจในไทยได้มากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติแล้วการลงทุนโดยเอกชนเกิดขึ้นน้อยมากเพราะโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสังคมไทยยังไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก

    นอกจากสหรัฐอเมริกาแล้วยังมีธนาคารโลกซึ่งมีที่มาจากการเป็นธนาคารเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุโรปที่ตั้งขึ้นโดยสหรัฐฯ และมีนโยบายในการเข้าไปพัฒนาจากการให้เงินกู้ซึ่งไทยเริ่มกู้มาตั้งแต่พ.ศ. 2493 และวางแผนการทางเศรษฐกิจให้กับประเทศกำลังพัฒนาโดยธนาคารโลกได้ส่งคณะมาสำรวจระบบเศรษฐกิจไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2500-2501 และได้เสนอรายงานต่อรัฐบาลไทยด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในอดีตไม่มีประสิทธิภาพ พร้อมกับได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ โครงการพัฒนาของรัฐสำหรับประเทศไทย (A Public Development Program for Thailand) ซึ่งต่อมากลายเป็นแผนพัฒนาการเศรษฐกิจฉบับแรกนั่นเอง โดยข้อเสนอแนะจากธนาคารโลกดังกล่าวที่ตีพิมพ์เป็นผลของการวิจัยที่ทำขึ้นในนามของรัฐบาลไทยในปี 2502 ได้กลายเป็นหลักการที่คณะกรรมการร่างแผนพัฒนาการเศรษฐกิจได้นำมาใช้ในแผนพัฒนาฯ เกือบทั้งหมด

    ส่วนสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้นนั้น เกิดจากแรงกดดันที่สหรัฐฯ ได้ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการให้เงินช่วยเหลือแก่รัฐบาลไทยจากเดิมที่เคยให้เป็นโครงการไป ตามรัฐบาลสหรัฐฯ ในสมัยประธานาธิบดีเคเนดี้ได้เปลี่ยนนโยบายความช่วยเหลือเป็นการพิจารณาถึงแผนเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศที่รับการช่วยเหลือเป็นเกณฑ์ เพื่อความต่อเนื่องของนโยบายขณะเดียวกันธนาคารโลกเองก็ได้ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการให้กู้เงินโดยพิจารณาจากประเทศที่มีแผนการเศรษฐกิจระยะยาวด้วยเช่นกัน

    ในการอธิบายจากปัจจัยการเมืองภายในประเทศนั้นมักมองว่าการยอมรับในนโยบายเศรษฐกิจที่สหรัฐฯและธนาคารโลกเสนอนั้น เนื่องจากจอมพลสฤษดิ์ต้องการสร้างความยอมรับจากประชาชนในการบริหารประเทศ และต้องการทำลายฐานอำนาจทางเศรษฐกิจของศัตรูทางการเมืองของตนเช่นกลุ่มราชครู พร้อมกับการสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเอง หรือเป็นการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองในการบริหารประเทศของสฤษดิ์เนื่องจากมีที่มีจากการปฏิวัติยึดอำนาจ การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยจะช่วยสร้างความชอบธรรมของการปกครองด้วยระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ

    แนวทางที่ได้รับคำแนะนำจากธนาคารโลกและที่ปรึกษาชาวอเมริกันในการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น ต่างเสนอถึงความจำเป็นที่ต้องอาศัยการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ภายในประเทศ กำลังคนในสาขาวิชาการต่างๆ และเงินทุนเป็นสำคัญ นอกจากนั้นจะต้องวางนโยบาย แนวทาง และมาตรการให้เหมาะสมและมีความชัดเจนเป็นเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวเอาไว้เป็นวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนทั้งสังคม ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี

    หน่วยงานระดับชาติเป็นผู้ดำเนินการให้บรรลุถึงจุดหมาย ด้วยการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักในการพัฒนา โดยกำหนดแนวทางเป้าหมาย และจัดทำโครงการที่แน่นอน เพื่อประโยชน์ในการประเมินผลที่ได้จากการพัฒนาเศรษฐกิจ ตรวจสอบผลงานของส่วนราชการที่มีหน้าที่พัฒนา และเพื่อให้ต่างประเทศทราบถึงนโยบายและมาตรการของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ

    สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติจึงได้ตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2502 ตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2502 และแก้ไขปรับปรุงพ.ศ. 2503 และได้ตั้งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติเป็นหน่วยปฏิบัติงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อสามารถสนองนโยบายและติดตามงานได้อย่างใกล้ชิด พร้อมกันนั้นก็ได้ยุบเลิกสภาเศรษฐกิจแห่งชาติเสียด้วย โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติมีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจตามที่คณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีมอบหมาย หรือจัดทำข้อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ในขณะที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติเป็นหน่วยงานประจำและเป็นองค์กรที่มีบทบาทสูงสุดในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีคณะกรรมการบริหารสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติทำหน้าที่ควบคุมนโยบายและตัดสินใจ โดยประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาการต่างๆ เป็นกรรมการบริหารส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการซึ่งเป็นข้าราชการประจำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจและมีอำนาจในการตัดสินใจอย่างแท้จริง คณะกรรมการชุดแรกมีทั้งหมด 10 คนได้แก่

    1. หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ประธาน

    2. นายพจน์ สารสิน กรรมการ

    3. นายทวี บุณยเกตุ กรรมการ

    4. พล.อ.ท. มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฎ์ กรรมการ

    5. พล.อ. จิติ นาวีเสถียร กรรมการ

    6. นายเล้ง ศรีสมวงศ์ กรรมการ

    7. นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ กรรมการ

    8. พล.ร.ต. ชลี สินธุโสภณ กรรมการ

    9. นายฉลอง ปึงตระกูล (เลขาธิการสภาพัฒนาฯ) กรรมการ

    10. นายบุญชนะ อัตถากร (รองเลขาฯ) กรรมการ

    ซึ่งคณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่และบทบาททางเศรษฐกิจตั้งแต่การวางแผนพัฒนา พิจารณาควบคุมโครงการพัฒนา งบประมาณ ศึกษาวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ จึงทำให้มีอำนาจในการวางแผนและกำหนดแนวคิดทางเศรษฐกิจอย่างสูง ส่วนสำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติได้กลายเป็นที่รวมของข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถและทำให้ข้าราชการเหล่านั้นมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมาก รวมทั้งเป็นการขยายตัวของระบบราชการจากการเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาด้วย ระบบราชการเลยมีความสำคัญในการพัฒนาประเทศขึ้นมาด้วย

    โดยในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2504 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติระหว่าง พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2506 และ พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2509 การที่ได้แบ่งระยะเวลาของแผนพัฒนาออกเป็น 2 ระยะนั้น มีเหตุผลอยู่ว่าในการจัดทำโครงการและวางแผนพัฒนาในระยะ 3 ปีแรก จำเป็นต้องอาศัยเวลาศึกษาและพิจารณางานของสาขาต่างๆ และศึกษาปัญหานานาประการ ตลอดจนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นสำหรับระยะ 3 ปีหลัง ฉะนั้นปี พ.ศ. 2504 จึงถือว่าเป็นปีเริ่มต้นในการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 และเป็นจุดเปลี่ยนในทางเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ

    สาระสำคัญของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509) 
    เป้าหมายในการพัฒนาได้วางเป้าหมายของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ ไว้ดังนี้

    1. เพิ่มรายได้ประชาชาติจากอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4 ต่อปีให้เพิ่มเป็นร้อยละ 5 ต่อปี และรายได้ประชาชาติคิดเฉลี่ยต่อคนให้เพิ่มจากร้อยละ 2 ต่อปีเป็นร้อยละ 3 ต่อปีเป็นอย่างน้อย

