ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังGallery ความรู้คู่ศิลป์

    ลำดับตอนที่ #2 : ศิลปะสมัยเรอนาซอง(ไม่มีภาพ)

    • อัปเดตล่าสุด 4 ก.พ. 57


     

    ศิลปะเรอนาซองส์

    ความเป็นมาและลักษณะทั่วไป

           คำว่า”เรอนาซองส์”(Renaissance) หมายถึง การกลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง เป็นยุคที่มักคิดว่าเป็นการกลับมาของการรุ่งโรจน์แห่งวัฒนธรรมกรีกและโรมันโบราณอีกครั้ง สมัยเรอนาซองส์ยังเกี่ยวข้องมากกว่าการลอกเลียนแบบอดีต เป็นสมัยที่เน้นความสำคัญของลักษณะบุคคลทางกายภาพของมนุษย์และธรรมชาติและแสวงหากฎเกณฑ์อันสมเหตุสมผล ตลอดจนรูปทรงแบบอุดมคติในศิลปกรรม

           ยุคนี้จะแสวงหาดินแดนใหม่และมีความก้าวหน้าทางวิทยาการต่างๆมากมาย วิทยาศาสตร์จะเติบโตรวดเร็วมากในยุคนี้ มีการปฏิรูปศาสนาคริสต์ และมีการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะที่เห็นได้อย่างชัดเชน สิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางความคิดต่างๆนั่นก็คือ สงครามครูเสด การมีนครอิสระเกิดขึ้นมากมาย มหาวิทยาลัยเริ่มเกิดขึ้นหลายแห่ง มีความสนใจในธรรมชาติ และศิลปะสมัยโรมันและกรีกโบราณกันมากขึ้นในสมัยกอทิก

              ยิ่งไปกว่านั้นคือ ผลลักษณะที่โดดเด่นบางอย่างของแนวเรอนาซองส์ ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวคือช่วงพุทธศตวรรษที่ 22

             เรอนาซองส์ มีพื้นฐานมาจากศิลปะอิตาลีเป็นส่วนมาก เพราะศิลปะที่นั่นมีแนวโน้มศิลปะสมัยเรอนาซองส์ที่ชัดเจนที่สุด

    พ.ศ. 1940 - พ.ศ.2040 เรียกกันว่า สมัยเรอนาซองส์ยุคแรกเริ่ม

     ประมาณพ.ศ.2040 - พ.ศ.2060 ได้รับการยกย่องว่าเป็นสมัยเรอนาซองส์ยุครุ่งเรือง

    และต้นพุทธศตวรรษที่ 22 อาจใช้คำว่า สมัยเรอนาซองส์ยุคปลาย

                  การพัฒนาจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมืองเริ่มขึ้นในสมมัยกอทิก  ส่งผลให้เมืองต่างๆกลายเป็นศูนย์กลางอันสำคัญในการเติบโตของความคิดแบบเรอนาซองส์และการอุถัมภ์ศิลปะ ศิลปินมักร่วมอยู่ในสำนักขุนนางซึ่งรับค่าจ้างและค่าครองชีพเป็นการตอบแทนในการสร้างงานศิลปะ  ซึ่งมีบทบาทสำคัญในสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 แต่ถูกกรุงโรมและนครเวนิซแทนที่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 21

                  ศิลปกรรมที่โดดเด่นที่สุดในสมัยสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 ที่นอกเหนือจากอิตาลีคือ เบลเยียม โดยมีศูนย์กลางสำคัญอยู่ที่เมืองตูร์นาย เมืองบรูเชส์ เมืองเกนต์ กรุงบรสเชลส์ เมืองลูแวง และเมืองอันตเวิร์พ                 ฝรั่งเศส เป็นศูนย์กลางศิลปะอีกแห่งหนึ่งในแถบแคว้นเบอร์กันดีในเมืองดีชง จนราว พ.ศ.1960 จึงสิ้นสุดลงเพราะปีนั้น สำนักงานของท่านดยุกได้ย้ายไปอยู่ในดินแดนฟลานเดิร์ส กรุงปารีสยังคงเป็นศูนย์กลางทางศิลปะต่อไปอีก ควบคู่ไปกับเมืองพงพงแตนโบลที่เป็นศูนย์กลางทางศิลปะที่สำคัญในสมัยพุทธศตวรรษที่ 21ดินแดนของคนพูดภาษาตระกูล เยอรมนิก เมืองที่มีชื่อเสียงโดดเด่นทางศิลปะคือ เมืองโคโลญ เมืองนูเรมเบิร์ก กรุงเวียนนา และเมืองบาเชิล ส่วนลอนดอนนั้น นับเป็นศูนย์กลางทางศิลปะที่พัฒนาแบบสมัยเรอนาซองส์ในประเทศอังกฤษที่พัฒนาช้าที่สุด

                    สมัยเรอนาซองส์นั้น คริสตจักรยังคงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะรายสำคัญต่อไปอีก ส่วนพวกผู้ดีมีเงินและพ่อค้าที่ร่ำรวยก็ว่าจ้างทำศิลปกรรมเพื่อัวเขาเองเช่นเดียวกับที่มีการทำเพื่อคริสต์จักรด้วย ตระกูลที่มีอำนาจและเป็นผู้อุปถัมภ์ทางศิลปะที่สำคัญ ก็จะมีชื่อปรากฏในประวัติศาสตร์ศิลปะ ได้แก่ ตระกูลวิสกอนตี และตระกูลสฟอร์ซาในนครมลาน ตระกูลกอนซากาในนครมันตูวา ตระกูลเอสเตในนครแฟร์รารา และตระกูลเมดิชีในนครฟลอเรนซ์

