ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ไตรภูมิ

    ลำดับตอนที่ #6 : ทาง ๔ แพร่งสู่โลกันตนรก และสำนักพระยายม2

    • อัปเดตล่าสุด 10 เม.ย. 49


                   

    ทีนี้ วันนี้เราจะไปทัศนาจรเมืองนรกกัน เริ่มต้นนะ เริ่มต้นไปเมืองนรก ต่อจากนี้ไปก็พากันลาเทวดาอินเสียก่อน ลาแล้วหรือยัง? ลาหรือไม่ลาก็ช่าง เดินทางต่อไป คราวนี้เราค่อยๆ เดินกันมาถึงที่สุดของโลก เรียกว่า อันตะหรือโลกันตะ มองไปทางซ้ายมือนั่นเป็นแดนของสวรรค์ ที่เรายืนอยู่นี้เป็นแดนของมนุษย์ มองไปข้างหน้าเป็นแดนของเมืองนรก ระหว่างนั้น มองไปทางซ้ายมือจะเห็นภูเขาลูกใหญ่ ใหญ่มหาศาลประมาณมิได้ ภายในภูเขาเป็นถ้ำใหญ่มาก ในนั้นมีความเย็นบอกไม่ถูก ทรมานสัตว์ด้วยอำนาจของความเย็น แล้วก็ภายในถ้ำมีน้ำแปลก เป็นน้ำกรด มีน้ำกรดที่มีความแรงมากเย็นเฉียบเหมือนกัน สัตว์ที่อยู่ในนั้นมีแต่ความมืด หาแสงสว่างไม่ได้ ไต่อยู่ในข้างๆถ้ำ หินก็คมเป็นกรดบาดตัวจนเลือดโชกโชน สัตว์ในนั้นไม่มีแสงสว่างจะมองกัน ต่างคนต่างก็คิดว่าอยู่คนเดียว เวลาไต่ไปพบเข้าก็คิดว่าเป็นอาหารกัดกินกัน ปล้ำกันไปปล้ำกันมาในที่สุดก็หล่นลงไปในน้ำ น้ำกรดก็ทำลายเนื้อหนังหมด เหลือแต่กระดูก แสบก็แสบ เจ็บก็เจ็บ หนาวก็หนาวเย็นเฉียบ ในที่สุดเมื่อเนื้อหมดเหลือแต่กระดูกก็ประกอบกันเป็นร่างขึ้นมาใหม่ทันที ต้องทุกข์ทรมานอย่างนี้ ไต่ขึ้นมาใหม่ แล้วมาเกาะอยู่ข้างเขาหรือเรียกว่าข้างถ้ำจัดว่าเป็นกำแพงถ้ำก็ได้ นรกอันนี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ที่เรียกกันว่าโลกันตนรกไม่ทราบว่าบาปอะไร ในตำราท่านไม่ได้เขียนไว้ ท่านบอกว่าเป็นบาปพิเศษ พ้นจากที่นี้แล้วจึงไปอเวจีมหานรก ไปขึ้นต้นจากอเวจีมาก่อน แสดงว่าหนักกว่าอเวจี โลกันตนรกนี้ไม่มีอายุ เรียกว่าหาอายุไม่ได้ ทรมานไปจนกว่าจะถึงที่สุด เมื่อถึงที่สุดของกรรมแล้วจึงจะไปอเวจี จัดว่าเป็นนรกสำคัญที่สุดนะ นรก ๘ ขุม แต่ทว่าถือว่าเป็นนรกขึ้นต้น คือมันแย่เหมือนกัน

