ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ชีวิตติดปีก...เรื่องเล่าจากเด็กการบิน

    ลำดับตอนที่ #9 : รู้ไว้ใช่ว่า...IATA & ICAO Code

    • อัปเดตล่าสุด 8 ก.ย. 63





    ก่อนอื่นเลยขอเกริ่นนิดๆ ว่า IATA กับ ICAO เกี่ยวกับการบินยังไง...บางคนอาจจะเคยได้ยิน หรือคุ้นๆ ICAO มาแล้วจากข่าวที่มีการมาตรวจสอบในไทย 55+


    IATA 
    พูดง่ายๆ ก็คือ กลุ่มของสายการบิน หรือแอร์ไลน์ที่รวมตัวกันทั่วโลกจัดตั้งขึ้นมา ออกแนวเชิงพาณิชย์ และได้มีการทำข้อตกลงร่วมกัน แต่ที่รวมกันไม่ได้หมายความว่าสายการบินทุกสายการบินในโลกจะอยู่กลุ่มนี้นะ บางสายการบินของบางประเทศก็ไม่เข้าร่วมคร้าบ...ส่วนโค้ดของ IATA จะเกี่ยวข้องกับงานด้านแอร์ไลน์เป็นหลัก เช่น ออกตั๋ว, จองตั๋ว, ตารางบิน, ขนส่งสินค้า ฯลฯ


    IATA tackles regulatory red tape | TTR Weekly



    ICAO 
    นี้ให้คิดว่าเป็นน้องของ UN หรือองค์การสหประชาชาติ มีหน้าที่กำหนดกฏเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ ทั่วโลก และทำให้เป็นมาตรฐานเหมือนๆ กัน ออกแนวแบบคุยรัฐต่อรัฐ และกฏหมายมีผลบังคับใช้...ประเทศไหนจะมีมาตรฐานสูงกว่าไม่ว่า แต่ห้ามต่ำกว่าที่เขากำหนดไว้ :]...โค้ดของ ICAO จะเกี่ยวข้องกับงานด้าน operation เป็นหลัก ส่วนอาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น นักบิน, ATC, นักบินโต๊ะ/คนทำ flight plan/flight dispatcher ฯลฯ


    ICAO - ASEC - Airspace Supervision & Efficiency Center


    โอเคค มาเข้าเรื่องกันดีกว่า เรื่องของ code พี่เชื่อว่าหลายๆ คนคงคุ้นกันดี ถ้าเคยขึ้นเครื่อง หรือไม่เคยก็ยังคุ้นเลย โค้ดของ ICAO จะมีจำนวนที่เยอะกว่าของ IATA นะ...ตามที่พี่เจอมาโค้ดมีสองแบบ

    1. Code ของสายการบิน
    ของ IATA จะมีแค่สองตัว ส่วน ICAO จะมีสามตัว
    ยกตัวอย่าง เช่น

    TG / THA ของสายการบินไทย
    PG / BKP ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์
    SL / TLM ของไทยไลน์อ้อนแอร์
    DD / NOK ของสายการบินนกแอร์
    FD / AIQ ของสายการบินไทยแอร์เอเชีย
    WE / THD ของสายการบินไทยสมายล์

    เป็นต้น


    โค้ดของ ICAO เวลาเรียกจะพิเศษกว่าของ IATA หน่อยนึงตรงที่ เวลาเรียกไม่ใช่แค่ ที-เฮช-เอ ของการบินไทย แต่เวลาเรียกจะเรียกว่า "ไทย" หรือ "THAI" แบบนี้เขาเรียกว่า Call Sign...เวลาที่นักบินติดต่อกับ ATC ก็จะใช้ Call Sign แทนเครื่องตัวเอง แค่เพิ่มตัวเลขเข้าไปไม่ให้ซ้ำกับลำอื่นๆ ที่อยู่สายการบินเดียวกัน เช่น

    THA601
    TLM8510
    NOK5013

    เป็นต้น

    พี่จะเพิ่มเติม Call Sign ของสายการบินที่ยกตัวอย่างมาให้ ถ้าใครอยากรู้ก็ลองไปหาข้อมูลเพิ่มเติมดูเน้อ...อ่อ แล้วก็ Call Sign ต้องเขียนเป้นตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้นนะ

    THA = THAI
    BKP = BANGKOK AIR
    TLM = MENTARI
    NOK = NOK AIR
    AIQ = THAI ASIA
    THD = THAI SMILE


    note: ลิงค์เพิ่มเติมสำหรับ airline code 


    2. Code ของสนามบิน
    ของ IATA มีสามตัว ส่วน ICAO มีสี่ตัวครับ...IATA จะดูง่าย เพราะ โค้ดจะคล้ายกับชื่อสนามบินเลย ส่วน ICAO จะดูยากหน่อย ซึ่งโค้ดสนามบิน ICAO จะมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Location Indicator ทำไมถึงต้องมีชื่อแบบนี้เดี๋ยวจะอธิบายต่อไปนะครับ...ก่อนอื่นจะเอาโค้ดของสนามบินในไทยมาเป็นตัวอย่าง

    BKK / VTBS = สุวรรณภูมิ
    DMK / VTBD = ดอนเมือง

    HKT / VTSP = ภูเก็ต
    CNX / VTCC = เชียงใหม่
    HDY / VTSS = หาดใหญ่
    CEI / VTCT = เชียงราย
    UBP / VTUU = อุบล
    HHQ / VTPH หัวหิน
    PHS / VTPP พิษณุโลก
    KOP / VTUW นครพนม

    IATA ไม่ยากมากเนอะ พอเดาๆ ได้...แต่ที่งงๆ คือ ICAO สี่ตัว ใครสังเกตมั่งว่ามันขึ้นต้นด้วย VT หมดเลย
    ใช่แล้วว! VT คือประเทศไทยนั้นเอง ฉะนั้นโค้ด ICAO สนามบินในประเทศไทยจะขึ้นต้นด้วย VT โค้ดนี้จะบอกถึงโซนพื้นที่ว่าอยู่ประมาณส่วนไหนของโลก ไม่ใช่โค้ดประเทศนะ เพราะ บางทีโค้ดชุดหน้าเหมือนกันแต่เป็นคนละประเทศเลย

    ถัดมาจาก VT ตัวหนึ่งจะเป็น B บ้าง S บ้าง C บ้างใช่ปะ...พอจะเดาได้ไหม?
    มันคือโค้ดบอกภาคนั้นเองว่าสนามบินนี้อยู่ประมาณส่วนไหนของไทย แต่ก็ไม่ทุกสนามบินนะที่จะมีโค้ดนี้แล้วต้องอยู่ภาคนั้นๆ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้น
    โค้ด B และ P คือภาคกลาง
    โค้ด S คือภาคใต้
    โค้ด C คือภาคเหนือ
    โค้ด U คืออีสาน

    โค้ดอันสุดท้ายบางทีก็เดาได้บางทีก็เดาไม่ได้ เอาเป็นว่าช่างมัน 555+...มีเคล็ดลับอีกอย่างที่อยากให้สังเกต เห็นบางสนามบินมีโค้ดสองตัวหลังที่ซ้ำกันปะ? มันหมายถึงสนามบินที่อยู่ในเมืองสำคัญๆ หรือสนามบินศูนย์กลางของภาคนั้นๆ ส่วน VTBB ไม่ใช่ไม่มีนะ มีแต่มันไม่ใช่สนามบิน เป็นคล้ายๆ ประเทศไทยทั้งประเทศอะ


    ICAO airport code - Wikiwand




    ************************************************
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×