ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    서울

    ลำดับตอนที่ #12 : -STEP 3: แพ็คกระเป๋าให้พร้อม (1)-

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 155
      1
      12 ส.ค. 57

    -STEP 3: แพ็คกระเป๋าให้พร้อม (1)-

    เงินๆ ทองๆ

           โดยทั่วไปแล้วการนำเงินจากเมืองไทยไปใช้ในต่างประเทศ เราสามารถนำไปได้ทั้งเงินสด บัตรเครดิต และบัตรเอทีเอ็มแบบที่สามารถใช้กดเงินได้ทั่วโลก สังเกตได้จาก PLUS, CIRRUS หรือ VISA Electron ที่อยู่บนหลังบัตร

     

           TIPS

    4กรณีที่นำบัตรเครดิตไปใช้ที่ต่างประเทศ มักจะถูกจำกัดวงเงินอัตโนมัติ ดังนั้นหากต้องการขยายวงเงินเพื่อไปเที่ยวจะต้องงติดต่อแจ้งความประสงค์ไปยังธนาคารเจ้าของบัตรเสียก่อน

    4การกดเงินจากบัตรเอทีเอ็ม บัญชีออมทรัพย์ จะมีค่าธรรมเนียม การกดเงินประมาณครั้งละ 200 บาท ดังนั้นควรคำนวณเงินให้ดี กดเงินให้เพียงพอกับความต้องการ จะได้ไม่เปลืองโดยใช่เหตุ

    4ควรเตรียมเงินไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น เช่น กระเป๋าเงินหาย หรือตดเครื่องบิน ต้องซื้อตั๋วใบใหม่และจ่ายค่าโรงแรมเพื่อรอขึ้นเครื่องใหม่ เป็นต้น

     

           แลกเงินไปใช้ที่ต่างประเทศ

    เราสามารถแลกเงินได้ขากบู๊ธแลกเงิน (Money Exchange) ของธนาคารทุกแห่ง แต่อัตราแลกมักไม่ค่อยดีนัก ผู้ที่ไปต่างประเทศจึงนิยมไปแลกเงินของเอกชนอื่นๆ ที่ให้อัตราแลกดีกว่า เช่นในกรุงเทพฯ นิยมไปแลกเงินที่ร้าน Super Rich ใกล้กับห้างสรรพสินคาบิ๊กซี สาขาราชดำริ ตรงข้ามห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และมีสาขาอื่นๆ อีกหลายแห่ง ตรวจสอบได้ทางเว็บไซต์ www.superrich1965.com

           การแลกเงินจะต้องนำ บัตรประจำตัวประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง ไปแสดงด้วย (แต่ตอนครั้งที่แม่ของเจ้าของบทความไปญี่ปุ่น แล้วหนังสือเดินทางอยู่กับทัวร์ ทาง Super Rich ก็อนุโลมให้นคะ เพราะฉะนั้นคนที่ไปกับทัวร์อย่าเพิ่งซีเรียส)

           TIPS

    4ตามบู๊ธแลกเงินของธนาคารมักมีเฉพาะธนบัตรมูลค่าสูงๆ (ยกเว้นบู๊ธที่ตั้งอยู่ในสนามบิน จะมีปลีกเงินไว้ให้แลก) ส่วนร้านแลกเงินของเอกชนจะมีเงินปลีกให้แลกได้มากกว่า

    4ตามระเบียบแล้ว จะสามารถถือเงินไทยนอกประเทศได้ ไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนเงินต่างประเทศได้ ไม่เกิน 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ (USD)

    4เงินบางสกุลที่ไม่มีให้แลกใน”ทยโดยตรง เช่น จ๊าต ของพม่า ด่อง ของเวียดนาม หรือปาตากาส์ (MOP) ของมาเก๊า ควรใช้เงินเหรียญให้หมดก่อน เพราะนำมาแลกคืนไม่ได้

    4อย่าลืมพกเงินไทยติดตัวไว้ด้วยในวันเดินทาง เพื่อใช้จ่ายค่าแท็กซี่ ค่าอาหาร เครื่องดื่ม และจิปาถะขณะอยู่ที่สนามบิน

    4ควรทยอยแลกเงินไว้ล่วงหน้าประมาณ 1 เดือนก่อนเดินทาง เพราะบางครั้งเงินปลีกหายากต้องแลกหลายครั้ง

     

    โทรศัพท์

                ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่แทบทุกคนจำเป็นต้องมี เพราะนอกจากจะใช้ติดต่อสื่อสารกับคนอื่นแล้ว ในโทรศัพท์สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ก็ได้มีแอพลิเคชั่นที่เป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวอย่างเราเป็นอย่างมาก อาทิเช่น Google Translation, Google Map เป็นต้น แอพลิเคชั่นสำคัญๆ อย่างนี้ถ้าใครไม่มีก็ให้โหลดมานะคะ เพราะว่าได้ใช้อย่างแน่นอน และที่สำคัญไม่เสียค่าดาวน์โหลดด้วย

     

    การนำโทรศัพท์มือถือไปใช้ที่ต่างประเทศ

    สำรวจความต้องการของตัวเองก่อนเลยค่ะ ว่าจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์มือถือหรืออินเทอร์เน็ตขนาดไหน ถ้าทราบแล้วก็เลือกแบบที่เหมาะกับตนเองมากที่สุด ตามไปอ่านกันเลยจ้า

     

    1.       การเปิดโรมมิ่ง (Roaming)

