ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

    ลำดับตอนที่ #1 : แนวคิดสัจจนิยม

    • อัปเดตล่าสุด 25 เม.ย. 54


     ทฤษฎีสัจจนิยม 

     
             มีมาตรตัดสินความจริงว่า ความคิดกับข้อเท็จจริงภายนอกจะต้องตรงกัน ความคิดของเราจะต้องตรงกับสิ่งภายนอกที่มีอยู่จริง เมื่อนั้น เราก็จะถือว่า ความรู้นั้นเป็นจริง นี่คือ ความตรงกันระหว่างความคิดกับข้อเท็จจริงภายนอก ยกตัวอย่างเช่น เรามีความคิดว่า ก้อนหินนั้นมีลักษณะของสสารที่กินที่ เมื่อเราได้สัมผัสเอง เราก็รู้ได้ว่า ก้อนหินนั้นเป็นสสารที่กินที่ เพราะมันมีอยู่ตรงที่มือเราจับ มันคงอยู่ในเวลาตอนที่เราจับมัน นั่นเอง 

    แนวคิดลัทธิสัจจนิยม  (Realism) 
      
            เป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อ ในการแสวงหาสัจจะแห่งทุกสิ่งในภาพรวมโดยมุ่งศึกษาทุกด้านเพื่อที่จะทำความเข้าใจทั้งหมดโดยมองไปที่ความสัมพันธ์กับศาสตร์สาขาอื่น ๆ “สัจจนิยม” ก็ถือว่าสิ่งต่าง ๆ มีอยู่และเป็นจริงโดยธรรมซาติ แม้จะเป็นสิ่งที่มนุษย์รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสก็จริง แต่การมีอยู่ของมันเป็นอิสระจากการรับรู้ของมนุษย์ 
            แนวคิดของปรัชญาฝ่ายลัทธิสัจจนิยมถือเอาวัตถุ  (Matter)  เป็นความแท้จริงสุดท้าย (ultimate reality) สรรพสิ่งที่อยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง และเป็นอิสระจากจิต (mind) แม้ว่าปรัชญาฝ่ายลัทธิสัจจนิยมนี้จะมีหลักเบื้องต้นเรื่องความจริงทางปรัชญาว่าวัตถุเป็นความจริงที่จริงที่สุด   แต่ก็ไม่เป็นด้วยในการเชื่อถือบางสิ่งบางอย่าง จึงทำให้เกิดการแบ่งแนวคิดออกเป็นลัทธิความเชื่อย่อย ๆ อีก
     
     
    รูปแบบต่าง ๆ ของสัจจนิยม 

    ลัทธิสัจจนิยมทั้งหลายนั้น พอจะแยกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ แต่ละประเภทแบ่งย่อยออกไปดังนี้
     
     (1) สัจจนิยมโดยตรง (Direct Realism) 
           ก. สัจจนิยมแบบผิวเผิน (Naive Realism) 
           ข. สัจจนิยมแบบสามัญสำนึก (Commonsense Realism) 
           ค. สัจจนิยมใหม่ (New Realism) 

    (2) สัจจนิยมแบบโดยอ้อม (indirect realism) 
           ก. สัจจนิยมแบบตัวแทน (Representative Realism) 
           ข. สัจจนิยมวิจารณ์ (Critical Realism)

    1.สัจจนิยมแบบโดยตรง ลัทธิสัจจนิยมที่จัดเป็นพวกโดยตรงที่จะนำมากล่าวในที่นี้มี 3 แบบ           
             
            ก. สัจจนิยมแบบผิวเผิน (Naive Realism) 

           เป็นแบบที่ง่ายและเรียบที่จุดของสัจจนิยมแบบโดยตรง ซึ่งนักปรัชญามองดูว่าเป็นทัศนคติของคนทั่วไปที่ปราศจากความลึกซึ้งนั่นคือเมื่อเรามองดูรอบ ๆ ตัวเราภายในพื้นที่อันกว้างใหญ่ เราจะได้เห็นพบสีต่าง ๆ เราเพื่อว่านั่นเป็นพื้นหน้าที่แท้จริงของวัตถุ เมื่อเราได้ยินสรรพสำเนียงทั้งหลาย เราก็เผื่อว่าเสียงเหล่านั้นมาจากวัตถุนั้น ๆ จริง  

            ข. สัจจนิยมแบบสามัญสำนึก  (Commonsense Realism)  

           ทั้งสัจจนิยมแบบผิวเผิน และแบบสามัญสำนึกต่างก็ยอมรับว่า โลกภายนอกหรือวัตถุทั้งหลายนั้นมีอยู่จริงและเป็นเจ้าของคุณสมบัติต่าง ๆ และยืนยันว่าประสบการณ์ทางผัสสะคือ ขบวนการที่จิตกระทำโดยตรงกับวัตถุในธรรมชาติ 

            ค. สัจจนิยมใหม่  (New Realism)

           1) วัตถุทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกมีความแท้จริงในตัวเองและเป็นเจ้าของคุณสมบัติทุกอย่างไม่น่าจะเป็นปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ ดังนั้น คุณสมบัติทั้งหลายที่ปรากฏให้เรารู้จักพบเห็นจึงเป็นคุณสมบัติภายในของวัตถุอย่างแน่นอน
     
           2) บทบาทของระบบประสาท และขบวนการอันเป็นสาเหตุของการรับรู้เป็นเพียงการเลือก และเปิดเผยให้กับตัวผู้ รู้ในคุณสมบัติใดคุณสมบัติหนึ่งในแต่ละคุณสมบัติ  

           3) ในการรับรู้วัตถุทั้งหลายของคนเราจึงเป็นการรู้จักมันโดยตรง คือ ถ้าเรารับรู้บ้านหลังหนึ่ง ตัวบ้านหลังนั้นเองเป็นสิ่งที่เรารับรู้ ไม่ใช่ว่าเรารับรู้ในผัสสะทางตา หู หรือ อวัยวะรับสัมผัสใดแล้วมาสร้างเป็นความรู้หรือมโนภาพขึ้นในจิต แต่เป็นการที่เรารับรู้วัตถุในสภาวะที่เป็นความจริงในตัวของมันเองการรู้ไม่ต้องอาศัยข้อมูลทางผัสสะหรือการสร้างมโนภาพของวัตถุ แต่วัตถุภายนอกคือสิ่งที่เรารู้ หรือเป็นความรู้ของเรา สิ่งที่เรารู้จึงไม่ใช่ตัวแทนหรือภาพเหมือนของวัตถุที่จิตสร้างขึ้น

           4) ข้อยุ่งยากของสัจจนิยมใหม่ ก็คือ ประการแรก ถ้ายอมรับว่าคุณสมบัติทุกอย่างของวัตถุที่เราได้รับรู้นั้นเป็นคุณสมบัติของวัตถุนั้นจริง ๆ แล้ว ในกรณีที่เกิดมีการเข้าใจผิดหรือมีการรับรู้ผิด จะอธิบายอย่างไร ประการที่สอง ถ้าเรากล่าวว่า โต๊ะตัวหนึ่งมีคุณสมบัติภายในที่ทั้งกลุ่มและรัฐหรือภูเขาลูกหนึ่งมีทั้งคุณสมบัติสีเขียวและสีน้ำเงินรวมอยู่ในตัว ก็ดูจะเป็นการขัดแย้งกันในตัวเอง หรือวัตถุจะต้องมีความซับซ้อนอย่างมากทีเดียวถ้ามันมีรูปร่างต่าง ๆ รวมอยู่ในตัว และประการที่สามระบบประสาทของคนเราจะเลือกรับรู้รูปร่างใดรูปร่างหนึ่ง หรือสีใดสีหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ สีนั้นอย่างไร สัจจนิยมใหม่ไม่ได้ให้ความกระจ่างในจุดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของคนตาบอดสี หรือ คนเราซึ่งจะรับรู้รูปร่างและสีแตกต่างไปจากการรับรู้ปกติ 

    2. สัจจนิยมแบบโดยอ้อม

           หลักการทั่วไปของสัจจนิยมแบบโดยอ้อม เป็นการปฏิเสธทัศนะของสัจจนิยมโดยตรง สัจจนิยมโดยอ้อมนี้มีการแบ่งออกเป็นวัตถุภายนอกในฐานะที่เป็นตัวสาเหตุของการรับรู้และเป็นวัตถุของการรับรู้กับ ข้อมูลทางผัสสะซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางจิตของขบวนการของสมอง โดยขึ้นอยู่กับการกระทำของวัตถุภายนอกต่ออวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ
     
