ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความงาม

    ลำดับตอนที่ #6 : กุลสตรี และเบญจกัลยาณี

    • อัปเดตล่าสุด 24 ต.ค. 57


    กุลสตรี และเบญจกัลยาณี 

    เบญจกัลยาณี (แปลว่า ผู้มีความงาม 5 ประการ) หมายถึงสตรีผู้มีศุภลักษณ์หรือลักษณะที่งาม 5 ประการ คือ

    ลักษณะของเบญจกัลยาณีอธิบายตามความคิดเห็นของท่านผู้รู้แต่โบราณว่า

    ลักษณะเบญจกัลยาณี ๕ อย่าง

         ผมงาม หมายถึง ผมซึ่งยาวสลวยลงมาแล้วมีปลายช้อนขึ้นเองโดยธรรมชาติ ลักษณะผมของหญิงผู้มีบุญมาก เป็นเช่นกับกำหางนกยูง เวลาปล่อยระชายผ้านุ่งแล้ว ก็กลับมีปลายงอนขึ้นตั้งอยู่

         ฟันงาม หมายถึง ฟันขาวสะอาดเป็นระเบียบเรียงรายประดุจไข่มุกที่นายช่างจัดเข้าระเบียบแล้ว ฟันขาวเรียบไม่ห่างกัน งดงามดุจระเบียบแห่งเพชรที่เขายกขึ้นตั้งไว้ และดุจระเบียบแห่งสังข์ที่เขาขัดสีดีแล้ว

         ริมฝีปากงาม หมายถึง ริมฝีปากบางโค้งเป็นรูปกระจับสีชมพูเรื่อคล้ายผลตำลึงสุก  ถึงพร้อมด้วยสีเรียบชิดสนิทดี  เป็นเองโดยธรรมชาติ มิใช่เพราะตกแต่งแต้มทา

         ผิวงาม ลักษณะนี้มี ๒ อย่าง คือ ถ้าผิวขาวก็ขาวละเอียดอ่อนเหมือนสีดอกกรรณิการ์ ถ้าผิวดำก็ดำอย่างดอกอุบลเขียว อมเลือดอมฝาด เปล่งปลั่งคล้ายสีน้ำผึ้งซึ่งนำมาจากรังผึ้งใหม่ๆ

         วัยงาม หมายถึง เป็นคนงามตามวัย งามทุกวัย เมื่ออยู่ในวัยเด็กก็งามอย่างเด็ก เมื่ออยู่ในวัยสาวก็งามอย่างหญิงสาว เมื่ออยู่ในวัยชราก็งามอย่างคนชรา และหญิงแม้คลอดแล้วตั้ง ๑๐ ครั้ง ก็เหมือนคลอดครั้งเดียว ยังสาวพริ้งอยู่ทีเดียว (พระอานนท์พุทธอนุชา วศิน อินทสระ

         ลักษณะเบญจกัลยาณีนี้   ในธรรมบทมีปรากฏชัดครบทั้ง ๕ ประการในนางวิสาขา ผู้ได้นามว่ามหาอุบาสิกา เรื่องราวของนางวิสาขานี้ควรแก่การศึกษาเป็นอย่างมาก เป็นต้นแบบของกุลสตรีทั้งหลาย

    ตำนานว่า นางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นเบญจกัลยาณีคนหนึ่งในสมัยพุทธกาล

    ตำนานเรื่องนางวิสาขา ผู้สร้างปุพพรามปราสาทถวายเป็นวัดครั้งพุทธกาลชมนางวิสาขาว่าวัยงามนักหนา นางมีบุตรชาย 10 บุตรหญิง 10 บุตรชายหญิงมีบุตรชายหญิงอีกคนละ 10 ตลอดชีวิตของนางมีบุตรหลายถึง 8,420 คน นางวิสาขาไปที่ใด บุตรหลานห้อมล้อมไปเป็นหมู่ ผู้คนดูไม่ออกว่าคนไหนคือนางวิสาขา เพราะเห็นเป็นหนุ่มเป็นสาวเสมอเหมือนกันหมด นางวิสาขามีอายุยืนถึง 120 ปี และเป็นลูกสาวเศรษฐี ได้กินอิ่ม นอนหลับเต็มที่ ประกอบกับใจบุญด้วย จึงงามทั้งกายใจ

     

     

    เป็นผู้หญิงตำราที่ว่าสวย

    ต้องกอปรด้วยเบญจลักษณ์เป็นศักดิ์ศรี

    ถึงไม่ครบทั้งห้าตามมาลี

    สมัยนี้สำคัญด้วยจรรยา

     

    อันงามรูปงามทรัพย์บังคับยาก

    มีน้อยมากก็ตามชาติวาสนา

    ถึงร่างกายบุญกรรมก็ทำมา

    มิใช่ว่าสรรสร้างได้ดังใจ

     

