“แวนโก๊ะห์ศิลปินผู้อาภัพที่สุดในโลก”
วิกรม กรมดิษฐ์
ผู้เข้าชมรวม
915
ผู้เข้าชมเดือนนี้
4
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ผม อยากให้คนไทยในปัจจุบัน ในอดีต และแม้กระทั่งในอนาคต ได้เกิดความรู้สึกชื่นชมความเป็นไทยในเรื่องของศิลปะที่บรรพบุรุษและศิลปิน ไทยได้สั่งสมมานานแสนนาน แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือ หลังจากผมได้สังเกตุผู้ที่มีอันจะกินในสังคมไทยแล้วกลับกลายเป็นว่าพวกเขา เหล่านั้นมักหลงใหลและชื่นชมในศิลปะของฝรั่งแทบทั้งสิ้น เพราะ สังคมไทยมองว่าศิลปะยุโรปนั้นมีคุณภาพและความละเอียดมากกว่าศิลปะไทย ทำให้ขาดการสนับสนุนศิลปินและศิลปะไทย ส่งผลให้คุณภาพของศิลปะไทยไม่สามารถเข้าไปแข่งขันกับพวกฝรั่งได้
และนับวันแต่จะเดินถอยหลังลงไปอย่างน่าเสียดาย หาก เศรษฐีชาวไทยยังมัวแต่ไปสนับสนุนศิลปินฝรั่งโดยที่ไม่เหลียวแลศิลปินไทยเลย นั้น ศิลปะไทยและศิลปินไทยคงค่อย ๆ ถดถอยและลดน้อยลงจนไม่เหลือกระทั่งที่มาให้คนไทยในอนาคตได้รู้จักตัวตนและ ที่มาของตนเองเหมือนอย่างชาติตะวันตกเลยทีเดียว
ประวัติศาสตร์ศิลปะในยุโรปและอเมริกานั้นเติบโตมาตั้งแต่ยุค 1,000 ปี ที่แล้ว เพราะพวกเขามีศิลปินเก่ง ๆ ทั้งทางด้านศิลปกรรม ดนตรี วรรณกรรม ได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แน่นอนว่าความเป็นอยู่ในสมัยนั้นคงยังไม่สู้ดีนักเพราะไม่ค่อยมีคนสนับสนุน ศิลปินในยุโรปมากมายเช่นในปัจจุบันทำให้ศิลปินในอดีตของยุโรปส่วนใหญ่ยากจน ศิลปินบางคนแทบไม่มีโอกาสที่จะได้เห็นเงินหรือผลประโยชน์จากงานของตนเอง ไม่ว่าในกาลต่อมาผลงานชิ้นนั้นจะกลายมาเป็นผลงานระดับโลกและตัวเขาเองก็ได้ กลายมาเป็นศิลปินเอกของโลกในปัจจุบัน
ชีวิตของแวนโกะห์นั้นต้องอยู่อย่างลำบากและอดยาก หากไม่มีน้องชายของเขาแล้ว เขาคงตายไปนานแล้ว และคงไม่ทิ้งผลงานมากมายกว่า 1,000 ชิ้น ไว้ในโลกนี้ เขาเปรียบเสมือนศิลปินผู้อาภัพและน่าสงสารอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ เขาไม่เคยประสบความสำเร็จใดๆ ในตอนที่เขามีชีวิตอยู่ และเขายังโชคร้ายในเรื่องของความรักและเพื่อนฝูง ใน บรรดาศิลปินเอกระดับโลกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีนั้น ศิลปินที่อาภัพและมีชีวิตที่รันทดมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นจิตรกรแนวอิมเพรส ชั่นนิสต์ (Impressionist) ชาวดัตช์ที่มีชื่อว่า วินเซนต์ แวนโกะห์ ที่ใครๆ ก็รู้จักเขาดีในฐานะที่เป็นศิลปินอัจฉริยะผู้ยากไร้ และมีจิตที่ค่อนข้างไม่ปรกติเมื่ออยู่ในช่วงท้ายๆ ของชีวิต และเขาต้องประสบพบเจอกับความผิดหวังหลายอย่าง เมื่อเบนเข็มมาเป็นจิตรกรเขาเป็นก็เป็นศิลปินที่ขายภาพไม่ออกและไม่มีชื่อเสียง น่า เสียดายว่าชื่อของวินเซนต์ แวนโกะห์ และผลงานของเขาเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากคนทั่วไปก็ต่อเมื่อเขาได้ จากโลกนี้ไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ตัวเขาเองไม่มีวันได้รู้ว่า หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้วนั้นเขากลายมาเป็นศิลปินคนดังของโลกศิลปะสมัย ใหม่ ภาพวาดของเขาที่เคยขายไม่ออกหรือขายได้เป็นจำนวนเงินอันน้อยนิดนั้น ในปัจจุบันภาพเหล่านั้นมีมูลค่ามหาศาลหลายล้านดอลลาร์
ภาพ ของศิลปินกับความยากจนดูจะเป็นของคู่กัน ถึงแม้จะมีข้อยกเว้นอยู่บ้างบางกรณีที่ศิลปินบางคนอาจมีฐานะดีและประสบความ สำเร็จในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่เคยมีผู้กล่าวไว้ว่าความยากลำบากในชีวิตล้วนแต่เป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปิน คนยากถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกเหล่านั้นผ่านออกมาทางผลงาน ทำให้ผลงานของศิลปินจำพวกนี้โดดเด่นกว่าศิลปินจำพวกแรกที่มีชีวิตอย่างสุข สบาย และศิลปินที่เป็นอัจฉริยะก็มักจะมีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นคนบ้าสำหรับคนธรรมดา สามัญทั่วๆ ไป ซึ่งลักษณะประการเหล่านี้ดูเหมือนว่าจะมีอยู่ครบในตัวของวินเซนต์ แวนโกะห์
ประวัติ
วินเซนต์ แวนโกะห์ มีชื่อเต็มว่า วินเซนต์ วิลเลม แวนโกะห์ (Vincent Willem van Gogh) เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1853 ใน ตำบลซันเดิร์ท แคว้นบราบังท์ ของประเทศฮอลแลนด์หรือเนเธอร์แลนด์ ใกล้ๆ กับพรมแดนที่ติดกับประเทศเบลเยี่ยม ครอบครัวของเขาเป็นคนชั้นกลาง พ่อเป็นนักบวช มีชื่อว่าเธโอดอร์ แวนโกะห์ ซึ่งประจำอยู่โบสถ์เล็กๆ ในหมู่บ้าน ส่วนแม่เป็นแม่บ้านมีชื่อว่าแอนนา คอร์นีเลีย คาร์เบนตัส ลูกสาวของวิลเลียม คาร์เบนตัส ผู้ตรารัฐธรรมนูญฉบับแรกของฮอลแลนด์
ตระกูล แวนโกะห์เป็นตระกูลที่มีชื่อเสียงตระกูลหนึ่งของฮอลแลนด์ โดยญาติๆ ของเขามีฐานะที่มั่งคั่งและทำธุรกิจเกี่ยวกับศิลปะ ลุงของวินเซนต์ แวนโกะห์ ที่มีชื่อว่าเฮนดริก แวนโกะห์นั้นทำอาชีพด้านค้ารูปภาพ เขามีร้านขายรูปใหญ่ๆ อยู่ในกรุงบรัสเซลล์ และกรุงอัมสเตอร์ดัมส์ ลุงเขามีหุ้นส่วนในบริษัทกูปีล์ที่มีชื่อเสียงและมีสาขาอยู่ในกรุงปารีส เบอร์ลิน บรัสเซลล์ เฮก และอัมสเตอร์ดัมส์ ส่วนลุงอีกคนที่มีชื่อว่าคอร์นีเลียส แวนโกะห์ ก็เป็นประธานบริษัทใหญ่ๆ ในกรุงบรัสเซลล์ ในขณะที่บิดาของวินเซนต์ แวนโกะห์ ดูจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จน้อยที่สุดในบรรดาพี่น้องทั้งหมด
