ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    서울

    ลำดับตอนที่ #7 : -STEP 2: เตรียมพร้อมก่อนออกเที่ยว (1)-

    • อัปเดตล่าสุด 31 ก.ค. 57


    -STEP 2: เตรียมพร้อมก่อนออกเที่ยว (1)- ]

           จากสองตอนที่แล้ว เจ้าของบทความคิดว่าเพื่อนๆ คงเข้าใจคำว่า ‘Passport’ และ ‘Visa’ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นมาฉลองกันด้วยตอนเล็กๆ เบาสมอง (?) อย่าง ‘STEP 2: เตรียมพร้อมก่อนออกเที่ยวเนื้อหาในตอนนี้ถ้าถามว่าจำเป็นที่ต้องรู้ไหม คำตอบคือ ควรรู้เป็นอย่างมากค่ะ เพื่อให้การท่องเที่ยวของเราเป็นไปอย่างราบรื่นไม่ติดขัด ถ้าพร้อมกันแล้ว ไปอ่านกันเลยค่ะ

    -ไปเที่ยวที่ไหนดี-

           เป็นคำถามที่ถ้าตอบไม่ได้ก็จบอยู่ตรงนี้เลยจริงๆ นะ คิดว่าคงไม่ลืมกันใช่ไหมคะ ว่าอยากไปประเทศไหน เมืองไหน ถ้าลืมเจ้าของบทความขอให้ ย้อนกลับไปอ่านชื่อบทความเสียใหม่ แล้วกรุณาร้อง อ๋อออกมาดังๆ ใช่แล้วค่ะ! สถานทีที่เราต้องการจะไปนั่นก็คือ... 서울หรือ โซล แห่งประเทศเกาหลีใต้ นั่นเอง แต่ยังไม่ได้จบเพียงเท่านี้หรอกค่ะ เพราะนอกจากเราจะต้องรู้ว่าไปโซลแล้ว เราก็ต้องรู้ด้วยว่าเราจะไปสถานที่ท่องเที่ยวไหนในกรุงโซล (ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้ เจ้าของบทความจะพูดถึงในคราต่อไป) สำหรับคนที่ยังไม่ทราบว่าอยากไปท่องเที่ยวที่ไหนภายในกรุงโซล ก็สามารถค้นหาได้ทั้งจากทางอินเทอร์เน็ต และร้านหนังสือ หรือจะติดตามจากบทความ 서울นี้ก็ได้ รับรองว่าไม่ผิดหวังอย่างแน่นอนค่ะ

           ตัวอย่างเว็บไซต์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวประเทศเกาหลีใต้ (จากหนังสือ เมืองนอก ไปเองก็ได้ ง่ายกว่าที่คิด)

           www.koreafanclub.com

           www.kto.ot.th

           www.visitseoul.net

           www.seoulciety.com

           www.korea-guides.blogpost.com

           www.pantip.com/forum/blueplanet

           www.hflight.net

           www.trekkingthai.com ห้องสะพายเป้ท่องโลก

           www.bloggang.com กลุ่มย่อยท่องเที่ยวต่างประเทศ

           www.lonelyplanet.com

           www.tripadvisor.com/seoul

     

    -MUST KNOW 10 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับประเทศที่จะไป-

           ข้อมูลเบื้องต้นที่คุณต้องรู้ทั้งหมด 10 ข้อ อันเป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนการเดินทาง

    ð   ต้องขอวีซ่าหรือไม่

    หวังว่านักอ่านทั้งหลายจะไม่ลืมกันนะคะ จากตอนที่แล้ว ประเทศเกาหลีใต้ ไม่ต้องขอวีซ่า ถ้าอยู่ไม่เกิน 90 วัน

    ð   ใช้สกุลเงินอะไร G

    วอน (KRW) อัตราแลกเปลี่ยน ประมาณ 37-40 บาท ต่อ 1,000 วอน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2014)

    ð   ค่าครองชีพ

    การท่องเที่ยวเกาหลีใต้ถือว่าค่าใช้จ่ายไม่แพงมาก (แต่ก็ไม่ถูกนัก)

    -          ค่าอาหารจานเดียวแบบง่ายๆ จานละ 3,500-4,500 วอน วันละ 3 มื้อ

    4,500 วอน x 3 มื้อ x 0.04 (อัตราแลกเปลี่ยน) = ประมาณ 540 บาท/คน/วัน

    (เบาๆ ก็แค่อาหารมื้อละ 180 บาทเท่านั้น...T^T)

    -          ค่าห้องพักในโรงแรมขนาดเล็ก ประมาณคืนละ 70,000-110,000 วอน พักได้ห้องละ 2 คน

    (110,000 วอน x 0.04) / 2 = 2,200 บาท/คน/วัน

    -          ค่ารถไฟใต้ดิน ประมาณ 1,000 วอน/เที่ยว ประมาณวันละ 4 เที่ยว

    1,000 วอน x 4 เที่ยว x 0.04 = 160 บาท/คน/วัน

           ดังนั้นค่าครองชีพ = 540 + 2,200 + 160 = ประมาณ 2,900 บาท/คน/วัน (น้ำตาจิไหล)

    ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

    ˃   ค่าเครื่องบินไป-กลับ

    แบบ Low Cost ประมาณ 8,000-10,000 บาท แบบ Full Service ไม่เกิน 18,000 บาท

    หมายเหตุ      ในเดือนที่แล้ว ตั๋วเครื่องบินจากกรุงเทพไปอินชอน (โซล) ที่มีราคาถูกที่สุดคือ 7,445 บาท (จาก Skyscanner) อะไรจะถูกปานนั้น แล้วเราจะซื้อตั๋วในราคาที่ถูกแสนถูกนี้ได้อย่างไรติดตามในคราหน้านะจ๊ะ (บอกให้อยากและจากไป ㅋㅋㅋ)

