ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติหลวงพ่อทวดเหยียบทะเลน้ำจืดและคุณอภินิหารพระเครื่องฯ

    ลำดับตอนที่ #3 : คำปรารถ

    • อัปเดตล่าสุด 25 ธ.ค. 52


    คำปรารถ
    _____________


             งานฉลองโบสถ์วัดช้างให้ครั้งนี้   ท่านทิมธมมธโณ ( ท่านพระครูวิสัยโสภณ )  เจ้าอาวาสได้ปรารถว่า  โบสถ์ของวัดช้างให้สร้างขึ้นด้วยเงินทุน  ประมาณ ๘ แสนบาท  และได้สำเร็จลงในเวลาอันรวดเร็ว  ทั้งนี้เป็นเพราะได้อาศัยแรงศรัทธาของพี่น้องผู้ใจบุญทั้งหลาย   มีความสามัคคีร่วมจิตร่วมใจกัน  บ้างสละทรัพย์  บ้างสละแรงงานช่วยสนับสนุนจนโบสถ์นี้สำเร็จ   ด้วยความสวยงามเป็นศรีสง่าสมเกียรติแก่พระศาสนา   ดังประจักษ์แก่สายตาของพี่น้องทั้งหลายในขณะนี้

                อีกประการหนึ่งท่านพระครูฯ  ทราบด้วยญาณวิลีว่าการสร้างโบสถ์หลังนี้  สำเร็จทันความปรารถนาของพี่น้องทั้งหลายนั้น  เกิดจากอำนาจบารมี  และอภินิหารของหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ผู้ทรงอำนาจศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตย์คู่กับวัดช้างให้  ท่านทรงดลบันดาลส่งเสริมศรัทธาของพี่น้องทั้งหลาย  และขจัดปัดเป่าอุปสรรคนานาประการ  ที่จะเข้ามาขัดขวางการก่อสร้างโบสถ์  ที่สุดก็สำเร็จลงตามความประสงค์
                เหตุดังกล่าวนี้ท่านพระครูวิสัยโสภณเจ้าอาวาส  จึงปรารถนาจะสร้างหนังสือ   อันมีเรื่องเกี่ยวกับตำนานหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด   ครั้งที่ท่านยังมีชีวิตครองสมณศักดิ์อยู่    จัดพิมพ์ขึ้นแจกแก่พี่น้องผู้ร่วมบุญในการฉลองโบสถ์ไปไว้เป็นที่ระลึกในงานนี้

