คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : บทที่ 1 ความเจริญรุ่งเรืองของเศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวมาตั้งแต่ดำเนินนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509)เป็นต้นมา(ดู วิบากกรรมเศรษฐกิจ 2540 บทเรียนจาก ศปร.1 ,หน้า 4-9)
ซึ่งความเป็นมาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีชื่อย่อว่า สภาพัฒน์ฯ เริ่มในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชน์ เนื่องจากตั้งแต่ พ.ศ. 2495 เป็นต้นมา โดยทั่วไปประเทศไทยมีดุลการค้าเสียเปรียบตลอดมา จุดหมายของพัฒนาการเศรษฐกิจในด้านการค้าระหว่างประเทศ จึงอยู่ที่การรักษาดุลการค้าให้อยู่ในระดับที่อำนวยเสถียรภาพแก่การเศรษฐกิจของประเทศ ส่วนจุดหมายสำคัญในด้านการเงินและการคลัง คือ การรักษาเสถียรภาพของเงินตราให้มีค่ามั่นคงตลอดไป อันเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ประชาชนออมทรัพย์ และมีผลให้เกิดการลงทุนในกิจการต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการคลัง ถ้ามีความจำเป็นอาจจะปรับปรุงภาษีอากรเพื่อประโยชน์แก่พัฒนาการเศรษฐกิจ และดำเนินการให้ส่วนรายจ่ายที่เกินรายรับอยู่ในระดับที่เหมาะสม อันเป็นทางป้องกันมิให้เกิดเงินเฟ้อ
แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีการประสบปัญหาทางเศรษบกิจที่รุนแรงเป็นครั้งคราว เช่น ในช่วงที่มีปัญหาทางการเมืองภายใน หรือเมื่อมีภัยธรรมชาติ ก็จะมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดจากปัจจัยภายนอกประเทศ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เป็นผลให้ความต้องการสินค้าทางการเกษตรไทยลดลง สินค้าไทยจึงมีความตกต่ำในตลาดโลก และการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกราคาสูงมากจนทำให้ประเทศไทยต้องลดค่าเงินบาทลงถึง 2 ครั้ง ใน พ.ศ.2524 และ พ.ศ.2527 พร้อมทั้งนโยบายการคลังที่เข้มงวด เพื่อลดการขยายตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศ ซึ่งเป็นผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจไทยเพราะเมื่อค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ทำให้สินค้าไทยอยู่ในฐานะได้เปรียบในการส่งออก ประจวบกับภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวและราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงตั้งแต่ พ.ศ. 2529 ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยขยายตัวสูงขึ้นเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราสูง
จากภาวะเศรษฐกิจข้างต้นและวิวัฒนาการการโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้ประเทศไทยกำหนดนโยบายที่จะพัฒนาประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) และฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2533 ด้วยการผ่อนคลายระเบียบกฎเกณฑ์และข้อจำกัดต่างๆ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเงินที่ครบวงจรในภูมิภาค และครอบคลุมการประกอบธุรกิจการเงินหลายประเภท โดยให้มีการจำกัดขอบเขตของการดำเนินธุรกิจให้น้อยที่สุดเพื่ออำนวยและสนับสนุนแหล่งเงินทุนสำรองสำหรับภาคธุรกิจได้อย่างเต็มที่ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2534 ประเทศไทยได้ประกาศนโยบายเปิดเสรีทางการเงิน (Financial Liberalization) โดยเพิ่มมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนให้เงินทุนจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาในไทยได้สะดวกยิ่งขึ้น และพัฒนากรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค ด้วยการจัดตั้งวิเทศธนกิจ International Banking Facilities,IBF ขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 และอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดำเนินธุรกิจวิเทศธกิจ มีการระดมเงินทุนจากประเทศมาปล่อยกู้ภายในประเทศ (Out-In Transaction for Foreign Currencies) และเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ แต่อัตราดอกเบี้ยเงินกุ้ภายในประเทศไทยอยู่ในระดับสูง การที่มีส่วนต่างมาก ทำให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่างๆแข่งขันการทำกำไร เร่งนำเข้าเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศมาปล่อยกู้ เมื่อมีอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศถูกกำหนดให้อยู่ในระดับค่อนข้างสูง การลงทุนผลิตสินค้าจึงขยายตัวได้น้อยทำให้การขยายสินเชื่อสู่ภาคการผลิตสินค้ามีขอบเขตจำกัด เหลือแต่ภาคการผลิตที่มีการเกร็งกำไร เช่นธุรกิจเก็งกำไรที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อีกส่วนหนึ่งเป็นสินเชื่อเพื่อการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยใช้หุ้นค้ำประกัน(Margin Loan) การซื้อขายรถยนต์และจักรยานยนต์ และธุรกิจจำหน่ายสินค้าอุปโภคฟุ่มเฟือยจากต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งมีทำให้หนี้สินต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น มีการใช้สินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้นกันอย่างมากมาย ราคาที่ดินเพิ่มสูงมาก มีการใช้เงินตราต่างประเทศไปในทางไม่ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ เช่น การท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นต้น
