วิทยาลัยศาสนศึกษา  มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาลัยศาสนศึกษา เป็นหน่วยงานสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดลจัดตั้งตามมติของสภามหาวิทยาลัย
ในการประชุม
ิครั้งที่ 307 วันที่ 18 สิงหาคม 2542 โดยมีวิวัฒนาการมาจากโครงการศูนย์ศาสนศึกษา
ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2540
  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา วิทยาลัยฯได้รับ
การสนับสนุนด้านการเงินจากองค์กรเอกชนและด้านการเรียนการสอน จาก
คณาจารย์ภาควิชาต่างๆในมหาวิทยาลัยมหิดล และจาก มหาวิทยาลัย ต่างๆ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  วัตถุประสงค์สำคัญของวิทยาลัย คือ 1)เพื่อผลิต 
บัณฑิตสำหรับเป็นครูอาจารย์สอนศาสนาและจริยธรรมในโรงเรียน ประถม ศึกษามัธยมศึกษา 2)
เพื่อส่งเสริมให้คนที่นับถือศาสนาต่างกันได้ ศึกษา
และเข้าใจคำสอนของศาสนาที่ตนและผู้อื่นนับถืออยู่ความรู้นี้จะช่วย
ให้้สามารถอยู่ในสังคม เดียวกันได้อย่างสงบสุข และร่วมมือกันสร้างสรรคความ
เจริญก้าวหน้าให้แก่สังคมไทยและชุมชนโลก
  ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
วิทยาลัยได้เปิดสอนวิชาศาสนศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและหลัง
ปริญญาโดยเปิดรับทั้งพระสงฆ์และฆราวาส
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 
1. ผลิตบัณฑิตสำหรับเป็นครู อาจารย์สอนวิชาศาสนาต่างๆ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
2. ให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจศาสนาที่นับถืออยู่อย่างลึกซึ้ง
ความรู้ความเข้าใจนี้จะเป็นพื้นฐาน สำคัญของการสร้างจริยธรรมและคุณธรรมที่ดีงาม
ให้มีอยู่ในตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตัวเอง ผู้อื่นและสังคม
3. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ศาสนาต่างๆ ทั้งในด้านประวัติ และพิธีกรรม
ความรู้นี้จะทำให้มีจิตใจเปิดกว้าง และเข้าใจศาสนิกชนที่นับถือศาสนาต่างกันมากขึ้น
4. เตรียมนักศึกษาไว้สำหรับศึกษาวิชาศาสนาในระดับหลังปริญญา
โครงสร้างหลักสูตร   
นักศึกษาที่เรียนสำเร็จและได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต(ศาสนศึกษา)
จะต้องเรียนรายวิชาต่าง ๆ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต ตามเงื่อนไขต่อไปนี้
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา จำนวนหน่วยกิต
หมวดศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 33 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 33 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
ประเภทกลุ่มวิชา  จำนวนหน่วยกิต
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาภาษา ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
ประเภทกลุ่มวิชา  จำนวนหน่วยกิต
วิชาบังคับ ไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต
วิชาบังคับเลือก ไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
รายละเอียดรายวิชา 
วิชาที่เปิดสอนแบ่งออกเป็น 3 หมวด แต่ละหมวดแบ่งออกเป็นกลุ่มวิชา ดังนี้
 
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 
  1.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ (Social Science)
1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ (Humanities)
1.3 กลุ่มวิชาภาษา (Language)
1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (Mathematics and Science) 
   
2. หมวดวิชาเฉพาะ
  2.1 วิชาบังคับ
2.2 วิชาบังคับเลือก 
   
3. หมวดวิชาเลือกเสรี
 
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 
     
1.1 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ (Social Science)
ให้นักศึกษาเรียนรายวิชาบังคับ จำนวน 2 รายวิชา ดังนี้ 
     
    หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ฝึกภาคสนาม)
     
