ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Crisis Thai

    ลำดับตอนที่ #1 : ความสำคัญ

    • อัปเดตล่าสุด 8 มี.ค. 58


    ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย : “วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง”

    (Crisis Thai

        “วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง" เป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจของไทยที่เริ่มตั้งแต่การเปิดเสรีทางการเงินพ.ศ. 2533 ทำให้มีการนำเข้าเงินทุนจากต่างประเทศจำนวนมากผ่านการออกตราสารหนี้ของภาคเอกชน และจาก BIBF(การวิเทศธนกิจ:Bangkok International Banking Facility)คือการกู้เงินโดยมีแหล่งที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ไม่สามารถกำกับดูแลและควบคุมได้ รวมทั้งการตรึงค่าเงินบาทไว้ที่ 25 บาทต่อเหรียญสหรัฐซึ่งไม่สอดคล้องกับโครงสร้างการเปิดเสรีทางการเงิน  จนในที่สุดปัญหาจากการดำเนินนโยบายทางการเงิน และการคลังที่ผิดพลาดในปี 2540 อันเนื่องมากจากการละเลยการแก้ไขปัญหาทางการเงินของสถาบันทางการเงิน เมื่อสถาบันทางการเงินขาดความน่าเชื่อถือจากประชาชน และไม่ไว้วางใจการบริหารด้านการเงินของสถาบันการเงิน การถอนเงินจึงเกิดขึ้น เมื่อสถาบันการเงินแห่งหนึ่งมีปัญหาส่งผลให้สถาบันการเงินที่เหลือมีปัญหาตามไปด้วย ซึ่งการถอนเงินนี้ถูกจุดประกายจากเหตุการณ์การแตกสลายของเศรษฐกิจฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบกับสถาบันการเงิน เนื่องจากภาคธุรกิจได้กู้เงินจากสถาบันการเงินจำนวนมากเพื่อที่จะมาสร้างสิ่งปลูกสร้างเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ต่างๆดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ตลาดอสังหาริมทรัพย์ล่ม เงินกู้ที่หน่วยธุรกิจได้กู้จากสถาบันการเงินนั้นๆกลายเป็นต้นทุนจมในทันที เนื่องจากหน่วยธุรกิจก็ไม่อาจจะหาเงินมาคืนสถาบันการเงินได้ สถาบันการเงินขาดสภาพคล่องเนื่องจากไม่มีเงินมาหมุนเวียน และเมื่อประชาชนทราบถึงความไม่มั่นคงของสถาบันการเงิน ก็จะพากันแห่มาถอนเงินออกจากสถาบันการเงินเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก สถาบันการเงินเมื่อโดนภาคประชาชนแห่มาถอนเงินออกหมด ก็ไม่มีเงินมาใช้ดำเนินการต่างๆ ทำให้การขาดสภาพคล่องของสถาบันการเงินเหล่านั้นยิ่งร้ายแรงเข้าไปอีก

    จากนั้นกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้จัดตั้งคณะกรรมการมาดูแลธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 และต่อมาความเชื่อมั่นต่อสถาบันทางการเงินที่ประชาชนที่ฝากเงินก็หายไปด้วย ถึงแม้จะได้รับการดูแลจากกระทรวงการคลังแล้วก็ตาม ต่อมาในวันที่ 3 มีนาคม 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทย สั่งให้สถาบันการเงิน 10 แห่งเพิ่มทุนอย่างเร่งด่วนภายใน 45 วัน และต่อมาก็ได้มีคำสั่งระงับการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน 16 แห่งเป็นการชั่วคราว  และสั่งปิดธุรกิจเงินทุนที่มีปัญหาชั่วคราวอีก 42 แห่งแต่สุดท้ายแล้วก็ต้องปิดตัวไปถึง 56 แห่ง และส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินอย่างถ้วนหน้า รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อย่างการนำเข้า-ส่งออก ต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เลือกที่จะปกต้องค่าเงินบาท แทนการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทด้วยเครื่องมือทางการเงินอื่น ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถหลีกเลี่ยงข้อจำกัดในด้านตลาดและพระราชบัญญัติเงินตรา เมื่อเงินทุนสำรองสุทธิเหลือเพียง 2.8 พันล้าเหรียญ เทียบกับที่เคยมีถึง 38.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปลายปี 2539 ต่อมาในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 วันที่ประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในที่สุด ต่อมาประเทศไทยยังต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารระหว่างประเทศ(IMF)ด้วยวง เงิน 17,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจากธนาคารกลางประเทศต่างๆ รัฐบาลไทยได้ส่งหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter Of Intent : LOI)ต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และในวันที่ 14 สิงหาคม 2540 รัฐบาลไทยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายทนง พิทยะ) และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์) ได้ลงนามในหนังสือแสดงความจำนงขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ฉบับที่ 1 วิกฤติที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2539 – 31 ธันวาคม 2540 ก่อให้เกิดความเสียหายที่ปรากฏในรูปของตลาดเงินและตลาดทุนถึง 5 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่างบประมาณรายจ่ายปี 2540 ถึง 7 เท่าที่มีวงเงินเท่ากับ 800,000 ล้านบาท และในปี2540 นี้เองที่ คนไทย 1.4 ล้านคนต้องตกงาน และเป็นปีที่ทำให้คนไทยเป็นหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศกันถ้วนหน้าด้วยเงินจำนวนกว่า 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 860,000 ล้านบาท(คิดอัตราแลกเปลี่ยนปี2540 ที่ 50 บาทต่อเหรียญสหรัฐ) และแน่นอนว่าผลกระทบจาก “วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง” ปี 2540 ก็ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้

    ประเด้นเศรษฐกิจไทยที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอข้างต้นมานี้ถือเป็นพัฒนาการทางทางเศรษฐกิจไทย ซึ่งปัญหาใหญ่ของ“วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง” คือความไม่แน่นอนและไม่ชัดเจนต่อการกำหนดนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในการกำกับดูแลสถาบันทางการเงิน ตั้งแต่กรณีราชาเงินทุน จนถึง ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) และความไม่พร้อมของธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังที่ไม่อาจรับมือกับเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ถือเป็นหนึ่งในความล้มเหลวของชาติที่ต้องระลึกไว้เสมอว่า “ “วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง” ปี 2540 ได้ถูกบ่มเพาะมานานหลายปี เปรียบประเทศไทยเช่นเดียวกับแมงเม่าบินเข้ากองไฟ ที่คิดว่าการเปิดเสรีทางการเงินเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการเงินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามกฎข้อที่ 8 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ว่าด้วยการเปิดเสรีทางการเงิน แต่ประเทศไทยจริงๆแล้วยังไม่พร้อม ” ทั้งนี้ แม้ประเทศไทยจะคืนเงินที่กู้มาจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF)หมดแล้วก็ตาม สถานะภาพการสูญเสียเอกราชทางเศรษฐกิจไทยก็ยังคงอยู่

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×