                         ลัทธิปัจเจกนิยมแนวใหม่ได้เร่งเร้าในการแสวงหาเกียรติยศชื่อเสียง เพื่อความสำเร็จสมบูรณ์ในชีวิตทางโลกเป็นเรื่องใหญ่ จึงเห็นว่าสถาปัตยกรรม จิตกรรม และปติมากรรม มีลักณะเป็นอนุสรณ์ถาวรให้กับสถานภาพและคุณภาพเป็นสำคัญของผู้ที่อุปถัมภ์ศิลปะเป็นส่วนใหญ่ การปรารถนาที่จะมีความสมบูรณ์พร้อมทุกด้าน ได้ถูกแสดงออกาในมโนภาพของมนุษย์สากล เป็นมนุษย์ที่มีความสนใจ และมีความสามารถหลายด้าน ซึ่งได้รับความคิดมาจากกรีกและมีบรรยายไว้ในหนังสือ “เดอะคอติเอร์”(The Courtier แปลว่าข้าราชการสำนัก)ของ บัลดัสซารา กัสติลยีโอเน สมัยพุทธศตวรรษที่ 21 ความสนใจอันกว้างขวางนี้มีอิทธิพลมาจากผู้อุปถัมภ์ศิลปะและต่อทัศนะของศิลปินอีกด้วย

                        มิเคลัยเจโล  จึงเป็นทั้งกวี จิตรกร สถาปนิก และปติมากร

                       เลโอนาร์โด ดา วินชี จึงเป็นทั้ง ศิลปิน นักวิทยาศาสตร์ และวิศวะกร

                  ฐานะทางสังคมได้พุ่งสูงมากจนในสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 และ 21 พอสมัยพุทธศตวรรษที่ 22 ศิลปินปินที่มาฝึกงานอยู่ในร้านช่างศิลปะเรียกว่า บอตเตกา ภายใต้การฝึกงานช่างศิลปะและกฎเกณฑ์ของสโมสรช่างอย่างอย่างเคร่งครัด ได้เริ่มกลายเป็นศิลปินอัจฉริยะและมาเป็นครูสอนในบัณฑิตยสถานศิลปะ เขาเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางศิลปะ และเป็นคนสนิทของผู้มีอำนาจในสังคม ซึ่งทำให้เขาเป็นอิสระจากระเบียบแบบแผนของสโมสรช่าง

             สมัยพุทธศตวรรษที่ 20 การเริ่มต้นของศิลปะการพิมพ์ในเยอรมนี ทำให้ศิลปะการพิมพ์สามารถซื้อหามาเป็นเจ้าของได้ในหมู่ผู้คนจำนวนมากขึ้น กลายเป็นการขยายขอบเขตการอุปถัมภ์ค้ำชูศิลปะและทำให้ผู้ชมผลงานของศิลปินมีกว้างขวางขึ้นด้วย สื่อวิธีที่สำคัญก็คือ การพิมพ์วิธีแกะไม้ การพิมพ์วิธีแกะลายเบาไม้ และการพิมพ์วิธีแกะลายเบาโลหะ

    สมัยพุทธศตวรรษที่ 20

    จิตรกรรมในยุโรปตอนเหนือ

                 ในเมืองต่างๆที่ยู่เหนือของประเทศอิตาลีขึ้นไปนั้น บางทีก็พิจารณากันว่าเป็นจิตกรรมแบบเมดิวัลตอนปลายมากกว่าที่จะเป็นแบบเรอนาซองส์ เพราะแสดงถึงความสนใจในศิลปะกรีกและโรมัน เรียกว่า เกรโก โรมัน ซึ่งเป็นสมัยโบราณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และไม่แสดงรูปมนุษย์ให้มีกิริยา ท่าทาง สัดส่วน และขนาดอันยิ่งใหญ่ของวีรบุรุษมากเกินไป อย่างที่มีในจิตรกรรมอิตาลีสมัยพุทธศตวรรษที่ 20เลย

                    จิตรกรรมยุโรปภาคเหนือทำให้การศึกษาธรรมชาติของสมัยกอทิกยุคปลายมีความลึกซึ้งแรงจัดขึ้น โดยเพิ่มบริเวณว่างให้ลึกมากขึ้น ทำให้รู้สึกเหมือนหลอกตาดูเป็นกลุ่มมวลชัดเจนมากขึ้น และทำให้ส่วนละเอียดและลักษณะพื้นผิวถูกต้องตามความเป็นจริงมากขึ้นด้วย

                     แต่ว่าลักษณะรูปลำตัว สัดส่วน และรอยย่นยับของเสื้อผ้าอาภรณ์ ยังเป็นตามแบบแผนนิยมอยู่มาก ลักษณะที่ปรากฏติดต่อกันมาได้แก่ รูปคนมีลำตัวผอมบาง ศีรษะกว้างใหญ่  ไหล่แคบ มีรอยยนบับของเสื้อผ้าหักมุมและมีทิวทัศน์ภูมิประเทศหรือฉากทางสถาปัตยกรรมอัดแน่นไปทั้งภาพ ล้วนทำให้จิตรกรรมยุโรปภาคเหนือในสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 มีลักษณะส่วนรวมเป็นจิตรกรรมขนาดเล็ก แม้ความจริงจะเป็นขนาดใหญ่ก็ตาม ส่วนรายละเอียดการใช้รูปลักษณ์เป็นมรดกตกทอดมาจากยุกลางกันมากขึ้น

                      จิตรกรสมัยนี้จะใช้สีโปร่งใส โดยการเพิ่มปริมาณการใช้น้ำยาเคลือบสีน้ำมัน ที่อาจใช้เพียงลำพังหรืออาจรวมกับสีฝุ่นผสมไข่ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมกันมาก

    จิตรกรรมในประเทศอิตาลี

                         ขณะที่จิตรกรรมแนวอนุรักษ์นิยมได้ดำเนินตามประเพณีนิยมของศิลปะไบซันไทน์และของศิลปะกอทิกต่อไปอีกนั้น จิตรกรแนวใหม่ก็ได้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาด้วยความสนใจแนวหลักของสมัยเรอนาซองส์ที่สนใจในมนุษย์แต่ละคน ธรรมชาติ ศิลปะกรีกและโรมันโบราณ ปติมากรรมเก่าล้ำค่าสมัยกรีกและโรมันโบราณที่ยังมีเหลือกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในสมัยนั้น ได้ส่งเสริมให้มีความนิยมชื่นชอบ”ควมเป็นกลุ่มมวล” ในประติมากรรมอิตาลีสมัยเมดิวัลมากทีเดียว ปติมากรรมสมัยเมดิวัลของ”จ็อตโต”เป็นแหล่งกำเนิดของจิตรกรรมสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 แนวใหม่อีกด้วย

