ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ปัญหาขยะมูลฝอย

    ลำดับตอนที่ #6 : ของเสียอันตราย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 345
      0
      14 ธ.ค. 53

     
    ของเสียอันตราย ( Hazardous Wastes ) ของเสียอันตรายมีแนวโน้มที่จะถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นทุกปี นับเป็นปัญหาที่รุนแรงมาก ของเสียอันตรายเหล่านี้ เช่น น้ำมันเครื่องเก่า ยารักษาโรคที่เสื่อมคุณภาพ กระป๋องสเปรย์เปล่า ถ่านไฟฉาย ทีวีเก่า กากของเสียที่ซับซ้อน เช่น กากกัมมันตรังสี หรือ ขยะมูลฝอยติดเชื้อจากสถานพยาบาล ซึ่งจะถูกทิ้งสะสมอยู่ในที่ต่าง ๆ อย่างกระจัดกระจาย โดยไม่มีการบำบัดหรือกำจัดอย่างถูกวิธี ของเสียอันตรายเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและคุณภาพของสิ่งแวดล้อม

    แหล่งที่มาและปริมาณของเสียอันตราย

            1. โรงงานอุตสาหกรรม 
    เป็นแหล่งที่มาของของเสียอันตรายที่สำคัญของประเทศ ในขบวนการผลทุกขั้นตอนย่อมก่อให้เกิดของเสียขึ้น นับตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต หรือหลังจากเลิกใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้น ๆ แล้ว และหากในขบวนการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น ๆ การใช้สารเคมี โลหะหนัก น้ำมัน หรือสารสังเคราะห์ที่ซับซ้อนต่าง ๆ โอกาสที่จะทิ้งของเสียอันตรายที่ใช้ในขบวนการผลิตออกสู่สิ่งแวดล้อมจึงเพิ่มสูงขึ้นตาม ของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของเสียอันตรายร้อยละ 73 ของปริมาณของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นทั้งหมดทั่วประเทศนั้น ส่วนใหญ่ยังคงถูกเก็บสะสมในที่ต่าง ๆ บางครั้งได้มีการลักลอบนำไปทิ้งในที่สาธารณะ เนื่องจากสถานที่บำบัดของเสียอันตรายยังไม่เพียงพอในการรองรับของเสียที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด
     

            2. บ้านเรือน 
    ปัจจุบันการเพิ่มของประชากร และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการดำเนินชีวิตก่อให้เกิดปริมาณของเสียอันตรายชนิดต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย ภาชนะบรรจุยาปราบศัตรูพืช น้ำมันเครื่องเก่าใช้แล้ว ฯลฯ ของเสียเหล่านี้มักจะทิ้งปะปะกับขยะมูลฝอยทั่วไป ทำให้ยากต่อการแยกและนำมากำจัดของเสียอันตรายจากบ้านเรือนจำนวนมาก ที่ประกอบด้วยวัตถุอันตรายเมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว 


            3. ของเสียอันตรายจากการเกษตรกรรม 
    ได้แก่ ภาชนะบรรจุสารเคมี หรือสารเคมีประเภทยากำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง ถูกทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่ได้รับการกำจัดให้เหมาะสม 


            4. ของเสียอันตรายจากสถานพยาบาล 

    ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อ เศษเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะของร่างกายที่เกิดจากผู้ป่วย และการรักษาพยาบาลรวมทั้งของเสียที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี สิ่งขับถ่ายของเหลวจาก ผู้ป่วย ของที่ใช้กับผู้ป่วย เช่น ผ้าพันแผล ผ้าก๊อต สำลี ของเสียดังกล่าวได้ถูกทิ้งสู่สิ่งแวดล้อมปะปะกับ มูลฝอยโดยมิได้กำจัดให้ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะโรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังไม่มีระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วย เตาเผา ส่วนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้น ตั้งแต่ปี 2535 ได้มีการแยกเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อใน โรงพยาบาล และได้นำไปเผาที่โรงงานกำจัดมูลฝอย มิฉะนั้นจะแพร่เชื้อโรคตับอักเสบ ไทฟอยด์ ฯลฯ

            กองควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รายงานว่าของเสียที่เกิดขึ้นรวมทั้งประเทศ มีปริมาณ 1.2 ล้านตัน / ปี เกิดจากอุตสาหกรรม 890,000 ตัน / ปี ขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาลทั้งประเทศ มากกว่า 25,000 แห่ง ปริมาณรวมทั้งสิ้น 17,520 ตันต่อปี โดยเป็นขยะติดเชื้อที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ประมาณ ปีละ 5,110 ตัน ส่วนที่เหลืออีก 12,410 ตัน เป็นขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาลในส่วนภูมิภาค ปริมาณขยะมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าวได้คาดการณ์จากสถานการณ์ จากสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนที่มีจำนวนเตียงเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงสถานพยาบาลขนาดเล็กที่รับเฉพาะผู้ป่วยนอก เช่น ศูนย์บริการ สาธารณสุข สถานีอนามัย คลินิกเอกชน สำหรับของเสียอันตรายจากบ้านเรือนซึ่งส่วนใหญ่จะถูกทิ้งปะปนกับขยะมูลฝอยทั่วไป โดยพบว่า ซากถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่เก่าที่เสื่อมคุณภาพ หรือผ่านการใช้งานแล้ว ถูกทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมประมาณ 17,400 ตันต่อปี ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ประมาณ 20,400 ตันต่อปี และน้ำมันเครื่องเก่าใช้แล้วมากกว่า 4 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งของเสียอันตรายเหล่านี้มีแนวโน้มจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี คาดว่าขยะมูลฝอยติดเชื้อจากสถานพยาบาลและอื่น ๆ จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.77 ล้านตันในปี 2544 จากแหล่งกำเนิดสถานพยาบาล 6 % กิจกรรมอุตสาหกรรม 80% พาณิชยกรรม และบริการ 6.1 % กิจการเดินเรือและท่าเรือ 5.9 % เกษตรกรรม 0.5 % อื่น ๆ 0.6 % สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติรายงานว่ากรุงเทพมหานครและปริมาณมณฑล ผลิตขยะมูลฝอยที่เป็นพิษมากที่สุด มีถึง 71 % ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เป็นพิษทั่วโลก

            ปัญหาของเสียอันตรายที่สำคัญ มีดังนี้ 

            1. การเก็บรวบรวมและขนส่งของเสียอันตรายยังไม่ถูกต้องเหมาะสม 
    ปัจจุบันโรงงาน สถานพยาบาล ตลอดจนบ้านเรือนต่าง ๆ ส่วนใหญ่มักทิ้งของเสียอันตรายปนกับขยะมูลฝอยทั่วไปโดย ไม่มีการเก็บรวบรวมที่เหมาะสม ทำให้มีการปนเปื้อนและแพร่กระจายของสารพิษในสิ่งแวดล้อม ประกอบกับภาชนะที่ใช้เก็บของเสียในระหว่างรอการเก็บขนมีไม่เพียงพอกับปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการหกล้น และจากการให้บริการเก็บขนที่ไม่เพียงพอ ทำให้ของเสียอันตรายที่ปะปนอยู่ในมูลฝอยตกค้างอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อรอการกำจัดจำนวนมาก 

            2. การขาดการบำบัดหรือกำจัดอย่างถูกวิธี 
    ในปัจจุบันของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรมบางส่วนเท่านั้นที่ไดัรับการบำบัดหรือกำจัดจากภายในโรงงาน และบางส่วนได้ถูกส่งไปกำจัดที่ศูนย์กำจัดของเสียอันตรายของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รายงานว่า พ.ศ. 2535 มีโรงงานมาใช้บริการจำนวนประมาณ 430 โรงงาน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สามารถให้บริการบำบัดน้ำเสีย และลดความเป็นพิษของกากตะกอนประมาณรวมทั้งหมดปีละ 300,000 ตัน และได้เริ่มดำเนินการนำของเสียที่ผ่านการกำจัดในขั้นต้นแล้วไปกำจัดขั้นสุดท้ายด้วยวิธีฝังกลบในสถานที่ฝังกลบ ที่ปลอดภัยที่จังหวัดราชบุรี เมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งใน พ.ศ. 2536 ได้ทำการฝังกลบไปแล้วจำนวน 40,000 ตัน สำหรับขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาลส่วนใหญ่โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค ยังไม่มีเตาเผาที่มีประสิทธิภาพและถูกหลักสุขภาพอนามัย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า จำนวนสถานพยาบาลที่มีเตียงคนไข้ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาคจำนวน 817 แห่งนั้น ในจำนวนนี้มีสถานพยาบาลเพียง 423 แห่งที่มีเตาเผา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49 นอกจากนี้ยังพบว่าในส่วนของสถานพยาบาลที่มีเตาเผาใช้งาน ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาในการดำเนินการ ได้แก่ ปัญหาเรื่องควัน การเกิดเขม่าระหว่างการเผา เตาเผาชำรุดเสียหาย และการเผาไหม้ยากหรือเผาได้ไม่หมด การขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการใช้งานเตาเผา ขาดการวางแผนการจัดการที่เป็นระบบมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการขาดความเอาใจใส่จากฝ่ายบริหารของสถานพยาบาลนั้น ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสัดส่วนของเสียอันตรายที่ได้รับการบำบัดหรือกำจัดด้วยวิธีที่ถูกหลักสุขาภิบาลมีเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ยังมีของเสียอันตรายอีกจำนวนมากที่ถูกรวบรวมไว้ในที่ต่าง ๆ เพื่อรอการกำจัดซึ่งกรม โรงงานอุตสาหกรรมได้พยายามหาทางแก้ไข แต่ก็ยังประสบปัญหาการคัดค้านของราษฎรเนื่องจากเกรงว่า ศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรมอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน 

