คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #9 : บทส่งท้าย พื้นที่ของคนข้ามเพศและรักเพศเดียวกัน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในการศึกษาของแจ็คสัน(2011) พบว่าเกย์ กะเทยไทยในปัจจุบันสามารถแสดงตัวตนทางเพศได้ภายใต้วัฒนธรรมบริโภค เมื่อเป็นเช่นนี้ เกย์ กะเทยไทยจึงไม่ค่อยสนใจการเรียกร้องสิทธิในเชิงกฎหมาย เพราะพื้นที่บริโภคให้อิสระแก่เกย์และกะเทย ปรากฎการณ์เช่นนี้พบได้ในเมืองใหญ่ๆหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง กรุงเทพ สิงคโปร์ โฮจิมินฮ์ ฮานอย จาร์กาตาร์ มะนิลา พนมเปญ และกัวลาลัมเปอร์ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ถึงแม้ว่าวัฒนธรรมบริโภคจะนำสินค้าและบริการมาตอบสนองการแสดงตัวตนทางเพศของเกย์ เลสเบี้ยนและสาวประเภทสอง แต่สินค้าและบริการเหล่านั้นก็ได้เปิดพื้นที่ให้กับการแสดงออกเรื่องสิทธิของคนเหล่านี้ด้วย วัฒนธรรมบริโภคจึงไม่ได้บ่อนทำลายสำนึกทางการเมืองหรือการเรียกร้องความเป็นธรรมทางสังคม เช่น การที่สาวประเภทสองถูกห้ามไม่ให้เข้าไปใช้บริการในดิสโก้เธคหรูในโรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ ส่งผลให้องค์กรเกย์รณรงค์ให้เกย์ กะเทยเลิกใช้บริการสถานที่แห่งนี้ แต่ต่อมาเจ้าของกิจการต้องออกมาขอโทษสาวประเภทสองในการห้ามดังกล่าว สิ่งนี้ทำให้เห็นว่าพื้นที่บริโภคเป็นกระจกสะท้อนเรื่องสิทธิของเกย์และกะเทย (Jackson, 2011, p.201.)
การทำความเข้าใจคนข้ามเพศและคนรักเพศเดียวกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำเป็นต้องเข้าใจวิธีคิดเรื่องเพศที่ปรากฎอยู่ในแต่ละวัฒนธรรม การมองสถานการณ์ปัจจุบันที่พบเห็นเกย์ กะเทย เลสเบี้ยนออกมาแสดงตัวตนในพื้นที่ต่างๆนั้น อาจเป็นการมองเห็นแค่ “สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่” ภายใต้วาทกรรมสิทธิมนุษยชนและโลกาภิวัตน์ หากแต่ยังมีการแสดงบทบาทของคนข้ามเพศและคนรักเพศเดียวกันในบริบทอื่นๆ ซึ่งปฏิบัติอยู่ในท้องถิ่นและมีมาก่อนหน้านั้น แต่รูปแบบพฤติกรรมข้ามเพศและรักเพศเดียวกันไม่ได้หายไปหรือถูกแทนที่ด้วยอัตลักษณ์เกย์ สาวประเภทสอง หรือเลสเบี้ยน รูปแบบการแสดงออกทางเพศที่มีมาก่อนยังคงดำรงอยู่ในปริมณฑลต่างๆและดำเนินควบคู่ไปกับการแสดงออกใหม่ๆ ซึ่งอาจจะท้าทายซึ่งกันและกันมากกว่าที่จะผสมกลมเกลียวเป็นเอกภาพเดียวกัน (Sullivan, 2001, p.264.) สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในประสบการณ์ส่วนบุคคล คนแต่ละคนจะมีวิธีการแสดงบทบาททางเพศที่หลากหลาย อิทธิพลของระบบทุนนิยม เทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ อุดมการณ์ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และการแพร่ระบาดของโรคเอดส์มีอิทธิพลสำคัญต่อการแสดงตัวตนทางเพศ เช่นเดียวกันอิทธิพลของความรู้วิทยาศาสตร์ ศาสนา ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณี
