ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความงาม

    ลำดับตอนที่ #2 : ความสวยความงาม เรื่องที่ขาดไม่ได้

    • อัปเดตล่าสุด 21 ต.ค. 57


    อันตรายจากการใช้เครื่องสำอาง

    อันตรายจากการใช้เครื่องสำอาง

    ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็อยากสวยงามกันทั้งนั้น

    ความงาม คือสถานภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และความชื่นชมผ่านการเข้าใจและรับรู้ถึงความสมดุล สัดส่วน และ แรงดึงดูด ของสิ่งๆนั้น ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ สถานที่ ดนตรี ศิลปะ หรือ ความคิด สิ่งตรงกันข้ามกับความงามคือความน่าเกลียดน่าชัง ซึ่งมีผลกระทบอย่างตรงกันข้ามต่อผู้ที่รับรู้

    เครื่องสำอางมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอยู่เสมอ ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงก่อนเข้านอน

    เครื่องสำอาง (อังกฤษ : cosmetics) เป็นสารที่ใช้เพิ่มเติมความสวยงามให้กับร่างกายมนุษย์ นอกเหนือจากอุปกรณ์รักษาความสะอาดโดยทั่วไป การใช้งานเครื่องสำอางมีใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก จำนวนบริษัทผลิตเครื่องสำอางในปัจจุบันมีเป็นจำนวนน้อยเปรียบเทียบกับธุรกิจชนิดอื่น โดยบริษัทส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ในระดับนานาชาติ มากกว่าระดับท้องถิ่น

    ประวัติเครื่องสำอาง

    การใช้เครื่องสำอางจัดเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มีมาแต่สมัยโบราณ มีการค้นพบว่า มีการใช้เครื่องสำอางมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ จีน อินเดีย และต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยชาวกรีกเป็นชาติแรกที่มีการแยกการแพทย์และเครื่องสำอางออกจากกิจการทางศาสนา และยังถือว่าการใช้เครื่องสำอางเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติต่อร่างกายให้ถูกต้องสม่ำเสมอจนเป็นกิจวัตรประจำวัน

     

    ศิลปะการใช้เครื่องสำอางและเครื่องหอมได้ถึงขีดสุดในระหว่าง 2 ศตวรรษแรกแห่งจักรวรรดิโรมัน แล้วค่อยๆ เสื่อมลง และเมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลงในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ศิลปะการใช้เครื่องสำอางจึงแพร่หลายเข้าสู่ทวีปยุโรป นอกจากนี้ ชาวอาหรับก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการผลิตเครื่องสำอาง โดยได้มีการดัดแปลง แก้ไขส่วนผสมต่างๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีคุณภาพดีขึ้น เช่น การใช้กรรมวิธีการกลั่นเพื่อให้มีความบริสุทธิ์สูง การใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย เป็นต้น

     

    เมื่อศิลปะการใช้เครื่องสำอางได้แพร่หลายเข้าสู่ในประเทศฝรั่งเศสมากขึ้น เจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสได้พยายามเสนอให้มีการแยกกิจการด้านเครื่องสำอางไว้เฉพาะ โดยให้แยกออกจากกิจการด้านการแพทย์ เนื่องจากกิจการด้านการแพทย์และเครื่องสำอางต้องอยู่ในการควบคุมของกฎหมายในระหว่างปี ค.ศ. 1400ค.ศ. 1500 และความพยายามก็ประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1600 ศิลปะการใช้เครื่องสำอางได้แยกออกมาจากกิจการด้านการแพทย์อย่างชัดเจน ต่อมาในปี ค.ศ. 1800 ได้มีการรวบรวมและแยกแยะความรู้ในด้านศิลปะการใช้เครื่องสำอางออกเป็นหลายๆ ประเภท เช่น เภสัชกร ช่างเสริมสวย นักเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งต้องใช้ความรู้ที่ได้มาจากเภสัชกรรมและครื่องสำอางมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละอาชีพ

     

