คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : ระบบย่อยอาหารม.4 [[[[100%]]]]
ระบบย่อยอาหาร
>>รูปแบบการย่อยอาหาร
- ภายในcell : โพรโตซัว ฟองน้ำ ไฮดรา
- ภายนอกcell : แบคทีเรีย เห็ด รา ยีส ตั้งแต่ไฮดราขึ้นไป เซลล์เยื่อบุอาหารของสัตว์ชั้นสูง ง
NOTICE : ไฮดรานั้นจะมีทั้งการย่อยภายในและภายนอก
>> ท่อทางเดินอาหาร
- ไม่มีท่อทางเดินอาหาร : จุลินทรีย์ เห็ด รา ยีส ฟองน้ำ โปรโตซัว
- มีท่อทางเดินอาหาร
แบบสมบูรณ์ : มีช่องเปิด 2 ช่อง พวกนี้ได้แก่ ตั้งแต่ไฟลัม นีมาโทดาขึ้นไปนะ หนอนตัวแบนน่ะ
แบบไม่สมบูรณ์ : มีช่องเปิด 1ช่อง พวกที่ต่ำกว่าไฟลัมนีมาโทดา ยกเว้น น พวกพยาธิตัวแบนและตัวตืดด
>> การย่อยอาหาร
- เชิงกล : บดเคี้ยว ตีไขมัน การบีบตัวของลำไส้ เป็นต้น
- เชองเคมี : พวกที่มีเอนไซม์มาช่วยย่อยไรงี้อ่ะ ><
โปรโตซัว
>> อะมีบา
- เอาซูโดโพเดียมจับอาหาร
- ยัดเข้าปากก
- อาหารจะเข้าไปอยู่ในแวคคิวโอ
- ในนั้นจะปล่อย ไลโซโซมมาย่อย
- อิ่ม= =
- ปวดอุนจิ = = อุนจิน่าจะรวมร่างกันที่คอนแทร็กไทล์แวคคิวโอ
- ปล่อยโดยการแพร่
- จบ 555
>> พารามีเซียม
- ใช้ซีเลียพัดอาหารเข้าปาก
- อยู่ในรูปแวคคิวโอ อีกแระ
- อิ่ม
- กากอาหารไปรวมกันที่ คอนแทร็กไทล์แวคคิวโอ
- อึออกมาซะ!!
- จบ = =
NOTICE : ฟูดแวคคิวโอของโพรโตซัว จะถูกย่อยโดย ไลโซโซม
ไลโซโซมจึงเปรียบเหมือน ตับอ่อน และลำไส้เล็กของเรา !!!
ไฟลัมพอริฟอร่า
ว่าด้วยฟองน้ำนั่นเอง
<< เฮ้ย ยรูปนี้ไม่ใช่ = =
อันนี้ตะหาก = =
ไฟลัม ซีเรนเทอราต้า
พระเอกของไฟลัมนี้ก็ ไฮดรานะคร้าบ บ ~
รายนี้ก็มี ช่องแกสโคว่าวาสคิวล่าเช่นกันนะ^^
ภาพเดียวครบครัน 55
มาดูวิธีกินกันนะ
- ใช้เทนตาเคิล (หนวดมันอ่ะ) ปล่อยพิษ ปิ้วๆๆ
-เหยื่ออึ้ง ทำไรของมันว่ะ = = (เอ่อ มันเป็นอัมพาตจากพิษน่ะ)
-มันก็เลยจับเหยื่อเข้าช่องว่างแห่งลม = = (ช่องแกสโตวาสคิวล่า คาวิตี้ตะหาก) รู้สึก แป้กแหะ T^T
-ที่ช่องนั้นก็จะมีเซลล์ 2ชนิดนะ