            ก. สัจจนิยมแบบตัวแทน 

           1) ในการรับรู้วัตถุ เช่น “ การมองเห็นโต๊ะตัวหนึ่ง”  อธิบาย ปรากฏการณ์นี้ได้ว่าเมื่อลำแสงสะท้อนจากโต๊ะมากระทบนัยน์ตา เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีต่อเรตินา (เยื่อภายในลูกตาทำหน้าที่รับภาพเหมือนจอภาพยนตร์) และส่งแรงกระตุ้นไปตามประสาทตาเพื่อไปสู่สมอง เมืองก็จะกระทำการผลักดันให้จิตของผู้รับรู้ได้ตระหนักในผัสสะที่เป็นส่วนตัวขึ้น ซึ่งเป็นความคิดของจิต  “ ความคิดเชิงเดี่ยวในปรัชญาของล็อคผัสสะนี้เป็นตัวแทนของคุณสมบัติต่าง ๆ ของโต๊ะ

           2) วัตถุทั้งหลายที่อยู่ภายนอกตัวคนนั้นมีความแท้จริง แต่เป็นความแท้จริงในลักษณะที่เป็นสิ่งที่มีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้น เพราะคุณสมบัติประเภทนี้เป็นคุณสมบัติที่ทุกสิ่งต้องมีเหมือนกันหมด วัตถุใดก็ตามจะต้องมีขนาดรูปร่าง น้ำหนักการเคลื่อน เหล่านี้เป็นคุณสมบัติที่มีความคงทนติดอยู่กับวัตถุตลอดไป ส่วนคุณสมบัติทุติยภูมินั้นไม่ได้มอยู่ตัววัตถุ เพราะมันเป็นสิ่งที่จิตของคนเป็นผู้สร้างขึ้นมาในเวลาที่เรารับรู้วัตถุที่มีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิ ดังนั้น สีและกลิ่นของดอกกุหลาบสีและรสของขนมทองหยิบ จะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการรับรู้ของคนต่อมัน ด้วยเหตุนี้เองคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่คงทน หากต้องผันแปรไปตามสถานการณ์ของตัวคนที่รับรู้ 

           3) จุดบกพร่องของสัจจนิยมแบบตัวแทนก็คือ ถ้าถือว่าการรับรู้ขอเราเป็นการตระหนักรู้ในผัสสะที่เป็นส่วนตัวและเป็นความคิดของจิตแล้ว ก็เป็นการยากที่จะทำลายแวดวงของผัสสะออกไป และได้ประจักษ์โลกภายนอกจริง ๆ เราจะบอกได้อย่างไรว่าวัตถุเหล่านี้มีอยู่ ถ้าเราพยายามพิสูจน์ว่าโต๊ะตัวหนึ่งมีอยู่ด้วยการเอามือไปสัมผัสมัน ซึ่งก็เพียงแต่เราได้รับผัสสะของพื้นผิว หรือถ้าเรามองเห็นว่ามือของเราสัมผัสโต๊ะ ก็เพียงแต่เราได้รับผัสสะของการเห็นเท่านั้น เมื่อใดที่เราพยายามจะเพ่งดูออกไปภายนอกขอบข่ายของผัสสะ เราก็จะมีแต่ได้รับผัสสะมากขึ้น

           ข. สัจจนิยมเชิงวิจารณ์ 

            เป็นทัศนะที่ไม่เห็นด้วยกับสัจจนิยมใหม่ที่เห็นว่า คนเรารับรู้ตัววัตถุจริง ๆ ที่อยู่ต่อหน้าเรา จึงเสนอแนวคิดว่า 

           1) ยอมรับว่าวัตถุภายนอกมีความแท้จริงโดยไม่ขึ้นกับการที่ต้องมีคนมารู้จักมัน แต่คนเราไม่อาจจะรู้จักตัวจริงของวัตถุได้ เพราะประสบการณ์ของคนเราไม่ได้เข้าถึงความเป็นจริงของวัตถุในสภาวะที่ไม่มีสิ่งใดปกคลุม แต่การรับรู้ในวัตถุนั้นต้องรู้โดยผ่านตัวกลางบางอย่าง ดังนั้น วัตถุในการรับรู้ของคนเราจึงไม่ใช่ตัววัตถุของจริง แต่เป็นวัตถุคามที่ปรากฏแก่จิตที่รู้จักมัน