    คงแต่เพียงที่สามให้งามจิต

    งามจริตกิริยาอัชฌาสัย

    งามวาจาไพเราะเสนาะใน

    ดำรงค์ไว้ให้งามสามประการ

     

    แม้สตรีมีงามเพียงสามสิ่ง

    นับว่าหญิงน่ารักสมัครสมาน

    ถึงรูปทรัพย์คับแค้นแสนกันดาร

    ต้องประมาณว่างามตามตำรา

     

    อีกนัยหนึ่งเครื่องประดับสำหรับนาฎ

    ศิลปศาสตร์เป็นของจะต้องหา

    งามอะไรก็ไม่เยี่ยมเทียมวิชา

    อาจจะพาให้กายสบายเบา

     

    อันสตรีที่งามด้วยความรู้

    เป็นที่ชูโฉมเชิดเลิศเฉลา

    แต่อย่าเพียรเรียนเล่นพอเป็นเรา

    ต้องเรียนเอารู้ดีจึงมีคุณ . . . . . . . . . อัญชัญ

    ****รวมบทกลอน คำคมสอน หัดกลอนสนุก****

    https://www.facebook.com/223128011036880/photos/a.223128871036794.75328.223128011036880/269941663022181/

    ความงาม 5 ประการนั้น ต้องการรากฐานจากธรรมชาติ งาม 4 ประการแรก ทำให้เกิดความงามประการสุดท้าย จะให้งามนอกต้องทำให้งามในได้ก่อน

    “อันที่จริงลักษณะที่ว่ามานี้ จะไม่เกิดขึ้นกับคนทั่วไป จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีบุญเท่านั้น และผู้มีบุญจิตใจก็ต้องงดงามตามด้วย เพราะบุญในความหมายหนึ่งแปลว่าแปลว่าชำระ  (ความหมายของบุญ มีหลายอย่างนะ คือความหมายเมื่อว่าโดยเหตุ ว่าโดยผล ว่าโดยสภาพ แต่ละอย่างท่านก็แสดงไว้อยู่ เรื่องการตีความนี้ต้องเข้าใจ ไม่ใช่ จำกัดลงในอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วปฏิเสธอย่างอื่น ซึ่งเรื่องบุญนี้ถ้ามีเวลาก็จะทำเช่นกัน ตั้งชื่อว่า บุญเป็นไฉน บุญคืออะไร) โดยความก็คือชำระจิตใจนั่นเอง 

         และคำว่างามตามวัย นี้มีนัยที่จะต้องคิดอยู่ คือ อยู่ในวัยเด็กก็เป็นที่เด็กที่ว่านอนสอนง่าย(มีอปจายนธรรม) มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นนิสสัย อยู่ในวัยสาวก็มีคุณธรรมอย่างหญิงสาว มีศีล มีกัลยาณธรรม และการรักนวลสงวนตัวเป็นต้น  ส่วนในวัยแก่ชรา ก็เป็นคนที่มีศีลมีธรรม ชอบเข้าวัด ทำบุญ ปฏิบัติธรรม มีคุณธรรมของความเป็นผู้ใหญ่อันได้แก่พรหมวิหารธรรม นี้ชื่อว่าเป็นคนงามในวัยทั้งสาม คือ วัยเด็ก วัยกลางคน วัยแก่ชรา  และได้ชื่องามในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด เรื่องของนางวิสาขาเป็นตัวอย่างในเรื่องที่กล่าวมาได้ดีมาก”

    นำมาจาก GotoKnow โดย พระมหาวินัย ภูริปญฺโญ ..

    https://www.gotoknow.org/posts/430879

    เครื่องสำอางค์โปะปะไว้เสริมสวยได้ชั่วครู่ชั่วยาม สู้กินให้สวยไม่ได้ ประจวบกับอาหารหลักของคนไทย ก็มี หมู่ ตรงตัวเลขกันเลยจำได้ง่ายว่า กินอาหารให้ครบทั้ง หมู่ เพื่อความเป็นเบญจกัลยาณี

    กุลสตรี แปลตรงตัวว่า หญิงมีสกุล สืบเนื่องมาจากความนับถือในชาติตระกูลที่สามารถย้อนนับได้หลายชั่วโคตรดังกล่าวแล้ว ทึกทักว่าผู้หญิงที่เกิดในตระกูลเก่าแก่ ย่อมได้รับการอบรมสั่งสอนมาดี 

    ลักษณะของความเป็นหญิงดีเป็นไปตามค่านิยมของสังคม ผู้หญิงเป็นพลเมืองชั้นสองตลอดมา มีคุณสมบัติตามที่ผู้ชายเห็นว่าดี คือ เป็นแม่ดี เมียดี ลูกดี ที่ว่า ดี คือ รู้จักศิลปศาสตร์ในการปรนนิบัติเอาใจคน ดูแลครอบครัว ให้ได้รับความสุขกายสบายใจ