>> ไดเกส เซลล์ ตัวนี้จับอาหารที่ถูกปล่อยลงมาจากช่องแกสโตวาสคิวล่า คาวิตี้ (ย่อยอาหารภายในเซลล์)
ตรงภาพไม่ได้ชี้ให้อ่ะ เอาเป็นว่ามันอยู่สลับกับ แกลน เซลล์น่ะ ตรงที่แรเงา กับไม่แรเงาอ่ะ ^^
>> แกลน เซลล์ สร้างเอนไซม์ย่อยอาหารข้างนอก (ย่อยอาหารภายนอกเซลล์)
ไฟลัมแฟลตเวิร์ม
พวกหนอนตัวแบน พลานาเรีย ไรงี้^^
ตัวนี้พัฒนาจากพวกที่กล่าวมาแล้วหน่อยนึง
มีคอหอยนั่นเองนะ
แต่ก็ยังมี ช่องแกสโตอยู่นะ
ภาพนี้คอหอยมันโดนทับอยู่ ><"
<<< หน้าอย่างกะปลาหมึก = =
อ๊ะๆๆ มันกินยังไง
-ปล่อยเมือกใส่เหยื่อ
-คลุมเหยื่อ
-ใช้คอหอยจับเหยื่อกินซะ
-แค่นี้ก็อร่อยแระ~
และแล้วเราก็มาถึงไฟลัมที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์สุดเป็นไฟลัมแรกกก
นั่นคือ
คือ
ไฟลัม นีมาโทด (หรือนีมาโทด้า หว่า = =)
พวกหนอนตัวกลมนั่นเอง
สิ่งที่มันพัฒนาเพิ่มมาก็คือ
ตูดนั่นเอง 555
อย่าลืม ลำไส้ก็มีนะ^^
ไฟลัมแอนีลิด
ไส้เดือนดินนี่เอง
พวกนี้ก็พัฒนาอีกขั้นนะคือ
มี crop ที่พักอาหาร
มี gizzard กึ๋นน่ะ บอกได้ว่ามันทำหน้าที่แทนฟันเลยล่ะ เพราะไส้เดือนดินไม่มีฟัน 555
มี esophagus หลอดอาหารจ้ะ
ไฟลัมอาร์โทพอร์ด
พวกแมลงนั่นเองง ง~
พวกนี้ก็เป็นกลุ่มที่ไม่มีฟันน่ะ แน่นอน มันมี กึ๋น
ก็เลยมีอะไรๆคล้ายๆไส้เดือนน่ะ ^^
พวกนก กก
นก นก นั่นเอง 55 (ไก่ เป็ดไรพวกนี้ด้วยน้า)
พวกนี้ก็ไม่มีฟัน มีกึ๋น
ปาก >> หลอดอาหาร >> ที่พักอาหาร >>> ท้อง >>> กึ๋น >>> ลำไส้ >> ตูด
พวกปลา
ปลานี่น่าจะไม่มีกึ๋นนะ มันมีฟันอ่ะ= =
ที่เหลือก็เหมือนเดิมน้า
ปลากินเนื้อ ลำไส้สั้น
ปลากินพืช ลำไส้ยาว
มาดูสัตว์เคี้ยวเอื้องกันเถอะ
พวก วัว ควาย แพะ กวาง อ่ะ
อย่างที่รู้ๆกันอยู่ว่ามันมี 4 กระเพาะนั่นเอง ^^
แต่ความจริง มันมีกระเพาะที่แท้จริแค่ 1 กระเพาะนะ
ที่เหลือมันเป็นหลอดอาหารที่โป่งออกมา
(ถ้าหลอดอาหารเราโป่งมั่งคงน่าเกลียดทีเดียว = =)
4กระเพาะที่ว่ามี
1. RUMEN ผ้าขี้ริ้ว
2. RETICULUM รังผึ้ง
3. OMASUM สามสิบกลีบ
4. ABOMASUM
ให้ทายว่าอันไหนกระเพาะอาหารจริงๆ? ??