    เอ้า เดินทางกันต่อไป คราวนี้ออกจากโลกมนุษย์แล้ว บรรดาท่านผู้ฟังโปรดทราบนรกที่เขาบอกว่าเจาะในดินลงไปกี่แสนๆ โยชน์น่ะ ไม่จริง เป็นเรื่องปรัมปราของคนที่ไม่เคยเห็น อาตมาเองก็ไม่ใช่ว่าจะเห็นนรกนา ว่ากันไปตามที่เห็น อย่างพระพุทธเจ้าท่านว่า ก็เรียกว่า โลกนรกไม่ใช่อยู่ใต้ดิน ไม่ใช่ว่าคุดอยู่ใต้ดิน คนจะลงนรกต้องดำดินไปลงละก็ไม่มีใครลงหรอก พูดเพ้อกันส่งเดชไป เคยฟังพระเทศน์เหมือนกัน เทศน์ไม่ถูก หลวงพี่ถ้าเทศน์แบบนี้ละก็เทศน์ไม่ถูกนะจะบอกให้ นรกไม่ใช่อยู่ใต้ดินนา มันมีโลกอีกโลกหนึ่งต่างหาก เรียกว่ามีภูมิอีกภูมิหนึ่ง คือว่ามีแดนต่างหากกว้างใหญ่ไพศาลมาก แล้วก็มีคนถามว่าเวลาคนตายไปแล้ว พวกเทวดาหรือพวกสัตว์นรกนี่น่ะ แยกกันหรือเปล่า พวกเจ๊ก พวกฝรั่ง พวกมอญ พวกลาว พวกแขก มีนรกพิเศษหรือเปล่า ก็ขอตอบว่าไม่มีนรกพิเศษ พระพุทธเจ้าไม่เคยบอก เป็นนรกอันเดียวกัน เรามาแยกชาติ แยกประเทศกันเฉพาะในเมืองมนุษย์ ยามที่รับผลของความชั่วหรือความดีไม่มีการแยกกันรวมกันหมด ไม่มีแขก ไม่มีฝรั่ง ไม่มีลาว ไม่มีมอญ เป็นสัตว์นรกธรรมดาๆ เหมือนกัน เป็นเทวดาเป็นพรหมประเภทเดียวกัน ภาษาที่พูดที่ใช้ก็เหมือนกัน รวมความว่าไม่ได้แยกประเภทเข้าไว้ เอาละ จำไว้เท่านี้

    ตานี้ เดินออกจากดินแดนของมนุษย์สุดทางขาว เราก็มองไปข้างหน้า ถ้าหากว่าเราจะเลี้ยวซ้ายสักนิด จะเข้าสู่แดนเปรต ๑๑ จำพวก คือว่าเปรตที่มีกรรมหนัก เลี้ยวซ้ายนิดหนึ่ง เฉียงๆ ไปหน่อยทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ถ้าเดินตรงเลยไม่เลี้ยวเราก็ไปสู่ยมโลกียนรก เป็น ๑๐ ขุมตามที่กล่าวไว้ คราวนี้เราเลี้ยวเฉียงๆ ไปทางขวาหน่อยเรียกว่าทางตะวันออกเฉียงใต้ อันนี้เป็นดินแดนของพระยายม จำให้ดีนะ อันนี้เป็นดินแดนของพระยายม พระยายมตั้งสำนักงานอยู่ทางนั้น สำหรับวันนี้ จะพาพระคุณเจ้าท่านและบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทแวะที่สำนักของพระยายมเสียก่อน ถ้าเราไม่แวะที่ตรงนั้นและก็เขาจะหาว่าพวกเราไม่มีมรรยาท เพราะว่าเป็นดินแดนของผู้ครองเมืองนรก คือว่าพระยายมนี่นะครองเมืองนรก ความจริงเขาเข้าใจกันว่าอย่างนั้น ที่แท้จริงแล้วพระยายมไม่ได้ครองเมืองเป็นแต่เพียงว่าไปนั่งเป็นผู้พิพากษาคอยตัดสิน พากันเดินไปก็ย่องๆ ไปให้ดีนะ ข้างๆ ทางน่ะมีของดีอยู่ มองไปทางซ้ายนิดซิ เวลานี้เรามุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เดินเลาะและมีทางขาวเส้นเล็ก ไม่ใหญ่เท่าทางเดิม ตรงดิ่งไปเหลียวดูทางซ้ายนิดซิ เราจะเห็นต้นไม้ยืนเป็นตับ ที่ตรงนั้นเขาเรียกกันว่าอะไร ต้นไม้ต้นนี้แหละเขาเรียกว่าต้นงิ้ว หรือสิมพลีนรก สิมพลีนะ เป็นนรกต้นงิ้ว สำหรับต้นงิ้วนี่เขาบอกว่าขึ้นตามสภาพกฎของกรรม ถ้ามีสัตว์นรกมากต้นงิ้วก็มาก มีสัตว์นรกน้อยต้นงิ้วก็น้อย ที่ใครบอกว่าต้นงิ้วไม่มี เขาเอาไปทำฟืนหมดแล้วนะ ระวังเขาจะคุณด้วยสอง เขาว่ายังงั้น

    เอาละเดินไป อย่าพึ่งแวะเลย นรกขุมนี้ค่อยแวะกันทีหลัง คงได้เที่ยวกันแน่เดินไปก็มีอะไรผ่านตาอีกแยะ ยังไม่พูด เพราะจะมีเรื่องพูดตอนหลัง เราจะชมกันมาตามลำดับ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×