                        การทำภาพให้ดูเหมือนจริงมีมากขึ้น เช่นการใช้ทัศนมิติด้วยลายเส้น และด้วยบรรยากาศ ทำให้เกิดบริเวณว่างเป็นสามมิติชัดเจนขึ้น การศึกษาแสงตามธรรมชาติจากแหล่งกำเนิดแสงโดยตรงและแสงที่สะท้อนมา เพื่อใช้เป็นวิธีทำให้เข้าใจกลุ่มมวลในภาพให้ดีขึ้น มีการสังเกตในส่วนของรูปทรงของภูมิประเทศ ชีวิตของพืชพันธุ์ไม้ และกายวิภาคของมนุษย์และสัตว์มากขึ้น มีการแสดงท่าทางรูปคนเป็นไปตามธรรมชาติได้ดีพอๆกันกับความเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติอย่างที่รู้สึกได้ชัดเจน จริงกลายเป็นแนวความคิดใหม่ที่ว่า “ลักษณะที่เป็นจริงนั้นเป็นอย่างไร”

                       สิ่งต่างๆเหล่านี้มีการพิจารณากันถึงความชัดเจนเป็นสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันความพยายามที่จะให้ความชัดเจนประสบผลสำเร็จดูจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากทีเดียว เพราะความชัดเจนเรียกร้องให้ทำตามขอบเนื้อที่ต่างๆเป็นเส้นแสดงรูปร่างอย่างคมชัด ซึ่งเป็นลักษณะค้านกันกับการทำให้รูปทรงมีความกลม และการยืนยันในการแสดงกลุ่มมวลในกิจกรรม บางทีก็ทำให้ใบหน้ามนุษย์ที่ระบายสีดูรู้สึกเหมือนหินมากกว่าเนื้อหนังมนุษย์ มีแต่ตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 21 เท่านั้น ที่มีการใช้เงามืดคลึ้มทำให้บางส่วนของภาพองค์ประกอบศิลปะมืดสลัวลง ซึ่งมีในผลงานที่ชอบแสดงจุดรวมความสนใจที่แรงจัด

                       การวาดภาพคนเหมือน ภาพศึกษาธรรมชาติ ภาพสถาปัตยกรรมและตำนานปรัมปราของกรีกและโรมันโบราณ ตลอดจนภาพเรื่องราวเกี่ยวกับชาวคริสต์ตามประเพณีนิยม มักมีผสมผสานกันเสมอเช่น

     ภาพการบูชาพระคริสต์ผู้เป็นทารก อาจแสดงอยู่กับซากเมืองโบราณหรือกับหีบศิลาใส่ศพ ซึ่งประดับด้วยรูปนูนเรื่องตำนานปรัมปราของกรีกและโรมันโบราณ ในขณะที่รูปเหมือนของผู้อุปถัมภ์ร่วมสมัยของศิลปินผู้เขียนภาพนั้น อาจพบอยู่ท่ามกลางรูปพระราชาสามพระองค์ และข้าราชบริพารของของพระองค์ก็เป็นได้

                    ความมั่นใจในความสำคัญและความสามารถของมนุษย์ ศิลปินบางคนได้แสดงออกมาในท่าทางที่สง่าผ่าเผย แสดงความอดกลั้นทางอารมณ์ และแสดงกลุ่มมวลอย่างกล้าหาญหนักหน่วง ลักษณะต่างๆนี้ล้วนเป็นภาพที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่สง่างามอย่างอนุสาวรีย์ จิตรกรรมอิตาลีสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 โดยมากมีรูปทรงรูปคนกว้างใหญ่ และความกว้างของขนาดตามสัดส่วนเช่นนี้ ทำให้ไม่คล้ายกันกับลักษณะจิตรกรรมขนาดเล็กซึ่งเป็นผลงานส่วนมากในยุโรปตอนเหนือเลย ถึงยังไงชาวอิตาลีก็ชื่นชอบ “จิตรกรรมเฟลมิช”มากทีเดียว และฉากหลังภาพทิวทัศน์ภูมิประเทศแห่งเฟลมิชก็มีผลกระทบต่อศิลปะอิตาลีเช่นกัน

                     สื่อหลักสำหรับจิตรกรรมอิตาลีในสมัยนั้นได้แก่ สีปูนเปียก สีฝุ่น และบางทีก็มีการใช้สีเคลือบน้ำมันบ้างเหมือนกัน

    ประติมากรรมในประเทศอิตาลี

                    ประติมากรรมฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี มีความเคลื่อนไหวสู่ความเหนียวแน่นของกลุ่มมวล การยืนท่าเอียงตนแบบตริภังค์ การศึกษาทางกายวิภาคอย่างลึกซึ้ง การทำรอยยับของเสื้อผ้าอาภรณ์ต่างๆให้เป็นธรรมชาติ และการทำรูปเหมือนกันอย่างแพร่หลาย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นแรงบันดาลใจที่มาจากการสนใจในศิลปะโรมันมากขึ้น ในรูปของกายภาพและในมนุษย์ปถุชนทั้งสิ้น

                   นอกจากนี้ยังมีการสร้างรูปคนเปลือยแบบตั้งอิสระจากฉากหลังขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ยุคโรมันเป็นต้นมา มีการแสดงความลึกลวงตาในประติมากรรมรูปนูนอย่างกล้าหาญได้ด้วย ความคล้ายของประติมากรรมต่อจิตรกรรมนั่นคือ การปราถนาความแจ่มแจ้งชัดเจนมักเป็นผลให้ส่นละเอียดของกลุ่มมวลต่างๆเป็นการเขียนแบบลายเส้น