ฮันแน่ ทายถูกละสิ ก็เพราะไออันสุดท้ายไม่ยอมเขียนชื่อใช่ม่ะ
เพราะชื่อภาษาไทยคือ กระเพาะอาหาร ถ้าเขียนก็ตอบถูกอ่ะดิ 555 (ไม่เขียนก็ตอบถูก = =)
3กระเพาะข้างต้นมี แบคทีเรียด้วยนะ
ซึ่งแบคทีเรียจะ
- หมักเซลลูโลสได้ กรดไขมัน กรดอินทรีย์
- สังเคราะห์ วิตามิน B12 , K
- สังเคราะห์ กรดอะมิโน
แล้วกระเพาะที่แท้จริงทำไรหรอ
สร้าง pepsin ไง ^^ เอาไว้ย่อยโปรตีน กระเพาะเราก็มีนะ
เคยได้ยินกันว่า พวกนี้มันเคี้ยวเอื้องกันใช่มะ
มันเคี้ยวกันอย่างงี้
ปาก > หลอดอาหาร > รูเมน >เรติคูลัม >โอมาซัม > อะโบมาซัม (อันนี้เคี้ยวปกติ)
ปาก > หลอดอาหาร > รูเมน (บางส่วนมาถึงนี้บางส่วนจะบีบตัวย้อนกลับไปที่ปากเพื่อเคี้ยวตัดเส้นใยพืช)>เรติคูลัม(บางส่วนจะสำรอกกลับที่หลอดอาหาร) >โอมาซัม > อะโบมาซัม
ระบบย่อยอาหารของค นน!!
ระบบย่อยอาหารของเราเองไม่ต้องเรียนก็ได้มั้ง ง 555+
อ่าๆๆ
เอาเป็นว่ามาเริ่มกันที่ปาก
ในปากมี
-ลิ้น
-ต่อมน้ำลาย
-ฟัน
มาดูลิ้นกันดีกว่า
เอ้า แลบลิ้น น~
ภาพเดียวไม่ต้องอธิบายเลย 55 (เราก็แค่รู้ว่าตรงไหนรับรสอะไร แล้วก็มันช่วยคลุกเคล้าอาหาร ^^)
ต่อมาก็ต่อมน้ำลาย
มี 3ต่อมใช่มะ
1. ใต้ลิ้น 5%
2. ใต้ขากรรไกร 70%
3. ข้างกกหู 25 % << ใหญ่สุดเลยนะเนี่ยอันเนี้ย ถ้าอักเสบจะเป็นคางทูม
และก็ฟัน
dentin -เนื้อฟัน
enamel - สารเคลือบฟัน
pulp cavity - โพรงฟัน
root canal - เป็นทางที่เส้นเลือดและเส้นประสาทเข้าสู่โพรงฟัน
เห็นตรงแดงๆระหว่างฟันกับเหงือกมะ เรียกว่า cementum - เป็นสารเคลือบรากฟันจ้ะ
มาทบทวนความรู้ประถมกัน
ฟันน้ำนมมีกี่ซี่ 20 ซี่จ้ะ
ฟันแท้อ่ะ (ส่องกระจกแล้วนับกัน 55+) 28-32ซี่จ้ะ
(เอ..อีก 4 ซี่หายไปไหน ฟันคุดไง= = บางคนอาจไม่คุดนะ เราก็ยังไม่เป็น = =)
แล้วมันมีฟันอะไรบ้างนะ
incisor ฟันตัด 8 ซี่
canine ฟันเขี้ยว 4 ซี่ (สัตว์กินเนื้อ)
premolar กรามหน้า 8 ซี่
molar กรามหลัง 12 ซี่ (สัตว์กินพืช)
ในฐานะที่เรากินทุกอย่าง = = ก็เลยมีครบทุกแบบ 555+
อ่ะ มาดูสูตรฟันแท้กัน
เหมือนแบ่งฟันเราเป็น 4 ส่วนน่ะ ^^
เราเคยเกือบโดนข้อสอบหลอกอ่ะ มันถามสูตรฟันน้ำนม ถ้าเป็นฟันน้ำนมจะไม่มีฟันกรามหลังจ้ะ
ยังไงเพื่อนๆก็ระวังด้วยนะ ^^
มาดูกันว่าในปากเรามีการย่อยอาหารยังไงมั้ง??
1. ย่อยเชิงกล - ตอนเราเคี้ยวไง งั่มๆ yummy !!