    ˃   ค่าเข้าสวนสนุก Everland 33,000 วอน (ประมาณ 1,320 บาท)

    ˃   ค่าประกันความเสียหายโรงแรม ประมาณ 65,000 วอน (ประมาณ 2,600 บาท)

    ð   สภาพอากาศ

    ในช่วงที่เดินทางไป อ่านได้จาก –WHEATHER สภาพอากาศ=

    ð   TIME ZONE 3

    GMT+9 เร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง

    ð   เวลาเดินทาง}

    จากประเทศไทยใช้เวลานั่งเครื่องบินถึงโซล (สนามบินอินชอน) 5 ชั่วโมง 5 นาที

    ð   ความปลอดภัย

    ติดตามข่าวสารของประเทศที่จะเดินทางไปเสมอนะคะ ทั้งข่าวการเมืองและภัยธรรมชาติต่างๆ ปลอดภัยไว้ก่อน และดูให้ดีด้วยว่าประเทศที่คุณจะไปมีการก่ออาชญากรรม ปล้น ชิง วิ่งราว เยอะหรือเปล่า ถึงจะเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยสูง ก็ควรระมัดระวังตัวเองอย่างเสมอนะคะ

    ð   ขนาดแรงดันไฟฟ้า และรูปแบบของเต้ารับไฟฟ้า

    เกาหลีใต้ใช้แรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์เหมือนไทย แต่เต้ารับเป็นเบ้าลึกลงไปเป็นหลุม และมีรูกลม 2 รู จึงต้องใช้หัวปลั๊ก (Universal Travel Adapter) แปลงขาปลั๊กไฟ (น่าจะเป็นอย่างรูปข้างต้นแหละค่ะ)



    ð   การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ

    -          พาหนะหลักที่ต้องใช้ สำหรับบทความนี้ เจ้าของบทความตั้งใจจะใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นหลัก เพราะสะดวก ราคาไม่แพงมาก (ถ้าเทียบกับ Taxi) มีทุกหนทุกแห่ง และที่สำคัญมี ภาษาอังกฤษ นั่นเองจ้า ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ปัญหาหลักๆ ของคนที่ไปเที่ยวประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่นคือ ไม่ค่อยมีคนพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาสากลกันมากนัก ดังนั้น เจ้าของบทความขอเลือกใช้บริการการเดินทางรถไฟฟ้าใต้ดิน เพราะอย่างน้อยก็มีภาษาอังกฤษให้อุ่นใจน่ะค่ะ

    -          อัตราค่าโดยสาร อย่างที่ได้บอกไปข้างต้น ประมาณ 1,000 วอน/เที่ยว

    -          รูปแบบตั๋วโดยสาร มีทั้งแบบเที่ยวเดียว และบัตรเติมเงิน

    ·       ตั๋วแบบเที่ยวเดียว ซื้อได้ที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ ตั๋วแบบเที่ยวเดียวจะคิดค่าประกันบัตรเพิ่มอีก 500 วอน โดยสามารถรับคืนได้ที่เครื่องคืนค่ามัดจำตั๋วรถไฟฟ้าใต้ดิน



    ·       บัตรเติมเงิน มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า T-Money นอกจากจะใช้งานสะดวก ไม่ต้องเสียเวลาไปซื้อตั๋วทุกครั้งที่เดินทางแล้ว ยังลดค่าโดยสารจากราคาปกติ และสามารถใช้บัตรนี้กับรถเมล์ได้ด้วย หาซื้อได้ที่สถานีรถไฟ ร้านสะดวกซื้อ 7-11, Family Mart, GS25 หรือตามเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติที่อยู่ตามสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน

    หมายเหตุ   บัตร T-Money ราคา 2,500 วอน (หากซื้อตามร้านค้า) และ 3,000 วอน (หากซื้อที่เครื่องขายตั๋วอัตโนมัติ) โดยเป็นค่าบัตรเปล่าๆ 2,500 วอน จะต้องเติมเงินเข้าไปจึงจะใช้งานได้ บัตร T-Money มีหลายราคา หากเป็นรูปดารานักแสดงหรือแบบขนาดเล็กเท่าพวงกุญแจ ก็อาจแพงกว่าบัตรทั่วไปเล็กน้อย

              การเติมเงิน เติมได้ที่บู๊ธของเจ้าหน้าที่รถไฟฟ้าใต้ดิน ตามเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติ และร้านค้าต่างๆ ที่ร่วมรายการ เติมเงินขั้นต่ำครั้งละ 1,000 วอน

              การคืนบัตร คืนได้ที่เครื่องขายตั๋วอัตโนมติ

              รายละเอียดเพิ่มเติม www.seoulmetro.co.kr (ภาษาเกาหลีทั้งหน้า)

    -          เวลาเปิดให้บริการ ตั้งแต่ 5.30 น. ถึงประมาณ 23.45 น.

    ð   Dos & Don’ts L

    สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในประเทศเกาหลีใต้ (เนื่องจากเนื้อหาตอนนี้น่าจะเยอะอยู่ ดังนั้นขอแยกไปไว้อีกตอนนะคะ)

     

           จบไปอีกหนึ่งตอน เจ้าของบทความขอเอาเวลาไปอ่านหนังสือเตรียมสอบก่อนนะคะ สำหรับตอนหน้าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไรขออุบไว้ก่อน แล้วเจอกันตอนหน้ากับ STEP 2 นะคะ

    Owen :D
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×