                   เนื้อเรื่องส่วนมากเกี่ยวกับมนุษย์ผู้เป็นวีรบุรุษทั้งจากพระคัมภีร์ไบเบิลและจากเหตุการณ์ร่วมสมัยของศิลปิน มักเลือกเรื่องราวแสดงในประติมากรรมเป็นตำนานปรัมปราของกรีกและโรมันโบราณตลอดจนนิทานสอนใจทางโลก ปรากฏให้เห็นกว่าแต่ก่อนที่จะสนใจในประติมากรรมสำริดขนาดเล็กของกรีกและโรมันโบราณอย่างมาก ทำให้ประติมากรรมสมันเรอนาซองส์ทำผลงานประเภทนี้กันต่อไปอีก เช่น ประติมากรรมรูปพระแม่มะดอนนาและรูปนักบุญต่างๆแสดงออกถึงลักษณะเฉพาะบุคลจนดูคล้ายรูปเหมือนมากทีเดียว

                    ประติมากรรมรูปนูนใช้เน้นจุดรวมสนใจภายในโบสถ์ศาสนาคริสต์ อย่างเช่นที่แท่นเทศน์ที่ชั้นลอยสำหรับสวดเพลงประสานเสียงและที่ประตูสำริด รูปนูนบนสิ่งที่เป็นศูนย์พิธีสักการะบูชามีมากมายหลายขนาดตั้งแต่เป็นแผ่นโล่หินขนาดเล็กติดผนัง เรื่อยไปจนถึงช่องซุ้มขนาดใหญ่ในผนัง ใช้มุมมองภาพทัศนมิติแบบมีจุดรวมสายตาจุดเดียวอย่างน่าสะดุดตาและแวดล้อมไปด้วยกรอบโครงทางสถาปัตยกรรมซึ่งมีรายละเอียดวิจิตรบรรจงด้วยการใช้ลายบัวขอบแบบกรีกและโรมันหลายแบบ

                    ความนิยมชมชอบลักษณะของเฉพาะตัวบุคคลในสมัยเรอนาซองส์ มีหลักฐานชัดเจนจากการมีรูปเหมือนบุคคลเสมอแนวอกจำนวนเพิ่มมากขึ้นภายหลังสิ้นสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 สิ่งที่คล้ายกับชาวโรมันรุ่นเก่คือ เป็นผลงานที่มีรายละเอียดมากจึงทำให้ประติมากรสามารถเชิดชูเรื่องราวได้มากขึ้น โดยการแสดงความสง่างามของกิริยาท่าทาง หรือการแสดงออกทางอารมณ์อย่างระมัดระวัง ประติมากรรมรูปมาร์คุส อูเรลินุส ขี่ม้า เป็นผลงานของชาวโรมันในกรุงโรม

                  ความปรารถนาที่จะทำให้ชื่อบุคคลยืนยงเป็นเวลานานยังคงมีอยู่ตามผนังสุสานสมัยเรอนาซองส์ และมีรูปคนแบบโรมันอย่างที่เรียกว่า Putti รูปกามเทพหรือเทวบุตร และรูปเทพีแห่งชัยชนะมีปีกของกรีกและโรมันอยู่ด้วย

    สถาปัตยกรรมในประเทศอิตาลี

                   เห็นว่าสถาปัตยกรรมแบบกอทิกมีเส้นทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าแผ่ขยายไปอย่างไม่เป็นแบบแผนและมีสัดส่วนรูปเรขาคณิตที่สลับซับซ้อนซึ่งมีรายละเอียดพื้นผิวคลุมไว้มากมาย และยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโบราณอยู่ด้วย สถาปัตยกรรมแบบโรมันนับจากได้ตัดขาดจาการใช้แผ่นบางๆมาตกแต่งผิวแล้วทำให้เห็นรูปแบบสมมาตรมูลฐานและมีความแจ่มแจ้งชัดเจนในการจัดขนาดและสัดส่วนอย่างมีเหตุผล จนกลายเป็นเรียบง่ายและเข้าใจรวดเร็ว นักปราชญ์สมัยเรอนาซองได้กล่าวถึงดุลภาคอันมั่นคงของเสาหินแนวตั้งกับหัวคานของกานพาดหัวเสาแนวนอน เส้นโค้งของโครงสร้างของช่องโค้งมน  และความมั่นคงเป็นปึกแผ่นของผนังที่สัมพันธ์กับโครงสร้างสันพันธ์กับวรรณกรรมและปรัชญาของกรีกและโรมัน

         สถาปนิกบางคนใช้แค่เสานูนบนผนัง เสาโครงสร้าง และลายบัวขอบ ของโรมันประยุกต์ให้มีความมั่งคั่งอย่างแบบกอทิกเท่านั้น แต่สถาปนิกชั้นนำจะมองหาเพื่อการเข้าใจหลักการมากกว่าการเลียนแบบ อาคารสมัยเรอนาซองส์ยุคแรกเริ่มมีความสำคัญยิ่งทางศิลปะได้แก่ โบสถ์ปัซซี ชาเพล ในนครฟลอเรนซ์ และโบสถ์ซันตา มาเรีย เดลเล คาร์เชรี ในเมืองปราโต แสดงถึงความชัดเจนของรูปผนังและรูปด้านอย่างเหนียวแน่นกับความชัดเจนแบบลายเส้นอย่างในจิตรกรรมและประติมากรรมในพุทธศตวรรษทื่ 20 มากเลยทีเดียว

                     การค้นพบข้อเขียนของ ปอลลีโอ วีตรูวีอุส ในวัดแห่งหนึ่งประเทศเซอร์วิสเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 1957  ทำให้มีการศึกษาในสัดส่วนของสถาปัตยกรรมมากขึ้น

                        นครฟลอเรนซ์ เป็นที่รองรับสถาปัตยกรรมแบบสมัยเรอนาซองส์ยุคแรกเริ่มเป็นแห่งแรก ได้แก่ สถานสงเคราะห์เด็กอนาถา และโบสถ์ปัซซี ชาเพล เมืองอื่นๆของอิตาลีตอนเหนือ เชน เมืองรีมีนี และเมืองมนตูอา ก็มีความสำคัญทางสถาปัตยกรรมด้วยเหมือนกัน

                         สถาปัตยกรรมสมัยเรอนาซองส์มาถึงนครเวนิชช้ามาก และได้มาผสมกันกับประเพณีแบบ ไบซันไทน์ และแบบกอทิกแบบลึกซึ้งมาก ชั้นลอยและเฉลียงหลังคาโค้งช่วยทำให้ผนังดูเบาลอยและเปิดกว้างขึ้น พระราชวังจะไม่แน่นทึบเหมือนป้อมปราการอย่างในนครฟลอเรนซ์เพราะการเมืองมีความรุนแรงน้อยกว่า