2. ย่อยเชิงเคมี - ใช้เอนไซม์มะไมเลส ในน้ำลายย่อยคาร์โบไฮเดรตให้เป็นโมเลกุลสั้น(dextrin)
หรือ moltose บ้างนะ ^^
แป้ง ------------(อะไมเลส)----------> dextrin , moltose
การกลืนอาหาร
เพื่อความเข้าใจเพื่อนๆลองนึกถึงตอนตัวเองกำลังกลืนอาหารด้วยจะเข้าใจยิ่งขึ้นนะ ^^
(ตอนแรกเราก็งงๆ แต่พอลองกลืนข้าวไปนึกถึงกลไกการกลืนอาหารด้วยก็เข้าใจมากขึ้นนะ)
ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า การกลืนอาหารถูกควบคุมโดย สมองส่วน Medulla oblongata
คอหอยมีช่องเปิด 5 ช่อง ปาก จมูก หู หลอดอาหาร หลอดลม
- เพดานอ่อนยกขึ้นปิดรูจมูก
- ลิ้นจะหดเขาไปดันอาหารให้เข้าหลอดอาหาร
- ฝาปิดกล่องเสียง (Epiglottis) จะเป็นตัวปิดหลอดลม (ตัวนี้คงต้องจำอ่ะ เพราะต่อให้สังเกตุตอนกลืนยังไงก็คงไม่รู้อยู่ดี 555)
- กล้ามเนื้อที่ผนังคอหอยจะบีบลงหลอดอาหาร จ้ะ
**(ใครเคยสำลักมั้ง= =)
ต่อมาอาหารที่เรากินก็จะอยูในหลอดอาหารแระ
- ยาว 25 cm สิ้นสุดที่กระเพาะอาหาร
-ไม่สร้างน้ำย่อยนะ
-จะมีต่อมสร้างเมือก mucous ช่วยให้หล่อลื่นให้สะดวกน่ะ
- แล้วก็จะมีการบีบตัวแบบ Peristalsis (อาศัยการบีบตัวกล้ามเนื้อตามวงและตามยาวทำงานแบบ antogorism ตรงกันข้ามน่ะ)
กระเพาะอาหาร
กระเพาะเราขยายได้ถึง 10-40 เท่าแน่ะ
ขยายได้ไงรูมะ เพราะเรามี Rugae เห็นมั้ยว่ามันย่นๆอ่ะ เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวขณะกระเพาะขยายตัวจ้ะ
กระเพาะแบ่งได้ 3 ส่วน
1. Fundus - ส่วนที่เป็นรูปโดมคล้ายบอลลูน
2. body - ส่วนตรงกลาง ใหญ่ที่สุด!!
3. Pylorus - เป็นส่วนท้ายติดกับลำไส้เล็กตอนต้น
กระเพาะมีหูรูดด้วย
1. Cardiac sphinter - ตรงนี้ติดกับหลอดอาหาร ป้องกันไม่ให้อาหารกลับไปในหลอดอาหาร
2. Pyloric spginter - ตรงนี้ติดกับลำไส้เล็กตอนต้น ป้องกันไม่ให้อาหารลงสู้ลำไส้เล็กเร็วไป
มาดูเซลล์ที่สร้างสารในกระเพาะกันนะ^^
1. Gastric mucous อันนี้เป็นเซลล์เยื่อบุในกระเพาะอาหาร ดูดซึมพวก แอลกอฮอล์ คาเฟอีน
2. Mucous neck cell หลั่ง mucous เป็นเมือกไว้ป้องกันกรดจ้ะ สมบัติเป็นเบส
3. G-cell หลั่ง Gastrin hormone เอาไว้กระตุ้นกรดไฮโดรลิกอีกทีอ่ะ
4. Chief cell หลั่ง pepsinogen และ prorennin ซึ่งพวกนี้จะยังทำงานไม่ได้นะ
5. Parietal cell หลั่ง HCL - ปรับให้เป็นกรด
Intrinsic factor - มีผลต่อการดูดซึม วิตามิน B12
แล้วการย่อยล่ะ
-เชิงกล : ก็จะมีการคลุกเคล้าและบีบตัวแบบ Peristalsis
-เชิงเคมี : Gastrin hormone กระตุ้น HCL แล้ว..
Pepsinogen + HCL ----------> pepsin แล้วถึงย่อยโปรตีน
Prorenin + HCL ------------> Renin ย่อยโปรตีนในนม(Casein)
Renin + Casein -------------> Paracasein
(พอ Renin ย่อย Casein ให้เป็น Paracasein แล้ว Pepsin จะมาย่อยต่อเอง!!)