    การผลิตเครื่องสำอางในช่วงแรกๆ นั้น ยังมีกรรมวิธีการผลิตที่ไม่แน่นอน เครื่องสำอางบางประเภทมีขายในร้านขายยา การผลิตเป็นความรู้ส่วนบุคคลที่ได้รับสืบทอดมาหรือได้จากการศึกษาค้นคว้า ลองผิดลองถูก จนถึงปลายศตวรรษที่ 19 ได้มีผู้นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เข้ามาช่วยในการผลิตแทนวิธีเก่า และเมื่อผลิตเครื่องสำอางแต่ละชนิดจะมีเครื่องหมายการค้าชัดเจน และมีกรรมวิธีในการผลิตที่แน่นอน ทำให้เครื่องสำอางที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพ สามารถเพิ่มรายได้ให้กับผู้ผลิต ทำให้มีการเพิ่มการผลิต และพยายามปรับปรุงคุณภาพของเครื่องสำอางให้มีคุณภาพสูงขึ้น

     

    ต่อมาได้มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เข้ามาปรับปรุงคุณภาพของเครื่องสำอาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาเคมี ได้มีส่วนเข้ามาช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางให้มีคุณภาพสูง ในการผลิตแต่ละครั้งต้องมีส่วนประกอบที่คงที่ ได้ผลิตภัณฑ์อย่างเดียวกัน มีหลักการเลือกใช้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐานในการผลิต และมีการตรวจสอบคุณสมบัติ ตลอดจนการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

     

    ในปี ค.ศ. 1895 ได้มีการเปิดสอนวิชาการเครื่องสำอางในเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นครั้งแรก ทำให้นักศึกษาได้รู้จักวิธีการใช้เครื่องสำอางชนิดต่างๆ ในการรักษาผิวหนังและเส้นผม ต่อมาการศึกษาวิชานี้ได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว

     

    แหล่งข้อมูลอื่น

              คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:

    Cosmetics

    พวงร้อย กล่อมเอี้ยง, "การใช้เครื่องสำอางของสตรีสยาม/ไทย ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2325-2488," วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (2551), หน้า 120-143

     บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล

    หมวดหมู่: เครื่องสำอาง

    ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เช่นยาสีฟัน ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ผ้าเย็นหรือแม้แต่ผ้าอนามัยก็จัดเป็นเครื่องสำอาง บางท่านอาจสงสัยว่าอะไรบ้างจัดเป็นเครื่องสำอาง ดังนั้นจึงขอให้คำนิยามความหมายของเครื่องสำอางดังนี้

    ความหมายของคำว่า เครื่องสำอางตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535 กำหนดไว้ว่า

    (1) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใด ต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทิ่นผิวต่างๆด้วย แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับ และเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย

    (2) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางโดยเฉพาะหรือ

    (3) วัตถุอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวงให้เป็นเครื่องสำอาง

    อาจสรุปง่าย ๆ ว่าเครื่องสำอาง

    1. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เฉพาะกับผิวกายภายนอกเท่านั้น เช่นผิวหนัง ริมฝีปาก และในช่องปาก เส้นผม เล็บรวมทั้งอวัยวะเพศส่วนนอก

    2. ใช้เพื่อความสะอาดในชีวิตประจำวัน เช่น ขจัดคราบเหงื่อไคล สิ่งสกปรกตามผิวกายและเส้นผม

    3. ใช้เพื่อระงับกลิ่นกาย แต่งกลิ่นหอม

    4. ใช้เพื่อปกป้องหรือส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดี ปรับแต่งให้แลดูดี โดยที่ไม่สามารถไปมีผลต่อโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ใดๆของร่างกายมนุษย์

    จะเห็นได้ว่า เครื่องสำอางไม่สามารถบำบัด บรรเทา รักษา ป้องกันโรค หรือมีผลต่อโครงสร้าง หรือการทำหน้าที่ใดๆของมนุษย์

    จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงและประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแล้ว ได้จัด แบ่งเครื่องสำอางออกเป็น 3 ประเภท คือ

    1. เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอันตรายกับผู้บริโภค เนื่องจากพิษภัยหรือจากเคมีภัณฑ์ ที่เป็นส่วนผสม การกำกับดูแลจึงเข้มงวดที่สุด ด้วยการให้มาขึ้นทะเบียนตำรับ เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับเครื่องสำอางควบคุมพิเศษเรียบร้อยแล้ว จึงจะผลิตหรือนำเข้ามาจำหน่ายได้ ให้สังเกต เลขทะเบียนในกรอบ อย. ตัวอย่างเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ได้แก่

    - ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ไหมขัดฟันที่มีส่วนผสมของ ฟลูออไรด์

    - น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของ เซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์

    - ผลิตภัณฑ์ดัดผม ยืดผม

    - ผลิตภัณฑ์ย้อมผมชนิดถาวร

    - ผลิตภัณฑ์ฟอกสีผม

    - ผลิตภัณฑ์แต่งสีผมที่มีส่วนผสมของ เลดแอซีเทต หรือซิลเวอร์ไนเตรต

    - ผลิตภัณฑ์กำจัดขน หรือทำให้ขนร่วง

    2. เครื่องสำอางควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่มีผลกระทบ หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายบ้าง การกำกับดูแลจึงไม่เข้มงวดเท่าเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ผู้ประกอบธุรกิจเพียงมาแจ้งรายละเอียดต่อหน่วยงานของรัฐ ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนผลิตหรือนำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักร ดังนั้นเครื่องสำอางควบคุม จะไม่มีเลขทะเบียนในกรอบ อย.

    กำหนดเครื่องสำอางควบคุม มี 2 ลักษณะ คือ

    2.1 กำหนดประเภทของเครื่องสำอาง 4 ประเภท เป็นเครื่องสำอางควบคุม ได้แก่

    - ผ้าอนามัย ทั้งชนิดแผ่น และชนิดสอด

    - ผ้าเย็นหรือกระดาษในภาชนะบรรจุที่ปิด

    - แป้งฝุ่นโรยตัว

    - แป้งน้ำ

    2.2 กำหนดสารควบคุม ดังนั้นเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารควบคุม จะจัดเป็นเครื่องสำอางควบคุม ได้แก่

    - สารป้องกันแสงแดด จำนวน 19 ชนิด (ตามบัญชีแนบท้ายประกาศฯฉบับที่ 8 พ.ศ.2536 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ที่มีสารป้องกันแสงแดด)

    - สารขจัดรังแค (ซิงก์ไพริไทโอน และ ไพรอกโทน โอลามีน)

    - สารขจัดรังแค (คลิมบาโซล)

    3. เครื่องสำอางทั่วไป ได้แก่เครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษ หรือสารควบคุม ดังนั้นเครื่องสำอางทั่วไปจะ ไม่มีเลขทะเบียนในกรอบ อย. แต่มีข้อกำหนดในการผลิตหรือนำเข้า ดังนี้

    3.1 เครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศ สามารถผลิตได้โดยไม่ต้องมาแจ้งกับอย. เพียงแต่จัดทำฉลากภาษาไทย ให้มีข้อความอันจำเป็น ครบถ้วน ชัดเจน (ส่วนข้อความอื่นๆบนฉลากต้องเป็นความจริงและมีเอกสารหลักฐานพร้อมที่จะพิสูจน์ได้)

    3.2 เครื่องสำอางที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ต้องส่งมอบหลักฐานประกอบการ นำเข้า และจัดทำฉลากภาษาไทยให้มีข้อความอันจำเป็นให้ ครบถ้วนภายใน 30 วัน หลังจากได้รับการตรวจปล่อยให้นำเข้าฯ(ส่วนข้อความอื่นๆบนฉลากต้องเป็นความจริงและมีเอกสารหลักฐานพร้อมที่จะพิสูจน์ได้)

    ตัวอย่างเครื่องสำอางทั่วไป ได้แก่ แชมพูสระผมที่ไม่มีสารขจัดรังแค ครีมนวดผม โลชั่น ครีมบำรุงผิว อายแชโดว์ อายไลเนอร์ ดินสอเขียนคิ้ว บลัชออนแต่งแก้ม ลิปสติก ครีมรองพื้น แป้งทาหน้า สบู่ก้อน สบู่เหลว โฟม น้ำมันทาผิว เครื่องสำอางระงับกลิ่นกาย สีทาเล็บ มูส หรือเยลแต่งผม เป็นต้นอันตรายจากการใช้เครื่องสำอาง ถึงแม้ว่าเครื่องสำอางจะเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายค่อนข้างต่ำ แต่บางครั้งผู้บริโภคใช้เครื่องสำอางแล้ว อาจเกิดอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ได้ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณ ที่สัมผัสกับเครื่องสำอางโดยตรง อาจเกิดอาการได้ตั้งแต่ ระคายเคือง คัน แสบ ร้อน บวมแดง เป็นผื่น ผิวแห้งแตก ลอก ลมพิษ หรือมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นแผลพุพอง น้ำเหลือง แต่บางครั้งอาจพบความผิดปกติในบริเวณที่มิได้สัมผัสกับเครื่องสำอางโดยตรงก็ได้ เช่นคันบริเวณเปลือกตา เนื่องจากแพ้สีทาเล็บที่ไปสัมผัสเปลือกตาโดยบังเอิญสาเหตุของการเกิดอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่1. อันตรายจากตัวผลิตภัณฑ์ เช่น

