ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การสร้างเว็บไซของตัวเองง่ายๆๆ

    ลำดับตอนที่ #9 : โครงสร้างพื้นฐาน HTML (แบบละเอียดมีภาพประกอบครับ)

    • อัปเดตล่าสุด 1 เม.ย. 49


    โครงสร้างพื้นฐาน HTML
    โครงสร้าง พื้นฐานของภาษา Computer เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ของการเขียนภาษา Computer โดยทั่วไปแล้ว มันจะต้องถูก เขียนขึ้นทุกครั้ง ภาษา HTML ก็เหมือนกับภาษา Computer ทั่วๆไป ที่มี โครงสร้าง พื้นฐานเฉพาะ ของมันคำสั่งของ HTML ส่วนมากจะถูกกำหนด อยู่ในเครื่องหมาย < และ > ซึ่งถูกเรียกว่า Tag สำหรับในส่วนของคำสั่ง Tag ภายในคำสั่ง โครงสร้าง พื้นฐาน พอที่จะ อธิบายคร่าวๆได้ดังนี้

    image 1
    Title(ชื่อหัวเรื่อง) == ดูรูป ด้านซ้ายมือ บรรทัดที่ 3
    จะถูกกำหนด อยู่ภายใน Tag คำสั่ง
    <HEAD>
    <TITLE> ชื่อหัวเรื่อง </TITLE>
    </HEAD>

    ข้อมูลที่ถูก เขียนอยู่ภายใน Tag จะแสดงผล ออกมาให้เห็น ที่บนบาร์ของ Web Browser

    ข้อมูลที่ต้องการแสดงผล
    จะเป็นส่วนที่แสดงให้เราเห็นไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร,รูปภาพ,ตาราง ฯลฯ (คำสั่งที่ ต้องการแสดงผล จะอยู่ ระหว่าง tag BODY ทั้งหมด) ซึ่งถูกกำหนดอยู่ ระหว่าง คำสั่ง
    <BODY>
    จนถึงคำสั่ง
    </BODY>

    ดูตัวอย่างได้ที่รูปด้านซ้ายมือ ในบรรทัดที่ 5 ถึง 8

    image 2

    คำสั่งComment Tag
    เป็นคำสั่งที่ใช้ ในการอธิบาย อยู่ภายใน HTML จะไม่มีการแสดงผล ออกมาที่ Browser จะมีประโยชน์
    สำหรับ ผู้ที่จะทำการแก้ไข โปรแกรม ในภายหลัง

    รูปแบบคำสั่ง Comment
    <!--ใส่ข้อความใดๆก็ได้ เพื่อใช้ในการ อธิบาย-->
    จากรูป image 1 บรรทัดที่ 6


    คำสั่งขึ้นบรรทัดใหม่
    <BR>
    เป็นคำสั่ง ที่ใช้กำหนดให้ ข้อความที่เราพิมพ์ ลงไปในเอกสาร ขึ้นบรรทัดใหม่ ได้ตามที่เราต้องการ เพราะ ถ้าเราไม่ใช้ คำสั่งสั่งให้เอกสาร แสดงผลขึ้นบรรทัดใหม่ การแสดงผล ของข้อความ จะแสดงต่อกัน ไปเรื่อยๆ แม้ว่าเราจะ พิมพ์ข้อความ ขึ้นบรรทัดใหม่ ก็ตาม


    คำสั่งการย่อหน้าใหม่ รูปแบบคำสั่ง
    <P>........... </P> หรือ <P>
    มีลักษณะคล้ายกับคำสั่ง < BR > แต่คำสั่งนี้จะมีการเว้น บรรทัดว่าง ให้หนึ่งบรรทัด เพราะบางครั้ง เราต้องการ เว้นบรรทัดว่าง หนึ่งบรรทัด แต่โปรแกรม Web Browser จะไม่เข้าใจการพิมพ์ บรรทัดเปล่า

    image 3
    โปรดสังเกต การใช้คำสั่ง และข้อความในวงเล็บ ของรูปที่ 3 และเปรียบเทียบกับการแสดงผลในรูปที่ 4 ท่านจะเข้าใจ มากขึ้นครับ
    โปรดสังเกต ในรูปที่ 3 ข้อความ "(สังเกตตรงนี้เพราะมีการ พิมพ์ขึ้นบรรทัดใหม่)" จะพิมพ์ขึ้นมายัง บรรทัดใหม่ แต่การแสดงผล ในรูปที่ 4 ข้อความนี้ จะไม่ขึ้น บรรทัดใหม่แต่อย่างใด

    image 4
    เส้นคั่นบรรทัด
    เป็นคำสั่งที่ใช้แบ่งข้อความของจอภาพให้เป็นส่วนๆ

    รูปแบบคำสั่ง
    <HR>

    ตัวอย่างการใช้คำสั่ง

    <HTML>
    <HEAD>
    <TITLE> เส้นคั่นบรรทัด</TITLE>
    </HEAD>
    <BODY> Hello ! <P> เห็นผมไหม?
    <HR>
    </BODY>
    </HTML>

    <HTML>
    <HEAD>
    <TITLE> เส้นคั่นบรรทัด</TITLE>
    </HEAD>
    <BODY> Hello ! <P> เห็นผมไหม?
    <HR>
    </BODY>
    </HTML>

    การแสดงผล

    Hello !

    เห็นผมไหม?


    © สงวนลิขสิทธิ์ ; หากท่านเห็นว่าข้อมูลใน SansukHTML นี้เป็นประโยชน์ และต้องการนำไปเผยแพร่ให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไป โปรดบอกด้วยครับว่าได้ข้อมูลมาจาก http://www.sansukhtml.com
    ติดต่อผู้เขียน e-mail : webmaster@sansukhtml.com , ICQ# 25368328 , website : http://www.cyber2net.com
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×