ในกระเพาะเรามี Lipaseด้วยล่ะ (มีน้อย) จึงถูกทำลายในสภาพกรด
หลั่งจากย่อยในกระเพาะเสร็จแล้วไซร้ มันก็กลายเป็นของเหลวเรียกว่า "Chyme"แล้วมันก็จะถูกบีบตัวไปที่ลำไส้เล็กนั่นเอง ง!!
สรุปหน้าที่สักนิด
-กระเพาะย่อยโปรตีน
-ลำเลียงอาหารไปที่ลำไส้เล็กอย่างพอเหมาะ
-ให้สาร Intrinsic factor ดูดซึม วิตามิน B12 ซึ่งใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง
(นับว่าสำคัญสุด สำคัญกว่าย่อยโปรตีนอีก เพราะโปรตีนย่อยที่ลำไส้เล็กก็ได้)
เอ.....แล้วทำไมกระเพาะเราไม่โดนย่อยล่ะ??
เพราะ แล้วมี สารเมือก ที่เป็นเบส
เยื่อบุกระเพาะแบ่งเซลล์เร็วอ่ะ
เอ....แล้วทำไมเอนไซม์มันต้องถูกกระตุ้นแล้วค่อยทำงานอ่ะ ช้า น่าเบื่อ = =
เพราะ ถ้ามันทำงานตลอดเวลา กระเพาะเราอาจจะไม่เหลือแล้วก็ได้นะ คิดว่าเมือกอาจจะเอาไม่อยู่
มันก็เลยต้องถูกกระตุ้นเฉพาะตอนที่ต้องย่อยอ่ะ
(ความคิดเห็นส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาน= =)
ว่าด้วยความผิดปกติ
1. กระเพาะอักเสบ
เกิดจาก อาหารเป็นพิษ
อาการ เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเดิน
2. แผลในกระเพาะอาหาร
เกิดจาก มีการทำลายเยื่อบุอาหารมากกว่าการสร้างทดแทน
อาการ ปวดท้องใต้ลิ้นปี่ อาจมีเลือดออก ทำให้อาเจียนเป็นเลือด
3. มะเร็งเยื่อหุ้มกระเพาะ
เป็นมะเร็งที่เกิดที่เยื่อหุ้มชั้นใน เจริญมาที่ผนัง มักพบใน ช>ญ
และแล้ว ว
อาหารก็เดินทางมาถึงลำไส้เล็ก
ลำไส้เล็กแบ่ง เป็น 3 ส่วนนะ
1. Duodenum ส่วนนี้ย่อยอาหารมากสุดอ่ะ
2. Jejunum อันนี้ดูดซึมอาหารมากสุด
3. Ileum อันนี้ก็ดูดซึมอาหารนะ แต่ไม่เท่าเจจูนัม แต่มันก็เป็นส่วนที่ยาวที่สุดจ้ะ
มาดูทีละส่วนนะ
1. Duodenum ตรงนี้มีเอนไซม์จากตับและตับอ่อนมาช่วยย่อยด้วยล่ะ
มาดูตับกันก่อนละกันนะ เพราะมันมาช่วยย่อยไขมันอย่างเดียว น้อยกว่าตับอ่อน 555
ตับ
- มันสร้างน้ำดีแล้วมาเก็บที่ถุงน้ำดี(Gall bladder) เพื่อมาช่วยย่อยไขมันล่ะ
- ย่อยโดยตีไขมันให้แตกตัว เรียกว่า Emulsion
- ซึ่งน้ำดีเนี่ย ประกอบด้วย
- เกลือน้ำดี ซึ่งสร้างมาจาก คลอเลสเตอรอลนั่นเอง ชื่อคุ้นๆเนาะ 555
- สาร Billirubin & Billiverdin ไอสารเนี่ยทำให้น้ำดีมีสีนั่นเอง
ดีซ่าน
โรคอะไรสักอย่าง ที่ทำให้เรามีสาร Billirubin มากไป
ซึ่งปกติมันจะติดไปกับอุนจิ = = แต่คราวนี้มันอยากอยูกับเรานานๆแห๊ะ
ซึ่งเกิดจาก 1. ท่อน้ำดีอุดตัน
อุดตันแล้วไงล่ะ ??