ศศศศ 100  มนุษย์กับสังคม 3(3-0-0)
ศศศศ 101 หลักการจัดการ  3(3-0-0)
   
1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ (Humanities) 
ให้นักศึกษาเรียนรายวิชาบังคับ จำนวน 4 รายวิชา ดังนี้ 
   
    หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ฝึกภาคสนาม)
     
ศศศศ 102 ศิลปการคิดเชิงวิพากย์ 3(3-0-0)
ศศศศ 103 มนุษย์และชีวมณฑล 3(3-0-0)
ศศศศ 104 อารยธรรมตะวันตก 3(3-0-0)
ศศศศ 105  อารยธรรมตะวันออก 3(3-0-0)
     
1.3 กลุ่มวิชาภาษา (Language)
ให้นักศึกษาเรียนรายวิชาบังคับ จำนวน 3 รายวิชา ดังนี้   
     
    หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ฝึกภาคสนาม)
     
ศศศศ 108  ภาษาอังกฤษ I 3(3-0-0)
ศศศศ 109 ภาษาอังกฤษ II 3(3-0-0)
ศศศศ 201  ภาษาอังกฤษ III 3(3-0-0)
     
1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (Mathematics and Science)
ให้นักศึกษาเรียนรายวิชาบังคับ จำนวน 2 รายวิชา ดังนี้   
     
    หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ฝึกภาคสนาม)
     
ศศศศ 155  การประยุกต์ใช้งานของไมโครคอมพิวเตอร์ 3(3-0-0)
ศศศศ 107 วิวัฒนาการความคิดทางวิทยาศาสตร์ 3(3-0-0)
กลับสู่ด้านบน
2. หมวดวิชาเฉพาะ
     
2.1 วิชาบังคับ
ให้นักศึกษาเรียนรายวิชาบังคับ จำนวน 14 รายวิชา รวมทั้งหมด 45 หน่วยกิต ดังนี้
     
    หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ฝึกภาคสนาม)
     
ศศศศ 211 วิธีศึกษาศาสนา 3(3-0-0)
ศศศศ 212  ศาสนาศึกษาขั้นแนะนำ 3(3-0-0)
ศศศศ 213 ศาสนาในโลก I 3(3-0-0)
ศศศศ 214 ศาสนาในโลก II 3(3-0-0)
ศศศศ 215 ศาสนาใหม่ 3(3-0-0)
ศศศศ 216 ศาสนาและวิทยาศาสตร์ 3(3-0-0)
ศศศศ 217  ธรรมชาติและชะตากรรมมนุษย์ 3(3-0-0)
ศศศศ 218 ศาสนาและความตาย 3(3-0-0)
ศศศศ 219 สมาธิในศาสนา 3(3-0-0)
ศศศศ 220 พิธีกรรมศาสนา 3(3-0-0)
ศศศศ 221 ศาสนาเปรียบเทียบ 3(3-0-0)
ศศศศ 222 วิธีสอนศาสนา I 3(3-0-0)
ศศศศ 223 วิธีสอนศาสนา II 3(3-0-0)
ศศศศ 499 การศึกษาอิสระ 3(3-0-0)
     
2.2 กลุ่มวิชาบังคับเลือก
นักศึกษาจะต้องเลือกเรียนรายวิชาในกลุ่มวิชาใดวิชาหนึ่งคือ กลุ่มวิชาพุทธศาสนา
หรือกลุ่มวิชาคริสต์ศาสนา หรือกลุ่มวิชาศาสนาอิสลาม จำนวน 45 หน่วยกิต ดังนี้
     
กลุ่มวิชาพุทธศาสนา 
   
    หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ฝึกภาคสนาม)
     