วินเซนต์ แวนโกะห์ เป็นลูกชายคนโต เขามีน้องๆ รวมทั้งสิ้น 5 คน เป็นชาย 2 คน และหญิง 3 คน น้องชาย 2 คนของเขามีชื่อว่า เธโอดอร์ และคอร์ ส่วนน้องสาว 3 คนนั้นประกอบไปด้วยแอนนา เอลิซาเบธ และฟิลเฮล์มินา โดยเธโอดอร์จะเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดและให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินกับ วินเซนต์ แวนโกะห์มากที่สุดต่อไปในอนาคต วินเซนต์ แวนโกะห์ในวัยเด็กเป็นเด็กที่มีอารมณ์รุนแรงมาตั้งแต่ตอนนั้น แต่รูปลักษณะภายนอกของเขาเป็นเด็กผมแดง หน้าตกกระ นัยน์ตาสีฟ้าอ่อน ซึ่งดูแล้วค่อนข้างจะน่ารัก อีกทั้งยังมีนิสัยชอบสะสมตัวแมลงและเก็บรังนกเก่าๆ มาสะสมไว้ ระหว่าง ปี ค.ศ. 1864-1868 เด็กชายวินเซนต์ แวนโกะห์ ได้รับการศึกษาขั้นต้นในโรงเรียนประจำแถบบ้าน คือโรงเรียนประจำหมู่บ้านเซเว่นเบอร์เก็นที่อยู่ห่างจากบ้านเดิมไปประมาณ 25 กิโลเมตร โดยพ่อของแวนโกะห์ต้องการส่งตัวเขาไปเรียนที่นั่น เพราะเห็นว่าแวนโกะห์ดูจะเข้ากับเพื่อนๆ รุ่นราวคราวเดียวกันในหมู่บ้านไม่ได้
จาก นั้นเมื่อปี ค.ศ. 1869 แวนโกะห์ มีอายุได้16 ปี เขาเริ่มต้นอาชีพการทำงานด้วยการเป็นคนขายงานศิลปะอย่างภาพที่พิมพ์ขึ้นมา จากภาพเขียนที่มีชื่อเสียง ภาพวาด และงานศิลปะอื่นๆ ในบริษัทห้องภาพกูปีล์แอนด์ซีในกรุงเฮกที่ลุงของเขาถือหุ้นอยู่ และต่อมาเขาได้ย้ายสาขาที่ทำงานไปยังบรัสเซลล์ ลอนดอน ปารีส และกลับมาที่ยังเฮก
เมื่อ แวนโกะห์ย้ายมาทำงานห้องภาพกูปีล์แอนด์ซีที่สาขากรุงลอนดอนในประเทศอังกฤษใน ปี 1873 เขามีอายุได้ 20 ปีพอดี และได้พำนักอยู่ในบ้านเช่าของหญิงม่ายชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งที่มีชื่อว่านางโล แยร์ สามีผู้ล่วงลับของเธอเป็นนักสอนศาสนา หญิงม่ายผู้นี้มีลูกสาววัย 19 ปีชื่อว่าเออร์ซูลา โดยทั้งสองได้ตั้งโรงเรียนสอนอนุบาลสำหรับเด็กผู้ชายอยู่ในสวนหลังบ้าน และเออร์ซูลาเป็นผู้รับผิดชอบดูแลเด็กๆ ที่มาเรียน เขาหลงรักสาวน้อยผู้นี้อย่างถอนตัวไม่ขึ้น แต่ตอนนั้นอาชีพการงานของเขาก็ยังคงดำเนินไปอย่างปรกติ เขาทำทุกอย่างให้กับหญิงสาวผู้นี้ไม่ว่าจะเป็นทำสวนให้ ปลูกดอกไม้ และนำภาพมาให้แก่เธอ แต่หนึ่งปีต่อมาเมื่อแวนโกะห์ขอเธอแต่งงาน