ก็ถ้าอุดตันแล้วมันก็ไป Duodenum ไม่ได้ใช่ปะ มันก็เลยไปทางเลือดแทน เลวจริงๆ- -
ตัวเราก็เลยเหลืองแทน อุนจิ = ="""""
2. ทำลายเม็ดเลือดแดงมากไป
แล้วมันเกี่ยวไรกันอ่ะ
ก็ไอสาร Billirubin เกิดจากการทำลายฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงอ่ะ
ว่าด้วยหน้าที่ของ ตับ (ใหญ่สุดในร่างกาย)
1. สร้างน้ำดีไง 555
2. เป็นนักสะสม = =
- กลูโคสและไกลโคเจน
- วิตามิน A B D
3. ทำลายสารพิษได้อีก
4. เป็นักสังคมสงเคราะห์ เอ้ย !! เป็นแหล่งสังเคราะห์
-โปรตีนหลายชนิด
- ยูเรียจากการเผาผลาญโปรตีน
5. สร้างเม็ดเลือดแดงตอนเป็นตัวอ่อน แต่ตอนโตกลับทำลายซะงั้น - -
6. มันเปลี่ยนกรดแลคติก (รายละเอียดอยู่ในเรื่องการหายใจระดับเซลล์นะ) ให้กลายเป็น Alanine
จบกันทีตับ = =
ตับอ่อนบ้างล่ะ
มันย่อยหมดเลยอ่ะ ทั้ง คาร์โบไฮเดตร โปรตีน ไขมัน
ในตับอ่อนมีอะไรมั้งนะ
- มี โซเดียมไฮโดรเจนคาร์โบเนต เป็นเบส
คอยเปลี่ยน Chyme ที่มาจากกระเพาะซึ่งเป็นกรด-->ด่างอ่อนๆ
- อะไมเลส ทำหน้าที่เหมือนในน้ำลายเลย
- Lipase ย่อยไขมันอีกแระ ซึ่งย่อยไขมันนั้นต้องยกให้มันเป็นพระเอก = =
- Trypsinogen
Chymotrypsinogen
Procarboxy peptidase ตัวสีน้ำเงินทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับการย่อยโปรตีน
ย่อยยังไงเดี๋ยวว่ากันอีกทีนะ ^^
สาธยายมาตั้งเยอะ
แล้วลำไส้เล็กเองมันไม่มีเอนไซม์ย่อยเลยหรอไงฟระ ถึงต้องยืมมือตับและตับอ่อนเนี่ย = =
มีจ้ะมี 555
- Maltase Sucrase Lactase ย่อยพวกคาร์โบไฮเดตรอ่ะ
- Aminopeptidase
Carboxypeptidase
Dipeptidase ตัวสีน้ำเงินทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับการย่อยโปรตีน
ย่อยยังไงเดี๋ยวว่ากันอีกทีนะ ^^
- Lipase ย่อยไขมันนั่นเอง แต่ บอกแล้วไง ย่อยไขมันนั้นต้องยกให้จากตับอ่อนเป็นพระเอก = =
ต่อไปนี้คือการสรุปการย่อยทั้งหลายแล่นั่นเอง ง!!
ย่อยแป้ง
** หมายเหตุ ตรงมอลเตสอ่ะ
อาจเป็น ซูโครส ถ้าเป็นอันนี้ใช้ ซูเครส
แลคโตส ใช้ แลคเตส จ้ะ ^^
ย่อยไขมัน
** Duodenum จะสร้าง Cholecystokinin ไปกระตุ้นให้ ตับอ่อนและถุงน้ำดี หลั่งน้ำดี
จะสร้าง Secretin ไปกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่ง โซเดียมไฮโดรเจนคาร์โบเนต
จะสร้าง Enterogatone ไปทำให้กระเพาะอาหารหยุดบีบตัว &หลั่งกรด
ย่อยโปรตีน
** entrerokinase จากผนังลำไส้เล็ก
จะเปลี่ยน Trypsinogen และ Procarboxy peptidase (จากตับอ่อน)
ให้เป็น Trypsin และ carboxy peptidase แล้วค่อยทำงาน
ต่อไปก็ต้องดูดซึมสารอาหารล่ะน้ะ
เราก็ยังวนเวียนอยู่ที่ ลำไสเล็กนี่ละ 55
เพราะ มันดูดซึมสารอาหารกันที่ลำไส้เล็กนี่เอง อิอิ
ในลำไส้เล็กมีโครงสร้างที่สำมะคัญในการดูดซึมคือ คือ คือออออ...