    - เป็นเครื่องสำอางที่เก่า เสื่อมสภาพแล้ว อาจเนื่องจากผลิตมาเป็นเวลานาน หรือเก็บรักษาไม่ดีพอ

    - เป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย มีการลักลอบผสมสารห้ามใช้ จะสังเกตได้ว่ามักจะแสดงฉลากภาษาไทยไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะไม่แสดงแหล่งผลิต หรือวัน เดือน ปี ที่ผลิต

    - สูตร ส่วนประกอบ หรือกรรมวิธีการผลิตที่ไม่เหมาะสม

     

    2. การใช้ผิดวิธี

    ก่อนใช้เครื่องสำอางควรอ่านวิธีใช้ที่ฉลากให้เข้าใจ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ใช้ให้ถูกคน ถูกเวลา ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะถ้าเป็นเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ หรือเครื่องสำอางควบคุม มักมีคำเตือนและข้อควรระวัง รวมทั้งการทดสอบการแพ้ก่อนใช้ จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

    การใช้เครื่องสำอางผิดวิธี ได้แก่

    - การโรยแป้งฝุ่นลงบนตัวทารกโดยตรง ผงแป้งจะกระจายไปทั่ว เมื่อเด็กสูดลม หายใจ ผงแป้งไปสะสมในปอด เป็นอันตราย

    - การใช้เครื่องสำอางในปริมาณที่มากเกินไป หรือ บ่อยเกินไป

    - เครื่องสำอางที่ระบุให้ใช้แล้วล้างออก ถ้าไม่ล้างออก ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน

    - การใช้ผิดเวลา เช่น ระบุให้ทาก่อนนอน เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยากับแสงแดดหากทาในตอนกลางวัน เมื่อโดนแสงแดด ก็อาจเกิดอันตรายได้

    - ใช้เครื่องสำอางแล้วไม่ปิดภาชนะบรรจุให้สนิท อาจมีฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคลงไปปนเปื้อนได้3. ตัวผู้บริโภคเอง เช่น

    - วัยของผู้ใช้ เด็กและผู้สูงอายุ ผิวหนังจะบอบบางและแพ้ง่ายกว่าวัยอื่น

    - ตำแหน่งของผิวหนัง ผิวหนังบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะรอบดวงตาและริมฝีปาก จะบอบบางกว่าบริเวณอื่น อาจเกิดการแพ้ หรือระคายเคืองได้ง่าย

    - ความประมาทในการใช้เครื่องสำอาง เช่นแชมพูเข้าตาเวลาสระผม การใช้เครื่องสำอางร่วมกับผู้อื่นแล้วติดโรคมาด้วย เช่นการใช้ลิปสติกร่วมกับผู้อื่นเสี่ยงต่อการติดโรคเริมเป็นต้น

    - การแพ้เฉพาะบุคคล เช่น แพ้น้ำหอมหรือสารกันเสียบางชนิดซึ่งจะกล่าวต่อไป

    บางครั้งเมื่อผู้บริโภคเลือกซื้อเครื่องสำอางอย่างระมัดระวังแล้ว ยังอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้บ้าง ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

    1. การระคายเคือง (Irritation) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสัมผัสกับสิ่งที่ระคายเคือง เช่นผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นกรดเป็นด่างสูง เช่น น้ำยาดัดผม ผลิตภัณฑ์กำจัดขน และผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผิวหนังชั้นนอกหลุดลอกเร็วขึ้น เป็นต้น ความรุนแรงของการระคายเคืองขึ้นกับความเข้มข้นของสารและระยะเวลาที่สารสัมผัสกับผิว การระคายเคืองเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน และพบได้บ่อยกว่าการแพ้