เขาได้รับรู้ว่าเออร์ซูลามีคู่หมั้นอยู่แล้ว เขารู้สึกผิดหวังอย่างรุนแรงมาก จนไม่อยากทำงานอีกต่อไปจึงได้ย้ายออกจากบ้านเช่าเพื่อมาพักอยู่ในแถบเคนซิ งตัน และลุงที่เดินทางมากรุงลอนดอนได้มาพบเขา เมื่อลุงผู้นี้กลับไปได้เล่าเรื่องแวนโกะห์ให้ครอบครัวของเขาฟัง ว่าเขากลายมาเป็นคนที่ประหลาด ชอบทำอะไรพิลึกๆ ลุงของเขาที่มีชื่อว่าวินเซนต์ได้จัดการย้ายแวนโกะห์ไปประจำอยู่ที่สาขากรุง ปารีสในปี ค.ศ. 1875 เพื่อให้เขามีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นมาจากการเปลี่ยนสถานที่ และ ณ ที่พักพิงแห่งใหม่นี้แวนโกะห์ยิ่งทวีความสนใจต่อศาสนามากยิ่งขึ้นสิ่งที่ แสดงถึงความสนใจด้านนี้ของแวนโกะห์คือเขามักจะอ่านคัมภีร์ไบเบิลให้เพื่อน ฟังในเวลากลางคืน
หลัง จากลาออกจากงานขายภาพที่ทำมาเป็นเวลา 6 ปี แวนโกะห์ในวัย 23 ปีก็กลายเป็นคนตกงานในตอนนั้นเขาไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับชีวิต แต่สิ่งที่ฉายแววว่าเขาจะกลายเป็นจิตรกรในอนาคตคือการที่เขามักจะเขียนภาพลง ในจดหมาย หรือไม่ก็เขียนภาพลายเส้นบ่อยๆ
แวน โกะห์หันมาประกอบอาชีพเป็นครูสอนหนังสืออยู่ระยะหนึ่ง โดยเขาสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองเล็กๆ ของอังกฤษ และในตอนกลางคืนเขาก็ต้องดูแลเด็กๆ อีกด้วย ณ โรงเรียนแห่งนี้แวนโกะห์ได้ที่อยู่และที่กิน แต่เขาไม่ได้รับเงินเดือน เขาทำอาชีพครูสอนหนังสือนี้อย่างยากลำบากและมีอาหารไม่พอกินเป็นเวลาหลาย เดือน เมื่อเขาเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดเมืองนอนด้วยร่างกายที่ผ่ายผอมเมื่อเดือน ธันวาคม ปี 1876 พ่อแม่ของเขาต่างตกอกตกใจกับสภาพของลูกชายเป็นอย่างมาก ลุงของเขาจึงต้องย้ายเขาไปเป็นพนักงานขายหนังสือ ซึ่งในระหว่างที่เขาทำงานอยู่ที่ร้านหนังสือเขามักจะแปลคัมภีร์ไบเบิลออก เป็นภาษาอังกฤษ เยอรมัน และฝรั่งเศส และเขียนภาพต้นไม้ที่มีกิ่งก้านสาขามากมายโดยใช้หมึก
ต่อ มาเขาถูกไล่ออกจากงานในตอนที่มีอายุได้ 24 ปี โดยในเดือนพฤษภาคมวินเซนต์ แวนโกะห์ ได้ย้ายไปยังกรุงอัมสเตอร์ดัมเพื่อเตรียมสอบเข้าเรียนในคณะศาสนวิทยา ของมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม เขาได้หันมาสนใจด้านศาสนาเพราะปรารถนาที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ เขาจึงมีจุดมุ่งหมายใหม่ในชีวิตที่ต้องการจะเป็นพระเหมือนพ่อของเขา