    สรุปว่า รู้จักครองตน ครองคน ครองทรัพย์สมบัติ ใช้ความมีสติปัญญา และความสามารถจำกัดอยู่ในแวดวงของครอบครัว ทำกับข้าวยอด เย็บปักถักร้อยเยี่ยม มีกิริยามารยาทละมุนละไมเกิดเป็นภาพนึกของผู้หญิงดีที่ฝังใจคนไทยมานาน

    ตามคติโบราณ คุณสมบัติเยี่ยมยอดของผู้หญิงคือ รูป ถือว่านารีมีรูปเป็นทรัพย์ ให้ความสำคัญแก่รูปโฉมโนมพรรณสูงสุด จนลืมไปว่าผู้หญิงเป็นเช่นเดียวกับชาย มีความคิดนึก สติปัญญา และความสามารถเป็นอิสระ ควรมีสิทธิที่จะใช้ทรัพยากรในตนเสมอด้วยชาย 

    คนยังยึดติดอยู่กับคติเดิมจึงใช้คำว่า เบญจกัลยาณี ในความหมายเดียวกันกับ กุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนดี จำกัดบทบาทของผู้หญิงอยู่ในความหมายของคำ

    มีข้อเสียคือ ทำให้ผู้หญิงเห็นความงามเป็นสรณะ เสียจนลืมพัฒนาตนเองในด้านเป็นคนมีประโยชน์

    ใครถนัดทำอะไรก็ทำได้ ไม่ควรจำกัดว่า อย่างนี้ผู้ชายทำได้ ผู้หญิงทำไม่ได้ ถ้าทำแล้วจะถูกมองว่าเป็นผู้หญิงก๋ากั่น ค่อนไปในทางที่ไม่ดี ไม่เป็นกุลสตรี หรือเบญจกัลยาณี

    ผู้หญิงมีสิทธิจะใช้สติปัญญาและความสามารถของตนให้มีประโยชน์แก่ตนและแก่ส่วนรวม ข้อจำกัดไม่ใช่อยู่ที่เป็นหญิงหรือชาย แต่อยู่ที่ความเป็นบุคคลโดยเอกเทศ ไม่มีใครที่ดีไปหมดเสียทุกอย่าง หรือเสียจนหาดีไม่ได้เลย

    ความสำคัญอยู่ตรงที่รู้จักจุดเด่นและจุดด้อยของตนเองและมีวิจารณญาณที่จะตัดสินใจ ทำแต่สิ่งที่เป็นคุณแก่ตัวเองและสังคม กิจกรรมที่ยกมาว่า ขี่ม้า ยิงปืน ทำครัว ทำงานบ้านเป็นคนที่เรียนรู้และปฏิบัติให้เกิดทักษะได้เสมอกันทั้งหญิงและชายโดยธรรมชาติ 

      ความงามแบบเบญจกัลยาณีและความเป็นกุลสตรีในยุคนี้ ถูกมองว่าเป็นสิ่งน่าขบขันบ้าง เชยบ้าง โบราณบ้าง คติความเชื่อของผู้หญิงสมัยนี้ ต้องเก่งและแกร่งเทียบเท่าผู้ชาย อันนี้แล้วแต่ความคิดของแต่ละคน 

    ไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปอย่างไร ความเป็นกุลสตรีที่ดีงามของสังคมไทยยังคงมีความสำคัญอยู่ ถึงแม้จะไม่มากเหมือนสมัยก่อนก็ตาม เพราะเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า คุณสมบัติข้อหนึ่งของลูกหลานหรือสตรีที่จะเข้ามาร่วมวงศาคณาญาติกับเรานั้น ต้องมีความงามของกิริยามารยาทรวมอยู่ด้วย เพราะหากหญิงนั้น รูปร่างสวยงาม การศึกษาสูง ทำงานเก่ง หรือว่ามีความเก่งกาจเท่าเทียมบุรุษ แต่กิริยามารยาททราม เราก็คงไม่สามารถชื่นชมหรือยอมรับได้ เฉกเช่นเดียวกับในวงสังคมหรือแวดวงการทำงาน หากเป็นหญิงที่เพียบพร้อมด้วยคุณวุฒิ วัยวุฒิ แต่กิริยามารยาทไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมหน่วยงาน ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จหรือเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานได้ หรือคุณว่าอย่างไร..คะ...?? 

    ขอบคุณที่มา:

    หนังสือ คิดอย่างผู้หญิง โดย สมศรี สุกุมลนันทน์ พรหมญาณี
    และGoogle
    MDK
    http://talk.mthai.com/topic/296838
    https://www.gotoknow.org/posts/430879

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×