    2. การแพ้ (Allergy) เป็นปฏิกิริยาที่ซับซ้อนเกี่ยวกับภูมิต้านทานของร่างกายของแต่ละคน จึงเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ผู้บริโภคอาจเกิดความผิดปกติขึ้นทันทีที่สัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ หรือมีอาการขึ้นภายหลังได้ สารที่ก่อให้เกิดการแพ้ได้บ่อย ได้แก่ สารแต่งกลิ่นหอม สารกันเสียและสารป้องกันแสงแดด

    ตัวอย่างของการแพ้หรือระคายเคืองที่เกิดจากเครื่องสำอาง

    1. เครื่องสำอางทาฝ้าที่ลักลอบใส่สารห้ามใช้ เช่น ไฮโดรควิโนน ใช้แล้วเกิดอาการแพ้ระคายเคือง อักเสบหน้าแดง กรดวิตามิน เอ ทำให้หน้าแดง ผิวหน้าลอก

     

    2. ผลิตภัณฑ์ย้อมผม ทำให้เกิดอาการแพ้ ระคายเคือง และอาจรุนแรงถึงขั้นอักเสบมักลามมาที่บริเวณต้นคอ หน้าผาก หลังหูและใบหู

     

    3. น้ำยาดัดผมหรือน้ำยายืดผม ทำให้เกิดอาการระคายเคือง เป็นเม็ดผื่นแดงรวมทั้งเกิดอาการที่หนังศีรษะและอาจพบบริเวณต้นคอ หน้าผาก หลังหู และใบหู เช่นเดียวกับกับผลิตภัณฑ์ย้อมผม

     

    4. ยาสีฟัน น้ำยาบ้วน เยื่อบุช่องปากเป็นบริเวณที่เกิดระคายเคือง หรือเกิดการแพ้ได้น้อย เพราะการใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากจะสัมผัสผิวไม่นานและถูกล้างออก แต่อาจทำให้เกิดผื่นบริเวณรอบๆปาก สำหรับฟลูออไรด์ ถึงแม้เกิดการแพ้ได้น้อย แต่ก็อาจทำให้เกิดผื่นแพ้เม็ดเล็กๆ คล้ายสิวบริเวณรอบๆปาก หรือเกิดการระคายเคืองเป็นตุ่มหนอง

     

    5. ลิปสติก อาจทำให้เกิดผื่นเม็ดเล็กๆคัน บางครั้งทำให้ริมฝีปากมีสีคล้ำ ผิวแห้ง ลอกและแตก

     

    6. เครื่องสำอางตกแต่งตา อาจทำให้เกิดผื่นแพ้สัมผัส หรือบางครั้งทำให้ผิวบริเวณรอบๆตาคล้ำขึ้น

     

    7. การแพ้ระคายเคืองสารชะล้าง หรือน้ำหอมในแชมพู ทำให้ระคายเคืองเยื่อบุตาแสบตา ตาอักเสบ

     

    8. ปัจจุบันเครื่องสำอางผสมสาร เอเอชเอ (AHAs , Alpha Hydroxy Acids) เป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากเชื่อว่าช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ในผู้ใช้บางรายใช้แล้วหน้าแดง เมื่อโดนแดด จะไหม้เกรียม อาจเนื่องจากผิวบอบบางและทามากเกินไป หรือจากผลิตภัณฑ์มีความเป็นกรดหรือมีความเข้มข้นมากเกินไป

    ดังนั้นก่อนใช้เครื่องสำอางควรอ่านวิธีใช้ที่ฉลากให้เข้าใจ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ใช้ให้ถูกคน ถูกเวลา ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะถ้าเป็นเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ หรือเครื่องสำอางควบคุม มักมีคำเตือนและข้อควรระวัง รวมทั้งการทดสอบการแพ้ก่อนใช้ จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษวิธีทดสอบการแพ้ก่อนใช้เครื่องสำอาง ทำโดยการทาผลิตภัณฑ์นั้นในปริมาณเล็กน้อยที่ท้องแขน แล้วทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง หากไม่มีความผิดปกติใด ๆ แสดงว่าใช้ได้