แต่ แล้วแวนโกะห์ก็ได้รับความผิดหวังอีกครั้งเมื่อเขาไม่ผ่านการทดลองเพื่อที่จะ ได้เป็นพระอย่างสมบูรณ์ ในช่วงปี ค.ศ. 1878-1879 เขาจึงตัดสินใจที่จะเผยแพร่ศาสนาเองด้วยการเดินทางไปทำงานอยู่ที่บอริเนจใน ประเทศเบลเยี่ยม สภาพชีวิตของคนงานที่นั่นเต็มไป ด้วยความยากลำบากและทารุณโหดร้าย เพราะคนงานต้องทำงานอยู่ในเหมืองใต้ดินที่มืด ร้อนจัด และอันตราย อีกทั้งความเป็นอยู่ก็ไม่ดี ได้ค่าจ้างเพียงเล็กน้อย เขามีความเห็นอกเห็นใจต่อคนเหล่านี้มาก เขากระตือรือร้นที่จะเป็นนักเทศน์ที่ดี และพยายามเป็นมิตรกับคนงาน นอก จากนี้เขายังได้นำเงินส่วนตัวมาซื้ออาหารให้แก่คนงานและครอบครัวที่ยากจนและ อดอยาก ให้เสื้อผ้า เครื่องใช้ และผ้าห่ม พยาบาลคนเจ็บ อีกทั้งยังดำรงชีวิตเฉกเช่นเดียวกับคนงานโดยออกมาอยู่เพิงแทนบ้านพัก แต่งตัวโดยใส่เสื้อทหารหรือไม่ก็เสื้อเชิ้ตผ้าฝ้าย ปล่อยตัวให้สกปรกเหมือนคนงาน ซึ่งเมื่อโรงเรียนนักเทศน์เห็นพฤติกรรมเช่นนี้ของเขาเลยเลิกให้ความช่วย เหลือในที่สุด แต่เขาก็ยังคงใช้ชีวิตอยู่ที่บอริเนจต่อด้วยความยากจนข้นแค้นถึงแม้ว่าทาง ครอบครัวจะส่งเธโอมาชักจูงให้เขากลับบ้านเกิดก็ตาม เมื่อเธโอเดินทางมาหาแวนโกะห์นั้นเธโอได้แนะนำให้พี่ชายหันมาเขียนภาพ ซึ่งเธโอเล็งเห็นความสามารถทางการวาดรูปของพี่ชาย การวาดภาพนั้นเป็นสิ่งที่แวนโกะห์ชอบทำมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กอยู่ เมื่อตอนทำงานขายรูปก็ได้ส่งภาพร่างของสิ่งที่เขาพบเห็นในทางกลับบ้านมาให้ น้องชายดู และในที่สุดแวนโกะห์ก็ได้ตัดสินใจที่จะเป็นจิตรกร
ที่ บอริเนจ แวนโกะห์ได้เปลี่ยนจากการเป็นนักเทศน์มาเป็นจิตรกร เขาได้เริ่มต้นการศึกษาศิลปะอย่างเอาจริงเอาจังในช่วงปี 1880-1885 ซึ่งเป็นระยะพัฒนาการทางด้านศิลปะของแวนโกะห์ระยะแรก เขา กระตือรือร้นที่จะถ่ายทอดสิ่งที่เขาได้พบเห็น และรู้สึกประทับใจลงไปในงานศิลปะของเขา เขาสนใจในการเขียนภาพเหมือนหรือภาพจริงของคนงานเหมืองและชาวไร่ชาวนา ในขณะที่คนงานเหล่านี้กำลังทำงานอยู่ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการเป็นจิตรกรแนวสัจนิยม ภาพเขียนของเขาในระยะแรกเริ่ม จะมีแสงสว่างที่ดูลึกลับอาบอยู่ที่พื้นผิวภาพอยู่ ภาพ “คนกินมันฝรั่ง” (Potato Eaters) คือตัวอย่างของอิทธิพลของจิตรกรชาวดัตช์ที่แวนโกะห์ได้รับในตอนเริ่มวาดภาพช่วงแรกๆ
