ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้การพยาบาล และข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล

    ลำดับตอนที่ #6 : ข้อวินิจฉัยหลังคลอด วันที่1 และ 2

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 45.1K
      169
      15 ต.ค. 59



    Day I

    ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1

              ผู้คลอดมีโอกาสเกิดภาวะตกเลือด เนื่องจากมีฝีเย็บและแผลในโพรงมดลูก

    ข้อมูลสนับสนุน

              Subjective data : -

              Objective data : - ผู้คลอดมีแผลในโพรงมดลูก จากการลอกตัวของรก

                                     - ผู้คลอดมีแผลฝีเย็บแบบ Right medio-lateral episiotomy

                                     - แผลฝีเย็บฉีกขาดระดับ 2

    วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล

              เพื่อเฝ้าระวังภาวะตกเลือดของผู้คลอด

    เกณฑ์การประเมินผล

    -   สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ

    §  ความดันโลหิต 90/60 – 140/90 mmHg

    §  ชีพจร 60 – 100 bpm

    §  อุณหภูมิร่างกาย 36.5 – 37.5 c

    §  อัตราการหายใจ 16 – 20 bpm

    -    ผู้คลอดไม่มีอาการแสดงของภาวะตกเลือด เช่น หน้ามือ ใจสั่น มือเย็น ซีด วิงเวียนศีรษะ

    -    ระดับการลอยตัวของมดลูกเหนือหัวเหน่า(Symphysis Pubic) น้อยกว่า 5 นิ้ว

    -    มดลูกมีลักษณะ กลม แข็ง

    กิจกรรมการพยาบาล

              1. ประเมินสัญญาณชีพและบันทึก ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามอาการของภาวะตกเลือดหลังคลอด โดยเฉพาะความดันโลหิต ชีพจร และอัตราการหายใจ เพราะการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพจะทำให้ทราบว่าสภาพร่างกายของผู้คลอดอยู่ในสภาวะปกติหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรรีบรายงานแพทย์และให้การช่วยเหลือตามอาการ

              2. ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะตกเลือด เช่น หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น มือเย็น ซีด

              3. ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก เช่น เป็นก้อนกลมแข็ง มีการเคลื่อนต่ำลง โดยปกติมดลูกจะเคลื่อนต่ำลงเฉลี่ยวันละ 0.5 – 1 นิ้ว

              4. ประเมินเลือดบนผ้าอนามัยว่าเป็นเลือดที่ออกจากทางช่องคลอดหรือแผลฝีเย็บ โดยดูลักษณะ สี ปริมาณของเลือด

              5. ให้แนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันภาวะตกเลือด ดังนี้

                        - คลึงมดลูกบ่อยครั้ง เพื่อกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก

                       - ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะจะคัดขวางการเคลื่อนต่ำลง และทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ไม่เต็มที่

                       - ให้ทารกได้ดูดนมบ่อยๆ เพราะจะทำให้ร่างกายของผู้คลอดหลั่งฮอร์โมน oxytocin ออกมา ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะช่วยในเรื่องการหดรัดตัวของมดลูกได้

                       - ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่เป็น high protein เช่น เนื้อ นม ไข่ หรือผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม เพราะสารอาหารเหล่านี้จะช่วยซ่อมแซมแผลให้หายได้เร็วขึ้น

                       - หากมีอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ เปลี่ยนผ้าอนามัยมากกว่า2ชิ้น ภายใน 1 ชั่วโมง ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบ

    ประเมินผลทางการพยาบาล

    -    สัญญาณชีพ ปกติ

    §  ความดันโลหิต 110/80 mmHg

    §  ชีพจร 84 bpm

    §  อุณหภูมิร่างกาย 37.1 c

    §  อัตราการหายใจ 22 bpm

    -     มดลูกลมแข็ง วัดระดับยอดมดลูกได้ 4 นิ้ว เหนือระดับของsymphysis pubic

    -     ผู้คลอดไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะตกเลือด เช่น หน้ามืด ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ

    -     ผู้คลอดมีน้ำคาวปลาสีแดงสด เปลี่ยนผ้าอนามัย 3 ชิ้น/วัน ไม่ชุ่ม

     

     

    ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 2

              ผู้คลอดมีโอกาสเกิดภาวะติดเชื้อหลังคลอด เนื่องจากมีฝีเย็บและแผลในโพรงมดลูก

    ข้อมูลสนับสนุน

              Subjective data : -

              Objective data : - ผู้คลอดมีแผลในโพรงมดลูก จากการลอกตัวของรก

                                   - ผู้คลอดมีแผลฝีเย็บแบบ Right medio-lateral episiotomy

                                   - แผลฝีเย็บฉีกขาดระดับ 2

    วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล

              เพื่อเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อหลังคลอด

    เกณฑ์การประเมินผล

    -     สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ

    §  ความดันโลหิต 90/60 – 140/90 mmHg

    §  ชีพจร 60 – 100 bpm

    §  อุณหภูมิร่างกาย 36.5 – 37.5 c

    §  อัตราการหายใจ 16 – 20 bpm

    -     ผู้คลอดไม่มีอาการแสดงของภาวะติดเชื้อหลังคลอด เช่น มีไข้ ปวดบริเวณแผลฝีเย็บ น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น

    -     น้ำคาวปลามีลักษณะสีจางลง ปริมาณลดลง ไม่มีกลิ่นเหม็น

    กิจกรรมการพยาบาล

              1. ประเมินสัญญาณชีพและบันทึก ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามอาการของภาวะติดเชื้อหลังคลอด โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกาย เพราะการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพจะทำให้ทราบว่าสภาพร่างกายของผู้คลอดอยู่ในสภาวะปกติหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรรีบรายงานแพทย์และให้การช่วยเหลือตามอาการ

              2. ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะติดเชื้อหลังคลอด เช่น มีไข้ ปวดบริเวณแผลฝีเย็บ น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น

              3. ประเมินลักษณะน้ำคาวปลาที่ออกมาจากทางช่องคลอด เช่น สีของน้ำคาวปลา ปริมาณ กลิ่น

              4. ดูแลทำความสะอาดแบบ Universal precaution และก่อน/หลัง ทำการพยาบาลให้ผู้ป่วยทุกครั้งควรล้างมือทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคสู่ผู้คลอด

              5. ให้แนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันภาวะติดเชื้อหลังคลอด ดังนี้

                        - ควรทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะทุกครั้ง โดยวิธีการทำความสะอาดที่เหมาะสมคือ ควรเช็ดจากบริเวณด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่ควรเช็ดย้อนขึ้นมา เพราะจะเป็นการพาเชื้อโรคบริเวณรูทวารมาสู่แผลฝีเย็บหรือเข้าสู่ทางช่องคลอดได้

                       - ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4 ชั่วโมง หรือเมื่อผ้าอนามัยชุ่ม ไม่ควรใส่ผ้าอนามัยนานเกินไปเพราะเชื้อโรคจะเพิ่มจำนวนได้มากในบริเวณที่อุ่นเชื้อ

                       - ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่เป็น high protein เช่น เนื้อ นม ไข่ หรือผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม เพราะสารอาหารเหล่านี้จะช่วยซ่อมแซมแผลให้หายได้เร็วขึ้น

                       - หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดบริเวณแผลฝีเย็บ น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบ

    ประเมินผลทางการพยาบาล

    -    สัญญาณชีพ ปกติ

    §  ความดันโลหิต 110/80 mmHg

    §  ชีพจร 84 bpm

    §  อุณหภูมิร่างกาย 37.1 c

    §  อัตราการหายใจ 22 bpm

    -    ผู้คลอดไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะติดเชื้อหลังคลอด เช่น มีไข้ ปวดบริเวณแผลฝีเย็บ คันภายในช่องคลอด

    -    ผู้คลอดมีน้ำคาวปลาสีแดงสด ไม่มีกลิ่นเหม็น

     

     

     ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 3

              ผู้คลอดมีภาวะไม่สุขสบาย เนื่องจากมีแผลฝีเย็บและปวดบริเวณมดลูก

    ข้อมูลสนับสนุน

              Subjective data : -

              Objective data : - ผู้คลอดมีแผลในโพรงมดลูก จากการลอกตัวของรก

                                   - ผู้คลอดมีแผลฝีเย็บแบบ Right medio-lateral episiotomy

                                   - แผลฝีเย็บฉีกขาดระดับ 2

                                   - pain score 2 คะแนน                            

    วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล

              เพื่อบรรเทาอาการปวด ให้ผู้คลอดสุขสบาย

    เกณฑ์การประเมินผล

    -          Pain score น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 คะแนน

    -          ผู้คลอดไม่มีอาการหน้านิ่ว คิ้วขมวด

    กิจกรรมการพยาบาล

              1. ประเมินคะแนนความเจ็บปวด (pain score) เพื่อวางแผนการพยาบาลบรรเทาอาการปวดให้ผู้คลอด

              2. สังเกตอาการปวดของผู้คลอด เช่น อาการหน้านิ่ว คิ้วขมวด ขณะที่ผู้คลอดนอนนิ่งหรือขยับตัว

              3. ประเมินภาวะเครียดทางด้านจิตใจและการตอบสนองทางอารมณ์ของมารดา และความเครียด เพราะจะทำให้เกิดความเจ็บปวดตามวงจรของความวิตกกังวล ความตึงเครียดและความเจ็บปวด

              4. แนะนำวิธีบรรเทาอาการปวดของแผลฝีเย็บและมดลูก โดยใช้เทคนิคผ่อนคลายโดยการเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น การอ่านหนังสือ การฟังเพลง การนั่งสมาธิ เพื่อลดความวิตกกังวล ความกดดันทางจิตใจ

              5. ช่วยเหลือผู้คลอดในการทำกิจกรรมบางอย่าง ที่ผู้คลอดไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง

              6. ดูแลให้ได้รับยาบรรเทาอาการปวดตามแผนการรักษาของแพทย์ พร้อมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงจากการใช้ยา

                       - Paracetamol 500 mg 1 tab oral prn.

    ประเมินผลทางการพยาบาล

    -    Pain score 2 คะแนน

    -    ขณะที่ผู้คลอดขยับตัว ไม่แสดงอาการหน้านิ่ว คิ้วขมวด

     

     

    ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 4

              ผู้คลอดมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม เนื่องเสียพลังงานจากการคลอด

    ข้อมูลสนับสนุน

              Subjective data : - ผู้คลอดบอกว่า “รู้สึกอ่อนเพลียค่ะ”

              Objective data : - ผู้คลอดมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง

                                   : - คลอดบุตรด้วยวิธี Normal labor                

    วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล

              เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้ม

    เกณฑ์การประเมินผล

    -     ผู้คลอดไม่เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม

    -     ผู้คลอดไม่มีแผลหรือรอยฟกช้ำจากการพลัดตกหกล้ม

    กิจกรรมการพยาบาล

              1. ประเมินอาการอ่อนเพลีย ระดับความรู้สึกตัว และ การพลัดตกหกล้ม(Fall score) เพื่อวางแผนการพยาบาลป้องกันภาวะพลัดตกหกล้ม

              2. จัดวางสิ่งของภายในตึกให้เป็นระเบียบเรียบร้อย มีแสงสว่างเพียงพอ และจัดของใช้ให้ผู้คลอดสามารถหยิบใช้งานได้สะดวก

              3. ยกไม้กั้นเตียงทั้ง 2 ข้างขึ้นทุกครั้งหลังให้การพยาบาลเสร็จ เพื่อป้องกันผู้คลอดพลัดตกเตียง

              4. แนะนำสถานที่ภายในอาคาร ห้องน้ำ ห้องพยาบาล กริ่งที่เตียงนอนและห้องน้ำ เพื่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ในขณะที่ผู้อยู่ตามลำพัง

              5. แนะนำให้ผู้คลอดรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายมีแรง ป้องกันการพลัดตกหกล้ม

    ประเมินผลทางการพยาบาล

    -   Fall score 23 คะแนน

    -   ผู้คลอดไม่เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม

    -   ผู้คลอดไม่มีแผลหรือรอยฟกช้ำจากการพลัดตกหกล้ม

     

     