    หากใช้เครื่องสำอางใดแล้วมีความผิดปกติเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ครั้งแรก หรือใช้มาระยะหนึ่งแล้วก็ตาม ต้องหยุดใช้ทันที ถ้าหยุดใช้แล้วอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ และทำการรักษาต่อไปอันตรายจากสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง เนื่องจากเครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อใช้ด้วยตนเอง และใช้ตามความพึงพอใจ ส่วนใหญ่มิได้ระมัดระวังการใช้กันมากนัก จึงพบว่ามีผู้ประกอบธุรกิจบางรายไม่คำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดกับผู้บริโภค โดยนำสารห้ามใช้มาผสมในเครื่องสำอาง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าขจัดฝ้า ทำให้หน้าขาวที่มีส่วนผสมของไฮโดรควิโนน หรือปรอทแอมโมเนีย หรือกรดวิตามินเอ พบรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ มีตั้งแต่ อาการเฉียบพลันทันที เช่นกรดวิตามินเอ จะมีผลให้แสบ ร้อน แดง คัน ผิวลอก สำหรับการเกิดพิษในระยะยาว เช่น ไฮโดรควิโนนทำให้เซลล์สร้างเม็ดสีตาย เกิดผิวเป็นด่างขาว หรือเป็นฝ้าถาวร ส่วนกรณีที่มีสารปรอทแอมโมเนีย จะได้รับพิษสะสมจากปรอท ซึ่งจะไปทำลายไต และอาจทำให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนังได้ เป็นต้นการตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีส่วนผสมของไฮโดรควิโนนหรือไม่ ผลิตภัณฑ์อันตรายที่อ้างว่าทาฝ้า ทำให้หน้าขาว พบว่ามีการลักลอบผสมไฮโดรควิโนน ซึ่งเป็นวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง

     

    วิธีทดสอบอย่างง่าย

    1. ใช้ 0.1 N Sodium Hydroxide Solution หยดหรือป้ายเครื่องสำอางที่สงสัยลงบนกระดาษทิชชูสีขาว แล้วหยด 0.1 N Sodium Hydroxide Solution ลงไปในบริเวณที่หยดหรือป้ายเครื่องสำอาง ทิ้งไว้สักครู่ หากเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แสดงว่าอาจมีส่วนผสมของไฮโดรควิโนน หรือ

    2. ใช้ผงซักฟอกละลายในน้ำปริมาณเล็กน้อย เพื่อให้ได้น้ำผงซักฟอกเข้มข้น หยดหรือป้ายเครื่องสำอางที่สงสัยลงบนกระดาษทิชชูสีขาว แล้วหยดน้ำผงซักฟอกเข้มข้น ลงไปในบริเวณที่หยดหรือป้ายเครื่องสำอาง ทิ้งไว้สักครู่ หากเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แสดงว่าอาจมีส่วนผสมของไฮโดรควิโนน

    กรณีที่เนื้อครีมมีลักษณะข้นเหนียว ให้ละลายครีมในแอลกอฮอล์ปริมาณเล็กน้อยก่อน แล้วจึงหยด 0.1 N Sodium Hydroxide Solution หรือน้ำผงซักฟอกเข้มข้น (ปริมาณเท่ากับปริมาณแอลกอฮอล์) ลงไป ในแอลกอฮอล์ที่ละลายครีม หากเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แสดงว่าอาจมีส่วนผสมของไฮโดรควิโนน

    การทดสอบข้างต้น เป็นเพียงการทดสอบเบื้องต้นอย่างง่ายๆ โดยใช้หลักการที่ใช้สารละลายที่เป็นด่าง ทำให้ไฮโดรควิโนนเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล แต่เพื่อความชัดเจนแน่นอน ควรใช้ Test Kit ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ และท่านสามารถแจ้งผลิตภัณฑ์ที่สงสัยว่าจะมีสารไฮโดรควิโนน โดยโทรแจ้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่หมายเลข โทร 5907354-5 หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งข้อแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

    (1) ซื้อเครื่องสำอางจากร้านที่มีหลักแหล่งแน่นอน เชื่อถือได้ เพราะหากเกิดปัญหาจะได้ติดต่อหาผู้รับผิดชอบได้

