ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้เกี่ยวกับเพศทางเลือก

    ลำดับตอนที่ #12 : "พ่อ" กับบทบาทของการดูแลความเป็น เกย์ กะเทย ทอม ดี้ ของลูก‏

    • อัปเดตล่าสุด 4 ธ.ค. 55


    เป็นเวลานานแสนนานมาแล้ว ที่ความเชื่อว่าหากพ่อเป็นคนไม่แข้มแข็งเท่าแม่ จะทำให้ลูกชายของบ้านนั้นกลายเป็นชายรักชาย หรือกะเทย ขณะเดียวกันหากเด็กผู้หญิงคนไหนใกล้ชิดกับพ่อ หรือมีแต่พี่น้องผู้ชาย ก็จะทำให้กลายเป็นทอมได้ไม่ยากเช่นกัน

    สมมุติฐานที่ว่าการที่พ่อหรือแม่ (ในทีนี้จะเน้นพ่อ เนื่องจากใกล้จะถึงวันพ่อแล้ว) ไม่ ”เล่น’ บทบาทของตัวเอง จะทำให้ลูกๆ มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นเพศที่สาม (ตามคำให้สัมภาษณ์ของนพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สสส. ใช้ว่าโอกาสเสี่ยงของการเกิดเพศที่สามก็จะลดลง-จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 2 ธันวาคม 2551) จึงเป็นมายาคติที่สืบทอดฉายซ้ำมาเป็นระยะเวลายาวนานในสังคมไทย

    นอกจากนี้นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ยังได้ย้ำอีกว่า หากพ่อลดบทบาทในการเลี้ยงดูลูกลง ทำให้พบปรากฏการณ์ในสังคมที่เกิดขึ้น คือ 1.เกิดเพศที่สามสูงขึ้น เพราะขาดความเข้าใจและขาดแบบอย่าง” นั้น

    ในฐานะผู้เขียนเป็นนักกิจกรรมด้านสิทธิความหลากหลายทาวเพศ พบว่าการเป็นบุคคลรักเพศเดียวกัน หรือคนข้ามเพศนั้น ไม่ได้เกิดจากบทบาทของพ่อที่ทำงาน ”พร่อง’แต่อย่างใด เพื่อนของผู้เขียนจำนวนมากที่เป็นเกย์ กะเทย ทอม ดี้ ต่างเกิดมาในครอบครัวอุดมคติ มีพ่อ แม่ ปู่ ย่า น้า อา ครบครัน ก็ยังหันมาเอาดีทางการเป็นคนหลากหลายทางเพศเป็นจำนวนมาก

    อีกทั้งยังไม่มีการค้นพบสาเหตุที่จะเป็นข้อบ่งชี้เฉพาะด้วยว่าใครจะมีวิถีทางเพศแบบไหนหรืออย่างไร จนปัจจุบันนี้ในวงวิชาการระดับนานาชาติได้ยุติการหาสาเหตุของการกลายเป็นบุคคลรักเพศเดียวกันไปแล้ว และองค์การอนามัยโลกเองก็ได้ออกมาทำการยอมรับว่าการรักเพศเดียวกัน ไม่ได้เป็นโรคแต่อย่างใด หลังจากที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการตีตราต่อกลุ่มคนหลากหลายทางเพศมาเนิ่นนาน (ส่วนกรมสุขภาพจิตไทย ออกหนังสือให้เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2545)

    ที่สำคัญบทบาทของพ่อที่ลดลง จนกลายเป็นข้อกังวลว่าจะทำให้ลูกกลายเป็นเกย์ กะเทย ทอม ดี้ นั้น ก็น่าจะถูกตั้งคำถามกลับไปว่า ในสมัยก่อนที่เด็กๆ มักถูกเลี้ยงด้วยพี่ป้าน้าอา หรือย่ายาย มากกว่าคนเป็นพ่อเป็นไหนๆ แล้วทำไม เด็กๆ ในสมัยก่อน ไม่กลายเป็นตุ๊ดเป็นแต๋วกันเต็มบ้านเต็มเมืองเล่า ถึงปัจจุบันนี้ก็เถอะ พ่อแม่จำนวนมาก โดยเฉพาะพ่อแม่จนๆ คนต่างจังหวัดที่ต้องมาทำงานในกรุงเทพฯ ก็มักจะส่งลูกไปอยู่กับปู่ย่าตายายที่ภูมิลำเนา ก็ไม่เห็นว่าเด็กๆ ดังกล่าวจะกลายพันธุ์ไปเป็นเพศที่ 3 มากขึ้นแต่อย่างใด

    หรือหากเยาวชนสักคนจะสนใจฝักใฝ่ในเพศเดียวกัน ทำไมไม่มองหรือเคารพว่านั่นคือพัฒนาการทางเพศที่เหมาะสมอีกรูปแบบหนึ่งของมนุษย์ ทำไมพัฒนาการทางเพศที่เหมาะสมของวัยรุ่นจะต้องเกิดขึ้นเฉพาะในคู่ของคนต่างเพศเท่านั้น

    มาถึงปัจจุบันนี้ ที่มนุษย์เราก็ผ่านกาลเวลามานานแสนนานแล้ว ถึงเวลาหรือยังที่สังคมไทยจะเลิกกลัว เลิกหวั่น เลิกขยาดต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเสียที รวมทั้งเลิกผลิตซ้ำความเชื่อดั้งเดิมที่มีต่อคนกลุ่มดังกล่าวนี้ด้วย โดยเฉพาะที่มาจากนักจิตวิทยา จิตแพทย์ ที่สังคมให้การเชื่อถือในหลักวิชาการของท่าน ที่ควรจะมีความรอบด้าน และมีมิติที่หลากหลายมากกว่าเดิมตามสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

    การที่คนๆ หนึ่งจะยืนยันในการเป็นคนรักเพศเดียวกัน หรือคนข้ามเพศ มาจนอายุ 60 ปี 70 ปี 80ปี จนกระทั่งตายไปนั้น มันต้องเป็นเรื่องที่มีความหมายมากกว่า “รสนิยมทางเพศ” อย่างแน่นอน

    หากมันคือตัวตน ชีวิต และจิตวิญญาณของมนุษย์ที่ควรได้รับการเคารพนั่นเอง

    โดย ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ สะพาน:กลุ่มสร้างสื่อและสนับสนุนสิทธิด้านความหลากหลายทางเพศ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×