ใน วันที่ 12 เมษายน ปี ค.ศ. 1881 แวนโกะห์ตัดสินใจเดินทางกลับมาอยู่ประเทศบ้านเกิด และเรียนเขียนภาพต่อไป และที่บ้านเกิดนี้เองที่แวนโกะห์ได้พบรักครั้งที่ 2 แต่ฝ่ายหญิงก็ไม่เล่นด้วย เมื่อได้รับการปฏิเสธ ความรักอย่างไร้เยื่อใย แวนโกะห์ต้องประสบกับความเสียใจอย่างรุนแรงอีกครั้ง ดังนั้นเธโอจึงแนะนำให้พี่ชายไปเรียนเขียนภาพที่กรุงเฮก และแวนโกะห์จึงตัดใจเดินทางไปเรียนวาดภาพต่อ และดิ้นรนเลี้ยงชีพด้วยการพยายามขายภาพ 8 เดือนภายหลังจากที่พ่อของเขาเสียชีวิตลง ในปี 1885 แวนโกะห์ได้เดินทางไปยังเมืองแอนเวิร์บของประเทศเบลเยี่ยม เพื่อสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนศิลปะ ซึ่งนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเขาก็มิได้เดินทางกลับไปยังประเทศบ้านเกิดอีก เลย
ใน ปี ค.ศ. 1886 แวนโกะห์ได้ย้ายมาอยู่ที่ปารีส ซึ่งในขณะนั้นเธโอทำงานอยู่ในห้องภาพที่ปารีสและประสบความสำเร็จในหน้าที่ การงานเป็นอย่างดี โดยเขาเป็นผู้จัดการห้องภาพสองแห่งในกรุงปารีส ในขณะที่คนเป็นพี่ไม่เคยประสบความสำเร็จในเรื่องใดๆ เลย ที่นี่แวนโกะห์ได้เรียนศิลปะเป็นระยะสั้นๆ ต่อมา แวนโกะห์ก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ ซึ่งในเวลานั้นเธโอได้หมั้นแล้ว ส่วนการเขียนรูปของแวนโกะห์ก็ยังย่ำแย่เช่นเดิม อีกทั้งสุขภาพก็ไม่ดี เพราะสูบบุหรี่จัดและดื่มเหล้าบ่อยๆ ขณะที่คุยกันกับจิตรกรคนอื่นๆ ในที่ชุมนุมประจำอย่างคาเฟ่ วันที่ 28 เดือนกุมภาพันธ์ ปี 1888 แวนโกะห์ได้ตัดสินใจย้ายไปอาศัยอยู่เขตชนบทที่เมืองอาร์เลส์ทางตอนใต้ของ ฝรั่งเศส เขาได้ทิ้งจดหมายบอกน้องชายของเขาไว้ว่าเขาติดเหล้าและโรคเจ็บป่วยต่างๆ ก็ทรุดหนักลงเรื่อยๆ โดยที่เมืองแห่งนี้สภาพแวดล้อมและทิวทัศน์ต่างๆ เป็นที่จับใจแก่แวนโกะห์มาก เขากระตือรือร้นที่จะวาดภาพ ซึ่งในหลายๆ ภาพนั้นสะท้อนอารมณ์อันรุนแรงออกมา แวนโกะห์ตัดสิน ใจที่จะอยู่ที่เมืองอาร์เลส์เป็นการถาวร เขาได้เช่าบ้านอยู่ที่นั่น และตั้งใจจะให้เป็นที่พบปะระหว่างเพื่อนจิตรกรของเขาอย่างโกแกงหรือคนอื่นๆ เขาได้ชักชวนให้โกแกงมาเยี่ยมชมบ้านใหม่ของเขาและพักอยู่ด้วย เพราะเขาต้องการใครสักคนมาอยู่เป็นเพื่อน แต่เมื่อโกแกงมาอยู่ได้ไม่นานก็เริ่มเปลี่ยนใจและไม่คิดที่จะอยู่ที่เมือง แห่งนี้ตลอดไปอย่างที่แวนโกะห์ต้องการ ทั้งสองคนเริ่มไม่ลงรอยกัน เพราะต่างมีทัศนคติที่ต่างกันและมีอารมณ์รุนแรงทั้งคู่ พฤติกรรม อันแปลกประหลาดของเขาต่าง ๆนานา เช่นการตัดหูให้กับหญิงโสเภณี ทำให้เพื่อนสนิทของเขาซึ่งก็คือโกแกงต้องถึงกับโทรเลขไปบอกน้องชายของเขา เธโอเดินทางมายังอาร์เลส์ทันที และรู้สึกถึงความผิดปรกติในตัวพี่ชาย ถึงแม้ว่าเขาจะดูปกติแต่บางทีก็เพ้อออกมาพูดเรื่องปรัชญาและศาสนา เมื่อ ออกจากโรงพยาบาลมาได้เดือนหนึ่งเขาก็เกิดอาการกลัว เพราะรู้สึกว่าตัวเองมักจะได้ยินเสียงแปลกๆ อีกทั้งเขายังคิดว่ามีคนพยายามจะวางยาพิษเขา ดังนั้นแวนโกะห์จึงถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง ต่อมาชาวเมืองอาร์เลส์ราว 80 คน ที่ต่างรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ได้ยื่นคำร้องไปยังนายกเทศมนตรีให้จับตัวแวนโกะห์ส่งเข้าโรงพยาบาล เขาถูกตำรวจจับส่งเข้าโรงพยาบาลและถูกขังไว้ในห้องคนบ้าประเภทที่เป็น อันตราย เขาไม่สามารถเขียนรูปหรือสูบบุหรี่ได้ อีกทั้งยังมียามคอยเฝ้าดูอยู่ตลอด ซึ่งแวนโกะห์ได้เขียนบันทึกไว้ว่า
“เป็นเรื่องทารุณอย่างยิ่งที่ได้รู้ว่า มีคนเป็นจำนวนมากขี้ขลาดพอที่จะร่วมกันเป็นปฏิปักษ์ต่อคนคนเดียว ซึ่งเป็นคนป่วยอยู่”
เมื่อ ออกจากโรงพยาบาล มีคนแนะนำให้เขาไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลประสาทที่เมืองแซงต์ เรอมีย์ ที่อยู่ไม่ไกลจากอาร์เลส์นัก ในตอนแรกทางโรงพยาบาลไม่อนุญาตให้แวนโกะห์เขียนภาพได้ แต่เมื่อเธโอเขียนจดหมายไปขอร้องทำให้ทางโรงพยาบาลจัดห้องสำหรับวาดรูปให้ แวนโกะห์ เขาได้รับอนุญาตให้เขียนรูปข้างนอกได้แต่ทั้งนี้ต้องมีผู้คุมคอยติดตามไป ด้วยภาพที่แวนโกะห์เขียนขึ้นที่นี่แสดงถึงอารมณ์ที่ถูกดดันของเขา อย่างเช่นภาพของต้นไซเพรสที่บิดเบี้ยวด้วยแรงลมนั้นก็ไม่ต่างไปจากอารมณ์ ความทรมานของเขาเลย ซึ่งแวนโกะห์เริ่มมีอารมณ์ฟั่นเฟือนมากขึ้นเรื่อยๆ และมีแนวโน้มที่จะพยายามฆ่าตัวตาย แต่บางครั้งอาการก็ดีขึ้น แวนโกะห์ย้ายมาอยูที่เมืองโอแวรส์เหนือกรุงปารีสเมื่ออาการของเขาดีขึ้นมา หมอโปล กาเชท์ เป็นหมอผู้ใจดีที่ดูแลเขาอยู่ โดยหมอผู้นี้ได้ทำหน้าที่จัดหาเรื่องที่พักให้แก่แวนโกะห์อีกด้วย พร้อมทั้งยังชวนให้แวนโกะห์ไปทานข้าวที่บ้านของตนอยู่บ่อยๆ และบอกว่าเขาต้องหายแน่แวนโกะห์ยังเขียนภาพอยู่เช่นเดิม ทั้งภาพบ้านและสวน ภาพเหมือนของคนที่รักษาเขา อย่างเช่นภาพเหมือนของหมอเฟลิกซ์ เรย์ และภาพเหมือนของหมอกาเชท์ เป็นต้น ซึ่งเขาสามารถวาดภาพได้ถึง 70 ภาพในช่วง 65 วัน
ใน วันที่ 7 เดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 1890 ณ เวลานั้นวินเซนต์ แวนโกะห์ มีอายุได้ 37 ปี เขาได้พยายามฆ่าตัวตายโดยการยิงตัวเองที่หน้าอกด้วยปืนรีวอลเวอร์ในขณะที่ อยู่กลางทุ่งนาคนเดียว กระสุนได้เข้าไปฝังอยู่ในช่องท้อง จากนั้นเขาก็เดินกลับมาที่พัก ซึ่งในเวลานั้นมีจิตรกรที่มีชื่อว่าอันทอน เฮียร์ชิก พักอยู่ด้วย เขาเสียชีวิตจากพิษบาดแผลที่ยิงตัวเองในอีก 2 วันต่อมา ในขณะที่มีอายุได้รวม 37 ปี กับอีก 4 เดือน