ความหมายของคนข้ามเพศและคนรักเพศเดียวกันในวัฒนธรรมต่างๆในเขตเอเชียตะวันออกกเฉียงใต้ มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง และมีคำเรียกที่ไม่เหมือนกัน ต่างไปจากความหมายโฮโมเซ็กช่วลของตะวันตก(Sullivan, 2001, p.257.) การปรากฎขึ้นของอัตลักษณ์เกย์ เลสเบี้ยน และสาวประเภทสองสมัยใหม่ในแต่ละพื้นที่ก็ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ทางสังคม เช่น กฎหมาย กฎศาสนา และกฎทางศีลธรรม เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยด้านฐานะทางเศรษฐกิจ อาชีพ และการศึกษาของบุคคลที่เอื้อให้เกย์ เลสเบี้ยนและสาวประเภทสองแต่ละคนมีโอกาสทางสังคมไม่เท่ากัน ด้วยเงื่อนไขที่ซับซ้อนเหล่านี้ ทำให้รูปแบบหรือแนวทางการต่อสู้เพื่อสิทธิของเกย์ เลสเบี้ยนและสาวประเภทสองในแต่ละพื้นที่/ท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน หรือเป็นการสร้างแนวทางของตัวเอง ดังนั้นการทำความเข้าใจสิทธิของคนเหล่านี้จึงต้องพึงระวังที่จะไม่นำเอาโมเดลตะวันตกมาอธิบาย หรือตกเป็นเหยื่อของการมองแบบสูตรสำเร็จ เช่น เชื่อว่าทุนนิยมและโลกาภิวัตน์จะทำให้เกิดความเป็นสากลของเกย์ เลสเบี้ยนและสาวประเภทสอง (global homogenization) หรือเชื่อว่าวัฒนธรรมของเกย์ เลสเบี้ยนและสาวประเภทสองในแต่ละแห่งมีรากเหง้าหรือแก่นแท้ในแบบของตัวเอง (local essentialism) การมองแบบแยกขั้วเชิงสูตรสำเร็จในการศึกษาเกย์ เลสเบี้ยน และสาวประเภทสองตามกรอบเหล่านี้อาจไม่ทำให้เข้าใจการไกล่เกลี่ยต่อรองของบุคคลที่ไม่ได้ตกเป็นผู้ถูกกระทำจากสังคมเพียงฝ่ายเดียว แต่บุคคลจะเลือกนิยามและสร้างความหมายจากโลกาภิวัตน์และความรู้ท้องถิ่น (Martin and Others, 2008, p.6) การไกล่เกลี่ยต่อรองนี้มิใช่เป็นสิ่งที่ตายตัวแต่เป็นยุทธวิธีที่จะทำให้มีชีวิตอยู่ในสังคมได้ ซุลลิแวน(2001) ตั้งข้อสังเกตว่าการคาดเดาด้วยมุมมองแบบตะวันตกไม่สามารถนำไปอธิบายชีวิตของคนข้ามเพศหรือคนรักเพศเดียวกันในที่อื่นๆได้ ปัจจุบันนี้ การแสดงออกของคนข้ามเพศและคนรักเพศเดียวกันจึงมีหลายโฉมหน้าในเวลาเดียวกัน หรือมีลักษณะเป็น “ลูกผสม” (hybridity) (Martin and Others, 2008, p.6) แต่ละโฉมหน้าก็มีเงื่อนไขที่ต่างกัน เช่น ในประเทศที่ยากจนและบุคคลยังต้องพึ่งครอบครัว การแสดงออกในความเป็นเกย์เลสเบี้ยนและสาวประเภทสองอาจมีไม่เท่ากับประเทศที่มีฐานะที่เศรษฐกิจที่ดีกว่าซึ่งสมาชิกที่เป็นเกย์ เลสเบี้ยน และสาวประเภทสองจะมีอิสระจากครอบครัวเพราะพึ่งพาตัวเองได้ เงื่อนไขเหล่านี้มีผลต่อการสร้างกลุ่มและการเคลื่อนไหวในเรื่องสิทธิเสรีภาพ
-----------------------------------------------------
บรรณานุกรม
ก้องสกล กวินรวีกุล.(2545) การสร้างร่างกายพลเมืองไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ.2481-2487.
วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ.(2553) ขบวนการเคลื่อนไหวของเกย์ในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารสังคม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Baba, Ismail. (2001). “Gay and Lesbian Couples in Malaysia” in Sullivan, Gerard and Jackson, Peter A. (eds.) Gay and Lesbian Asia. Binghamton, Harrington Park Press. pp.143-163.
Bolin, Anne.(1996). “Traversing Gender: Cultural Context and Gender Practices” in Ramet, Sabrina Petra (ed.) Gender Reversals Gender Cultures. London, Routledge. pp.22-51.