ศศศศ 310 ภาษาบาลี I 3(3-0-0)
ศศศศ 311 ภาษาบาลี II 3(3-0-0)
ศศศศ 312 ศาสนาพุทธเถรวาท 3(3-0-0)
ศศศศ 313 ศาสนาพุทธมหายาน 3(3-0-0)
ศศศศ 314 ศาสนาพุทธธิเบต 3(3-0-0)
ศศศศ 315  ประวัติพุทธศาสนา 3(3-0-0)
ศศศศ 316 พุทธศาสนาในประเทศไทย 3(3-0-0)
ศศศศ 317 ปรัชญาพุทธศาสนา 3(3-0-0)
ศศศศ 318  ภาคปฏิบัติ: การฝึกสมาธิตามแนวพุทธศาสนา 3(3-0-0)
ศศศศ 327 พุทธศาสนาตะวันตก 3(3-0-0)
ศศศศ 410 จริยศาสตร์พุทธศาสนา 3(3-0-0)
ศศศศ 411  การอ่านคัมภีร์พุทธศาสนา I 3(3-0-0)
ศศศศ 412 การอ่านคัมภีร์พุทธศาสนา II 3(3-0-0)
ศศศศ 415 จิตวิทยาพุทธศาสนา 3(3-0-0)
ศศศศ 416 พุทธศาสนาในงานศิลปกรรม 3(3-0-0)
     
กลุ่มวิชาศาสนาคริสต์
     
    หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ฝึกภาคสนาม)
     
ศศศศ 340 ภาษาละติน I 3(3-0-0)
ศศศศ 341  ภาษาละติน II 3(3-0-0)
ศศศศ 342 พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ 3(3-0-0)
ศศศศ 343 ประวัติศาสนาคริสต์ 3(3-0-0)
ศศศศ 344  ชีวิตพระเยซูคริสต์ 3(3-0-0)
ศศศศ 345  จริยศาสตร์ศาสนาคริสต์ 3(3-0-0)
ศศศศ 346 ศาสนาคริสต์ในเอเชีย 3(3-0-0)
ศศศศ 442 ภาษาละติน III 3(3-0-0)
ศศศศ 443 ภาษาละติน IV 3(3-0-0)
ศศศศ 445  ปรัชญาและเทววิทยาศาสนาคริสต์ 3(3-0-0)
ศศศศ 446 แนวคิดร่วมสมัยในศาสนาคริสต์ 3(3-0-0)
ศศศศ 447  ศิลปะและวัฒนธรรมคริสต์ศาสนา 3(3-0-0)
ศศศศ 448 คริสต์ศาสนาในโลกปัจจุบัน 3(3-0-0)
ศศศศ 449 การอ่านคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ I 3(3-0-0)
ศศศศ 450 การอ่านคัมภีร์พันธสัญญารใหม่II 3(3-0-0)
     
กลุ่มวิชาศาสนาอิสลาม
     
    หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ฝึกภาคสนาม)
     
ศศศศ 370 ภาษาอาหรับ I 3(3-0-0)
ศศศศ 371 ภาษาอาหรับ II 3(3-0-0)
ศศศศ 372  คัมภีร์อัลกุรอ่าน 3(3-0-0)
ศศศศ 373  ประวัติศาสนาอิสลาม 3(3-0-0)
ศศศศ 374 ชีวิตและงานของท่านศาสดาโมฮัมหมัด 3(3-0-0)
ศศศศ 375 กฎหมายและจริยศาสตร์อิสลาม I 3(3-0-0)
ศศศศ 376 กฎหมายและจริยศาสตร์อิสลาม II 3(3-0-0)
ศศศศ 377  ศาสนาอิสลามในโลกปัจจุบัน 3(3-0-0)
ศศศศ 470 ภาษาอาหรับ III 3(3-0-0)
ศศศศ 471 ภาษาอาหรับ IV 3(3-0-0)
ศศศศ 472 ปรัชญาและเทววิทยาในศาสนาอิสลาม 3(3-0-0)
ศศศศ 473  ศิลปะและวัฒนธรรมอิสลาม 3(3-0-0)
ศศศศ 474 แนวความคิดร่วมสมัยในศาสนาอิสลาม 3(3-0-0)
ศศศศ 475 การอ่านคัมภีร์ศาสนาอิสลาม I 3(3-0-0)
ศศศศ 476 การอ่านคัมภีร์ศาสนาอิสลาม II 3(3-0-0)
   