villus น่ะเอง
มันเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากผนังลำไส้เล็ก เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว
ที่เซลล์เยื่อบุผิวมี microvillus เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวอีก จะได้ดูดได้เยอะๆ- -
พอดูดซึมแล้วไปได้ 2 ทางคือ
1.Capillaries (เส้นเลือดฝอย) สารอาหารที่ไปกับอันนี้
คือ monosacharide กรดอะมิโน วิตามิน B C
2.Lactael (เส้นน้ำเหลือง) สารอาหารที่ไปกับเส้นน้ำเหลือง
คือ วิตามิน A D E K และกรดไขมัน กลีเซอรอล
พอผ่านพวกนี้แล้ว สารอาหารที่ไปกับ Capillaries
จะผ่าน เส้นเลือด Hepatic Portal veionไปยังตับโดยตรง
แต่ สารอาหารที่ไปกับเส้นน้ำเหลือง จะไม่ผ่านตับ
ขอสรุปการดูดซึมอาหารอีกรอบนะ
ความจริงแล้วการดูดซึมอาหารไม่ได้มีแต่ที่ลำไส้เล็กนะ เพียงแต่ที่ลำไส้เล็กดูดซึมเยอะสุดน่ะ
1. ปาก คอหอย หลอดอาหาร <<ดูดน้อย
2. กระเพาะอาหาร (ดูดซึมแอลกอฮอล์อได้ถึง 30-40 % แน่ะ)
3.ลำไส้เล็ก << เยอะสุด
ในที่สุดเราก็ดูดสารอาหารเสร็จแล้ว
ต่อมาก็ไปเข้าห้องน้ำกัน = = เอ้ย
ลำไส้ใหญ่
ลำไส้ใหญ่แบ่งได้ 3ส่วน
1. Caecum ตรงนี้ติดไส้ติ่ง (Appendix)
2. Colon เป็นส่วนที่ยาวสุด
3. Rectum ต่อจาก เรคตัมก็ Anusอ่ะ= =
หน้าที่ลำไส้ใหญ่
1. ดูดน้ำและแร่ธาตุรวมทั้งเกลือน้ำดี ออกจากกากอาหาร
2. ในลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรียเพียบเลย เช่น E.coli มันสร้าง วิตามิน B12 และ Kได้
**หากทานอาหารที่มีกากอาหารน้อยจะท้องผูก
แถมม ม>>> ในสัตว์กินพืช Caecum และ Appendix จะมีประโยชน์มาก ใช้ในการหมัก
ฉะนั้น Caecum และ Appendix จะเจริญดีมากกก!!
แต่เราไม่จำเป็นต้องใช้ไส้ติ่งมาก เลยเล็กกระจิ๊ดริด 55+
สรุปอะไรนิดนึงนะ
คาร์โบโฮเดตร ย่อยครั้งแรกใน ปาก
โปรตีน "---------------" กระเพาะอาหาร
ไขมัน "--------------" ลำไส้เล็ก
จบแล้ว
เย่ๆๆๆๆๆๆๆ
ดีใจจัง 555^O^
แถมรูปสุดท้ายหลังจากกากอาหารผ่านมาที่ เรคตัม และกำลังจะลงใน ..... ส้วม - -"
แหล่งอ้างอิง ง: หนังสือไบโอบีมที่ไปซีล็อคมาจากเพื่อน = = (หน้าไม่อาย บอกคนอื่นทำไมฟะ 55)
พอดีช่วงนี้ไม่มีตังเรียนอ้ะ ><"
หนังสือชีววิทยาม.4เล่ม2ของ Hi-ED
จากที่เราสรุปเอง 55
ความคิดเห็น