กล่าวคือโดยภาพรวม นับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 โดยเฉพาะในช่วงปลายปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา อัตราการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจของไทยอยู่ในระดับสูง ภาวะเศรษฐกิจของไทยเติบโตขึ้นทั้งด้านพาณิชยการ อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ การเงินการธนาคาร การสื่อสารโทรคมนาคม และธุรกิจบันเทิง เติบโตอย่างรวดเร็วในลักษณะที่เรียกว่า ก้าวกระโดด เกิดโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้เงินทุนมหาศาลทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น ทางด่วน โทรคมนาคม ศูนย์การค้า โรงแรม สนามกอล์ฟ บ้านจัดสรร เป็นต้น ความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจดังกล่าว ทำให้หลายฝ่ายต่างคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะเจริญรุ่งเรืองต่อไปอย่างต่อเนื่อง แต่แล้วโดยไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยกลับทรุดตัวอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 การขยายตัวของการส่งออกหยุดชะงัก ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเป็นจำนวนมากและสูงเป็นประวิติการณ์อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน นอกจากนี้การที่ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างคงที่ (ระบบตะกร้าเงิน : Basket of Currencies) ทำให้ค่าเงินบาทตามราคาประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สูงกว่าค่าเงินบาทที่แท้จริง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของเจ้าหนี้และนักลงทุนต่างประเทศต่อความมั่นคงของเศรษฐกิจไทยและค่าเงิน เจ้าหนี้ต่างประเทศเริ่มเข้มงวดการปล่อยเงินกู้และการต่ออายุสัญญาเงินกู้ เงินตราต่างประเทศเริ่มไหลออก ชาวต่างประเทศที่เป็นนักค้าเงินระดับโลก สถาบันการเงินไทย และนักธุรกิจไทย หันมาเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนมีการโจมตีค่าเงินบาทหลายครั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 และ พ.ศ.2540 ธปท. พยายามที่จะปกป้องค่าเงินบาท ทำให้ฐานะทุนสำรองที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้ฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงอย่างมากถึงขั้นวิกฤติ ในที่สุดรัฐบาลไทย ต้องประกาศปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตระกร้าเงินมาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยแบบกึ่งจัดการ (Managed Float Exchange Rate System) เมื่อ 2 กรกฎาคม 2540 มีผลทำให้ค่าเงินบาทลดลงอย่างมากและต่อเนื่องซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจที่ต้องใช้จ่ายเงินตราต่างประเทศธุรกิจจำนวนมากต้องปิดกิจการ เกิดปัญหาคนว่างงานจำนวนมาก ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและตกต่ำ ส่งผลให้คนรวยบางกลุ่มจนลง คนจนยิ่งจนลงนำไปสู่ปัญหาสังคมที่ร้ายแรงอื่นๆตามมา
วึ่งก่อนที่จะเกิดภาวะสบู่นั้น ภายหลังปี 2504 ประเทศไทยเปลี่ยนประเทศเป็นอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า ส่งออกสินค้าเกษตรและสินแร่ไปแลกกับการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบขั้นกลางรวมทั้งผลิตสินค้าสนองภายในประเทศ เป็นอุตสาหกรรมแรงงานเข้มข้น และตั้งกำแพงภาษี กีดกันการแข่งขัน ให้สิทธิพิเศษผ่านการส่งเสริมการลงทุน (BOI)ร่วมทุนไทย-ต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นรวทั้งการส่งเสริมรัฐวิสาหกิจในสาธารณูปโภคและในอุตสาหกรรม “ยุทธศาสตร์” (เช่น ขนส่ง เครื่องหนัง แบตเตอรี่ ยารักษาโรค)ระบบสถาบันการเงินไทยแบบปิด ในการควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทย ปลอดพ้นจากการแข่งขันวิกฤตราคาน้ำมัน 2515-2522 และความไม่สงบทางการเมือง (14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519)
หลัง 2520 พัฒนาอุตสาหกรรมหนักและพลังงาน ใช้ทุนเข้มข้นแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย อุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมีอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า รถยนต์ เคมี เครื่องจักรเกษตรอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังคงรวมศูนย์และได้รับการคุ้มครองสูง
ปลายยุค 2520 ส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งออก เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อาหารแปรรูปเน้นร่วมลงทุนกับญี่ปุ่น ใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยุโรปและสหรัฐอเมริกา
หลัง 2530 มีการย้ายฐานการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไอที คอมพิวเตอร์จากญี่ปุ่น เกาหลี และใต้หวัน มาประเทศไทย2531-2534 ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราสูงเกษตรกรรมลดสัดส่วนในจีดีพีลงจาก 25% เป็น 11%ส่งผลให้อุตสาหกรรมเพิ่มสัดส่วนจาก 21% เป็น 30% โดยสาขาเศรษฐกิจสมัยใหม่มี อุตสาหกรรม ก่อสร้าง ขนส่งและคมนาคม บริการทางการเงิน ค้าส่งค้าปลีก แต่ยังเป็นแรงงานเข้มข้นและทักษะเข้มข้น เช่น สิ่งทอเสื้อผ้า อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า อัญมณีเทคโนโลยีสูงเติบโตเร็ว (เครื่องจักร เคมี ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างสูงในช่วง 1986 – 1995 ของไทยเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมหัศจรรย์ในเอเซียตะวันออก (“East Asian Miracle”)
ความคิดเห็น