ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้soบตัวไม่น่าเบื่๐๐ย่าJที่คิด

    ลำดับตอนที่ #6 : sถม้าllห่งขลาJค์uคs

    • อัปเดตล่าสุด 6 ธ.ค. 49


     

            เสียงกุบกับ กุบกับจากเกือกม้าที่กระทบกับพื้นถนนเมื่อลากรถพาผู้โดยสารเที่ยวชมเมืองควบคู่ไปกับเสียงปื้น ๆ ของรถยนต์ยานพาหนะสมัยใหม่คงจะมีให้เราเห็นและหลงเหลือเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยนั่นคือ รถม้าเมืองลำปาง

    แม้กาลเวลาจะผ่านไปสังคมมีการเปลี่ยนแปลง ความเจริญทางวัตถุมีมากขึ้นรถยนต์ เครื่องจักรกลสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้การใช้แรงงานจากสัตว์เริ่มลดความสำคัญลงไป แต่สิ่งที่กล่าวมานี้อาจจะเป็นจริงในจังหวัดอื่น ๆ ของประเทศไทยนะครับ แต่ที่จังหวัดลำปางหรือเมืองเขลางค์นครในภาคเหนือของประเทศไทยเรานั้นบรรยากาศการอาจจะแตกต่างไปนะครับ เพราะที่เมืองลำปางยังคงมีรถม้าวิ่งสัญจรไปมาให้เห็นอยู่ ซึ่งถ้าใครไปเห็นบรรยากาศเช่นนั้นคงประทับใจไม่น้อยเลยทีเดียว แม้ว่าจุดประสงค์ของการใช้รถม้าในเมืองลำปางจะเปลี่ยนจากการใช้ประโยชน์ในการสิ่งรับส่งผู้โดยสารมาเป็นการวิ่งบริการนักท่องเที่ยวแล้วก็ตาม แต่ภาพที่เราเห็นรถม้าวิ่งไปพร้อมกับรถยนต์นั้นคงจะนับวันจะลดน้อยลงไปมาก

    รถม้าในสยาม

    ก่อนที่เราจะไปรูจักกับความเป็นมาของรถม้าในจังหวัดลำปาง ก่อนอื่นเราก็มารู้จักกับความเป็นมาของรถม้าในประเทศไทยกันก่อนนะครับ โดยความเป็นมาของการนำรถม้ามาใช้ในเมืองไทยนั้นกล่าวกันว่า มีประวัติความเป็นมานับร้อยปีเลยทีเดียว โดยรถม้าเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (.4) โดยรถม้าที่นำเข้ามานั้นเป็นรถม้าที่มาจากอังกฤษและอินเดียเป็นส่วนใหญ่

    ครั้นถึงสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (.5) พระองค์ก็ทรงสั่งซื้อรถม้าเข้ามาเป็นจำนวนมากขึ้น พร้อมกับมีการตั้งกรมอัศวการขึ้นมาดูแล จนกระทั่งเมื่อเริ่มมีรถยนต์ในประเทศไทยบทบาทของรถม้าในกรุงเทพฯจึงลดความสำคัญลง และต้องออกไปวิ่งตามหัวเมืองต่าง ๆ แทน เช่นเมืองลำปาง เมืองเชียงใหม่ เป็นต้น

     

    รถม้าในลำปาง

    สำหรับความเป็นมาของรถม้าในเมืองลำปางนั้น ตามประวัติกล่าวกันว่าเริ่มจากพ.. 2458 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (.6)ได้มีการวางรางรถไฟขึ้นมาที่เมืองลำปางเมื่อรถไฟเปิดให้บริการ ก็มีการนำรถม้าจากกรุงเทพฯขึ้นรถไฟมาด้วย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการใช้รถม้ารับส่งผู้โดยสารจากสถานีรถไฟลำปางเพื่อเข้าสู่ตัวเมืองโดยมีระยะทาง 2 กิโลเมตรซึ่งวันแรกที่มีการเปิดใช้รถม้าพาผู้โดยจากสถานีรถไฟมาที่ตัวเมืองลำปางก็คือเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ..2459

    สำหรับกิจการของจังหวัดลำปางในช่วงแรกนั้นผู้ที่เป็นเจ้าของก็คือเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย ซึ่งท่านได้ซื้อรถม้ามาจากกรุงเทพฯ โดยท่านจ้างแขก(ชาวอินเดีย ชาวปากีสถาน)มาเป็นสารถีขับรถม้า และหลังจากที่รถม้าได้เข้ามาวิ่งรับส่งผู้โดยสารจากสถานีรถไฟลำปางเข้ามาสู่ตัวเมืองนานถึง 39 ปี จนกระทั่งถึงปีพ.. 2492ขุนอุทานคดีทนายความของจังหวัดลำปางท่านก็ได้ก่อตั้งสมาคมล้อเลื่อนจังหวัดลำปางขึ้นมา และขุนอุทานคดีก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมล้อเลื่อนจังหวัดลำปางพร้อมทั้งมีการร่างกฎและระเบียบต่าง ๆ ของสมาคมขึ้นมา

    ต่อมาเจ้าบุญส่ง ณ ลำปางได้เข้ามาบริหารกิจการของสมาคมแทนขุนอุทานคดีในปีพ..2495และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น สมาคมรถม้าจังหวัดลำปาง (The Horse Caring in Lampang Province) นับแต่นั้นมากิจการรถม้าของเมืองลำปางก็เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว

    ลักษณะของรถม้าในเมืองลำปางสมัยแรกนั้นส่วนใหญ่จะซื้อมาจากชาวอังกฤษหรืออาจจะซื้อมาจากเจ้านายในกรุงเทพฯ ซึ่งคนขับรถม้าส่วนใหญ่จะเป็นแขกที่มารับจ้างขับก่อนที่คนไทยจะขับรถม้าเอง เพราะแขกจะขับรถม้าเก่งกว่าคนไทยซึ่งแขกที่กล่าวถึงอยู่นี้ก็คือชาวอินเดียและชาวปากีสถานที่เข้ามาทำมาหากินในแผ่นดินไทยจนกระทั่งในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพลป. พิบูลสงครามได้มีนโยบายผลักดันชาวต่างชาติออกจากหัวเมืองเหนือของประเทศไทยและจากนโยบายดังกล่าวนี่เองที่ทำให้การขับรถม้าเปลี่ยนจากแขกมาเป็นคนไทย และชาวลำปางก็ได้กันมามายึดอาชีพขับรถม้า ซึ่งในปัจจุบันก็มีทั้งคนที่ยึดอาชีพการขับรถม้าเป็นอาชีพหลักและมีบางส่วนที่ขับรถม้าเป็นอาชีพเสริม

    แม้ว่าในปัจจุบันลักษณะของการให้บริการรถม้านั้นจะเน้นที่การให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวแทนการรับส่งผู้โดยสารจากสถานีรถไฟมาสู่ตัวเมืองแล้วก็ตามแต่รถม้าในเมืองลำปางก็ยังคงปรากฏเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดลำปาง ถ้าใครมีโอกาสไปเที่ยวจังหวัดลำปางก็อย่าลืมใช้บริการดูนะครับ...


    เรียบเรียงโดย ...ฝ่ายวิชาการที่หน้าตาดีสุดในโลก

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×