กลับสู่ด้านบน
3. หมวดวิชาเลือกเสรี
     
นักศึกษาจะต้องเลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้
     
    หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ฝึกภาคสนาม)
     
ศศศศ 251 สตรีและศาสนา 3(3-0-0)
ศศศศ 252 สถาบันศาสนา 3(3-0-0)
ศศศศ 253 ศาสนาและปัจเจกชน 3(3-0-0)
ศศศศ 254 ศาสนาและการพัฒนาในเอเชียอาคเนย์ 3(3-0-0)
ศศศศ 255  ศาสนาและจริยศาสตร์การแพทย์ 3(3-0-0)
     
หรือ รายวิชาระดับปริญญาตรีที่คณะอื่นในมหาวิทยาลัย
ตามความสนใจและตามที่อาจารย์ที่ปรึกษาให้ความเห็นชอบ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
    ศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุริยา รัตนกุล Ph.D. Universite de Paris (Sorbonne) 
ศาสตราจารย์ ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้  Ph.D. Queensland University , Australia
ศาสตราจาย์ ดร.จิรโชค วีระสัย  Ph.D. University of California , USA
รองศาสตราจารย์ ดร.พินิจ รัตนกุล Ph.D. Yale University , USA.
รองศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา อ่อนค้อม  Ph.D. Magadh University, India
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรจบ บรรณรุจิ  Ph.D. Magadh University, India
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐานิสร์ ชาครัตพงษ์  M.A. Banaras Hindu University ,India
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุทธพร รัตนกุล  M.A. Eastern Washington University 
Phra Dr.Anil Sakya  Ph.D. Brunel University , Uxbridge , Middlesex , United Kingdom
Dr. U Kyaw Than  Ph.D. The Southeast Asia Graduate School of Theology
Dr.Louise Ann Nelstrop Ph.D. The University of Birmingham
Dr.Ramon Radjinder Sewnath  Ph.D. University of Hawaii
 
ทั้งหมดนี่เป็นเพียงรายละเอียดส่วนน้อย
หากทางเว็บมาร์สเตอร์มีความกรุณาและให้โอกาส ลงแนะนำคณะ
จะเป็นประโยชน์ยิ่งกัับเยาวชนที่จะเป็กำลังสำคัณให้แก่ประเทศชาติสืบต่อไป
ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
กำหนดการเปิดสอน   
 
ภาคการศึกษา  เปิดภาคการศึกษา  ปิดภาคการศึกษา
ภาคการศึกษาต้น  มิถุนายน  ตุลาคม 
ภาคการศึกษาปลาย  พฤศจิกายน  มีนาคม 
ภาคฤดูร้อน  มีนาคม  พฤษภาคม
     
ระยะเวลาการศึกษา 
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาศาสนศึกษา
กำหนดให้นักศึกษาที่เรียนสำเร็จและได้รับปริญญาบัตร จะต้องเรียนรายวิชา ต่างๆ
รวมแล้วไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต ให้ใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
 
การลงทะเบียนเรียนและการเทียบโอนหน่วยกิต 
   
- การลงทะเบียนเรียน
 
นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนตามรายวิชาและจำนวนหน่วยกิตที่วิทยาลัยกำหนด วิทยาลัย กำหนด
ให้นักศึกษา แต่ละคนลงทะเบียนเรียนได้ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 15 หน่วยกิต
หากนักศึกษา คนใดต้องการลงทะเบียนมากกว่า 15 หน่วยกิต
ให้เขียนคำร้องเสนอผู้อำนวยการวิทยาลัย เพื่อ พิจารณาเป็นราย ๆ ไป
- การเทียบโอนหน่วยกิต
 