    2. เพิ่มการสะสมทุนจากอัตราส่วนโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 14-15 ของรายได้ประชาชาติในแต่ละปี ให้เพิ่มขึ้นในอัตราส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ประชาชาติในแต่ละปีตลอดแผน

    3. เพิ่มผลผลิตด้านเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศ คือ ข้าว ยาง ข้าวโพด มันสำปะหลัง รวมทั้งการผลิตสัตว์และการประมงให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี

    4. เพิ่มรายได้ประชาชาติในด้านอุตสาหกรรมจากร้อยละ 10 ต่อปี เป็นเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี และเพิ่มผลผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญเช่น ปูนซิเมนต์ ผ้า น้ำตาล กระดาษ ยาสูบ แร่

    5. เพิ่มการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า

    6. บูรณะเส้นทางคมนาคมทั้งทางหลวงแผ่นดินและแม่น้ำลำคลอง ทางรถไฟ และปรับปรุงกิจการไปรษณีย์ โทรเลข วิทยุ และโทรศัพท์ให้มีสมรรถภาพดีขึ้น

    7. ขยายกิจการการศึกษาและสาธารณสุข โดยจะส่งเสริมอาชีวศึกษาเป็นพิเศษ

    8. การรักษาดุลการค้าระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับที่อำนวยเสถียรภาพแก่การเศรษฐกิจของประเทศ พยายามเพิ่มมูลค่าสินค้าขาเข้าและขาออกในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี

    9. การรักษาเสถียรภาพของเงินตราให้มีค่ามั่นคงตลอดไป และปรับปรุงภาษีอากรเพื่อประโยชน์แก่พัฒนาการเศรษฐกิจ

    โดยสรุปแล้วเป้าหมายของการพัฒนามี 2 ประการ ได้แก่ เพิ่มความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มผลผลิตและรายได้และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ทางเศรษฐกิจ การศึกษาและสาธารณสุข

    นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา

    1.รัฐบาลมุ่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจในสาขาต่างเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานและผลิตพลังงานไฟฟ้า สร้างทางหลวง ทางรถไฟ ท่าเรือ สนามบินและสาธารณูปโภคที่สำคัญเพื่ออำนวยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

    2.ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตโดยใช้วิชาการสมัยใหม่ และส่งเสริมให้มีการค้นคว้าวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม

    3.รัฐบาลมีนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี ส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนทางเศรษฐกิจ โดยรัฐไม่ไปลงทุนผลิตแข่งกับเอกชน แต่ทำหน้าที่ควบคุม ส่งเสริมและจัดหาเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการพัฒนา

    โครงการพัฒนาที่สำคัญ

    1.โครงการพัฒนาด้านเกษตรกรรม โครงการสำคัญสุดคือด้านชลประทานได้แก่การสร้างเขื่อน และโครงการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์เพื่อเพิ่มผลิตภาพด้วยการจัดตั้งหน่วยงานค้นคว้าวิจัยทางวิชาการของพืชและสัตว์ต่างๆ ขึ้น เช่น สถาบันข้าว สถาบันยาง โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม เป็นต้น

    2.โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมโครงการสำรวจแหล่งแร่ธาตุเพื่อทำเหมือง โครงการพัฒนาพลังงานจากพลังน้ำ ปรมณู ถ่านหิน และพัฒนาระบบน้ำประปาเพื่อรองรับการผลิตภาคอุตสาหกรรม

    3.โครงการพัฒนาด้านคมนาคม ได้แก่โครงการสร้างและบูรณะเส้นทางคมนาคมทางหลวงแผ่นดิน ขยายทางรถไฟไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการปรับปรุงท่าอากาศยานกรุงเทพฯ โครงการสร้างและปรับปรุงระบบโทรคมนาคม คือโทรเลข โทรศัพท์

    4.โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข เน้นการเพิ่มจำนวนบุคลากรและสถานพยาบาลให้ทั่วถึง