            3. การลักลอบทิ้งของเสียอันตรายในสถานที่สาธารณะ 
    เนื่องจากในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม ยังไม่มีระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมที่ดีพอ ของเสียอันตรายที่ยังไม่ได้กำจัดมีจำนวนไม่น้อยที่มีการลักลอบนำไปทิ้งในสถานที่ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2536 มีการลักลอบนำกากสารเคมีประเภทสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่เสื่อมคุณภาพแล้ว ไปทิ้งบริเวณบ้านหนองกระเต็น ตำบลวังกะทะ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 มีผู้ลักลอบนำกากอุตสาหกรรมประเภทแผงวงจรไฟฟ้าไปเผาในป่าสงวนแห่งชาติ ป่าท่าก้วยห้วยกระเวน บ้านพุเตย หมู่ 3 ตำบลบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เพื่อลอกเอาแผ่นทองแดงที่เคลือบอยู่ไปใช้ประโยชน์

            สาเหตุของปัญหาของเสียอันตราย 

           การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของปริมาณ จำนวน ชนิดของของเสียอันตราย ตลอดจนการกระจัดกระจายของของเสียอันตราย จากการที่เศรษฐกิจขยายตัว มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า ปริมาณของเสียอันตรายกิจกรรมต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2534 มีประมาณ 2 ล้านตัน/ปี และจะเพิ่มเป็น 6 ล้านตัน/ปี ในปี พ.ศ. 2544 โดยพบว่า 70 – 75 เปอร์เซ็นต์ของของเสียอันตรายเป็นของเสียที่ผลิตในบริเวณกรุงทพมหานครและปริมณฑล 
            1. ระบบการจัดการของเสียอันตรายยังไม่ครอบคลุมครบทุกแหล่งกำเนิด โดยรัฐจะควบคุมเน้นเฉพาะของเสียจากภาคอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ และก็ไม่จริงจังอีกด้วย 
            2. ระบบกำจัดของเสียอันตรายที่มีอยู่ไม่เพียงพอ เพราะมีเฉพาะแห่งเดียวที่แขวงแสมดำ 
            3. รัฐชอบอ้างว่าขาดแคลนบุคลากรและงบประมาณ ในการควบคุมตรวจสอบของเสียอันตรายจากกิจกรรมต่าง ๆ อย่างจริงจัง 
            4. กฎหมาย ที่ใช้ในการควบคุมระบบการจัดการของเสียที่เป็นอันตราย ยังไม่ครอบคลุมการจัดการทั้งระบบ รวมทั้งการขาดความเข้มงวดในการบังคับใช้ ทำให้ผู้ผลิตบางรายหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากของเสียอันตราย 
            5. ประชาชนยังขาดความรู้ และความเข้าใจถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น จากของเสียอันตรายที่ขาดการจัดการที่ถูกต้อง


            การบำบัดหรือกำจัดของเสียอันตราย 

            ของเสียอันตรายบางประเภทปนเปื้อน อาจแบ่งได้เป็น 7 กลุ่มตามแนวทางของประเทศออสเตรเลีย คือ น้ำมัน ( Oily wastes ) ตัวทำละลาย ( Solvents ) ยาฆ่าแมลง ( Pesticides ) กรด ( Acid ) ด่าง ( Alkali ) โลหะหนัก ( Heavy metals ) และกลุ่มเจาะจงเฉพาะ ( Special ) ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีหลักในการบำบัดหรือกำจัดแตกต่างกันออกไป ดังนี้ 

            1. การทำลายฤทธิ์ด้วยวิธีเคมี – ฟิสิกส์ 
    เป็นการทำให้ของเสียเป็นกลางหรือให้หมดปฏิกิริยาทางเคมี ให้กลายเป็นตะกอน หรือเกลือที่คงรูปไม่ละลายน้ำ หลังจากนั้นตะกอนเกลือที่คงรูป ไม่มีฤทธิ์ และไม่ละลายน้ำ ก็จะถูกนำไปฝังกลบตามหลักวิชาการต่อไป ของเสียที่เหมาะกับการทำลายฤทธิ์ด้วยวิธีนี้ได้แก่ พวกกรด ด่าง และสารละลายเกลือ โลหะหนัก 