                         กรุงโรมก็มีศิลปะแบบนี้ช้าด้วยเหมือนกัน อาจเป็นเพราะในช่วงศตวรรษนั้นมีการสร้างอาคารแบบสำเร็จเพียงไม่กี่หลังเท่านั้นก็เป็นได้ เช่น อาคารแกนเชลเลรีอา สร้างเมื่อ พ.ศ.2029 ปรากฏว่ามีแหล่งแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมของ “เลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี”

       สมัยพุทธศตวรรษทื่ 21

    จิตรกรรมในประเทศอิตาลี

          มีจุดมุ่งหมายต่างจากสมัยพุทธศตวรรษทื่ 20 การค้นหาโลกทางกายภาพถูกแทนด้วยความพยายามที่จะเปลี่ยนรูปลักษณ์และทำให้สูงส่งเหนือกว่าที่เห็นอยู่ทั่วไปโดยไม่เสียลักษณะทางกายภาพของสิ่งนั้นเลย ซึ่งศิลปินจะแสวงหาลักษณะเฉพาะตัวของตนเอง เช่น การลดทอนใบหน้าคนให้เป็นแบบทั่วไปของคนสมัยนั้นมากกว่าเป็นแบบเฉพาะบุคคลและไม่ค่อยแสดงการแต่งกายร่วมสมัย รอบยับย่นของเสื้อผ้าจะเรียบง่ายเน้นการวาดเส้นในทิศทางที่กว้างๆ ความเป็นลายเส้นของสมัยพุทธศตวรรษทื่ 20 ลดบทบาทลงและแสดงกลุ่มมวลได้เต็มที่มากขึ้น การแสดงแสงสว่างนุ่มๆมักทำให้เกิดบรรยากาศหนาแน่นที่เรียกว่า Sfumato (ภาพแสงสลัว)เป็นภาพที่ต่างจากสมัยพุทธศตวรรษทื่ 20ในบริเวณที่ว่างไร้อากาศ

                   ท่าทางของบุคคลในภาพในให้ดูมีจังหวะลีลา ประสานกลมกลืนและลื่นไหลมากขึ้น แสงและเงาในภาพช่วยให้คาน้ำหนักและจุดสนใจได้เนื้อหาทางอารมณ์มากขึ้น สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงออกในแบบอย่างอันยิ่งใหญ่สง่างาม อย่างที่เรียกกันว่า “แกรนด์แมนเนอร์”Grand manner โดยเปลี่ยนลักษณะตามธรรมชาติเป็นการแสดงออกทางอุดมคติ แนวความคิดนี้สามารถพิจารณาว่าศิลปินคืออัจฉริยบุคคลไม่ใช่เป็นแค่ช่างฝีมือ

                  ต้นสมัยพุทธศตวรรษทื่ 21 ลักษณะเรอนาซองส์ยุครุ่งเรืองมีในผลงานของโอนาโด ดา วินชี ทั้งที่ผลงานมีในสมัยพุทธศตวรรษทื่ 20 เขาอาจอยู่ในฐานะสะพานเชื่อมระหว่างสองทศวรรษก็เป็นได้

                  นครฟลอเรนซ์เป็นที่เพาะพันธุ์ลักษณะเรอนาซองส์ยุครุ่งเรือง นั่นก็เพราะ “ราฟาเอล และ มิเคลันเจโล”ได้เขียนภาพที่แสดงถึงวุฒิภาวะทางศิลปะของเขาเป็นครั้งแรกในนครแห่งนั้นด้วย และผลงานของทั้งสองคนก็ได้ปรากฎอยู่มากมายในกรุงโรม

                   ทางภาคเหนือของอิตาลี จิตรกรรมเวนิชได้ก้าวหนีจากการแสดงส่วนละเอียดภาพอย่างเรอนาซองส์ยุคแรกแต่มุ่งแสดงกลุ่มมวลที่เต็มที่มากขึ้น ลดการใช้สีตามจริงโดยทำให้ภาพมีลักษณะเป็นสีส่วนรวม บรรยากาศนุ่มๆทำง่ายๆด้วยสีน้ำมันง่ายกว่าวัสดุอื่น ส่วนการเขียนภาพบนฝาผนังก็ยังคงใช้สีปูนเปียกต่อไปอีก ใช้สีน้ำมันที่ข้นทึบและเคลือบผิวมันทำให้เกิดลักษณะสีและพื้นผิวได้มาขึ้น

                    จิตรกรรมในยุคปลายเผยให้เห็นความสนใจหลายทาง บางทีงานของศิลปินคนเดียวแท้ๆกลับมีหลายแนวทางก็มี

                     แนวทางอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นอันเป็นที่รู้จักกันชื่อลัทธิ “แมนเนอร์ริสม์”Mannerism เป็นแนวนิยมทำศิลปกรรมด้วยกลวิธีแบบศิลปะซ้ำๆกัน ผลงานแนวนี้ปฎิเสธความแจ่มชัดที่เป็นระเบียบแบบแผน

    โดวการจัดภาพที่ขาดจุดความสนใจและจัดส่วนที่ไม่เข้ากันให้เข้ากันอย่างแออัด

                       ต่อไปก็คือแนว “โปรโตบาโรก” แบบอย่างทางศิลปะก่อนที่จะเป็นบาโรกแท้ เป็นแบบกรุยทางกับการแสดงกิริยาท่าทางที่รุนแรง ใช้แสงอย่างเร้าอารมณ์ ซับซ้อน และลวงตาอย่างตื่นเต้นเร้าใจ กลายเป็นแม่แบบสำคัญ ปรากฏอยู่ในศิลปกรรมแบบบาโรกในสมัยพุทธศตวรรษทื่ 22

     