นักศึกษาที่ย้ายประเภทวิชาหรือคณะในมหาวิทยาลัยมหิดล
หรือที่โอนมาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น อาจขอเทียบรายวิชาและโอนย้ายหน่วยกิต
เพื่อให้ครบหน่วยกิตตามหลักสูตรได้ โดยไม่ต้องลงทะเบียน
เรียนในรายวิชาที่ปรากฏในหลักสูตร คณะกรรมการบริหารวิทยาลัย เป็นผู้พิจารณาอนุมัติและ
นำเสนอมหาวิทยาลัย เพื่ออนุมัติโดยพิจารณาจากเกณฑ์ เนื้อหา รายละเอียดของวิชา
ระยะเวลาศึกษา ระบบการประเมินผลการศึกษา และวิธีการจัดการศึกษาเป็นหลัก ดังต่อไปนี้
เป็นรายวิชาที่เรียนในระดับอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยมหิดลรับรอง
เป็นรายวิชาที่มีในหลักสูตรที่รับเข้าศึกษา
และมีเนื้อหาเทียบเคียงกันได้หรือมีเนื้อหาสาระครอบคลุมไม่น้อย
กว่าสามในสี่ของรายวิชาที่ขอเทียบ
เป็นรายวิชาที่เรียนมาแล้วไม่เกิน 3 ปี
เป็นรายวิชาที่ผลการเรียนไม่ต่ำกว่า C หรือ 2.00
รายวิชาที่เทียบโอนและโอนย้ายหน่วยกิต จะรายงานในใบแสดงผลการศึกษา (Transcript)
เฉพาะชื่อ หรือรหัสรายวิชา จำนวนหน่วยกิตและชื่อสถานศึกษาที่มหาวิทยาลัยรับโอน
โดยไม่นำมาคิดแต้มเฉลี่ย
นักศึกษาที่เทียบรายวิชาและโอนย้ายหน่วยกิต ไม่มีสิทธิได้รับปริญญาเกียรตินิยม
การขอเทียบรายวิชาและโอนย้ายหน่วยกิตให้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการวิทยาลัยพร้อมหลักฐาน
   
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา 
นักศึกษาที่เรียนสำเร็จและได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศาสนศึกษา) จะต้องเรียนราย
วิชาต่างๆรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต ตามโครงสร้างหลักสูตรศิลปศาตรบัณฑิต
สาขาวิชาศาสนศึกษา
   
เครือข่ายด้านการศึกษา 
   
  1. ภายในประเทศ
วิทยาลัยมีโครงการความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยศาสนศึกษากับวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิชาการ
และเพื่อให้นักศึกษาของทั้งสองวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมร่วมกันในปีที่
ผ่านมาได้ดำเนินโครงการต่างๆ หลายโครงการ อาทิ โครงการอบรมเชิง ปฏิบัติการเรื่อง
บทบาทของพระสงฆ์ ในการให้คำปรึกษา กลยุทธ์วิธีใหม่ในการสอนพระพุทธศาสนา
การส่งเสริมสุขภาพแก่พระภิกษุและสามเณร การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับพระภิกษุและสามเณร
และการแพทย์แผนไทยสมุนไพรใกล้ตัว เป็นต้น
   
  2. ต่างประเทศ
วิทยาลัยได้จัดตั้งโครงการ “An Exchange Academic / Student Project”
โดยมีสถาบันที่เข้าร่วมเป็นเครือข่าย คือ De Paul University, USA. / University of
California, USA. และ Abo Akademi University , Finland
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านการศึกษาศาสนาและเพื่อแลกเปลี่ยนนักศึกษา
ในปีที่ผ่านมาได้มีการจัดประชุมทางวิชาการ เรื่อง “Religion , Health and Disease”
เป็นต้น
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น