    เห็นได้ว่าในแผนพัฒนาฉบับแรกนั้นการพัฒนาจะเน้นเน้นการลงทุนสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (infra-structure) ของประเทศ ได้แก่ การสร้างทางหลวงสายประธาน การพัฒนาเส้นทางรถไฟ การปรับปรุงการประปา และการสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานและการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ เช่น เขื่อนภูมิพล และเขื่อนอุบลรัตน์ เป็นต้น โดยเฉพาะการสร้างถนนและโครงการชลประทานหลายโครงการที่กำหนดขึ้นด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง คือการสร้างทางหลวงไปยังแหล่งแซกซึมของคอมมิวนิสต์เพื่อการติดต่อที่สะดวกขึ้นในการลงไปพัฒนาต่างๆ ด้วยการสนับสนุนจากอเมริกา ด้วยเหตุนี้การสร้างถนนหนทางหลายสายโดยเฉพาะในภาคอีสาน และการชลประทานจึงเป็นไปตามความต้องการของทางราชการมากกว่าจะเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่

    ผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

    1. กิดแผนการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นทางการครั้งแรก จากเดิมที่ดำเนินการทางเศรษฐกิจเป็นปีๆ ไปหรอตามโครงการแต่ขาดแผนระยะยาว หรือแผนแม่บทในการพัฒนา การมีแผนพัฒนาการเศรษฐกิจซึ่งต้องการการศึกษาทางวิชาการรองรับ และเป็นแผนที่มีเป้าหมายและเกณฑ์การประเมินผลสำเร็จชัดเจนเมื่อดำเนินการไปแล้ว

    2. รัฐบาลเปลี่ยนแนวนโยบายทางเศรษฐกิจจากทุนนิยมโดยรัฐหันมาส่งเสริมอุตสาหกรรมแบบเสรีนิยม เน้นให้เอกชนเป็นผู้ประกอบการรัฐมีหน้าที่เพียงส่งเสริมและสนับนุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้เพื่อลดอุปสรรคในการลงทุนด้านอุตสาหกรรม

    3.ข้าราชการและนักวิชาการมีส่วนร่วมในการพัฒนา แต่เดิมนักวิชาการไม่มีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมากนัก แต่ในยุคของจอมพลสฤษดิ์นั้นให้ความสำคัญกับนักวิชาการหรือข้าราชการที่มีหลักวิชาการในการเข้ามาร่วมงานและออกความเห็นรวมทั้งช่วยกันดำเนินการตามแผนการพัฒนาอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ระบบข้าราชการขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการมาก

    4. ความต้องการเงินทุนในการพัฒนาเป็นจำนวนมาก นอกจากรายจ่ายจากงบประมาณแล้วยังทำให้ต้องรับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ การกู้เงินจากสถาบันการเงินในและต่างประเทศ แต่ผลดีก็คือเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วจากการลงทุนที่เกิดข้นทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม รวมทั้งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้วยที่ทำให้รายได้กระจายไปมากกว่าเวลาอื่นใดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย กล่าวได้ว่าแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (2504-2509) ตลอดทั้งสองช่วงของแผนนี้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่โครงสร้างของเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ทั้งยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมและการเมืองติดตามมาไม่น้อยด้วย ที่สำคัญการบริหารราชการแผ่นดินได้เปลี่ยนแปลงไปจากการมีนโยบายของรัฐบาลอย่างเดียว กลายเป็นว่าไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐบาลไปอย่างไรแต่แผนพัฒนาก็ยังคงเป็นแบบของการพัฒนาที่สำคัญที่ทุกรัฐบาลต้องให้ความสำคัญมาโดยตลอด(http://www.kpi.ac.th)

              

    "ผู้ใหญ่ลี"


                   พอศอสองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม

         ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี

          ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา

          ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร

          ฝ่ายตาสีหัวคลอน ถามว่า สุกร นั้นคืออะไร

          ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด สุกรนั้นไซร้ คือ หมาน้อยธรรมดา

          หมาน้อยธรรมดา หมาน้อยธรรมดา

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×