    ประติมากรรมในประเทศอิตาลี

                 คล้ายกันกับจิตรกรรมยุคสมัยเดียวกันคือ การแสวงหารูปทรงในอุดมคติ แสวงหาแบบอย่างที่ยิ่งใหญ่หรูหรา ขนาดสัดส่วน กิริยาท่าทางอันสง่างาม แสวงหารูปร่างและสัดส่วนในอุดมคติ และความรู้สึกอันลึกซึ้ง ประติมากรบางคนใช้ความสมดุลอันสงบนิ่งและใช้ความเปลี่ยนแปลงลักษณะแบบราบรื่น สามารถพบเห็นได้ในภาพเขียนส่วนมากของ ราฟาเอล แต่ก็มีประติมากรอีกม่น้อยเลือกใช้การวางท่าทางบิดเอี้ยว และแสดงพลังชีวิตที่เข้มจัดมาก อย่างเช่นในปริมากรรมและจิตรกรรมของ ไมเคิลแองเจโล

                แบบอย่างศิลปะแนวแมนเนอริสม์และแนวโปรโตบาโรก ช่วยให้เกิดแนวทางศิลปะแบบสมัยเรอนาซองส์ยุคปลาย ทั้งการใช้เส้นโค้งอย่างงูเลื้อย และใช้ควาอ่อนช้อยอย่างประหม่าขวยเขิน ของรูปคนในลัทธิแมนเนอริสม์ อาจรับมาจากความประสานกลมกลืนที่สละสลวยเกลี้ยงเกลาของ ราฟาเอล หรืออาจเป็นแบบที่ทำให้ระบบกล้ามเนื้อที่บิดเอี้ยวและสง่างามอย่างวีรบุรุษ ในศิลปกรรมของไมเคิล แองเจโล ให้นิ่มนวลลงได้

                       กิริยาท่าทางที่ตัดกันรุนแรงและเร้าอารมณ์ความรู้สึกจนถึงการเน้นจุดรวมความสนใจที่ได้พลังอย่างแรงกล้าของปริมากรรมแบบโปรโตบาโรก ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานศิลปะของ ไมเคิล แองเจโล โดยเฉพาะ

                        ประติมากรรมรูปเหมือนตลอดสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 ตั้งใจแสดงออกถึงฐานะทางสังคมและใจความสำคัญทางกายภาพหรือความรู้สึกนึกคิดมากกว่าลักษณะเฉพาะตนอย่างชัดแจ้ง ซึ่งพบเห็นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 หลุมฝังศพแบบผนังของสมัยพุทธศตวรรษที่ 21ที่ใหญ่และซับซ้อนมากว่าช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งพัฒนาขอบข่ายสถาปัตยกรรมให้มีความหลากหลายทางบริเวณว่างมากขึ้น รูปผังของส่วนที่ยื่นและส่วนที่หดมีความแตกต่างกัน

                        ที่ฝังศพสมัยเรอนาซองส์ยุครุ่งเรือง จะมีการรวมกันระหว่างรูปคนกับสถาปัตยกรรมอย่างลงตัว ส่วนที่ฝังศพสมัยเรอนาซองส์ยุคปลาย อาจเอารูปคนแบบแมนเนอริสม์เข้ากับวัสดุสีฉูดฉาด และมีความต่างกันอย่างรุนแรง จึงเป็นการกรุยทางให้ศิลปะแบบบาโรกนั่นเอง

                        ความชอบที่แตกต่างกันนี้ บางทีนักออกแบบติดตั้งรูปคนแยกจากสถาปัตยกรรมโดยเด็จขาด ด้วยการเปลี่ยนค่าน้ำหนัก สี รูปร่าง หรือขนาดต่างกันไป ประติมากรรมที่สำคัญที่สุดของที่ฝังศพในสมัยเรอนาซองส์ยุคปลาย ได้แก่ การออกแบบของ ไมเคิล แองเจโล เพื่อทำการฝังศพของคนสำคัญในตระกูลเมดิชี

                      สมัยเรอนาซองส์ยุคปลาย มีการสร้างน้ำพุเป็นอนุสรณ์สถานสาธารณะ โดยมีการรวมกันระหว่างประติมากรรมอิสระ ประติมากรรมรูปนูน และน้ำที่เคลื่อนไหวให้กลมกลืนกันเป็นอย่างดี การสร้างน้ำพุเริ่มมีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ และประติมากรรมรูปนูปเริ่มลดบทบาทลง โดยให้ประติมากรรมที่สามารถดูได้รอบตัวซึ่งเป็นรูปตั้งที่อิสระจากฉากหลังมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มมวลเริ่มมีลักษณะเปิดโล่ง และริ่มมีการตัดกันของแสงสว่างและเงามืดเต็มที่มากขึ้น

                     ศูนย์หลักสำหรับการพัฒนาแบบอย่างประติมากรรมสมัยพุทธศตวรรษที่ 21ได้แก่ นครฟลอเรนซ์และกรุงโรม รองลงมาได้แก่ นครเวนิซ นครมิลาน และเมืองเนเปิลส์ ประติมากรก็คล้ายกันกับจิตรกรสมัยเดียวกัน นั่นคือ ชอบทำงานอยู่ในหลายๆเมืองไม่ชอบทำงานอยู่กับที่

                        สถาปัตยกรรมในประเทศอิตาลี

                       ยุครุ่งเรืองในประเททศอิตาลี สถาปัตยกรรมถ่ายทอดมาจากชาวโรมันโดยเฉพาะ มีความสนใจสัดส่วนแบบโรมันและทำผนังอาคารให้เป็นกลุ่มมวลอย่างประติมากรรมมากขึ้น ทำให้แสงและเงามืดตัดกันอย่างรุนแรงชัดเจน สิ่งที่เป็นมากกว่าความเป็นโรมันนั่นคือ การสร้างรูปพรรณสัณฐานให้เกี่ยวพันกันไม่ใช่แค่เป็นกลุ่มมวลแต่ยังรวมไปถึงในบริเวณว่างด้วย เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น

                         สถาปัตยกรรมก็คล้ายกันกับจิตรกรรมในสมัยเดียวกัน นั่นคือมีความพยายามให้มีลักษณะสมดุลและมีขนาดมหึมา อย่างมีปรากฏเป็นหลักฐานบ่งชัดในซากสถาปัตยกรรมโรมันมีการใช้ส่วนต่างๆอย่างเหมาะสมเพื้อเน้นความกว้างใหญ่ของรูปทรงอาคารเป็นสำคัญ