           2) ตัวกลางนี้เรียกว่า “ข้อมูล” (data) ซึ่งจะกล่าวว่าเป็นลักษณะจริงของวัตถุก็ไม่ได้ หรือจะถือว่าเป็นสภาวะของจิตของผู้รู้ไม่ได้ เพราะมันเป็นสภาวะรวมกันของทั้งสองอย่าง ข้อมูลนี้เป็นลักษณะที่ซับซ้อนที่จะเกิดมีขึ้นในขณะที่มีการรับรู้ ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของวัตถุและธรรมชาติของจิตผู้รู้ร่วมกันมันจึงไม่ใช่ตัววัตถุจริงและก็ไม่ใช่สภาวะของจิตอย่างเดียว ข้อมูลนี้เป็นสาระสำคัญเป็น ตัวนักขณะที่ชี้บอกถึง“ ความเป็นอะไร” ของวัตถุในฐานะที่เป็นสิ่งถูกรู้

           3) ดังนั้นในการรับรู้โลกภายนอกของคนเราจะมีปัจจัย 3 อย่างหนึ่ง คือ จิตที่เป็นผู้รู้ สอง คือ วัตถุใด ๆ ในสภาพดั้งเดิมของมัน และสาม คือ ข้อมูลซึ่งได้มาโดยทางอวัยวะรับสัมผัส ข้อมูลนี้เป็นสภาวะรวมกันของวัตถุและจิตผู้รู้ เพราะในขณะที่มีการรับรู้วัตถุภายนอกเกิดขึ้นนั้น เราไม่ได้รับรู้ตัวจริงของวัตถุ แต่จะต้องมีการเกี่ยวข้องกับเนื้อหาภายในของจิตเสมอ เด่นมีการตัดสินใจให้ชัดเจนว่ามันคืออะไรหรือมันเป็นลักษณะของสิ่งใด หรือเราทำการตอบสนองต่อมันไปในทันที การเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางจิตนี้จะเกิดขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามแต่สถานการณ์ 

           4) แม้ว่าสัจจนิยมวิจารณ์จะเป็นสัจจนิยมแบบสุดท้ายของการพัฒนาของลัทธิ แต่สัจจนิยมวิจารณ์ก็ยังมีข้อให้วิจารณ์ได้อยู่อีก นั่นคือ การอ้างถึงตัวกลางในการรับรู้ ซึ่งดูเหมือนลอยอยู่ระหว่างวัตถุกับผู้รู้ ซึ่งการอธิบายออกจะเป็นสิ่งลึกลับและลึกซึ้งเกินไป และการถือว่าเราไม่อาจจะเข้าถึงตัววัตถุที่แท้จริงได้ก็ยิ่งลึกลับมากขึ้นเพราะเป็นการถอยหลังกลับไปสู่ปรัชญาของนักปรัชญาซาวเยอรมันชื่อ คานท์ (Kant) ซึ่งเสนอว่า โลกภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่อาจปรากฏตัวจริงของมันต่อการรับรู้ของคนได้วัตถุต่าง ๆ มีอยู่ในฐานะเป็น “ สิ่งในตัวเอง” ที่เราไม่อาจจะรู้จักธรรมชาติแท้จริงของมันได้ เพราะการรับรู้วัตถุต้องรู้ตามกลไกหรือโครงสร้างของสมอง ดังนั้น วัตถุจริงกับสิ่งที่เรารู้จะไม่เหมือนกัน

           การนำไปใช้ในแง่ของการประยุกต์หลักของปรัชญาเข้ากับหลักการบริหารก็จะได้ในหลักของการหาค่าสมมติฐาน ความเป็นไปได้ วิเคราะห์วิจารณ์ถึงหลักเหตุผล เพราะหลักของแนวคิดแบบสัจจนิยมนี้หลักการคิดการหาคำตอบจะสอดคล้องกับแนวความคิดและหลักทางวิทยาศาสตร์ซึ่งคนส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบันนี้จะใช้หลักทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักในการตัดสินความน่าเชื่อถือเสมอ  

           ดังนั้น ในแนวคิดแบบสัจจนิยมได้ให้ข้อคิดไว้ดังนี้ว่า ถ้าวางแผนสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาแล้วควรจะต้องวางแนวทางในการปฏิบัติไว้หลาย ๆ ทางเพื่อให้กระบวนการในการหาคำตอบนั้นสามารถทำได้หลายวิธีและหลากหลายในเชิงบูรณาการ




    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×