ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การทหารของไทย

    ลำดับตอนที่ #6 : สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

    • อัปเดตล่าสุด 16 ส.ค. 49


    การทหารสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ยุคต้น

     loading picture

       รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ
    ราชอาณาจักรไทย  ได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ทุกทิศทางยิ่งกว่าสมัยใด กล่าวคือ ทางเหนือได้อาณาจักรลานนาไทย รวมทั้งหัวเมืองใหญ่อื่น ๆ เช่น เชียงตุง เชียงรุ้ง และหัวเมืองอื่น ๆ ในแคว้นสิบสองปันนา ทางด้านตะวันออกได้หัวเมืองลาว และกัมพูชาทั้งหมด ด้านทิศใต้ได้ดินแดนตลอดแหลมมะลายู ได้แก่  เมืองไทรบุรี  เมืองกลันตัน  เมืองตรังกานู  เมืองเประ และเมืองปัตตานี  ด้านตะวันตก ได้หัวเมืองมะริด  เมืองตะนาวศรี และเมืองทะวาย
     loading picture
    ได้มีสงครามกับพม่าหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญได้แก่สงครามเก้าทัพ เมื่อปี พ.ศ. 2328  พม่ายกกำลังมาครั้งนี้ มีกำลังพลประมาณ 144,000 คน จัดเป็น 9 ทัพ  แยกย้ายกันเข้าตีไทย 5 ทาง  ทัพบกยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ จำนวน 5 ทัพ  ยกเข้ามาตีหัวเมืองทางเหนือ 2 ทัพ และยกเข้ามาตีหัวเมืองทางใต้ 2 ทัพ ทั้งหมดยกกำลังเข้าตีพร้อมกันในเดือนอ้ายของปี พ.ศ. 2328  ฝ่ายไทยเห็นว่าทัพพม่าที่ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์มีกำลังมาก และสามารถเข้าถึงกรุงเทพได้ใกล้ที่สุด จึงจัดกำลังเข้าทำการรบ ดังนี้
    ทัพที่ 1   ยกไปตั้งรับพม่าที่เมืองนครสวรรค์ เพื่อรับมือกับพม่าที่เดินทัพมาทางเหนือ
    ทัพที่ 2   เป็นทัพใหญ่มีกำลังพลประมาณ 30,000 คน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท  ทรงเป็นแม่ทัพ  ยกทัพไปตั้งรับพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า เชิงเขาบรรทัด เมืองกาญจนบุรี เพื่อรับมือกับพม่าที่เดินทัพมาทางด่านเจดีย์สามองค์
    ทัพที่ 3   ยกไปตั้งรับพม่าที่เมืองราชบุรี เพื่อรับมือกับพม่าที่เดินทัพมาทางใต้
    ทัพที่ 4   เป็นกองหนุนทั่วไป ตั้งอยู่ที่กรุงเทพ ฯ
     loading picture
    ผลของสงคราม  กองทัพไทย  ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม โดยการดำเนินกลยุทธที่ยอดเยี่ยมของฝ่ายไทย เริ่มตั้งแต่การวางกำลัง สะกัดการรุกของพม่าอย่างเหมาะสม ทั้งในด้านการวางกำลัง  ณ  พื้นที่ที่สำคัญด้วยกำลัง  ที่พอเหมาะและจังหวะเวลาถูกต้อง ทำให้สามารถเอาชนะพม่าที่มีกำลังมากกว่าหลายเท่าตัว โดยที่ฝ่ายพม่าต้องถอยทัพกลับไปตั้งแต่อยู่ที่ชายแดน  เมื่อกองทัพหลวงของพม่าต้องถอยกลับไป  กองทัพพม่าที่ยกมาทางเหนือ และทางใต้ก็ถูกกองทัพไทยปราบได้ราบคาบโดยง่ายในเวลาต่อมา
     loading picture
    พม่ายกทัพมาตีไทยอีกครั้งในสงครามที่ท่าดินแดง  แต่ก็พ่ายแพ้ไทยกลับไปเมื่อรบกันอยู่ได้เพียง 3 วัน  ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีสงครามขนาดใหญ่ระหว่างไทยกับพม่าอีกเลย
    กิจการทหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ  คงดำเนินตามแบบอย่างในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการรวบรวมตำราพิชัยสงคราม ที่หลงเหลือจากการถูกทำลายจากพม่า  มาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นแบบแผน  ซึ่งก็ได้ใช้ต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ  ระเบียบแบบแผนในการแบ่งเหล่า และการจัดหน่วยทหาร  การเตรียมกำลังพล  การเกณฑ์ทหาร และกิจการด้านทหารอื่น ๆ คงดำเนินการตามแบบแผนของกรุงศรีอยุธยาเป็นส่วนใหญ่  มีการปรับปรุงในส่วนปลีกย่อย เช่น ให้รับราชการทหารเพียงปีละ 4 เดือน โดยหมุนเวียนเป็นวงรอบ 4 รอบ ๆ ละ 1 เดือน ดังที่ปรากฏในกฏหมายตราสามดวง เมื่อปี พ.ศ. 2327

       สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
     loading picture
    การทหารยังคงดำเนินตามแบบอย่างเดิม  ในรัชสมัยของพระองค์มีการสงครามไม่มากนัก เมื่อปี พ.ศ.  2363 มีข่าวว่าพม่าจะยกทัพมารุกราน ทางด้านเมืองกาญจนบุรี  จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกกำลังไปสะกัดข้าศึกสามแห่งด้วยกัน คือ ที่เมืองกาญจนบุรี เพื่อยับยั้งข้าศึกที่จะยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์  ที่เมืองเพชรบุรี เพื่อยับยั้งข้าศึกที่จะเข้ามาทางด่านสิงขร และที่เมืองราชบุรี เพื่อรักษาเมืองราชบุรีไว้  แสดงให้เห็นถึงการใช้ยุทธศาสตร์ที่จะยับยั้งข้าศึกตามเส้นทางเดินทัพที่สำคัญไว้ที่ชายแดน ซึ่งได้ผลมาแล้วอย่างดี
    ทางด้านตะวันออก ญวนซึ่งแต่เดิมเคยมีสัมพันธไมตรีกับไทย เริ่มขยายอาณาเขตเข้ามาในดินแดนกัมพูชา อาจกระทบกระเทือนถึงไทย  จึงได้มีการจัดหาอาวุธปืนใหญ่และปืนเล็กมาใช้ในกองทัพเป็นการด่วน  โดยจัดหาจากต่างประเทศ
    เนื่องจากการศึกสงครามลดน้อยลงไปมาก จึงได้มีการลดหย่อนการเข้ารับราชการทหารลง  โดยลดลงเหลือปีละ 3 เดือน จากเดิม 4 เดือน เมื่อปี พ.ศ. 2353
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×