                         สถาปัตยกรรมสมัยเรอนาซองส์ยุคปลาย เทียบได้กับจิตรกรรมและประติมากรรมลัทธิแมนเนอริสม์ ซึ่งมีส่วนที่แตกต่างกันมากอย่างคาดไม่ถึง มีการรวมกลุ่มกันของรูปทรงต่างๆอย่างวิจิตรพิสดาร มีรูปร่างแปลกๆพิลึกพิลั่น เห็นแล้วทำให้นึกถึงรูปพืชพันธ์ไม้ รูปสัตว์ หรือรูปคน และมีความน่าพิศวงในโครงสร้างของตัวอาคาร เช่น เสาถูกลดบทบาทในการรับน้ำหนักโครงสร้างโดยการเซาะร่องเป็นลวดลายทำให้ดูไม่แข็งแรงมั่นคงเท่าที่ควร และโครงสร้างวงโค้งอาจออกแบบเจาะจงให้หินหลักเลื่อนออกจากตำแหน่งที่อยู่ของมัน น่ากลัวว่าบางทีมันอาจจะพังลงมาได้

               แนวโปรโตบาโรกรุ่งโรจขึ้นในสถาปัตยกรรมหสัง พ.ศ.2063 ลักษณะสมดุลแบบนิ่งสงบและความกระจ่างชัดตามส่วนต่างๆ ได้ยอมหลีกทางให้กับลักษณะของจุดรวมความสนใจที่มีพลังแรงอย่างเร้าอารมณ์ มีความเคลื่อนไหวทางรูปทรงให้รู้สึกได้ซึ่งเกิดจากการทำให้ผนังมีโค้งมีเว้าและทำให้บริเวณว่างมียืดมีหดเป็นต้น ตามส่วนผิวพื้นก็แตกแยกออกเป็นรูปเล็กรูปน้อยด้วยองค์ประกอบในการตกแต่งจนเกิดมีความลึกขึ้นมากามยหลายระดับ

    จิตรกรรมในยุโรปตอนเหนือ

              พ.ศ.2063 องค์ประกอบของศิลปะอิตาลีแบบแมนเนอริสม์ ได้เริ่มปรากฏขึ้นในผลงานของศิลปินตอนเหนือหลายคน พบว่ามีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมสมัยโบราณแบบกรีกและโรมันในเชิงจินตนาการเหมือนกัน มีการทำสัดส่วนรูปคนให้สง่างามอย่างวีรบุรุษ ซึ่งแสดงกลุ่มมวลเต็มที่บริเวณกว้างๆมากขึ้นและบางครั้งก็ใช้การวาดแสงและเงารวมทั้งการวาดแสงสลัวในภาพด้วย

              แคว้นฟลานเดิร์ส เมืองอันตเวิร์พเริ่มเป็นศูนย์กลางผลิตจิตรกรรมออกมามากมาย เป็นการขยายแบบอย่างศิลปะแนว ไมเคิล แองเจโล ที่นำเข้ามาจากกรุงโรมให้เกินเลยไปว่าที่เป็นจริง ความซับซ้อนของผลงานในสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 ยังงมีอยู่ในจิตรกรรมแห่งอันตเวิร์พรูปแบบงานศิลปะที่ทำกันเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นๆในทวีปยุโรป ได้แก่ ภาพเรื่องราวศาสนาคริสต์ขนาดเล็กที่มีการผสมผสานกันแบบแปลกๆของสถาปัตยกรรมแนวอิตาลีกับรูปคนตัวยาวยืดในท่าทางสะทกสะท้านและมีเสื้อผ้าแบบเพ้อฝัน  คำว่า Antwerp Mannerism หรือลัทธิแมนเนอริสม์แห่งอันตเวิร์พบางทีก็ใช้เรียกกันทั้งสองแนว   

              เมืองอันตเวิร์พและกรุงบรัสเซลส์  มีความสำคัญในทางจิตรกรรมภาพทิวทัศน์และภาพชีวิตประจำวันที่เรียกว่า  Genre-ชองร์  ภาพทิวทัศน์ภูมิประเทศเห็นต่อเนื่องกันในมุมกว้างเรียกว่า Panorama มีการแสดงส่วนละเอียดประณีตบรรจงและสีละเอียดอ่อนมากรวมถึงภาพหุ่นนิ่งด้วย

               ในประเทศเยอรมนี  ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์  ความชอบของสมัยเมดิวัลในการใช้เส้นลักษณะเคลื่อนไหวซับซ้อนกับกรวางลายแม่แบบลักษณะแบนด้วยรูปร่างที่มีขอบคมชัดเจน  เปลี่ยนแปลงลักษณะความคิดมาจากอิตาลีไปบ้างในขณะที่เน้นหนักเรื่องภาพเหมือน  นิทานปรัมปราของกรีกและโรมัน  และเรื่องศาสนาคริสต์อยู่นั้น  จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ภูมิประเทศได้เกิดขึ้นด้วยฝีมือของบรรดาจิตรกรที่ทำงานเขียนภาพกันอยู่ในบริเวณใกล้เคียงแม่น้ำดานูบ

                ผลงานของพวกเขาเรียกว่า  Danube style หรือแบบอย่างศิลปะดานูบนี้  ได้สร้างทัศนียภาพแห่งยอดเขาที่เป็นน้ำแข็ง  หุบเขาที่มีลมพัดและกิ่งก้านสาขาไม้ดูคล้ายอุ้งเล็บสัตว์ที่มีใบเขียวสดตลอดปีเหมือนถูกคลุมด้วยผ้าขนสัตว์ล้วนแสดงออกอย่างปราณีตบรรจง

                    จิตรกรรมฝรั่งเศสสมัยพุทธศตวรรษที่21 ศูนย์กลางอยู่ที่พระราชวังฟงแตนโบล์  เป็นที่พระเจ้าฟรังซิสที่1 พระเจ้าเฮนรีที่2 และพระเจ้าเฮนรีที่4 ทรงรวบรวมบรรดาศิลปินชาวฝรั่งเศสและต่างชาติไว้เป็นจำนวนมากผู้นำกลุ่มนี้คือ  พวกจิตรกรลัทธิแมนเนอริสม์ชาวอิตาลี