    Day II

    ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1

              ผู้คลอดมีโอกาสเกิดภาวะติดเชื้อหลังคลอด เนื่องจากมีฝีเย็บและแผลในโพรงมดลูก

    ข้อมูลสนับสนุน

              Subjective data : -

              Objective data : - ผู้คลอดมีแผลในโพรงมดลูก จากการลอกตัวของรก

                                     - ผู้คลอดมีแผลฝีเย็บแบบ Right medio-lateral episiotomy

                                     - แผลฝีเย็บฉีกขาดระดับ 2

    วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล

              เพื่อเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อหลังคลอด

    เกณฑ์การประเมินผล

    -    สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ

    §  ความดันโลหิต 90/60 – 140/90 mmHg

    §  ชีพจร 60 – 100 bpm

    §  อุณหภูมิร่างกาย 36.5 – 37.5 c

    §  อัตราการหายใจ 16 – 20 bpm

    -    ผู้คลอดไม่มีอาการแสดงของภาวะติดเชื้อหลังคลอด เช่น มีไข้ ปวดบริเวณแผลฝีเย็บ น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น

    -    น้ำคาวปลามีลักษณะสีจางลง ปริมาณลดลง ไม่มีกลิ่นเหม็น

    กิจกรรมการพยาบาล

              1. ประเมินสัญญาณชีพและบันทึก ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามอาการของภาวะติดเชื้อหลังคลอด โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกาย เพราะการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพจะทำให้ทราบว่าสภาพร่างกายของผู้คลอดอยู่ในสภาวะปกติหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรรีบรายงานแพทย์และให้การช่วยเหลือตามอาการ

              2. ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะติดเชื้อหลังคลอด เช่น มีไข้ ปวดบริเวณแผลฝีเย็บ น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น

              3. ประเมินลักษณะน้ำคาวปลาที่ออกมาจากทางช่องคลอด เช่น สีของน้ำคาวปลา ปริมาณ กลิ่น

              4. ดูแลทำความสะอาดแบบ Universal precaution และก่อน/หลัง ทำการพยาบาลให้ผู้ป่วยทุกครั้งควรล้างมือทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคสู่ผู้คลอด

              5. ให้แนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันภาวะติดเชื้อหลังคลอด ดังนี้

                        - ควรทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะทุกครั้ง โดยวิธีการทำความสะอาดที่เหมาะสมคือ ควรเช็ดจากบริเวณด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่ควรเช็ดย้อนขึ้นมา เพราะจะเป็นการพาเชื้อโรคบริเวณรูทวารมาสู่แผลฝีเย็บหรือเข้าสู่ทางช่องคลอดได้

                       - ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4 ชั่วโมง หรือเมื่อผ้าอนามัยชุ่ม ไม่ควรใส่ผ้าอนามัยนานเกินไปเพราะเชื้อโรคจะเพิ่มจำนวนได้มากในบริเวณที่อุ่นเชื้อ

                       - ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่เป็น high protein เช่น เนื้อ นม ไข่ หรือผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม เพราะสารอาหารเหล่านี้จะช่วยซ่อมแซมแผลให้หายได้เร็วขึ้น

                       - หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดบริเวณแผลฝีเย็บ น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบ

    ประเมินผลทางการพยาบาล

    -    สัญญาณชีพ ปกติ

    §  ความดันโลหิต 110/80 mmHg

    §  ชีพจร 64 bpm

    §  อุณหภูมิร่างกาย 36.4 c

    §  อัตราการหายใจ 18 bpm

    -     ผู้คลอดไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะติดเชื้อหลังคลอด เช่น มีไข้ ปวดบริเวณแผลฝีเย็บ คันภายในช่องคลอด

    -     ผู้คลอดมีน้ำคาวปลาสีแดงสด ไม่มีกลิ่นเหม็น

     

     

     

    ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 2

              ผู้คลอดมีโอกาสเกิดภาวะตกเลือด เนื่องจากมีฝีเย็บและแผลในโพรงมดลูก

    ข้อมูลสนับสนุน

              Subjective data : -

              Objective data : - ผู้คลอดมีแผลในโพรงมดลูก จากการลอกตัวของรก

                                     - ผู้คลอดมีแผลฝีเย็บแบบ Right medio-lateral episiotomy

                                     - แผลฝีเย็บฉีกขาดระดับ 2

    วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล

              เพื่อเฝ้าระวังภาวะตกเลือดของผู้คลอด

    เกณฑ์การประเมินผล

    -   สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ

    §  ความดันโลหิต 90/60 – 140/90 mmHg

    §  ชีพจร 60 – 100 bpm

    §  อุณหภูมิร่างกาย 36.5 – 37.5 c

    §  อัตราการหายใจ 16 – 20 bpm

    -    ผู้คลอดไม่มีอาการแสดงของภาวะตกเลือด เช่น หน้ามือ ใจสั่น มือเย็น ซีด วิงเวียนศีรษะ

    -    ระดับการลอยตัวของมดลูกเหนือหัวเหน่า(Symphysis Pubic) น้อยกว่า 4 นิ้ว

    -    มดลูกมีลักษณะ กลม แข็ง

    กิจกรรมการพยาบาล

              1. ประเมินสัญญาณชีพและบันทึก ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามอาการของภาวะตกเลือดหลังคลอด โดยเฉพาะความดันโลหิต ชีพจร และอัตราการหายใจ เพราะการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพจะทำให้ทราบว่าสภาพร่างกายของผู้คลอดอยู่ในสภาวะปกติหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรรีบรายงานแพทย์และให้การช่วยเหลือตามอาการ

              2. ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะตกเลือด เช่น หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น มือเย็น ซีด

              3. ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก เช่น เป็นก้อนกลมแข็ง มีการเคลื่อนต่ำลง โดยปกติมดลูกจะเคลื่อนต่ำลงเฉลี่ยวันละ 0.5 – 1 นิ้ว

              4. ประเมินเลือดบนผ้าอนามัยว่าเป็นเลือดที่ออกจากทางช่องคลอดหรือแผลฝีเย็บ โดยดูลักษณะ สี ปริมาณของเลือด

              5. ให้แนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันภาวะตกเลือด ดังนี้

                        - คลึงมดลูกบ่อยครั้ง เพื่อกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก

                       - ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะจะคัดขวางการเคลื่อนต่ำลง และทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ไม่เต็มที่

                       - ให้ทารกได้ดูดนมบ่อยๆ เพราะจะทำให้ร่างกายของผู้คลอดหลั่งฮอร์โมน oxytocin ออกมา ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะช่วยในเรื่องการหดรัดตัวของมดลูกได้

                       - ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่เป็น high protein เช่น เนื้อ นม ไข่ หรือผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม เพราะสารอาหารเหล่านี้จะช่วยซ่อมแซมแผลให้หายได้เร็วขึ้น

                       - หากมีอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ เปลี่ยนผ้าอนามัยมากกว่า2ชิ้น ภายใน 1 ชั่วโมง ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบ

    ประเมินผลทางการพยาบาล

    -   สัญญาณชีพ ปกติ

    §  ความดันโลหิต 110/80 mmHg

    §  ชีพจร 64 bpm

    §  อุณหภูมิร่างกาย 36.4 c

    §  อัตราการหายใจ 18 bpm

    -   มดลูกลมแข็ง วัดระดับยอดมดลูกได้ 3 นิ้ว เหนือระดับของsymphysis pubic

    -   ผู้คลอดไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะตกเลือด เช่น หน้ามืด ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ

    -   ผู้คลอดมีน้ำคาวปลาสีแดงสด เปลี่ยนผ้าอนามัย 2 ชิ้น/วัน ไม่ชุ่ม

     

     

     ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 3

              ผู้คลอดมีโอกาสเกิดภาวะไม่สุขสบาย เนื่องจากคัดตึงเต้านม

    ข้อมูลสนับสนุน

              Subjective data : -

              Objective data : - ทารกอยู่ที่ high risk

                                   - ผู้คลอดบอกว่า “เริ่มคัดตึงเต้านมแล้วค่ะ”

                                   - pain score 2 คะแนน                            

                                   - LATCH score 10 คะแนน                       

                                   - น้ำนมไหลระดับ 2 คะแนน                       

     

    วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล

              เพื่อบรรเทาอาการปวด ให้ผู้คลอดสุขสบายจากอาการคัดตึงเต้านม

    เกณฑ์การประเมินผล

    -    Pain score น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 คะแนน

    -    เต้านมนุ่ม ไม่คัดตึง หัวนมไม่แตก ไม่เจ็บหัวนม

    -    LATCH score 10 คะแนน

    -    น้ำนมไหลระดับ 2 คะแนน

    กิจกรรมการพยาบาล

              1. ประเมินอาการคัดตึงเต้านม การไหลของเต้านม วิธีการให้นมบุตร เพื่อวางแผนให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับผู้คลอด

              2. จัดสถานที่ภายในอาคารให้ปลอดโปร่ง เงียบสงบ เพื่อลดความเครียดหรือความวิตกกังวลของผู้คลอด ให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมน oxytocin กระตุ้นให้น้ำนมไหลดี

              3. สาธิตวิธีการให้นมทารกที่ถูกต้องทั้งท่านั่งหรือท่านอน และจัดท่าให้ผู้คลอดสุขสบาย ไม่เกรง

              4. นวดบรรเทาอาการปวดคัดตึงเต้านม โดยใช้ผ้าชุบน้ำร้อนที่ไม่ทำให้ผิวหนังของผู้คลอดไหม้ จากนั้นนำมาประคบที่เต้านมพร้อมกับคลึงเต้านม เพื่อให้เต้านมนิ่ม หากเต้านมไม่นิ่มขึ้นอาจต้องบีบน้ำนมจากเต้าออกมา เพื่อลดปริมาณน้ำนมที่กักเก็บในเต้านม ช่วยลดอาการคัดตึงเต้านมได้

              5. ให้แนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันภาวะตกเลือด ดังนี้

                        - การให้ทารกดูดนมที่ดูดวิธีมีทั้งหมด 4ด. คือ

                                 ด1 (ดูดเร็ว) : ควรรีบให้นมทารกทันทีที่คลอดหรือทันทีที่ได้พบทารก

                                 ด2 (ดูดบ่อย) : ในช่วง1-2เดือนแรก ทารกจะดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมง

                                 ด3 (ดูดถูกวิธี) : ทารกจะต้องอมหัวนมให้ได้มากที่สุดอาจถึงลานนมได้ คางแนบเต้านม ใช้ลิ้นให้การรีบน้ำนมออกมา

                                 ด4 (ดูดเกลี้ยงเต้า) : เต้านมจะมีการผลิตน้ำนมออกมาทดแทนน้ำนมที่ถูกทารกดูดออกไป หากทารกดูดไม่เกลี้ยงเต้า น้ำนมให้ที่สร้างออกมาจะมีปริมาณลดลง ทำให้เกิดปัญหาน้ำนมน้อยได้

                       - ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และกระตุ้นการสร้างน้ำนม เช่น ผักใบเขียวต่างๆ

                       - ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำเปล่า อย่างน้อยวันละ 2500 -3000 ml หรืออย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน  ดื่มบ่อยๆและดื่มหลังในนมบุตรทุกครั้ง เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบหลักในน้ำนม

    6. ดูแลให้ได้รับยาบรรเทาอาการปวดตามแผนการรักษาของแพทย์ พร้อมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงจากการใช้ยา

                       - Paracetamol 500 mg 1 tab oral prn.

    ประเมินผลทางการพยาบาล

    -   Pain score 0 คะแนน

    -   เต้านมนุ่ม ไม่คัดตึง หัวนมไม่แตก ไม่เจ็บหัวนม

    -   LATCH score 10 คะแนน

    -   น้ำนมไหลระดับ 2 คะแนน

     

     

     ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 4

              ผู้คลอดขาดความรู้ในการปฏิบัติตนหลังคลอดเมื่อกลับบ้าน

    ข้อมูลสนับสนุน

              Subjective data : - ผู้คลอดถามว่า “กลับบ้านต้องทำตัวยังไงคะ”

              Objective data : - G1P0000

                                     - ผู้คลอดอายุ 20 ปี              

    วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล

              ผู้คลอดสามารถปฏิบัติตนหลังคลอดเมื่อกลับบ้านได้

    เกณฑ์การประเมินผล

    -   สามารถบอกอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ได้ อย่างน้อย 4 ข้อ