    (2) ซื้อเครื่องสำอางที่มีฉลากภาษาไทย ซึ่งบ่งบอกสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอางอย่างครบถ้วน ชัดเจน ได้แก่ ชื่อและชนิดของเครื่องสำอาง ชื่อส่วนประกอบสำคัญ ชื่อที่ตั้งผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต วิธีใช้ คำเตือน(ถ้ามี) และปริมาณสุทธิ

    (3) ปฏิบัติตามวิธีใช้ และใช้ด้วยความระมัดระวังตามคำเตือนที่ระบุไว้ที่ฉลากอย่างเคร่งครัด

    (4) หากใช้เครื่องสำอางชนิดใดเป็นครั้งแรก ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้

    (5) หยุดใช้เครื่องสำอางทันทีที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น

    (6) ถ้ามีประวัติการแพ้สารใดมาก่อน เวลาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ควรพิจารณาข้อมูลส่วนประกอบสำคัญอย่างละเอียด เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดการแพ้

    (7) เมื่อใช้เครื่องสำอางเสร็จแล้ว ต้องปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากฝุ่นละออง สิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคต่างๆ

    (8) เก็บเครื่องสำอางไว้ในที่แห้งและเย็น อย่าเก็บในที่ร้อนหรือแสงแดดส่องถึง เพราะจะทำให้เครื่องสำอางเสื่อมคุณภาพ

    สารอันตรายในเครื่องสำอาง

    อันตรายที่พบเสมอจากการใช้เครื่องสำอางสามารถแยกออกได้เป็น 3 สาเหตุคือ

    สาเหตุที่ 1 จากสารเคมีในเครื่องสำอางซึ่งการผลิตไม่ได้มาตรฐานทำให้เกิดวัตถุมีพิษเจือปน หรือผู้ผลิต เจตนาใส่สารเคมีที่มีอันตรายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่นใส่เฮกซาคลอโรฟินในแป้งโรยตัวเด็กหรือใส่สารประกอบปรอท จำนวนมากเกินมาตรฐาน

    สาเหตุที่ 2 จากจุลินทรีย์ในเครื่องสำอางซึ่งเกิดจากการผลิตไม่ได้สุขลักษณะ หรือจากวัตถุดิบที่ไม่สะอาด เพียงพอ อื้อ ฮือ !หน้าเละเชียว!!

    สาเหตุที่ 3 การแพ้สารประกอบในเครื่องสำอาง กรณีนี้เกิดเฉพาะผู้บริโภคบางรายเท่านั้น ไม่ได้เกิดกับทุกราย ที่ใช้เครื่องสำอาง

    สารเคมีบางชนิดในเครื่องสำอางบางประเภทที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ซึ่งผู้บริโภคพึงระมัดระวังคือ

    1. สาร พี วี พี ซึ่งเป็นสารทำละลายที่มีอยู่ในน้ำยาสเปรย์ อาจทำให้เกิดการแพ้หรืออักเสบบริเวณหน้าผาก ข้างหู คอ และยังทำให้ผมแข็ง กรอบ เมธิลอัลกอฮอล์ ในน้ำยาสเปรย์ที่ไม่ถูกมาตรฐาน สารนี้เป็นวัตถุมีพิษ ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้อย่างรวดเร็ว อาจเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งการสูดดมและการซึมเข้าทางผิวหนัง

    2. สี พาราฟินิลินไดอามิน ในน้ำยาย้อมผม ผู้ที่แพ้สารนี้จะมีอาการรุนแรงมาก หนังศีรษะจะพองบวม มี น้ำเหลืองไหลทำให้นัยน์ตาอักเสบ บวม แดง น้ำตาไหล

    3. เกลือโลหะ ในน้ำยาย้อมผม อาจทำให้ผู้ใช้บางรายแพ้โลหะเหล่านี้ได้

    4. สี อี โอ ชิน ในลิปสติค ถ้าผู้ใดแพ้ เมื่อโดนแดด ริมฝีปากจะเป็นสีดำคล้ำ

    5. เรซิน หรือน้ำมันยางไม้ ในครีมทาขนตาและครีมทาเปลือกตาอาจทำให้เกิดการแพ้ เข้าตาจะทำให้ ตาอักเสบ พร่ามัว บวมแดง หรือผื่นคันที่หนังตา