    โรมมิ่ง คือการขอสัญญาณโทรศัพท์ของเครือข่ายในต่างประเทศ ที่บริษัทเครือข่ายสัญญาณของเราทำข้อตกลงเอาไว้ ซึ่งจะมีค่าบริการแตกต่างกันไป ใช้ได้ทั้งโทร.ออก รับสาย และเล่นอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันสามารถใช้งานได้เกือบทุกประเทศทั่วโลก

    ข้อดี          สามารถใช้หมายเลขโทรศัพท์เดิมติดต่อกับคนอื่นๆ ที่ประเทศไทยได้ไม่ขาดช่วง

    ข้อเสีย         ค่าบริการค่อข้างแพง

    เหมาะกับ       ผู้ที่ต้องการติดต่อสื่อสารตลอดเวลา

     

    การคิดค่าบริการโรมมิ่ง

    4โรมมิ่งข้อความ (SMS Roaming) คิดค่าบริการเป็นครั้งง โดยใน 1 ข้อความ ภาษาไทยจะต้องยาวไม่เกิน 70 ตัวอักษร ส่วนข้อความภาษาอังกฤษต้องยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร

    4โรมมิ่งข้อมูล (Data Roaming) คิดค่าบริการตามปริมาณข้อมูลที่ใช้ทั้งดาวน์โหลดและอัพโหลด คิดหน่วยเป็นกิโลไบต์ (KB)

    4โรมมิ่งข้อความภาพ (MMS Roaming) คิดค่าบริการตามปริมาณข้อมูล ทั้งรับและส่ง เนื่องจาก MMS เป็นการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต

    4บางประเทศมีการเรียกเก็บค่าบริการเมื่อมีสายเรียกเข้า แม้จะตัดสายหรือไม่ได้รับสาย

    ถึงแม้จะสมัครใช้บริการแบบเหมาจ่ายแล้วก็ตาม แต่ยังมีกรณีที่เครือข่ายโทรศัพท์เรียกเก็บค่าบริการแสนแพง บางครั้งถึงหลักหมื่นหรือหลักแสน ที่เรียกกันว่าอาการ Bill Shock!

    จะป้องกันอาการ Bill Shock! ได้อย่างไร

    สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดค่าบริการแสนแพง ได้แก่

    4ผู้ใช้ไม่ทราบเงื่อนไขของแพ็คเก็จโรมมิ่งที่เปิดใช้บริการ เพราะไม่อ่านรายละเอียดให้ถี่ถ้วน เช่น แม้แพ็คเกจที่สมัครจะเป็นแบบ Unlimited ก็ตาม แต่กำหนดให้ใช้สัญญาณของเครือข่าย A เท่านั้น หากใช้สัญญาณของเครือข่ายอื่นๆ จะต้องจ่ายเงินเพิ่มจากราคาแพ็คเกจ

    4ผู้ใช้ไม่ทราบวิธีการตั้งค่าเครื่องโทรศัพท์ ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของแพ็คเกจ

    4ไม่ทราบว่าโทรศัพท์สามารถเชื่อมต่อเองได้อัตโนมัติ

    4ไม่ทราบอัตราค่าบริการในต่างประเทศ หรือคิดว่าราคาเท่ากับค่าบริการในต่างประเทศ

     

    วิธีการแก้ไข

    ตั้งค่าเครื่องโทรศัพท์ให้เชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์โดยผู้ใช้เลือกก่อน (Manual Connect) เท่านั้น อาจเสียเวลาการตั้งค่าแบบเชื่อมต่อสัญญาณอัตโนมัติ (Automatic Connect) แต่ก็ปลอดภัยกว่า

    4การตั้งค่าสำหรับระบบ iOS

    Settings > Carrier > ปิดการเลือกค่า Automatic

    4การตั้งค่าสำหรับระบบ Android

    Settings > Wireless and Networks > Mobile Networks > Network Operators > Search Network > เลือกชื่อของเครือข่ายที่จะใช้งาน

     

    หลังกลับจากต่างประเทศแล้ว อย่าลืมโทรศัพท์ไปยกเลิกโรมมิ่ง กับบริษัทเครือข่ายผู้ให้บริการ เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องโทรศัพท์ของเราไปเชื่อมต่อสัญญาณของประเทศเพื่อนบ้าน จะทำให้เสียค่าบริการเพิ่มอีก

     

    2.    การซื้อซิมการ์ดของต่างประเทศ

    ข้อดี   ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการเปิดโรมมิ่ง หาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ

    ข้อเสีย  โทรศัพท์บางประเภทที่ใช้ซิมการ์ดแบบพิเศษ เช่น นาโนซิม (Nano Sim) หรือไมโครซิม (Micro Sim) อาจหาซื้อได้ยากกว่า

     

    3.    การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi ของโรงแรมหรือสถานที่ต่างๆ

    ปัจจุบันแทบทุกโรงแรมมีอินเทอร์เน็ต Wi-Fi ให้บริการฟรีถึงในห้องนอน บางโรงแรมอาจปล่อยสัญญาณเฉพาะในล็อบบี้ ส่วนสถานที่อื่นๆ ก็มักมีแพ็คเกจอินเทอร์เน็ตรายชั่วโมง หรือรายวันให้เลือกซื้อตามความต้องการ วิธีนี้เหมาะกับผู้ไม่จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารตลอดเวลา
     

    อ่านเพิ่มเติม Roaming VS SIM Card VS Wi–Fi Router เลือกอันไหนดี

     

    จบไปแล้วกับ STEP 3 Part 1 นะคะ หวังว่านักเดินทางมือใหม่จะเลือกใช้บริการได้ถูกต้องตามความต้องการของตนเองได้แล้วนะคะ สำหรับตอนหน้าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ขออุบไว้เช่นเคย


    © themy  butter

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×