nutthachai7@hotmail.com
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
ประวัติความเป็นมา
          คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
ที่ได้จัดตั้งวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ.2539 - 2543) เป็นผู้ริเริ่มคณะฯ
และก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยมี อ.พุฒ วีระประเสริฐ เป็นอธิการบดี
ซึ่งคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นคณะที่ 11
ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะฯ
มุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตทางสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรให้มีพื้นฐานความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติใน
4 ภาคการศึกษาแรก และเน้นการปฏิบัติและการศึกษาเฉพาะทางใน 4 ภาคการศึกษาหลัง
รวมทั้งการฝึกทักษะการปฏิบัติงานให้เกิดความชำนาญในห้องปฏิบัติการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
ตลอดจนเสริมสร้างประสบการณ์การทำงานในฟาร์มของเกษตรกร
เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
และพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อสำเร็จการศึกษา
สามารถประกอบอาชีพเป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ประกอบธุรกิจปศุสัตว์
แปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ ธุรกิจอาหารสัตว์ เป็นนักวิจัย อาจารย์ และนักวิชาการ
ซึ่งรวมไปถึงการค้นคว้าและประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาในการปรับปรุง
หรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
สามารถรับใช้สังคมและประเทศชาติอย่างดียิ่ง
ด้วยศักยภาพวิทยาการที่ได้บ่มเพาะจากมหาวิทยาลัยศิลปากรแห่งนี้
ปณิธานการศึกษา รู้คิด รู้ค้นคว้า รู้วิชา รู้จักใช้ปัญญา ร่วมพัฒนาสังคม
  มหาวิทยาลัยศิลปากรให้จัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรขึ้น
โดยมีจุดมุ่งหมายที่เป็นหลักคือ การแสวงหาที่เหมาะสมในการทำนุบำรุงการศึกษา
วิจัยและพัฒนาความรู้ในด้านสาขาที่เกี่ยวข้อง
ประกอบกับการนำเอาเทคโนโลยีแผนใหม่ที่เหมาะสมมาใช้
เพื่อถ่ายทอดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพให้บัณฑิตเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสติปัญญา
ความรอบรู้ ความเชี่ยวชาญ จิตสำนึก ความรับผิดชอบ คุณธรรม และจริยธรรมอันดีงาม
เพื่อพัฒนาสังคมและประเทศชาติ โดยใช้สรรพวิทยาการที่อำนวยต่อมนุษยชาติ
คุณสมบัติเสริมเพิ่มที่บัณฑิตพึงมีและโดยมิได้ด้อยกว่าบัณฑิตของสถาบันอื่นใดควรได้แก่ความรู้จักและเชื่อมั่นในตนเอง
ตระหนักใฝ่รู้เป็นนิจกาล คิดริเริ่มสร้างสรรค์ จรรโลงศิลปวัฒนธรรม
ไตร่ตรองเหตุผลและเหตุการณ์ถ้วนทั่ว อีกทั้งมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
สีประจำคณะ สีครีม
ต้นไม้ประจำคณะ ต้นกฤษณา
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิต
        วิทยาการและการประกอบอาชีพทางสัตว์เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องด้วยศิลปวิทยาการ
และวิทยาศาสตร์ของการเสาะแสวงหาในการประดิษฐ์ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ด้านสัตว์
ทั้งในเชิงอุตสาหกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยง สัตว์สวยงาม
แหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ รวมถึงสัตวบาล การสืบสายพันธุ์ การพัฒนาพันธุ์
โดยคำนึงถึงสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์ การจัดการของเสียจากสัตว์
และผลพลอยได้อื่นๆ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม ชุมชนของประเทศ
เพื่อสามารถวิจัยค้นคว้าและพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และผลผลิตด้านการเกษตร
โดยนำเอาความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิทยาศาสตร์ชีวภาพพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูง นิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม การสัตวบาล มาบูรณาการ
และประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ต่อดุลยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม
การพัฒนาให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการ การตลาด และสหกรณ์
เพื่อนำไปสู่การมีเสถียรภาพของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน
สามารถรองรับต่อการแข่งขันในเวทีการค้าโลกได้บนพื้นฐานของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเองได้ของชุมชน
        วิทยาการทางสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรจะครอบคลุมเนื้อหาวิชาการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพพื้นฐานและสุขภาพสัตว์
นิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม พันธุกรรม อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ การแปรรูป
และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสัตว์ โภชนศาสตร์สัตว์
โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย การค้นคว้า การถ่ายทอดเทคโนโลยี
การให้การบริหารงานวิจัย รวมถึงการนำเอาฐานข้อมูลด้านสัตว์
และเทคโนโลยีสารสนเทศ
มาเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการของระบบคุณภาพเชิงการแข่งขัน
สาขาวิชาสัตวศาสตร์   
สาขาวิชาสัตวศาสตร์จัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตทางสัตวศาสตร์ให้มีความรู้ความสามารถในการผลิตสัตว์
และมีทักษะในการเป็นผู้จัดการฟาร์มมาตรฐานที่มีความเข้าใจในนิเวศวิทยาและชีววิทยาของสัตว์
รวมทั้งเห็นการวิจัยและพัฒนาด้านการเลี้ยงสัตว์ให้สัตว์เจริญเติบโต แข็งแรง มีสุขภาพดี
และให้ผลผลิตสูง
รวมทั้งมีการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียที่เกิดจากการดูแลสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ
และศึกษาวิจัยให้สามารถเพาะขยายพันธุ์ เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์
และเพื่อเป็นการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ    สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ
จัดการเรียนการสอนและเน้นการวิจัยและพัฒนา
การผลิตสัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจ
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ได้อย่างเหมาะสม
มีศักยภาพในการศึกษาค้นคว้าวิจัย
เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาอาชีพได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
พร้อมทั้งมีความเข้าใจในการจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช    สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
จัดการเรียนการสอนและสนับสนุนการค้นคว้าและวิจัยด้านพืช
โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและระดับการผลิตพืชที่ได้มาตรฐาน สะอาด และปลอดภัย
ตั้งแต่เริ่มผลิตจนถึงมือผู้บริโภคและใช้กระบวนการผลิตที่ไม่เกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อม
ประกอบด้วย การผลิตพืชปลอดภัย การผลิตพืชเศรษฐกิจ ลอจิสติกส์ และซัพพลายเชน
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และการจัดการระบบการผลิตพืช เป็นต้น
สาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์    สาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์
เป็นหน่วยจัดการเรียนการสอนและศึกษาวิจัยด้านสุขภาพสัตว์และการอนามัย
มาตรฐานการเลี้ยงและผลผลิตจากสัตว์และความปลอดภัยของอาหารจากฟาร์มถึงโต๊ะรับประทานอาหาร
รวมทั้งโรคติดต่อระหว่างมนุษย์และสัตว์ การควบคุมป้องกันโรคสัตว์ การคุ้มครองผู้บริโภค
และ Anthrozoology และผลิตบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ (Verinary Technology)
ซึ่งอยู่ระหว่างการร่างหลักสูตร
เพื่อผลิตบุคลากรสำหรับปฏิบัติงานทางห้องปฏิบัติการเพื่อการชันสูตรโรคสัตว์
การตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากสัตว์
และเป็นผู้ช่วยการปฏิบัติงานของสัตวแพทย์ด้านพยาบาลสัตว์ (Veterinary Nursing)
nutthachai7@hotmail.com
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น