            2. การทำละลายฤทธิ์ด้วยการเผาด้วยอุณหภูมิสูง 
    ในการทำลายฤทธิ์ด้วยวิธีเคมีฟิสิกส์ตามที่กล่าวมาแล้วไม่สามารถทำลายฤทธิ์สารจำพวกน้ำมัน ยาฆ่าแมลง สีสังเคราะห์ หรือสารทำละลายได้ดี เพราะจะไม่ทำปฏิกิริยากัน จึงจำเป็นต้องใช้ความร้อนเผาที่อุณหภูมิสูง ซึ่งอาจสูงถึง 1,000 ถึง 2,000 องศาเซลเซียส เพื่อให้ของเสียถูกออกซิไดซ์ไปเป็นขี้เถ้า หรือเกลือที่คงรูป ปริมาณขี้เถ้าหรือกากตะกอนที่เกิดขึ้น แม้มีเพียงเล็กน้อยก็ต้องนำไปฝังกลบ และในบางกรณีอาจต้องทำให้คงรูปไม่ละลายน้ำก่อนนำไปฝังกลบ การทำลายของเสีย โดยการเผาด้วยอุณหภูมิสูงนี้ไม่เหมาะจะนำมาใช้กับของเสียที่สามารถจัดการโดยวิธีอื่นได้ เพราะเตาเผาอุณหภูมิสูงที่มีเครื่องฟอกไอก๊าซที่มีประสิทธิภาพมีราคาแพงมาก ยกเว้น เมื่อการขนส่งมีราคาแพงขึ้น และไม่มีที่ฝังกลบแล้ว อย่างไรก็ตามต้องตระหนักอยู่เสมอว่า เตาเผาไม่เหมาะสำหรับเผาของเสียบางชนิด อาทิของเสียที่มีตะกั่ว ปรอท แคดเมียม หรืออาร์เซนิคปนเปื้อน เพราะเตาเผาอาจมีระบบฟอกอากาศไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะดักจับไอควัน เขม่าของสารเหล่านี้ออกได้หมด 

            3. การฝังกลบ 
    เป็นกระบวนการในอันดับต่อจาก 2 วิธีที่กล่าวมาแล้วนั้น เพราะการทำลายฤทธิ์ของเสียอันตรายด้วยวิธีเคมี – ฟิสิกส์ หรือด้วยเตาเผาอุณหภูมิสูง ก็ยังคงมีตะกอนเกลือที่คงรูปไม่ละลายน้ำ หรือขี้เถ้า กาก ตะกอน ที่จำเป็นจะต้องนำไปฝังกลบให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ยังสถานที่ซึ่งเป็นบริเวณน้ำท่วมไม่ถึง ไกลแหล่งน้ำ ผิวดินไม่มีชั้นน้ำบาดาล หรือน้ำใต้ดินไหลผ่าน ไม่เป็นจุดน้ำซึมลงสู่พื้นน้ำบาดาล ชั้นดินควรเป็นดินที่น้ำซึมผ่านได้ยากหรือใช้วิธีปูชั้นดินเหนียวกันน้ำซึมผ่านเข้าออก และสถานที่จะฝังจะต้องอยู่ไม่ไกลจากแหล่งกำเนิดของเสีย ครั้นเมื่อฝังตะกอน เถ้า ที่คงรูปไม่ละลายน้ำจนเต็มแล้ว ก็ต้องปิดหลุมด้วยวัสดุกันซึมอีก แล้วปูทับด้วยดินดีอีกชั้นหนึ่งเพื่อปลูกหญ้า หรือไม้พุ่มกันฝนกัดเซาะดิน น้ำฝนจะได้ไม่ซึมผ่านลงไปในหลุมได้อีก แต่ก็คงป้องกันไม่ได้ทั้งหมด 100 % หากมีน้ำฝนไหลซึมผ่านตะกอน หรือเถ้าที่คงรูปในหลุมฝัง น้ำฝนจะไหลลงไปอยู่ที่ส่วนล่าง ไปรวมกันที่ก้นหลุม ซึ่งที่ก้นหลุมจะมีระบบท่อรวบรวมน้ำ พร้อมทั้งบ่อเก็บน้ำตัวอย่าง เพื่อนำไปตรวจสอบดูการเปลี่ยนแปลงของเสียที่อยู่ในหลุม ตลอดจนการขุดบ่อสังเกตการณ์รอบ ๆ บริเวณหลุมฝัง เพื่อเฝ้าดูการเปลี่ยนของคุณภาพของน้ำบาดาลใต้หลุมฝัง



     
       
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×