ในวาระสุดท้ายของชีวิต คนที่อยู่เคียงข้างเขาคือ ธีโอดอร์ แวนโกะห์ได้กล่าวประโยคสุดท้ายก่อนสิ้นใจกับน้องชายเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า "La tristesse durera toujours"หรือภาษาอังกฤษคือ "the sadness will last forever" และแปลเป็นไทยได้คือ “ความเศร้าจะยังคงอยู่ไปตลอดกาล”
ใน ปัจจุบัน มีพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาภาพเขียนของแวนโกะห์อยู่ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีชื่อว่าพิพิธภัณฑ์แวนโกะห์ ซึ่งเป็นที่เก็บภาพเขียนของแวนโกะห์ประมาณ 200 ภาพ และยังมีผลงานของศิลปินอิมเพรสชั่นนิสต์คนอื่นๆ ด้วย อย่างโมเนต์ หรือโกแกง
ภาพเขียนเลื่องชื่อของแวนโกะห์ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เก็บรักษาไว้ก็อาทิเช่น ภาพที่มีชื่อว่าไอริส (Irises) ภาพเหมือนของแวนโกะห์ (Self Portrait) และภาพดอกทานตะวัน (Sunflowers) โดย ภาพดอกทานตะวันนี้มีทั้งหมด 4 ภาพ โดยเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ภาพหนึ่ง เก็บไว้ที่เนชันแนลแกลอรี่ที่ประเทศอังกฤษ อีกภาพหนึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์นิวพินาโกเทค (Neue Pinakothek) ของเมืองมิวนิคในประเทศเยอรมนี และภาพสุดท้ายเป็นสมบัติส่วนตัวของเศรษฐีชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง
ใน ตอนที่วินเซนต์ แวนโกะห์ยังมีชีวิตอยู่เขาขายภาพได้เพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น คือขายภาพได้ราคาประมาณ 80 ดอลลาร์ แต่ในปัจจุบันภาพเขียนของเขากลับมีราคามหาศาล ตัวอย่างของราคาภาพวาดของเขาที่ติดอันดับภาพที่ถูกประมูลราคาสูงมีดังต่อไป นี้
- ภาพเหมือนของหมอกาเชท์ (Portrait of Dr. Gachet) ถูกประมูลที่คริสตี้ส์ (Christie’s) ที่นิวยอร์ก เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ปี 1990 ราคา 82.5 ล้านดอลลาร์
- ภาพดอกไอริส ถูกประมูลที่โซเธบี้ส์ (Sotheby’s) ที่นิวยอร์ก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี 1987 ราคา 49 ล้านดอลลาร์
ด้วย เหตุนี้จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจแต่ประการใดที่วินเซนต์ แวนโกะห์ ได้รับสมญานามว่าเป็นจิตรกรที่มีชีวิตรันทดกว่าจิตรกรที่มีชื่อเสียงคนอื่นๆ
ผลงานอื่นๆ ของ pitchayapatsorn ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ pitchayapatsorn
ความคิดเห็น