    6. ปรอท แอมโมเนียในครีมลอกฝ้าสารเคมีทั้งสองชนิดนี้ถ้าใช้มากเกินขอบเขตที่กำหนดจะทำให้เกิด อันตรายได้ อาจแพ้ขึ้นผื่นคัน และที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นคือ สารปรอทสามารถดูดซึมเข้าทางผิวหนัง ทำให้เกิดอันตรายต่อ ระบบภายในร่างกายได้ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข ควบคุมส่วนผสมของเครื่องสำอางโดยกำหนดให้ใส่สารปรอท แอมโมเนียได้ไม่เกินร้อยละ 3

    7. ไฮโดรควิโนน ในครีมลอกฝ้า หากใช้ไปนาน ๆ ผิวจะกลับขาวมากกว่าผิวปกติจนกลายเป็นด่างขาว แทนที่จะสวยกลับจะทำให้น่าเกลียด สารนี้ห้ามใช้เกินร้อยละ 2

    8. เฮกซ่าคลอโรฟิน ในแป้งและสบู่ สารนี้เป็นอันตรายต่อเด็กอ่อน ทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง จึงห้ามใช้ในแป้ง และสบู่ที่ใช้กับเด็กอ่อน การเลือกซื้อของสำหรับเด็กอ่อน จึงควรระมัดระวังเรื่องนี้ด้วย

    นอกจากสารดังกล่าวนี้ ยังมีสารเคมีอีกหลายชนิดที่อาจเกิดอันตรายหากใช้ปริมาณมากเกินกำหนด หรือใช้ไม่ถูกต้อง ซึ่ง กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศกำหนดปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ในเครื่องสำอาง และจัดให้เครื่องสำอางที่ใช้สารต่าง ๆ นั้น เป็นเครื่องสำอางที่ควบคุม ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขก่อน จึงจะผลิตหรือ นำเข้าได้

    การระมัดระวังอันตรายจากเครื่องสำอาง

    การระมัดระวังอันตรายจากเครื่องสำอางสามารถทำได้โดยเลือกซื้อเครื่องสำอางจากผู้ผลิตจำหน่ายที่เชื่อถือได้ มีการระบุ ชื่อ ที่อยู่ของผู้ผลิตอย่างชัดเจน และหากมีสารเคมีที่มีฤทธิ์แรงผสมอยู่ ก็จะต้องมีเลขทะเบียนเครื่องสำอางอยู่ด้วย ควรดู ฉลากให้ถี่ถ้วนเสมอ ไม่ควรซื้อเครื่องสำอางที่เร่ขายในราคาถูก เพราะอาจได้รับเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน

    เมื่อจะเริ่มใช้เครื่องสำอางชนิดใหม่

    ให้ทดสอบเครื่องสำอางกับตัวก่อนว่าจะเกิดอาการแพ้หรือไม้ โดยแตะเครื่องสำอางหรือทาบาง ๆ ตรงบริเวณใกล้ ๆ กับที่ จะใช้ ทิ้งไว้ 48 ชั่วโมง ถ้ามีอาการแพ้ เช่น บวมแดงหรือผื่นคัน ก็ไม่ควรใช้เครื่องสำอางนั้น ในกรณีที่ใช้เครื่องสำอาง ไปแล้วต่อมาเกิดอาการแพ้ขึ้นภายหลัง ก็ให้หยุดใช้เครื่องสำอางทุกชนิดทันที และหากมีอาการแพ้มากควรปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าปล่อยไว้อาจมีอาการอักเสบเพิ่มขึ้น ยากแก่การรักษา

    การใช้เครื่องสำอาง อาจช่วยให้ความสวยงามเพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องเสี่ยงกับพิษภัยและการแพ้ ทั้งยังสิ้นเปลืองเงินทองด้วย หากรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง จิตใจผ่องใส รักษาความสะอาดของร่างกาย แต่งกายให้สุภาพ เหมาะสมกับกาละ เทศะก็จะทำให้สวยได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องสำอาง อย่าลืมว่า "งามใน ดีกว่างามนอก ที่พอกด้วยเครื่องสำอาง"

    ขอบคุณข้อมูลจาก 
    http://women.sanook.com/15189/สวยครบทั้งหน้า-แค่-1500/
    http://it49011410113.blogspot.com/2009/09/blog-post_06.html
    วิกพีเดีย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×