    -   สามารถบอกวิธีการดูแลตนเองได้อย่างน้อย 4 ข้อ

    กิจกรรมการพยาบาล

              1. ประเมินระดับความรู้ ความเข้าใจของผู้คลอด เพื่อวางแผนให้คำแนะที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับผู้คลอดให้มากที่สุด

              2. แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอดเมื่อกลับบ้าน ดังนี้

                       - นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมงในช่วงกลางคืน

                       - รับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์

                       - งดเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของหมักดอง ชา กาแฟ หรืออาหารรสเผ็ด

                       - ดูแลความสะอาดของร่างกาย ไม่ควรแช่ในอ่าง เพราะอาจทำให้มีการติดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกได้

                       - รักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ ให้เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่ควรเช็ดย้อน เพราะจะเป็นการพาเชื้อโรคบริเวณทวารเข้าสู่โพรงมดลูกได้

                       - เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4 ชั่วโมง หรือ เมื่อผ้าอนามัยชุ่ม เพราะการใส่นานจะเกิดการสะสมของเชื้อโรคได้

                       - ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ ประมาณ 6 สัปดาห์หลังคลอด เพราะอาจทำให้แผลฝีเย็บฉีกขาดหรือเกิดการติดเชื้อได้ หากไม่ได้รับการป้องกัน

                       - การเลี้ยงลูกด้วยนม ควรเลี้ยงลูกด้วยนมบุตรนานอย่างน้อย 6 เดือน

                       - น้ำคาวปลาจะหายไปเองภายใน 21 วันหลังคลอด โดยจะมีปริมาณลดลง สีจางลง

    - ควรบริหารร่างกายหลังคลอด ไม่ควรหักโหม ซึ่งออกแบบที่ไม่ต้องใช้แรงมากเกินไป

    - หลีกเลี่ยงการขึ้น-ลง บันได เพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม

    - รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และกระตุ้นการสร้างน้ำนม เช่น ผักใบเขียว แกงเลียง

    - ทำความสะอาดเต้านม โดยใช้น้ำต้มสุขหรือน้ำเปล่า ไม่ควรใช้สบู่ล้างทำความสะอาด เพราะอาจมีสารตกค้างบริเวณเต้านมได้ 

              3. แนะนำอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ ดังนี้

                       - มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส  นานเกิน 24 ชั่วโมง

                       - ปวด บวม บริเวณแผลฝีเย็บ

                       - มีเลือด/หนอง ออกมาจากช่องคลอดหรือแผลฝีเย็บ

                       - น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น สีไม่จางลงหรือสีเข้มมากขึ้น

                       - มีเลือดสดๆออกมาจากทางช่องคลอด

                       - ปัสสาวะแสบขัด ไม่สุด

                       - คลำพบก้อนที่บริเวณหน้าท้องหลังคลอด 2 สัปดาห์

                       - เต้านมอักเสบ เป็นก้อนแดงช้ำ

    ประเมินผลทางการพยาบาล

    -    ผู้คลอดสามารถบอกวิธีการปฏิบัติตัวหลังกลับบ้านได้

    §  นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

    §  รับประทานยาตามหมอสั่ง

    §  งดเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของหมักดอง ชา กาแฟ หรืออาหารรสเผ็ด

    §  ดูแลความสะอาดของร่างกาย ไม่ควรแช่ในอ่าง

    §  การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือน

    §  รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

    §  ทำความสะอาดเต้านม โดยใช้น้ำต้มสุข

    -    ผู้คลอดสามารถบอกอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ได้

    §  มีไข้ นาน 24 ชั่วโมง

    §  ปวด บวม บริเวณแผลฝีเย็บ

    §  มีเลือด/หนอง ที่อวัยวะสืบพันธุ์

    §  น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น สีไม่จางลงหรือสีเข้มมากขึ้น

    §  มีเลือดสดๆออกมาจากทางช่องคลอด

    §  ปัสสาวะแสบขัด ไม่สุด

    §  คลำพบก้อนที่บริเวณหน้าท้องหลังคลอด 2 สัปดาห์

    §  เต้านมอักเสบ เป็นก้อนแดงช้ำ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×