Cambodian Centre for Human Rights. (2010). Coming Out in the Kingdom: Lesbian, Gay, Bisexual and Transgender People in Cambodia. Phnom Penh, CCHR.
Coleman, Eli, Colgan, Philip, and Gooren, Louis. (1997). “Male Cross-Gender Behavior in Myanmar (Burma): A Description
of the Acault” in Comstock, Gary David and Henking, Susan E.(eds.) Queerying Religion: A Critical Anthology.
New York, Continuum.
Davies, Sharyn Graham. (2006) Challenging Gender Norms: Five Genders Among Bugis in Indonesia, Wadsworth Publishing,
Doussantousse, Serge and Keovongchith, Bea (2004). Male Sexual Health: Kathoeys in the Lao PDR, South East Asia. Unpublished Paper.
Garcia, J. Niel C.(2008). Philippine Gay Culture: Binabea To Bakla, Silahis to MSM. UP Press.
Garcia, J. Niel C.(2008). “Villa, Montano, Perez: Postcoloniality and Gay Liberation in Philippines” in Martin, Fran and Others (eds.) Asiapacific Queer: Rethinking Genders and Sexualities. Chicago, University of Illinois Press. pp.163- 180.
Jackson, Peter A. (1995). Dear Uncle Go: Male Homosexuality in Thailand. Bangkok, Bua Luang.
Jackson, Peter A.(2011). “Capitalism, LGBT Activism, and Queer Autonomy in Thailand” in Peter A. Jackson (ed.)
Queer Bangkok: 21th Century Markets, Media, and Rights. Hong Kong, University of Hong Kong Prress. pp.195-204.
Offord, Baden and Cantrell, Leon. (2001). “Homosexual Rights as Human Rights in Indonesia and Australia” in Sullivan, Gerard and Jackson, Peter A. (eds.) Gay and Lesbian Asia. Binghamton, Harrington Park Press. pp.233-252.
Peletz, Michael. “Transgenderism and Gender Pluralism in Southeast Asia Since Early Modern Times” in Current Anthropology. Vol.47, No.2, April 2006. pp.309-340.
Ramet, Sabrina Petra.(1996). “Gender Reverals and Gender Cultures” in Ramet, Sabrina Petra (ed.) Gender Reversals Gender Cultures. London, Routledge. pp.1-21.
Reynolds, Craig J. (1999). “On the Gendering of Nationalist and Postnationalist Selves in Twentieth-Century Thailand” in
Jackson, Peter A. and Cook, Nerida M. (eds.) Genders & Sexualitites in Modern Thailand. Chiang Mai, Silkworm Books. pp.261-274.
Russell Heng Hiang Khng. (2001). “Tiptoe Out of the Closet: The Befroe and After of the Increasingly Visible Gay Community in Singapore” in Sullivan, Gerard and Jackson, Peter A. (eds.) Gay and Lesbian Asia. Binghamton, Harrington Park Press. pp.81-97.
Sinnott, Megan. (2008). “The Romance of the Queer: the Sexual and Gender Norms of Tom and Dee in Thailand” in
Martin, Fran and Others (eds.) Asiapacific Queer: Rethinking Genders and Sexualities. Chicago, University of Illinois Press. pp.131-148.
Sinnott, Megan.(2011). “The Language of Right, Deviance, and Pleasure” in Peter A. Jackson (ed.)
Queer Bangkok: 21th Century Markets, Media, and Rights. Hong Kong, University of Hong Kong Prress.pp.205- 224.
Sullivan, Gerard. (2001). “Variation on a Common Theme? Gay and Lesbian Identity and Community in Asia” in
Sullivan, Gerard and Jackson, Peter A. (eds.) Gay and Lesbian Asia. Binghamton, Harrington Park Press. pp.253-269.
Tan, Michael. (2001). “Survival Through Pluralism: Emerging Gay Communities in the Philippines” in Sullivan, Gerard and Jackson, Peter A. (eds.) Gay and Lesbian Asia. Binghamton, Harrington Park Press. pp.117-142.
Yik Koon the.(2008). “Politics and Islam: Factors Determining Identity and the Status of Male-to-Female Transsexuals in Malaysia” in Martin, Fran and Others (eds.) Asiapacific Queer: Rethinking Genders and Sexualities. Chicago, University of Illinois Press. pp.85-98.
ความคิดเห็น