               ข้าพเจ้าผู้เขียน  จึงได้จัดการสนองความปรารถนาของท่านพระครูเจ้าอาวาส  ตามความสามารถเท่าที่มี  และหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเรื่องมาจาก  ตำนานวัดพะโคะและนิยายโบราณซึ่งเล่าสืบต่อกันมา  และผู้เขียนได้รับความเมตตาจากพระคุณเจ้าถึง  ๔ องค์  เป็นผู้ให้เรื่องดังจะขอกล่าวนามท่านต่อไปนี้   คือ
                                   ๑. ท่านเจ้าคุณพระปริวัติวรากร  วัดตานีนรสโมสรกรุณาคัดลอกตำนานวัดพะโคะ  อำเภอจะทิ้งพระ  จังหวัดสงขลามาให้
                                   ๒. ท่านสง โฆสโก  เจ้อาวาสวัดพะโคะ  กรุณาเล่านิยายเกี่ยวกับสมเด็จเจ้าพะโคะ
                                   ๓. พระอุปปัชฌาย์ดำ ติสสโร  เจ้าอาวาสวัดศิลาลอย  อำเภอจะทิ้งพระ  จังหวัดสงขลา  กรุณษเล่าเรื่องสมเด็จเจ้าพะโคะเพิ่มเติมจากตำนานต้าฉบับเดิม
                                   ๔. ท่านอาจารย์ทิม  ธมมธโร ( ท่านพระครูวิสัยโสภณ )   เจ้าอาวาสวัดช้างให้  กรุณาเล่านิยายอันสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณกาล     เรื่องท่านลังกาหรือท่านช้างให้องค์แรก
                          นอกจากนั้นผู้เขียนได้รับทราบจากผู้เฒ่าผู้แก่  และพบในหนังสือเก่าๆบางเรื่อง    จึงได้จัดการรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นเป็นเล่ม   ดังที่ท่านกำลังอ่านอยู่ขณะนี้
                           หนังสือนี้เป็นรูปเล่มขึ้นมาได้   เพราะผู้เขียนได้รับความเมตตาจากพระคุณเจ้าทั้ง ๔ องค์  ตามที่กล่าวนามมาแล้ว  แต่ผู้เขียนได้รวบรวม  และเรียบเรียงขึ้นเป็นเล่ม  ดังที่ท่านกำลังอ่านอยู่ขณะนี้
                           หนังสือนี้เป็นรูปเล่มขึ้นมาได้  เพราะผู้เขียนได้รับความเมตตาจากพระคุณเจ้าทั้ง ๔ องค์  ตามที่กล่าวนามมาแล้ว  แต่ผู้เขียนได้จัดการรวบรวม  และเรียบเรียงตลอดถึงการจัดสั่งพิมพ์  หากเรื่องในหนังสือนี้ขาดตกบกพร่องด้วยประการใดๆ ผู้เขียนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะน้อมรับผิดชอบแต่ผู้เดียว 
                           ตำนานวัดพะโคะและสมเด็จเจ้าพะโคะ  ได้บันทึกกันไว้ช้านานหลายร้อยปีมาแล้ว   ซึ่งผู้เขียนได้อ่านพบในหนังสือตำนานพัทลุงและตรังเล่มที่ ๑ หน้า ๑๓ กล่าวไว้เป็นคำกลอนตอนหนึ่ง  ความว่า
    ท่านเป็นชาวตลุง  (พัทลุง)  ชื่อว่าสามีราม
    ได้เจอะพราหมณ์ผู้เฒ่าชาวลังกา
    เมื่อคราวครั้งเรียนธรรมประจำกรุง ( กรุงศรีอยุธยา )
    พระเฟื่องฟุ้งเปรื่องปราชญ์ทางศาสนา
    ได้แปลธรรม ( แปลพระไตรปิฏกในเมล็ดทองคำ๘๔,๐๐๐เมล็ด )ชนะพราหมณ์ผู้เฒ่าชาวลังกา
    พระราชาแต่งตั้งที่  พระราชมุนี (ในตำนานว่าพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ )
    กลับตลุงมุ่งคิดแต่กิจศาสน์  จิตหมายมาตรปรุงเมืองให้เรืองศรี
    สร้างศาลา  โบสถ์  วิหาร  และเจดีย์  ลงในวัดพะโคะอันโสภา
                                ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์  ( ต้นรัชกาลพ.ศ.๒๑๙๙  ปลายรัชกาล พ.ศ.๒๒๓๑ )  ท่านจึงได้จารึกไว้ศึกษา  เป็นตำนานวัดพะโคะแต่นั้นมา  นับเวลาไม่น้อยกว่าสามร้อยปี  เช่นนี้เป็นต้น
                   หนังสือเรื่องนี้ได้มาจากตำนานเก่าๆ และนิยายซึ่งเล่าสืบต่อๆกันมาแต่โบราณ  ซึ่งเป็นเวลานานลวงมาหลายร้อยปีแล้ว   จึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะไม่ให้มีการขากตกบกพร่อง  อีกประการหนึ่งผู้เขียนก็เป็นนักเยนจำเป็น   ซึ่งไม่มีความชำนาญในงานนี้  แต่มีใจอดทนยอมรับคำติชมและตักเตือน   จากท่านผู้ชำนาญอยู่พร้อมแล้ว  โดยมิได้หวั่นไหวประการใด   เพราะผู้เขียนมีเจตนาแน่วแน่และแรงกล้ายอมเสียสละด้วยประการทั้งปวง   เพื่อสนองพระคุณหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด  ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นศิษย์มีจิตเลื่อมใสเคารพ   ในองค์ท่านอย่างแรงกล้า   แม้พระวิญญาณขององค์สมเด็จท่านสถิตย์อยู่  ณ  ทิตย์พิมานสถานใด  โปรดได้รับทราบด้วย  ญาณวิถีถึงเจตนาอันบริสุทธิ์ของศิษย์ผู้ใจภักดีนี้เทอญ.



                                             อนันต์  คณานุรักษ์

                                                         ๒๙  อาเนาะรู   ปัตตานี





                           

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×