                    ประเทศอังกฤษสมัยพุทธศตวรรษที่21  สนใจการทำภาพเหมือนเป็นส่วนใหญ่  ผู้นำจากจิตรกรต่างชาติได้แก่  ฮันส์  อีเวิร์ท แห่งฟลานเดิร์ส และ ฮันส์  โฮลเบน  บุตรแห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์  ลักษณะงานศิลปะคือ  มีความสดใสชัดเจนในรายละเอียดของเสื้อผ้าและเครื่องประกอบ  มีการใส่รายละเอียดลงไปในเนื้อที่กว้างๆของภาพด้วยเส้นขอบส่วนต่างๆอย่งคมชัด

                  สถาปัตยกรรมในยุโรปตอนเหนือศิลปะกอทิกยังคงมีอยู่ในพุทธศตวรรษที่20 และ21  ช่วงระยะเวลาหนึ่งอาคารสมัยเรอนาซองส์ค่อยๆเข้าไปผสมกับรายละเอียดของอาคารสมัยกอทิก  จนมูลฐานของอาคารกอทิกเปลี่ยนไปและรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับแบบอย่างศิลปะเรอนาซองส์ขึ้นมา  การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อน  และเข้ามาในอิตาลีตอนเหนือในปลายพุทธศตวรรษที่21เพราะฝรั่งเศสเข้าไปยึดครองอิตาลี

                  ลายบัวขอบเสานูนบนผนัง  เสาลอยตัว   โครงสร้างวงโค้ง  และลวดลายประดับรูปดอกไม้และโรมัน  ปรากฏชัดอยู่ในโบสถ์ศาสนาคริสต์ในฝรั่งเศส  เช่น  โบสถ์แซงต์  เอิสตาช  ในกรุงปารีสและคฤหาสน์  ขุนนางฝรั่งเศสในหุบเขาลุ่มแม่น้ำลัวร์เป็นที่รูปสมัยเมดิวัลได้สยบแก่รายละเอียดเชิงตกแต่งของสมัยเรอนาซองส์  พระราชวังพระเจ้าฟรังซิสที่1 ที่เมืองฟงแตนโบล  แสดงเห็นเวลาที่ต่างกันของสถาปัตยกรรมแบบเรอนาซองส์ในช่วงรัชสมัยพระองค์และสมัยต่อมา  บทความของเซบัส  ตีอาโน  แซร์ลีโอ ชาวอิตาลี  มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมแบบเรอนาซองส์ในฝรั่งเศสมาก  พระเจ้าฟรังซิสที่    1 ทรงเรียกท่านผู้นี้ไปช่วยราชกิจในฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ.2083

                  สถาปัตยกรรมยุโรปตอนเหนือในสมัยพุทธศตวรรษที่21 มีหลังคาลาดชันมีลายประดับประดาที่หน้าจั่วเต็มที่ ลักษณะที่เหมือนกันกับจิตรกรรมสมัยเดียวกันคือ  ชาวยุโรปตอนเหนือมักใช้แม่ลายหลักแบบเรอนาซองส์แห่งอิตาลีในแนวความคิดฝันเฟื่อง  และฟุ่มเฟือยไปด้วยลวดลายประดับทำให้นึกถึงยุคกลาง

                 ประติมากรรมในยุโรปตอนเหนือ

                 คล้ายกันกับจิตรกรรวมและสถาปัตยกรรมสมัยเดียวกัน  ยังคงแนบแน่นกับแบบอย่างศิลปะกอทิกจนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่21  มีการเปลี่ยนแปลง 

                สมัยพุทธศตวรรษที่20  การทำรูปเหมือนเป็นประติมากรรมที่หลุมฝังศพได้รับการฝึฝนฝีมือกันมากขึ้น  ซึ่งใช้แบบมาตรฐานของใบหน้ารูปคน แสดงออกมาเป็นภาพทางศาสนาคริสต์และนิยายปรัมปราของกรีกและโรมัน มีการทำรอยย่ยยับของเสื้อผ้าเป็นเสนลื่นไหลอยย่างเรียบร้อย เป็นแบบที่พบกันได้ทั่วไปในสมัยศิลปกรรมฝรั่งเศสสมัยกอทิกตอนปลาย และทำรอยย่นยับของเสื้อผ้าเป็นเส้นหักมุมแตกลายงาก็มีทำกันอยู่ในดินแดนแผ่นดินต่ำคือ โลว์แลนด์ซึ่งอยุ่ทางตะวันออกและทิศใต้ของสก็อตแลนด์และในถิ่นของชนที่พูดภาษาเยอรมนิกเป็นตระกูลภาษาที่รวมถึงภาษาเยอรมัน ภาษาดัตช์ ภาษาสวีเดน ภาษาอังกฤษ เป็นต้น

               สมัยพุทธศตวรรษที่21 ทำประติมากรรมรูปเหมือนกันมากขึ้น  แสดงรายละเอียดทางกายวิภาคกันมากขึ้น  และสนใจทิวทัศน์ภูมิประเทศและบริเวณว่างลึก  จัดองค์ประกอบแบบนูนกันมากขึ้น

               ประเทศต่างๆที่มีประเพณีนิยมการทำรอยย่นยับของเสื้อผ้าเป็นเส้นหักมุมและทำรูปตังคนผอมบางได้หันไปแสดงกลุ่มมวลและแสดงรูปทรงด้วยเส้นโค้งเต็มที่ขึ้น  ประติมากรรมฝรั่งเศสได้รับอิทธิพลเต็มที่จากบรรดาประติมากรลัทธิแมนเนอริสม์จากอิตาลี  ที่เข้ามาเป็นข้ารับใช้พระเจ้าฟรังซิสที่1 และแนวความคิดแบบสมัยเรอนาซองส์ได้ถูกนำมาเสนอในประเทศอังกฤษหลัง พ.ศ.2055 โดยประติมากรอิตาลี ปีเอโตร โตรีจีอาโน                      

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×